บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
30 กันยายน 2555
 

เดินย่อยอาหารช่วยละลายไขมัน

.
จดหมายข่าว Dr.Gabe Mirkin's Fitness & Health E-zine , ฉบับ 9 กันยายน 2555 ตีพิมพ์เรื่อง 'Exercise After You Eat' = "ออกกำลังหลังคุณกิน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
กล่าวกันว่า ของที่ทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น 3 อย่างได้แก่ ความดันเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง และไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) สูง โดยเฉพาะช่วงหลังอาหาร
.
การศึกษาใหม่จากสถาบันเมโย คลินิก (ตีพิมพ์ใน Diabetes Care) พบว่า การเดินช้าๆ หลังอาหารช่วยป้องกันน้ำตาลในเลือดสูงได้ดี
.
การศึกษาอีกรายงานหนึ่งจากญี่ปุ่น (ตีพิมพ์ใน Medicine and Science in Sports and Exercise) พบว่า การออกกำลังเบาๆ หลังอาหาร เช่น เดินช้าๆ ฯลฯ ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้
เรื่องนี้สอดคล้องกับคำโบราณที่แนะนำให้เดินช้าๆ หลังอาหาร แบบที่เรียกว่า "เดินย่อยอาหาร" แบบสบายๆ
.
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นมากหลังอาหารส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเหนียวที่เรียกว่า "ซอร์บิทอล (sorbitol)" เกาะหนึบ ติดกับผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย ทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วขึ้น แก่เร็วขึ้น
.
ข่าวร้ายนิดหน่อย คือ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังอาหารไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคนที่เป็นเบาหวาน ทว่า... อาจเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไปที่ไม่เป็นเบาหวานได้
.
เช่น หลังกินอาหารมื้อใหญ่ ไปงานเลี้ยง อบรม-ประชุม-สัมมนาหนักไปหน่อย ฯลฯ หรือกินอาหารขัดสี เช่น ข้าวขาว-ขนมปังขาว-อาหารทำจากแป้ง-เครื่องดื่มเติมน้ำตาล ฯลฯ
.
.
กล้ามเนื้อคนเรามีธรรมชาติสำคัญ คือ ถ้าอยู่นิ่งแล้วจะเฉื่อย ดูดน้ำตาลจากกระแสเลือดไปเผาผลาญเป็นกำลังงานได้น้อย และต้องใช้อินซูลินจากตับอ่อนในการพาน้ำตาลเข้าเซลล์
.
ตรงกันข้าม, ถ้าขยับ เขยิบ หรือเคลื่อนไหวไปมาบ่อยๆ... กล้ามเนื้อจะเกิดอาการ "ถีฟ (active = แอคทีฟ = เคลื่อนไหวไปมาบ่อย ไม่นั่งนิ่งนาน)" และดูดน้ำตาลจากกระแสเลือดไปเผาผลาญเป็นกำลังงานได้มากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน
.
ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นหลังอาหารทำให้ตับเปลี่ยนน้ำตาลส่วนหนึ่งเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) มากขึ้น
.
การออกแรง-ออกกำลังเบาๆ หลังอาหาร เช่น เดินช้าๆ, ปั่นจักรยานช้าๆ, ล้างจาน, เดินเล่นกับน้องๆ (walk a dog = เดินเล่นกับน้องหมา) ฯลฯ จึงช่วยลดทั้งระดับน้ำตาลในเลือด และไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

> [ AceFitness.org ]

> [ Twitter ]

  • Thank Dr.Gabe Mirkin > Source: Diabetes Care, published online Aug 8, 2012.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 13 กันยายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา(ลิ้งค์มาที่บล็อก) และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.




 

Create Date : 30 กันยายน 2555
0 comments
Last Update : 30 กันยายน 2555 13:23:25 น.
Counter : 6051 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com