อาณาจักรเจนละ-เมืองเสดถะปุระ-ศาสนสถานวัดพู ในปลายพุทธศตวรรษที่ 10

แผนที่แสดงตำแหน่งแขวงจำปาศักดิ์เมืองเสดถะปุระ แขวงจำปาศักดิ์ ลาว

 

บริเวณที่ราบลุ่มฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง  ซึ่งค่อยลาดชันขึ้นสู่ภูเก้า  ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่พัฒนาการขึ้นเป็นเมืองขนาดใหญ่  ที่มีกำแพงดินสองชั้นล้อมรอบพื้นที่ ด้านยาวมีความยาวประมาณ 2.4 กิโลเมตร และ ด้านกว้างยาว 1.8 กิโลเมตร  ความสูงประมาณ 6 เมตร โดยสันนิษฐานว่าเมืองนี้คือ เมืองเสดถะปุระ เป็นเมืองหลวงของแค้วนเจนละ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 10 ( การเกิดเมืองเสดถะปุระนี้น่าจะมาจากผลการขยายตัวของแคว้นเจนละในภาคอีสานที่ต้องการควบคุมพื้นที่ทางตอนใต้แม่น้ำโขง ) สามารถพัฒนาการขึ้นเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่ง จากความอุดมสมบูรณ์เนื่องจากสามารถทำการเกษตรแบบยั่งยืนได้เพราะมีระบบการจัดการน้ำ ที่มีประสิทธิภาพ และ มีความมั่นคงด้วยเมืองตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุดของลำน้ำโขงด้วย   หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงบริเวณนี้ได้แก่  จารึกภาษาสันสกฤต หลักที่ k365 ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 10 กล่าวถึงกษัตริย์เธวนิกะ ( Devanika ) และ ลึงคปรวต (Lingaparavata)  เมืองโบราณแห่งนี้จึงเปรียบได้กับตัวแทนของเมืองในยุคแรกเริ่มแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ส่วนจารึกอื่นๆที่พบทำให้สันนิษฐานว่า  เมืองเสดถะปุระถูกสถาปนาขึ้นโดยกษัตริย์เศรษฐวรมัน  เพื่อเป็นเมืองพระนครหลวงแห่งราชอาณาจักรเจนละ  จนกระทั่งกษัตริย์มเหนทรวรมันในพุทธศตวรรษที่ 12 ต่อมาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 มีความแก่งแย่งทางอำนาจ  จึงแยกออกเป็น เจนละบก และ เจนละน้ำ เมืองเสดถปุระคงหมดบทบาททางการเมือง การปกครองลงหลังจากย้ายราชธานีลงไปทางใต้ หรือ อาจเป็นผลมาจากภัยสงคราม โรคระบาด  ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และ การตั้งถิ่นฐานใหม่ของคนกลุ่มใหม่  และเมื่อเมืองพระนครมีความรุ่งเรืองมากขึ้น  พื้นที่แถบนี้ยังคงมีการตั้งถิ่นฐานอยู่เรื่อยมา และ ศาสนสถานปราสาทวัดพู ก็ยังคงเป็นศูนย์กลางจิตใจ ผี พราหมณ์ และพุทธ อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ และเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่กษัตริย์ต้องทำนุบำรุงตลอดเวลา  (ที่มา- เกรียงไกร เกิดศิริ /วัดพู มรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งเมืองจำปาสัก)
          หลักฐานจากจารึกเหล่านี้ ทำให้เชื่อกันว่า ในช่วงเวลานั้น อาณาจักรเจนละ ซึ่งอยู่ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง เขตเมืองจำปาสักประเทศลาวปัจจุบัน มีเศรษฐปุระเป็นศูนย์กลาง ศาสนสถานหลักของชุมชนแห่งนี้คือ วัดภู กับดินแดนประเทศไทย น่าจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 12 พระเจ้าจิตรเสน หลักจากขึ้นครองราชย์แล้ว ทรงพระนามว่า พระเจ้ามเหนทรวรมัน เป็นกษัตริย์องค์สำคัญของเจนละ ที่เรืองอำนาจมากพระองค์หนึ่ง หลักฐานเกี่ยวกับอำนาจของพระองค์นั้น พบอยู่เป็นจำนวนมาก ในดินแดนภาคใต้ของประเทศลาว และบริเวณภาคเหนือ ชองประเทศกัมพูชาปัจจุบัน แต่ที่พบมากที่สุดนั้น น่าจะได้แก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

พระเจ้าจิตรเสน ทรงเป็นเจ้าชายที่มีความเชี่ยวชาญการศึกสงคราม จดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์ซุย เมื่อประมาณ พ.ศ. 1132-1161 ได้บันทึกไว้ว่า “พระเจ้าจิตรเสนพระองค์นี้น่าจะได้เผชิญศึกสงคราม ควบคู่ไปกับพระเชษฐาของพระองค์ คือ พระเจ้าภววรมันที่ 1 เจ้าชายทั้ง 2 พระองค์ ทรงเป็นนักรบ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ก่อตั้งอาณาจักรเจนละขึ้น โดยยกกองทัพต่อต้านอาณาจักรฟูนันจนประสบชัยชนะ

 

ทุกครั้งที่พระเจ้าจิตรเสนได้รับชัยชนะ ก็จะสร้างศาสนสถานพร้อมทั้งจารึก ประกาศพระราชประสงค์ที่สร้างรูปเคารพขึ้น เป็นการอุทิศถวายแด่พระศิวะเทพเจ้า โดยมีพระประสงค์ จะให้เป็นที่สักการะบูชาของปวงชน ณ อาณาบริเวณนั้นๆ อีกทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และเป็นที่ระลึกแห่งชัยชนะของพระองค์ด้วย .........  credit พระเจ้าจิตรเสน //group.dek-d.com




Create Date : 12 มิถุนายน 2556
Last Update : 12 มิถุนายน 2556 17:15:58 น.
Counter : 3427 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 13 มิถุนายน 2556 เวลา:13:33:40 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog