บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 ธันวาคม 2555
 

วิธีป้องกันปวดขา_+หลอดเลือดตีบตัน

.

[ YouTube ]

.
วิดีโอ: แสดงคราบไข (โคเลสเตอรอล) ที่รีดออกมจากหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ทาที่อุดตัน (คนไข้สูบบุหรี่)
.

.
ภาพ: แสดงระยะของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral artery disease / PAD) [ urgomedical ]
  • (1). ไม่มีอาการ อาจตรวจพบชีพจรที่ขาเบาลง
  • (2). เดินหรือออกแรง-ออกกำลังแล้วปวดขา ทุเลาเมื่อพัก
  • (3). อยู่เฉยๆ ก็ปวด
  • (4). เป็นแผลเรื้อรัง หายยาก

.
สำนักข่าว HealthDay News ตีพิมพ์เรื่อง 'Smoking, Diabetes Are Risk Factors For Poor Leg Circulation: Study'
= "(วิจัยพบ) บุหรี่, เบาหวาน เป็นปัจจัยเสี่ยง (โรค) หลอดเลือดขาตีบตัน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างคนอเมริกันเกือบ 45,000 คน ติดตามไปนานกว่า 2 ทศวรรษหรือ 20 ปี
.
พบปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดขาตีบตัน (peripheral artery disease / PAD) ซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงแขนขาส่วนปลายน้อยลง โรคนี้พบบ่อยที่เท้า-ขาท่อนล่าง (อาการดังภาพ) ได้แก่
  • (1). บุหรี่
  • (2). เบาหวาน
  • (3). ความดันเลือดสูง
  • (4). ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) สูง

.
ผู้ชายที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อนี้เสี่ยงโรค PAD ลดลง 77% เมื่อเทียบกับคนที่มีปัจจัยเสี่ยง
.
คนที่เป็นเบาหวาน+ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) สูง, ยิ่งนานยิ่งเพิ่มเสี่ยง (ความเสี่ยงแปรตามระยะเวลา) ทั้งโรคหัวใจ+โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน (PAD)
.
สมาคมโรคหัวใจอเมริกา (American Heart Association/ AHA) กล่าวว่า โรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน หรือ 'PAD (พีเอดี)' เป็นโรคหลอดเลือดแดงนอกหัวใจเสื่อม พบบ่อยที่สุดบริเวณ "เชิงกรานและขา"
.
คนอเมริกัน 289 ล้านคน เป็นโรค PAD = 8-10 ล้านคน (เฉลี่ย 9 ล้านคน) = คนอเมริกัน 32 คนเป็นโรคนี้ 1 คน = 3.1% [ Census ]
.

.
ธรรมดาของโรคหลอดเลือดแดงเสื่อมอย่างหนึ่ง คือ เมื่อเสื่อมแล้ว... จะเสื่อมหลายแห่งทั่วร่างกายมากกว่าเสื่อมตำแหน่งเดียว
.
คนที่มีอาการของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน (PAD) เพิ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจกำเริบ (heart attack), สโตรค (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อมจากขาดเลือด), และมินิ-สโตรค
.
มินิ-สโตรค (mini-stroke) หรือ TIA (transient ischemic attack) = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน ที่ทำให้เกิดอาการชั่วคราว [ mayoclinic ]
.
คนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราว เพิ่มเสี่ยงเป็นซ้ำได้มากจนถึง 1/3
ควรปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ชีวิต (lifestyle) และใช้ยาตามที่หมอแนะนำ
.

.
อ.ดร.มาจา ซาริค ผู้เชี่ยวชาญโรครักษาหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน เช่น ใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด ฯลฯ จาก รพ.เลนอกซ์ ฮิวล์, นิวยอร์ค ซิที กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีผลต่อ PAD มากกว่าโรคหัวใจ
.
กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ หลอดเลือดส่วนปลายส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า และเลือดไหลเวียนช้ากว่าหลอดเลือดหัวใจ
.
ปกติแรงต้านการไหลเวียนของของไหล (ของเหลวหรือแก๊ส)ในท่อใดๆ จะแปรผกผันกับรัศมียกกำลัง 4 ตามกฎของปัวแซว คือ ท่อเล็กลงนิดเดียวจะทำให้แรงต้านเพิ่มขึ้นมาก
.
หลอดเลือดแดงที่เล็กลงจะมีแรงต้านมากขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง เพิ่มเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุตันมากขึ้น
.

.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การสูบบุหรี่เพิ่มเสี่ยง PAD ไปนาน เช่น ถ้าเลิกบุหรี่วันนี้... ความเสี่ยงจะยังคงสูงกว่าคนไม่สูบไปอีก 20 ปี (แต่น้อยกว่าคนที่สูบไปเรื่อยๆ) ฯลฯ
.
การลงทุนสุขภาพ เพื่อป้องกันโรค เช่น ไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ไม่นั่งนานเกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง ฯลฯ จะช่วยให้ท่านมีอายุยืนอย่างมีคุณภาพ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


> [ Twitter ]

  • Thank > https://www.youtube.com/watch?v=lEc-Rsv9pMc
  • Thank > //www.urgomedical.com/Pathophysiologies/Skin-and-wounds/Chronic-wounds
  • Thank > //consumer.healthday.com/Article.asp?AID=669846 > source: Oct. 24/31 issue of the Journal of the American Medical Association.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 26 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้



Create Date : 02 ธันวาคม 2555
Last Update : 2 ธันวาคม 2555 6:02:11 น. 4 comments
Counter : 8784 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณครับ....
 
 

โดย: wildbirds วันที่: 2 ธันวาคม 2555 เวลา:8:05:01 น.  

 
 
 
อ่อนเข้าใจยากหน่อยครับ
 
 

โดย: พันคม วันที่: 2 ธันวาคม 2555 เวลา:8:58:58 น.  

 
 
 
ขอบคุณค่ะ
 
 

โดย: AsWeChange วันที่: 2 ธันวาคม 2555 เวลา:10:40:41 น.  

 
 
 
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านครับ.... ---- ต้องขออภัยด้วยที่เรื่องนี้อาจจะอ่านยากอยู่บ้าง ---- ถ้าติดตามบล็อกของเราไปเรื่อยๆ จะมีความรู้ด้านสุขภาพดีขึ้นมากมาย ภายใน 2-3 ปีเป็นอย่างช้าครับ...
 
 

โดย: นพ.วัลลภ วันที่: 5 ธันวาคม 2555 เวลา:10:35:49 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com