บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ธันวาคม 2554
 

ยาลดโคเลสเตอรอล(สเตติน)+วิธีป้องกันเบาหวาน [EN]

จดหมายข่าวออนไลน์เว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Statins can cause diabetes' = "(ยาลดโคเลสเตอรอล-ไขมันในเลือด)สเตตินเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ


  • [ statin ] > [ s - แต๊ด - ตึ่น; พยัญชนะต้นคำออกเสียง "อะ" สั้น-เบา-มีเสียงลมรั่วปน คล้าย "สะ" ] แบบอเมริกัน / [ s - ตา - ทิน ] แบบอังกฤษ > //www.thefreedictionary.com/statin > noun = สเตติน ยาลดโคเลสเตอลรอล/ไขมันในเลือดกลุ่มหนึ่

  • [ diabetes ] > [ ได - อะ - บี๊ - ถิส - s; พยัญชนะท้ายคำออกเสียง "อึ" สั้น-เบา-มีเสียงลมรั่วปน คล้าย "สึ" ] > //www.thefreedictionary.com/diabetes > noun = เบาหวาน


[ อย่าลืม - ฟังเสียงเจ้าของภาษาจากลิ้งค์ แล้วออกเสียงตามทันที 3 รอบ ]


สเตตินเป็นกลุ่มยาที่มีการสั่งจ่ายเพื่อป้องกันโรคหัวใจมากที่สุดในโลก ยานี้มีฤทธิ์ลดระดับโคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด), ลดการอักเสบ และช่วยให้คราบไขที่ผนังหลอดเลือด "นิ่ง" ไม่แตกและไม่ฉีกขาดง่าย

.

กระบวนการอุดตันของหลอดเลือดแดงเริ่มจากการมีคราบไขโคเลสเตอรอลไปพอกทีเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือดแดง ซึมผ่านเยื่อบุไป มีเม็ดเลือดขาวมากิน เกิดการอักเสบ (ทำให้ผนังหลอดเลือดบวม-แดง-ร้อน หรือมีธาตุไฟกำเริบ), หลอดเลือดหัวใจตีบตันมากขึ้นเรื่อยๆ

.

คราบไขนี้มีความอ่อนนุ่ม และยุ่ย (แตกหรือฉีกขาดได้) คล้ายเต้าหู้แข็ง, เมื่อฉีกขาดหรือแตกยุ่ยจะกระตุ้นให้ระบบการแข็งตัวเลือดทำงาน เกิดลิ่มเลือด เพิ่มเสี่ยงต่อการตีบตัน หรือหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดส่วนปลาย ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลดลง

.

การศึกษาใหม่ ทำโดยการทบทวนการวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า คนที่ใช้ยาสเตตินเพิ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 9%

.

ความเสี่ยงเบาหวานแปรตามขนาดยา ขนาดต่ำเสี่ยงน้อย ขนาดสูงเสี่ยงมาก

.

ความเสี่ยงโดยเฉลี่ย คือ ขนาดยาที่ทำให้คน 3 คนพ้นจากอาการโรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจตีบตันกำเริบ - heart attack) จะทำให้คน 1 คนเป็นเบาหวาน

.

ทางเลือกที่น่าจะดี คือ ปรับเปลี่ยนแบบแผนในการใช้ชีวิต (lifestyle / ไลฟ์สไตล์) และ/หรือ ใช้ยาสเตติน โดยเริ่มจากขนาดต่ำก่อน และทำการป้องกันโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

.

(1). หลีกเลี่ยง / "ลด-ละ-เลิก"


  • เครื่องดื่มเติมน้ำตาล


เครื่องดื่มซื้อปลอดภัยน้อยกว่าเครื่องดื่มชงเอง เพราะใส่น้ำตาล-ครีม-ครีมเทียมมาก, ถ้าชงเอง...ควรใช้น้ำตาลแต่น้อย, ใช้น้ำตาลเทียมผสมน้ำตาลอย่างละ 1/2 เช่น ไลท์ชูการ์ ฯลฯ หรือใช้น้ำตาลเทียมช่วย, ใช้นมไขมันต่ำแทนครีมเทียมได้ (ถ้าชอบครีมเทียมควรเลือกยี่ห้อดีน เพราะทำจากน้ำมันถั่วเหลือง ยี่ห้ออื่นทำจากน้ำมันปาล์ม)



  • ข้าวขาว-แป้ง-น้ำตาล-น้ำผลไม้


กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว หรือขนมปังเติมรำ (โฮลวีท) แทนขนมปังขาว อย่างน้อย 1/2, ลดอาหารทำจากแป้ง, กินผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล เช่น ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ ส้ม ส้มโอ แอปเปิ้ล ฯลฯ แทนน้ำผลไม้



  • เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่กว่าสัตว์ปีก เช่น แพะ แกะ วัว หมู ฯลฯ

  • เนื้อสำเร็จรูป เช่น หมูหยอง หมูแผ่น ไส้กรอก ไส้อั่ว เบคอน ฯลฯ

  • ระวังน้ำหนักเกิน-อ้วน

  • ไม่สูบบุหรี่

  • ไม่ดื่มหนัก


(2). ลงมือทำ



  • ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

  • กินผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกาก)

  • ระวังระดับวิตามิน D ต่ำกว่า 75 nmol/L ซึ่งทำได้โดยการรับแสงแดดอ่อน 15-20 นาที/วัน และ/หรือ กินวิตามินรวมที่มีวิตามิน D พร้อมอาหารที่มีไขมัน

  • เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ โดยการออกแรง-ออกกำลังแบบต้านแรง 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ เช่น เล่นเวท ยกน้ำหนัก ขึ้นลงบันได เดิน-วิ่งขึ้นลงเนิน ฯลฯ


กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะสำคัญในการดึงไขมัน-น้ำตาลจากกระแสเลือดไปใช้, วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ขึ้นลงบันได หรือเดินขึ้นลงเนิน ซึ่งถ้ามีบันไดน้อยขั้น ให้จับราวบันได เดินหน้าถอยหลังที่บันได โดยใช้บันได 2 ขั้น



ถ้าที่บ้านไม่มีบันได, เรียนเสนอให้ซื้อบันไดแบบ 2 ขั้นจากห้างสรรพสินค้า หรือร้านอุปกรณ์ก่อสร้างมาใช้


ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


.

> [ Twitter ]



  • Thank Dr.Gabe Mirkin > Current Opinion in Lipidology, December 2011;22(6):460-466.

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 3 ธันวาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.

  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.






Free TextEditor


Create Date : 04 ธันวาคม 2554
Last Update : 4 ธันวาคม 2554 10:27:00 น. 0 comments
Counter : 825 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com