บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
30 กันยายน 2555
 

7 วิธีป้องกันโรคทรัพย์จาง

.
อ.วินเซนท์ คิง ตีพิมพ์เรื่อง '7 Money Mindset Myths That Are Keeping You Poor' = "7 ความเชื่อ(เรื่องเงิน)ฝังหัวที่ทำให้คุณจน" ในเว็บไซต์ Moneyning.com, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
หมอท่านหนึ่งกล่าวไว้ดี คือ เวลาได้เงินเพิ่ม จะเป็นด้วยทางใดก็ตาม... คนจนกับคนรวยจะคิดจากใจส่วนลึก (propensity = แนวโน้ม) คือ คนจนจะจ่าย, คนเกือบรวยจะเก็บ, และคนรวยจะลงทุน
.
(1). คนจนมีแนวโน้มจะซื้อเพิ่ม > จ่ายเงิน
.
(2). คนชั้นกลางมีแนวโน้มจะเก็บเพิ่ม > ออมทรัพย์
.
(3). คนรวยมีแนวโน้มจะเก็บเพิ่มด้วย ลงทุนเพิ่มด้วย > ออมทรัพย์ + ลงทุน
อ.วินเซนท์ คิง กล่าวว่า คนเกือบทุกคนจะมีความเชื่อฝังลึก หรือ 'ม้าย-เส็ท-t (mindset)' 7 ชุด ซึ่งทำให้คนเรามีแนวโน้มจะเป็นคนจน คนชั้นกลาง หรือคนรวย
.
ถ้าเราเข้าใจตัวเองว่า เรามีความเชื่อฝังลึกอย่างไร... แล้วพยายามเปลี่ยนแปลง พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส, เราจะเสี่ยงหนี้สินเกินตัวน้อยลง เสี่ยงโรคทรัพย์จางน้อยลง และมีโอกาสรวยมากขึ้นได้ในอนาคต
.
(1). "ประหยัด 1 บาท = มีเงินเพิ่ม 1 บาท"
.
การประหยัดเป็นรากฐานของประโยชน์ก็จริง ทว่า... เมื่อเวลาผ่านไป, ของแพงขึ้นจะทำให้เงิน 1 บาทในอนาคตซื้อของได้น้อยลง (เงินเฟ้อ)
.
ทุกวันนี้ประหยัดอย่างเดียวไม่พอ ต้องขวนขวายมากกว่านั้นด้วย เช่น ปลูกพืชสวนครัวเพื่อลดค่ากับข้าว หารายได้พิเศษเสริม ฯลฯ และที่ลืมไม่ได้ คือ ต้องออมสุขภาพ
.
การศึกษาหนึ่งจากสหรัฐฯ พบว่า 75% ของเงินออมมักจะหมดไปกับค่าใช้จ่ายสุขภาพช่วง 6 เดือนสุดท้ายของชีวิต ซึ่งถ้าใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะการออกแรง-ออกกำลังเพื่อรักษาความฟิตตลอดชีวิตแล้ว จะประหยัดได้อย่างมากมาย
.
(2). "ไม่ต้องการความช่วยเหลือ(ทางการเงิน)"
.
เราอาจจะมีความรู้และไอเดียด้านการเงิน-การลงทุนอยู่แล้ว ทว่า... ยุคนี้เป็นยุคที่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าเงินเฟ้อ จึงควรหาความรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติม หรือปรึกษาหารือโค้ชด้านการลงทุน
.
และที่ลืมไม่ได้ คือ อย่าค้ำประกันเงินกู้คนอื่น (บอกไปเลยว่า แม่ไม่ชอบให้ค้ำใคร)
.
คนไข้ท่านหนึ่งค้ำเงินกู้คนอื่น แล้วคนให้ค้ำหนีไป ต้องจ่ายแทน เครียดเรื้อรัง กลายเป็นโรคตกใจง่ายแพนิค ความดันเลือดสูงเป็นพักๆ (เช่น 200/110 ฯลฯ), เครียดแบบนี้ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ-หัวใจวาย และจบชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองแตก
.
(3). "ตั้งงบ(รายการ)รายจ่ายช่วยประหยัด"
.
การตั้งงบ(รายการ)รายจ่ายช่วยประหยัดได้จริง ทว่า... อย่าลืมกันเงินเผื่อมีเหตุฉุกเฉินไว้เสมอ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้สำรองรายจ่ายขั้นต่ำ 6 เดือน (ถ้าทำได้), และอย่าลืม... ฝึกบันทึกรายจ่ายเสมอ เพื่อเทียบกับงบที่ตั้งไว้ เพื่อค้นหา "รูรั่ว" หรือ "หลุมดำ (black holes)" ที่ทำให้เงินหดหายไปอยู่ตรงไหน
.
การลงทุนไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มหนักเป็น 2 การลงทุนที่ช่วยลดหลุมดำทางการเงินได้ดี... การสำรวจในพม่าครั้งหนึ่งพบว่า ชาวนาพม่าประหยัดมาก ปลูกผักสวนครัวด้วย ทว่า... ใช้เงินเป็นค่าบุหรี่มากถึง 75% ของรายจ่ายทั้งหมด
.
(4). "ถ้าหาเงินได้มากก็จะใช้ได้มาก"
.
วิธีประหยัดที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง คือ ไม่ไปซูเปอร์มาร์เก็ต-ร้านสะดวกซื้อ-ไม่ดูเว็บขายของ ยกเว้นจำเป็นจะต้องซื้ออะไร... ให้จดรายการของจำเป็นก่อนไป รีบๆ จ่าย และรีบๆ ออกจากร้านค้า
.
การสำรวจหลายครั้งพบว่า คนที่เดินช้า ชมสินค้านาน หรือดูเว็บขายของบ่อย มีแนวโน้มจะจ่ายเงินมากขึ้น
.
วิธีที่ดี คือ ให้สวมรองเท้าวิ่งหรือรองเท้าผ้าใบไปซื้อของ เดินให้เร็วที่สุด ซื้อของเฉพาะรายการที่จดไว้ ไม่หยุดชมสินค้านาน หรือตั้งเวลาที่โทรศัพท์มือถือไว้ 40 นาที... ครบเวลาช็อปปิ้ง(จับจ่าย)แล้ว ให้รีบออก เพราะยิ่งอยู่นาน... ใจจะแตก เงินจะแหลก(ละลาย)มากขึ้น
.
และอย่าลืม... เวลาอยากได้อะไร อย่าซื้อทันที, ให้ยับยั้งชั่งใจไว้อย่างน้อย 7 วัน ช่วงนี้ให้ปั่นจักรยานเร็วๆ หรือเดินเร็วๆ คราวละ 10 นาทีบ่อยๆ เพื่อให้สารความสุขในสมอง (เอ็นดอร์ฟีน) หลั่งมากๆ ... ความอยากหรือความโลภมักจะลดลงหลังเวลาผ่านไปอย่างน้อย 7 วัน
.
ถ้าอยากให้ลูกหลานรวย... เวลาลูกหลานขออะไร อย่าซื้อให้ทันที, ให้ยับยั้งชั่งใจไว้อย่างน้อย 7 วัน, ถ้าลูกหลานลืม ไม่ต้องให้, ถ้าไม่ลืม... อีก 7 วันค่อยต่อรอง ให้ลูกหลานเก็บเงินมาร่วมจ่าย (co-payment) อย่างน้อยส่วนหนึ่งเสมอ
.
(5). "การไม่เสี่ยง = การไม่สูญเสีย"
.
ยุคนี้เป็นยุคที่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำกว่าเงินเฟ้อ... การออมทรัพย์ไว้กับธนาคารอย่างเดียวดูเหมือนจะเสี่ยงน้อย ทว่า... ค่าเงินจะลดลงในระยะยาว (เงินหด) เพราะของแพงขึ้น
.
การลงทุนหลายๆ อย่างมีส่วนทำให้เราขอลดภาษีได้ แถมยังมีโอกาสได้กำไรมากกว่าฝากธนาคาร เช่น สมทบกองทุนบำเหน็จบำนาญ, ซื้อประกันธนาคารออมสิน (ซื้อแบบไม่มีนายหน้าประหยัดกว่านายหน้า หลายบริษัทให้ค่านายหน้า 40% ในปีแรก ทำให้ผู้ประกันได้ผลตอบแทนน้อยลง), กองทุนรวม (ถ้าถือนาน 5-10 ปีขึ้นไป, กองทุนผสมหรือกองทุนหุ้นมีแนวโน้มจะกำไรมากกว่ากองทุนตราสารหนี้-พันธบัตร)
.
อย่าทุ่มสุดตัวลงทุนไปกับอะไรอย่างเดียว ควรกระจายการลงทุนไปหลายๆ อย่าง, หลายๆ ทาง เผื่อว่า อะไรเกิดพลาด... ส่วนที่เหลือก็ยังรอด หรือพอไปได้
.
และอย่าลืมคิดถึงแม่... สวมหมวกกันน็อค-คาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ จำไว้ว่า ถ้าเป็นอัมพาตหรือพิการแล้ว แม่จะลำบาก คิดอย่างนี้ให้ได้ทุกครั้งก่อนขึ้นรถ จะเป็นมงคลธรรม (เหตุแห่งความเจริญ)
.
(6). "มีมากพอแล้ว"
.
ยุคนี้คนเรามีโอกาสอายุยืนมากขึ้น และมีชีวิตหลังเกษียณที่คนส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ประจำนานขึ้น
.
และอย่าลืม... ถ้าทำได้, ให้ลงทุนซื้อ BM(x) ไว้ปั่น 20 นาที เช้า-เย็น (ถ้าจะให้ดี... ซื้อหมวกกันน็อคจักรยานด้วย), ลงทุนซื้อรองเท้าวิ่งหรือรองเท้าที่ดีพอที่จะเดินเร็ว 80-100 ก้าว/นาที ขึ้นไปได้ตั้งแต่อายุน้อย ฝึกเดินให้เร็ว, ลงทุนขึ้นลงบันได สะสมเวลาให้ได้ 4 นาที/วัน
.
อาจารย์หมอกระดูกท่านหนึ่งเกษียณพร้อมกับเป็นเบาหวาน... ท่านเลิกเบียร์, ปั่น BMx มากพอเป็นประจำ ทำให้คุมเบาหวานได้ โดยไม่ต้องใช้ยา แบบนี้ก็มี
.
คนที่มีความฟิต(ความแข็งแรง)สูง, เสี่ยงเบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต กระดูกหักตอนอายุมากน้อยลง, และถ้าป่วย... ผลการรักษาก็ดีขึ้น ฟื้นตัวไวกว่ากันแยะ
.
(7). "ใช้ชีวิตวันนี้ให้มีความสุข-สนุกเต็มที่ วันหลังค่อยว่ากันใหม่"
.
เจ้าของรีสอร์ทแห่งหนึ่งเล่าไว้เมื่อ 20 กว่าปีก่อนว่า หาคนทำงานยาก... เพราะคนงานแถวนั้น (วันนี้วันพระบอกชื่อจังหวัด หรือภาคนั้นไม่ได้) จะทำงานแบบหยุดเป็นพักๆ, พอมีเงินจะหยุดงาน หมดเงินแล้วจึงจะทำงาน
.
ประสบการณ์ทั่วไทยพบว่า คนแก่ที่ถูกทอดทิ้งมีโหงวเฮ้ง(ลักษณะ)สำคัญ 2 อย่าง คือ จนกับขี้บ่น
.
คุณยายท่านหนึ่งแจกที่ดิน-เงินให้ลูกหลานเกือบหมด... ไม่นานก็ถูกลูกหลานทิ้ง, ลูกคนหนึ่งถึงกับนับธนบัตรใบละ 20 บาทให้ 10 ใบ แล้วไม่ดูแลอะไรอีกเลย...
.
นี่เป็นอุทาหรณ์(ตัวอย่าง)ว่า ถ้าไม่อยากถูกทอดทิ้ง... ต้องมีทรัพย์ และลงทุนให้เป็นตลอดชีวิต, และถ้าลูกหลานไม่เลี้ยงตอนแก่ก็ไม่ต้องตกใจ... ให้รีบทำพินัยกรรม ยกทรัพย์ให้วัด มูลนิธิดีๆ หรือโรงพยาบาล (อย่าลืมเลือก รพ.ที่ ผอ.ไม่โกงด้วยจึงจะดี), ไม่จำเป็นต้องยกทรัพย์ให้คนเนรคุณ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Moneyning.com
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 30 กันยายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.



Create Date : 30 กันยายน 2555
Last Update : 30 กันยายน 2555 13:15:20 น. 0 comments
Counter : 767 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com