บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
10 เมษายน 2556
 

ปรับสมดุลธาตุ ช่วยห่างไกลอัมพาต


.
สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Increased potassium and cut salt to reduce stroke risk'
= "เพิ่ม (แร่ธาตุ) โพแทสเซียม และลดเกลือ (โซเดียม) ลดเสี่ยงสโตรค (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) , ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.

.
ภาพที่ 1: แร่โพแทสเซียมในน้ำมันพาราฟีน [ wikipedia ]
.

.
ภาพที่ 2: ผงปุ๋ยโพแทสเซียม ซัลเฟต-แมกนีเซียม ซัลเฟต
.
พืชที่ใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม (K) สูงมักจะเป็นพืชประเภทที่มีหัวใต้ดิน สะสมแป้งได้มาก เช่น หัวมัน ฯลฯ หรือผลไม้ที่มีแป้ง-น้ำตาลสูง โดยเฉพาะผลไม้เขตร้อน
.
เซลล์ของคน สัตว์ พืชต้องใช้แร่ธาตุโพแทสเซียมในการนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์คล้ายๆ กัน, การกินอาหารที่มีแป้งหรือน้ำตาลสูง โดยเฉพาะอาหารมื้อใหญ่-งานเลี้ยง อาจทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำลง เพิ่มเสี่ยงความดันเลือดสูงได้

โพแทสเซียม (potassium / K) เป็นแร่ธาตุที่พบมากในผลไม้ เช่น กล้วย ฯลฯ, ผัก, ถั่ว ทั้งถั่วฝัก เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว ฯลฯ, รำข้าว-จมูกข้าว-ข้างกล้อง และถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดงหลวง ฯลฯ
.
การเปลี่ยนจากข้าวกล้องเป็นข้าวขาว ทำให้คนเราได้รับโพแทสเซียม และแมกนีเซียม (magnesium / Mg) จากรำข้าว-จมูกข้าวน้อยลง
.
ภาวะขาดแมกนีเซียมทำให้ไตเก็บโพแทสเซียมไว้ไม่ได้ รั่วไหลไปทางปัสสาวะมากขึ้น เพิ่มเสี่ยงต่อภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
.
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำอาจทำให้เกิดอาการท้องอืด กล้ามเนื้อมีแรงน้อยลง เช่น ลุกจากท่านั่งเป็นท่ายืนได้ยากขึ้น ฯลฯฐ เสี่ยงความดันเลือดสูงเพิ่มขึ้น
.

.
แมกนีเซียมมีในข้าวกล้อง รำข้าว จมูกข้าว ถั่ว เมล็ดพืช เช่น งา ฯลฯ
.
การศึกษานานมาแล้วพบว่า ถ้าคนเรากิน "ข้าวกล้อง ถั่ว งา" พร้อมกันในมื้อเดียว จะได้โปรตีนสมดุล คล้ายกับการกินเนื้อ ประหยัดกว่า แถมยังได้แร่ธาตุมากมาย เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ
.
การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน BMJ) พบว่า การกินผักผลไม้รวมกันเพิ่มขึ้น 2-3 เสิร์ฟ/วัน (servings = Sv = ส่วนบริโภค = เสิร์ฟ = จำนวนหน่วยอาหาร) หรือลดเกลือโซเดียม เช่น เติมซอสให้น้อยลง ฯลฯ จะช่วยลดเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตได้
.
1 เสิร์ฟ = กล้วยหรือส้มขนาดกลาง 1 ผล = ข้าวกล้องที่ซุยหรือคนแล้ว (ไม่อัดแน่น) 1 ทัพพีเล็ก (หนาประมาณข้อปลายนิ้วก้อยผู้ใหญ่ผู้หญิง)
.

.
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ผู้ใหญ่กินโพแทสเซียม 4 กรัม/วัน ขึ้นไป เพื่อป้องกันโรค โดยเฉพาะความดันเลือดสูง
.
ทีมวิจัยจากโปรแกรมอาหารโลก (UN World Food Programme), มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน, และมหาวิทยาลัยวอร์วิค ทำการทบทวนผลการวิจัยที่ผ่านมา 33 รายงาน, รวมกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 128,000 คน
.
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่กินโพแทสเซียม 3-4 กรัม/วัน ช่วยลดเสี่ยงความดันเลือดสูงได้ 24%
.
การศึกษาอีกรายงานหนึ่งจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ทบทวนการวิจัยที่ผ่านมา 34 รายงาน, รวมกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 3,000 คน
.

.
ผลการศึกษาพบว่า การลดเกลือโซเดียมติดต่อกัน 4 สัปดาห์ขึ้นไป ลดเสี่ยงความดันเลือดสูงได้ และทำให้คนที่มีความดันเลือดสูง มีความดันลดลง
.
ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้จำว่า โรคความดันเลือดสูงเพิ่มเสี่ยงอวัยวะเสื่อมได้แก่ "หัว-หัวใจ-ไต-ตา" (ถ้าเป็นเบาหวานจะเพิ่ม "ตีน" เป็น "หัว-หัวใจ-ไต-ตา-ตีน" คือ เท้าเป็นแผลง่าย-ติดเชื้อง่าย)
  • หัว > เพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อมจากการขาดเลือด
  • หัวใจ > เพิ่มเสี่ยงหัวใจวาย
  • ไต > เพิ่มเสี่ยงไตเสื่อม ไตวาย
  • ตา > เพิ่มเสี่ยงตาเสื่อม
ศ.นพ.เกรแฮม แมคเกรเกอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ กล่าวว่า ขนมปังเป็นแหล่งเกลือใหญ่ที่สุดของคนอังกฤษ (และชาวตะวันตก-ฝรั่ง)
.
เรื่องนี้สอดคล้องกับฝรั่งจำนวนมากที่ลงทุน "หุงข้าวกล้อง" เพื่อลดเกลือจากขนมปัง
.

.
ท่านกล่าวว่า การเพิ่มโพแทสเซียมจากข้าวกล้อง-ถั่ว-ผัก-ผลไม้ และลดเกลือโซเดียม ซึ่งพบมากในขนมปัง ซอส อาหารสำเร็จรูป ฟาสต์ฟูด น้ำจิ้ม และอาหารซื้อ ให้ผลดีกับสุขภาพแบบ "เสริมแรง" หรือ 1+1 = มากกว่า 2
.
อ.แคลร์ วอวทัน จากสมาคมสโตรค (โรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ) อังกฤษ (UK) กล่าวว่า ความดันเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1 ของสโตรค
.
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่า ผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกิน 5 กรัม/วัน = 1 ช้อนชา
.
สถาบันไนซ์ (National Institute for Health and Care Excellence / NICE) หรือสถาบันสุขภาพและการดูแลรักษาเป็นเลิศแห่งชาติ อังกฤษ (UK) ตั้งเป้าไปไกลกว่านั้น
.

.
คือ จะทำให้คนอังกฤษ "เค็มน้อยลง" จนเหลือเกลือในอาหาร 3 กรัม/วัน ภายในปี 2025/2568
.
ถ้าอยากมีชีวิตให้ไกลอัมพฤกษ์-อัมพาต, ทางเลือกที่น่าจะดีได้แก่ [ ninds.nih ]
.
(1). ตรวจเช็คความดันเลือดเป็นประจำ > ถ้าเป็นโรคต้องตรวจ-รักษาให้ต่อเนื่อง
.
ความดันเลือดสูงเพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาตก่อนอายุ 80 ปี = 2-4 เท่า
.
(2). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป โดยเฉพาะห้องแอร์ที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ
.
บุหรี่เพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาตจากหลอดเลือดสมองตีบตัน 2 เท่า, จากหลอดเลือดสมองแตก 4 เท่า
.
บุหรี่เพิ่มเสี่ยงมะเร็งปอด... มะเร็งปอดเพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต ทั้งจากหลอดเลือดสมองตีบตัน และจากมะเร็งกระจายไปสมอง
.
(3). ป้องกันเบาหวาน
.
เบาหวานทำให้คนเราแก่เร็วขึ้น อวัยวะเสื่อมเร็วเกินวัยประมาณ 15 ปี
.
วิธีป้องกันเบาหวานที่ดี คือ ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ, ควบคุมน้ำหนัก-ระวังน้ำหนักเกิน, ไม่นั่งนิ่งนานเกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง
.
(4). ตรวจเช็คไขมันในเลือด
.
ภาวะไขมันในเลือด หรือโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) สูง เพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาต
.
(5). รีบไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการแรกเริ่มของอัมพฤกษ์-อัมพาต เช่น แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ฯลฯ
.
ถ้าไปเร็ว, มีสิทธิ์ได้รับยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้โอกาสฟื้นจากอัมพฤกษ์-อัมพาตสูงขึ้นได้มาก
.

.

.

.

.

.
ภาพที่ 3-6: อาการสำคัญของสโตรค หรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต สรุปเป็นคำว่า 'FAST ("ฟาสท์" = เร็ว เร็วเข้า อย่าชักช้า)' ได้แก่
.
(1). F > face = ใบหน้า > ให้ยิ้ม - หน้าเบี้ยวไหม - เท่ากัน 2 ข้างไหม
.
(2). A > arm = แขน > ยกแขน - ยกได้เท่ากัน 2 ข้างไหม
.
(3). S > speech = คำพูด > เสียงเปลี่ยนไปไหม - พูดชัดไหม (slurred speech = พูดเบลอๆ - พูดไม่ชัด)
.
(4). T > time = เวลา > ยิ่งไปโรงพยาบาลเร็ว ยิ่งดี
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]


  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 10 เมษายน 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้



Create Date : 10 เมษายน 2556
Last Update : 10 เมษายน 2556 14:02:53 น. 0 comments
Counter : 2185 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com