บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
4 ตุลาคม 2555
 

ดื่มน้อย(ปานกลาง)เพิ่มเสี่ยงหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ(AF)

.

สำนักข่าว Reuters ตีพิมพ์เรื่อง 'Moderate drinking linked to abnormal heart rhythm' = "ดื่มไม่มาก (ดื่มแอลกอฮอล์ปานกลาง) เพิ่มเสี่ยง (มีความสัมพันธ์กับ) หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การดื่มหนัก (แอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ชนิด AF หรือหัวใจห้องบนเต้นรัว-เต้นไม่เป็นจังหวะ (atrial fibrillation / AF)

การศึกษาใหม่พบว่า คนที่มีโรคหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิด AF และดื่มปานกลาง หรือดื่มไม่มาก เพิ่มเสี่ยงหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

ปกติหลอดเลือดคนเราจะค่อยๆ ตีบตันเพิ่มขึ้นตามอายุ เนื่องจากมีคราบไข หรือตะกรันจากโคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) ไปเกาะผนังด้านในสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ

คราบไข (plaque) จะทำให้เกิดการอักเสบ (เม็ดเลือดขาวแทรกเข้าไป) เกิดผนังหลอดเลือดอักเสบ บวม พอง ทำให้เส้นผ่าศูนย์กลางหลอดเลือดลดลงตามอายุ

เปรียบคล้ายท่อน้ำเก่าๆ ที่มีตะกรัน หรือคราบไคร เช่น สนิม ฯลฯ ฝังลึกเกาะ ทำให้ท่อตีบตันได้ในระยะยาว

การศึกษาก่อนหน้านั้นพบว่า การดื่มแต่น้อยอาจช่วยชะลอ หรือป้องกันการเกิดคราบไข หรือตะกรันที่ผนังด้านในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดง เช่น หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ ตีบตันช้าลง

กลไกที่เป็นไปได้ คือ การดื่มแต่น้อยอาจเพิ่มโคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดชนิดดี (HDL), ลดโอกาสเกิดลิ่มเลือด (blood clots) ให้น้อยลง

นิยามของการดื่มน้อย หรือดื่มปานกลางได้แก่

(1). ไม่เกิน 1 ดริ๊งค์ (drinks)/วันในผู้หญิงฝรั่ง

(2). ไม่เกิน 2 ดริ๊งค์ (drinks)/วันในผู้ชายฝรั่ง

แนะนำให้อ่าน

.

1 ดริ๊งค์ = เท่าไร, คำตอบ คือเท่ากับ...

(1). เบียร์แบบจืดจาง 1 กระเป๋องเล็ก (360 มิลลิลิตร/ซีซี)

(2). ไวน์แบบอ่อน 120 มิลลิลิตร (ซีซี)

(3). เหล้า 40 ดีกรี > 45 มิลลิลิตร (ซีซี)

.

ฝรั่ง-ชาวตะวันตกขนาดมาตรฐานจะโตกว่าคนไทย-เอเชีย โดยทั่วไปจะหมายถึงคนมาตรฐานในการวิจัย = ฝรั่งผู้ชายหนัก 70 กิโลกรัม อายุ 35 ปี

ฝรั่ง-ชาวตะวันตกมีโครงสร้างกระดูกใหญ่กว่าคนไทย-เอเชีย ทำให้มีมวลกระดูก-กล้ามเนื้อเฉลี่ยมากกว่าคนไทย-เอเชีย ทำให้ขนาด 1 ดริ๊งค์น่าจะต่ำกว่านี้ในคนไทย-เอเชีย

การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์แคนาดา) ทำในกลุ่มตัวอย่างคนสูงอายุมากกว่า 30,000 ราย ติดตามไป 5 ปี

กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน, ประวัติอัมพฤกษ์-อัมพาต, หรือภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ไตเสื่อม ฯลฯ

.

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการแสดงของโรคหัวใจห้องบนเต้นรัว หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ (AF) ดังนี้

  • ไม่ดื่มเลย หรือนานๆ ครั้ง > 1.5%/ปี
  • ดื่มน้อย หรือปานกลาง > 1.7%/ปี
  • ดื่มหนัก > 2.1%/ปี

สรุป คือ เฉลี่ยแล้ว, การดื่มแอลกอฮอล์น้อย หรือปานกลาง เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจห้องบนเต้นรัว หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ (AF) = 14% (เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่ม)

ดร.ยาน เลียง จากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์, ฮามิลทัน ออนตาริโอ แคนาดา

ประสบการณ์จากสหรัฐฯ พบว่า คนที่ดื่มหนักส่วนใหญ่เป็นคนที่บอกว่า ตัวเองดื่มน้อยหรือดื่มปานกลาง หรือมองตัวเองในแง่ดีเกินจริง

โรคหัวใจห้องบนเต้นรัว หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ 'AF' อาจทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย เช่น ใจสั่น หน้ามืด เวียนหัว เป็นลมชั่วคราว เป็นลม หัวใจวาย ฯลฯ ได้

.

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ AF ทำให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ คล้ายการเกิด "วังน้ำวน" ในหัวใจห้องบน และอาจเกิดลิ่มเลือด (blood clots) ได้

ถ้าลิ่มเลือดนี้หลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง อาจทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต สมองบวมถึงตายได้

บางรายอาจอุดตันหลอดเลือดสมองทีละน้อยๆ ทำให้เกิดสมองขาดเลือดขนาดเล็กหลายๆ แห่ง เพิ่มเสี่ยงโรคสมองเสื่อม ป้ำๆ เป๋อๆ เบลอๆ ได้ คล้ายผู้บริหารบางคน (เพ้อ ฝันเฟื่อง พูดไม่รู้เรื่อง ฯลฯ)

ปัจจัยเสี่ยง (risk factors) สำคัญของ AF ได้แก่

(1). อายุมาก

(2). ความดันเลือดสูง

(3). เบาหวาน

(4). อ้วน

(5). คอพอกเป็นพิษ หรือต่อมธัยรอยด์ทำงานมากเกิน (hyperthyroidism) โดยเฉพาะในคนสูงอายุ

.

คนอเมริกัน 314.5 กว่าล้านคนเป็นโรคหัวใจห้องบนเต้นรัวหรือ AF = 2.7 ล้านคน หรือ = 0.86% (เกือบ 1% หรือ 1/100) = คนอเมริกัน 116 คนเป็นโรค AF = 1 คน [ Census ]

ดร.เลียงแนะนำว่า คนสูงอายุที่เป็นเบาหวาน หรือโรคหัวใจ-ระบบไหลเวียนเลือด (เช่น หัวใจวาย ฯลฯ) ไม่ควรดื่มเกิน 1 ดริ๊งค์/สัปดาห์

และที่ลืมไม่ได้ คือ คนที่ดื่มนานๆ ครั้งจะต้องระวังดื่มหนักมากกว่าคนที่ดื่มเป็นประจำ

เนื่องจากคนที่ดื่มเป็นประจำส่วนใหญ่จะทำลายแอลกอฮอล์ได้เร็วกว่าคนที่ดื่มนานๆ ครั้ง

น้ำย่อยหรือเอนไซม์ที่ช่วยทำลายแอลกอฮอล์มีมากที่ผนังกระเพาะอาหารกับตับ

ฝรั่งหรือชาวตะวันตกมีเอนไซม์ทำลายแอลกอฮอล์ที่ผนังกระเพาะอาหารมากกว่าคนไทย-เอเชีย, ขนาดของแอลกอฮอล์แบบ "ดื่มน้อย - ดื่มปานกลาง" ในคนไทยจึงน่าจะน้อยกว่าฝรั่ง(มาก)

.

การดื่มหนักทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจวาย และเพิ่มเสี่ยงหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

การดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนสูง เช่น เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง ฯลฯ อาจเพิ่มเสี่ยงหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะได้ในคนบางคน (ถ้าดื่มแล้วใจสั่น-มือสั่น ควรรีบลดปริมาณลง)

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ >
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 4 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2555
2 comments
Last Update : 4 ตุลาคม 2555 8:25:40 น.
Counter : 3026 Pageviews.

 
 
 
 
ดีจังครับหมอ เพิ่มความรู้จะได้ระวังตัวด้วย
 
 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 4 ตุลาคม 2555 เวลา:10:42:47 น.  

 
 
 
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน --- การรู้ข้อมูลจะทำให้เราเลือกใช้ชีวิตได้ดีขึ้นในระยะยาว โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ จะมีโอกาสอายุยืนเกิน 70-80 ปีมากขึ้นแยะเลย
 
 

โดย: นพ.วัลลภ วันที่: 6 ตุลาคม 2555 เวลา:10:10:05 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com