บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ธันวาคม 2554
 

กาแฟกับสุขภาพ+กาเฟอีนกับกีฬา [EN]

จดหมายข่าวออนไลน์ อ.นพ.เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Why three out of four athletes take caffeine before competition' = "ทำไมนักกีฬา 3/4 (3 ใน 4 คน) ใช้กาเฟอีนก่อน (การ) แข่ง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ


  • [ athlete ] > [ แอ๊ต - หลีท - t; 't' ท้ายคำออกเสียงคล้าย "ถึ" สั้นและเบามาก ] > //www.thefreedictionary.com/athlete > noun = นักกีฬา

  • [ caffeine ] > [ แขฟ - ฟี่น ] > noun = กาเฟอีน (โปรดออกเสียงคำนี้คล้าย "ฝิ่น" คือ "แขฟ - ฟี่น")


คำนาม-คุณศัพท์ (noun & adjective) ส่วนใหญ่ย้ำเสียง (accent) ที่พยางค์แรก, คำกริยาส่วนใหญ่ย้ำเสียงที่พยางค์หลัง


คำนามที่ย้ำเสียงคำหลังส่วนใหญ่มาจากภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาอื่น ไม่ใช่ภาษาอังกฤษดั้งเดิม เช่น "แขฟ - ฟี่น (caffeine)" น่าจะมาจากภาษาฝรั่งเศส หรือเยอรมัน, ศัพท์เดิมตรงกับ 'cafe'


ภาษาไทยเน้นเสียง (accent) พยางค์หลังเป็นส่วนใหญ่ เช่น เรานำคำ "คา - เฟ่" มาใช้เป็น "กา - แฟ"





  • [ compete ] > [ ข่อม - พีท - t; 't' ท้ายคำออกเสียงคล้าย "ถึ" สั้นและเบามาก ] > //www.thefreedictionary.com/compete > verb = แข่งขัน

  • [ competition ] > [ คอม - พี - ทิช - เฉิ่น ] > //www.thefreedictionary.com/competition > noun = การแข่งขัน


คำนามที่ยาวเกิน 3 พยางค์ ( เช่น คอม - พี - ทิช - เฉิ่น ฯลฯ) ย้ำเสียงพยางค์ที่ 4 หนักๆ และพยางค์ที่ 1 เบาๆ


ปี 2004/2547 สำนักงานต้านการโด๊ปโลกยกเลิกกาเฟอีนออกจากรายการยาโด๊ป เพื่อให้นักกีฬาดื่มกาแฟ ชา ชอคโกแล็ต โกโก้ น้ำอัดลมกลุ่มโคล่า/น้ำดำ

.

นักวิจัยได้ตรวจหาระดับกาเฟอีน (เวลาพูดภาษาอักกฤษ, โปรดออกเสียงคำนี้คล้าย "ฝิ่น" คือ "แขฟ - ฟี่น") จากตัวอย่างปัสสาวะตรวจหายาโด๊ปปี 2004-2008/2548-2551 พบว่า นักกีฬา 75% ใช้กาเฟอีนก่อนการแข่งขัน ทั้งระดับชาติและนานาชาติ

.

นักกีฬากลุ่มที่มีระดับกาเฟอีนสูงสุด คือ กลุ่มแข่งขันความอดทน-ทนทาน (endurance) หรือออกแรงกล้ามเนื้อมัดใหญ่ต่อเนื่องกันนานๆ เช่น ไตรกีฬา จักรยานทางไกล พายเรือทางไกล ฯลฯ

.

นักยิมนาสติกส์มีระดับกาเฟอีนต่ำสุด ซึ่งอาจเป็นเพราะต้องการกีฬานี้ต้องการความนิ่งสลับการเคลื่อนไหว และใช้สมาธิมากกว่าความทนทาน

.

นักกีฬาที่มีอายุมากกว่า 30 ปี มีระดับกาเฟอีนสูงกว่านักกีฬาอายุต่ำกว่า 20 ปี, นักกีฬาผู้ชายใช้กาเฟอีนมากพอๆ กับนักกีฬาผู้หญิง

.

ความสามารถในการออกแรง-ออกกำลัง แปรตามความสามารถในการใช้ออกซิเจน คือ ยิ่งใช้ออกซิเจนเผาผลาญสารอาหารเป็นพลังงานได้มาก-ยิ่งได้เปรียบในการแข่งขัน

.

ยกเว้นการออกกำลังในระยะสั้นมากๆ เช่น วิ่ง 50-100 เมตร ฯลฯ ส่วนใหญ่ใช้พลังงานที่สะสมแบบ "สำเร็จรูป" พร้อมใช้ คล้ายๆ กับบะหมี่สำเร็จรูป โดยเก็บไว้ในกล้ามเนื้อ (ในรูป GTP, ATP)

.

การเผาผลาญแป้งของกล้ามเนื้อใช้ออกซิเจนน้อยกว่าการเผาผลาญไขมัน เนื่องจากการเผาผลาญไขมันต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนกว่า

.

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ สมรรถภาพสมองจะตกลงเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมากเกิน

.

กลไกการออกฤทธิ์ของกาเฟอีนที่สำคัญได้แก่

.

(1). เพิ่มการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้

.

(2). เพิ่มการนำน้ำตาลเข้าเซลล์กล้ามเนื้อที่ออกกำลัง 26%

.

กาเฟอีนเพิ่มสมรรถภาพในการแข่งความเร็ว เช่น วิ่ง จักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

.

กาเฟอีนเพิ่มสมรรถภาพสมองในการส่งสัญญาณ ผ่านเส้นประสาท ไปกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อให้หดตัวพร้อมกันได้คราวละมากขึ้น

.

กล้ามเนื้อแต่ละมัดมีเซลล์กล้ามเนื้อ คล้ายเส้นใยที่ยืดหดได้ จำนวนมาก, การหดตัวส่วนใหญ่ เช่น การทรงตัว ฯลฯ ใช้เซลล์กล้ามเนื้อจำนวนน้อย ทำงานสลับกันทีละส่วน เพื่อให้ความเมื่อยล้าเกิดช้าลง

.

การแข่งขันกีฬาประเภทความเร็ว ต้องการการหดตัวของกล้ามเนื้อจำนวนมากขึ้นพร้อมๆ กัน ซึ่งนักกีฬาที่ฝึกมาอย่างดี ฝึกนานพอ และมีระดับความฟิตสูง จะทำให้การหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเกิดขึ้นพร้อมกันได้มากขึ้น (เมื่อคิดเป็นร้อยละของเซลล์ทั้งหมด)

.

นักกีฬาที่แข่งขันที่นานขึ้น หรือมีระยะทางไกลขึ้น มีขีดจำกัด คือ ปริมาณแป้ง-น้ำตาลสำรองในร่างกายจะลดลงไปเรื่อยๆ

.

ร่างกายสะสมไว้ได้ 2 ที่ คือ ตับกับกล้ามเนื้อ,


  • แป้งในตับสำรองน้ำตาลในร่่างกายส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสมอง-เซลล์ประสาทซึ่งใช้น้ำตาลเป็นพลังงานหลัก

  • แป้งในกล้ามเนื้อสำรองน้ำตาลไว้ในกล้ามเนื้อ ส่งออกไปสู่กระแสเลือดไม่ได้


เมื่อแป้งสำรองในกล้ามเนื้อลดลง, กล้ามเนื้อจะเริ่มขาดน้ำตาล และหันไปใช้พลังงานจากหลายๆ แห่งร่วมกัน คือ น้ำตาล-ไขมัน-โปรตีน

.

และเมื่อน้ำตาลในเซลล์กล้ามเนื้อลดลงมากพอ... เซลล์กล้ามเนื้อจะหดตัวพร้อมๆ กันได้น้อยลง (เริ่มตีรวน), และเริ่มมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

.

กาเฟอีนเพิ่มความสามารถของกล้ามเนื้อให้เผาผลาญไขมันได้ดีขึ้นตั้งแต่ช่วงแรก ทำให้มีน้ำตาลเหลือไว้ใช้นานขึ้น

.

การศึกษาเกือบทั้งหมดพบว่า ไม่จำเป็นต้องกินกาเฟอีนขนาดสูงเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกาย หรือการแข่งขันกีฬา ขนาด 1-2 ดริ๊งค์ (drinks) = กาแฟ 1-2 ถ้วยก็พอแล้ว

.

กาแฟสำเร็จรูปมีกาเฟอีนประมาณ 70 มก., กาแฟสดส่วนใหญ่มีกาเฟอีนสูงกว่านี้มาก (อาจมากได้จนถึง 300 มก.-มีน้ำตาล-ครีมสูงกว่ากาแฟชงเอง), เครื่องดื่มชูกำลังในไทยมีกาเฟอีนประมาณ 50 มก.

.

กาแฟ-ชาชงเองปลอดภัยกว่ากาแฟซื้อมาก เช่น กาแฟ-ชาเย็นแบบไทย เติมนมที่มีขายทั่วไปใส่สีปริมาณสูงมาก แม้จะมีตรา "อย." ก็ดูจะไม่ปลอดภัย

.

ผู้เขียนทดลองซื้อชาตรามือที่มีตรา "อย." มาดื่มดู 1-2 ครั้งก็ไม่กล้าดื่มอีก เนื่องจากมีสีย้อมติดบนฟองน้ำล้างจาน

.

แนะนำให้ใช้ฟองน้ำล้างจานสีขาว เนื่องจากใช้ตรวจสอบสีผสมอาหารได้ในระดับหนึ่ง, ถ้าอาหาร-เครื่องดื่มใดมีสีย้อมติดฟองน้ำล้างจานแล้ว ดูจะไม่น่าใช้เท่าไร

.

กาเฟอีนมีจุดอ่อนคล้ายยา-สารเสพติดอีกหลายชนิด คือ มีการ "ดื้อยา" หรือตอบสนองต่อสารเคมีชนิดนี้น้อยลงเมื่อใช้บ่อยเกินไป

.

นักกีฬาที่ต้องการผลในการกระตุ้นของกาเฟอีนมากขึ้น, ควร "ลด-ละ-เลิก" หรือใช้กาเฟอีนเฉพาะช่วงแข่งขัน และใช้แต่น้อยหรือไม่ใช้เลยในช่วงที่ไม่ได้แข่ง

.

กลไกนี้คล้ายอะไรที่คุ้นเคยกันทุกวันจะไม่ค่อยทำให้ตื่นเต้นได้ ไม่เหมือนของแปลก หรือของใหม่ที่ทำให้คนเราตื่นเต้นได้มากกว่า

.

กาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ (diuretic หรือกระตุ้น "ฉี่" ออกเสียงคล้ายกับ "pee / พี่" ในภาษาอังกฤษ เข้าใจว่า เป็นศัพท์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ) อย่างอ่อน

.

การดื่มน้ำให้มากพอเป็นประจำ มีส่วนป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งทำให้สมรรถภาพทางกายตกลงได้

.

การใช้กาเฟอีนก่อนแข่งกีฬา ไม่ทำให้ร่างกายเสียน้ำมากขึ้นในระหว่างการเล่นกีฬา เนื่องจากร่างกายคนเราจะปัสสาวะน้อยลง สำรองไว้เผื่อต้องขับเหงื่ออยู่แล้ว

.

ข้อควรระวังอย่างยิ่ง คือ กาเฟอีนอาจกระตุ้นภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และ/หรือ ความดันเลือดได้ในคนบางคน

.

การใช้กาเฟอีนคงจะไม่ปลอดภัยในคนที่มีโรคหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ, มีไข้สูง (ช่วงที่มีไข้ ไม่ควรออกกำลังหนัก เนื่องจากเพิ่มเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ-หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ, คนที่เป็นความดันเลือดสูงและยังควบคุมความดันไม่ได้

.

กาเฟอีนเพิ่มการดูดซึมน้ำตาลจากทางเดินอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะถ้ากินพร้อมอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต (ข้าว-แป้ง-น้ำตาล-ผลไม้-น้ำผลไม้) อาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้คนบางคนจนถึง 200% หรือ 2 เท่า

.

คนอเมริกันทางเหนือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานมากกว่า 35% เนื่องจากน้ำหนักเกิน-อ้วน ได้รับแสงแดดน้อยกว่าทางใต้ (เพิ่มเสี่ยงขาดวิตามิน D)

.

วิธีป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงจากกาเฟอีน สำหรับท่านที่ยังไม่เป็นเบาหวาน (แม้ยังไม่เป็นเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็ทำให้ร่างกายเสื่อมได้) คือ

.

(1). ดื่มแต่น้อย ไม่เกิน 1-2 ถ้วย/วัน, ดื่มกาแฟชงเองแทนกาแฟซื้อ หรือดื่มกาแฟชนิดสกัดกาเฟอีนออก (ดีแต่แพง)

.

(2). ดื่มตอนท้องว่าง และไม่ดื่มพร้อมอาหารมื้อใหญ่ โดยเฉพาะอาหารกลุ่มข้าว-แป้ง-น้ำตาล-ผลไม้-น้ำผลไม้

.

คนที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าประชากรทั่วไป ทำให้เสี่ยงตาเสื่อม-ตาบอด, หูเสื่อม-หูหนวก, หัวใจเสื่อมสภาพ-ขาดเลือด, สโตรค (stroke = กลุ่มหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต), ไตเสื่อม-ไตวาย, เท้าเป็นแผล-ติดเชื้อจนต้องตัดนิ้วหรือเท้าเพื่อรักษาชีวิต

.

กาแฟหรือกาเฟอีนก็คล้ายกับอีกหลายเรื่องในชีวิตตามสำนวนคุณย่า คือ "กินแต่น้อยจึงจะพอดี (แม้แต่กินปานกลางก็ยังไม่ค่อยพอดี)"

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]



  • ขอขอบพระคุณ > ฉลากอาหาร "ชาตรามือ". โรงงานใบชาสยาม จ.เชียงราย - ใช้สีผสมอาหาร 'C Yellow #6' และมีตรา อย. (ฉลากอาหารกาแฟไทยที่แมโครก็พบใช้สีผสมอาหารเช่นกัน).

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 2 ธันวาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.

  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.







Free TextEditor


Create Date : 04 ธันวาคม 2554
Last Update : 4 ธันวาคม 2554 10:28:36 น. 0 comments
Counter : 1233 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com