บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
10 ธันวาคม 2555
 

พบ_กวางเรนเดียร์มองโลกด้วยUV [EN]

ว็บไซต์ Earthsky ตีพิมพ์เรื่อง 'Reindeer see a twilight world in UV light'
= "(กวาง)เรนเดียร์
  • [ reindeer ] > [ เร้น - เดี่ย ] > //www.thefreedictionary.com/reindeer > noun = กวางเรนเดียร์ อยู่ในเขตหนาว หรือใกล้ขั้วโลก
  • [ twilight ] > [ t/ถะ (เสียงพ่นลม เบา-สั้น) - ว้าย - ไหล่ - t/ถึ (เสียงพ่นลม เบา-สั้น) ] > //earthsky.org/earth/reindeer-see-a-twilight-world-in-uv-light > noun = แสงโพล้เพล้ แสงพลบค่ำ แสงเงินแสงทอง (ช่วงพระอาทิตย์ขึ้น-ตก, โพล้เพล้)
  • คำนี้มาจาก 'twi-' = ทวิ = 2, 1/2; และ 'light' = แสง

คนเรามักจะมีอาการแสบตา ตาพร่าเมื่อต้องไปอยู่กลางหิมะหรือทุ่งน้ำแข็งที่มีแสงจ้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตาของคนและสัตว์ส่วนใหญ่ทนต่อรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet / UV = รังสีเหนือม่วง มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง) ไม่ค่อยได้
.
หิมะสะท้อน UV มากถึง 90% ทำให้ปริมาณ UV ในเขตหนาวค่อนข้างสูง ทั้งๆ ที่แสงแดดดูมืดมัว
.
ถ้าไม่ใช้แว่นกรอง UV อาจทำให้แก้วตา หรือตาดำ (cornea) และเลนซ์ตา (lens) ของคนเราเกิดการอักเสบ บวม เจ็บตา แสบตา และมองไม่เห็นชั่วคราว เรียกว่า โรคตาบอดหิมะ (snow blindness) ได้
.
เขตหนาวแถบใกล้ขั้วโลกจะมีแสงแดดน้อย แสงที่มีเหลืออยู่จะเป็นแสงที่มีความถี่สูง คือ แสงแดดจะดูมืด ออกไปทางสีม่วง-น้ำเงิน (bluer wavelengths) และมี UV ที่ตาคนเรามองไม่เห็น
.

.
ภาพที่ 1: แสดงพื้นที่ที่กวางเรนเดียร์เหลืออยู่ สายพันธุ์อเมริกาแสดงด้วยแถบสีเขียว, สายพันธุ์ยูเรเซีย (ยุโรป+เอเชีย) แสดงด้วยแถบสีแดง [ wikipedia ]
.

.
ศ.เกลน เจฟเฟอรี และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอวเลจ ลอนดอน กล่าวว่า เลนซ์ตาของคนเราปิดกั้น UV ไว้, ไม่ยอมให้ UV ผ่านไปเกือบทั้งหมด
.
กวางเรนเดียร์แถบใกล้ขั้วโลกเหนือ (Arctic reindeer) มองเห็นภาพจาก UV ได้ โดยจะมองเห็นภาพที่คนหรือสัตว์ส่วนใหญ่เห็น "ขาวพรืด" ไปหมด เป็นโลกใหม่แบบนี้
  • หิมะสะท้อน UV 90% > สีขาว
  • ปัสสาวะ (urine) > สีดำ
  • ขน (fur) > สีดำ
  • ไลเคนส์ (lichens) > สีดำ
การมองเห็นปัสสาวะสีดำ ขนสัตว์สีดำ ทำให้กวางมีโอกาสหนีสัตว์นักล่า (predators) หรือสัตว์กินเนื้อ เช่น หมี หมาป่า ฯลฯ มากขึ้น และหาทางหลบหลีกคู่แข่ง (competitors) เช่น กวางต่างฝูง ฯลฯ
.
การมองเห็นไลเคนส์ หรือสิ่งมีชีวิตที่มีรากับสาหร่ายสีเขียวรวมกัน ทำให้ทนร้อน-ทนหนาว-ทนแล้งได้ดีมาก เกาะอยู่กับผิวสิ่งอื่น เช่น ก้อนหิน เปลือกต้นไม้ ฯลฯ ได้ดี
.

.
ภาพที่ 2: แสดงกวางเรนเดียร์ที่หลบไปยืนกลางหิมะเพื่อหนียุงและแมลง [ wikipedia ]
.
ไลเคนส์เป็นอาหารยามยากของเรนเดียร์
.

.
คนเราใช้ UV ในการตรวจสิ่งของมากมาย เช่น ใช้ตรวจธนบัตรหรือแบงก์ว่า ปลอมหรือไม่, ใช้ตรวจหาปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นหมักหมม หรือร่องรอยคดีต่างๆ ได้
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ


> [ Twitter ]

  • Thank > //earthsky.org/earth/reindeer-see-a-twilight-world-in-uv-light > May 12, 2011 issue of The Journal of Experimental Biology.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 22 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.



Create Date : 10 ธันวาคม 2555
Last Update : 10 ธันวาคม 2555 10:13:45 น. 0 comments
Counter : 2140 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com