บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
4 สิงหาคม 2555
 

ลดไขมันตื้น-เสี่ยงเพิ่มไขมันลึก(ลงพุง)

.
สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Deep belly fat may increase after liposuction' ="ไขมันช่องท้องส่วนลึกอาจเพิ่มหลังดูดไขมัน(ส่วนตื้น/ใต้ผิวหนัง)" = "ดูดไขมันเพิ่มเสี่ยงอ้วนลงพุงส่วนลึก"
  • [ belly ] > [ เบ๊ว - หลิ ] > //www.thefreedictionary.com/belly > noun = ท้อง
  • bellyache (noun) = stomachache = ปวดท้อง (stomach = กระเพาะอาหาร)
  • bellyache (verb) = บ่นว่า (ติเตียนคนอื่น)
  • belly-dance (noun) = ระบำหน้าท้อง

การศึกษาใหม่ ทำโดย อ.ฟาบิอานา เบนาตติ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเซา เปาโล บราซิล ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติ และมีปกติไม่ออกแรง-ออกกำลัง (sedentary = นั่งๆ นอนๆ - ไม่ออกแรง ออกกำลังเป็นประจำ) 36 คน

ผลการศึกษาพบว่า คนที่ผ่านการดูดไขมัน (ไขมันส่วนตื้น ใต้ผิวหนัง) เพิ่มเสี่ยงไขมันในช่องท้อง หรือไขมันส่วนลึกที่อยู่รอบๆ อวัยวะภายในเพิ่มขึ้น (visceral fat)

อ.เบนาตติ กล่าวว่า เรายังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดว่า ทำไมไขมันส่วนลึกเพิ่มขึ้นหลังดูดไขมันส่วนตื้นออกไป

ทว่า... มีความเป็นไปได้ว่า การดูดไขมันส่วนตื้นไปทำให้ไขมันส่วนตื้นลดลง (ไขมันส่วนลึกไม่ลดลง), ทำให้ไขมันส่วนเกินใหม่ๆ ไปเกาะหนึบที่ไขมันส่วนลึกมากขึ้น

ไขมันส่วนลึก โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง ไม่ได้เป็นไขมันที่อยู่นิ่งๆ (not inert) แบบไขมันส่วนตื้น (ใต้ผิวหนัง)

ทว่า... มักจะปล่อยสารก่อการอักเสบเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน (เพิ่มเสี่ยงเบาหวาน), เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือด

หลังการศึกษาเฟสแรก (ดูดไขมันอย่างเดียว) ผ่านไป 2 เดือน... อ.เบนาตติ สุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มหนึ่งให้เดินบนลู่วิ่ง-เดินไฟฟ้า (treadmill) และฝึกออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก เล่นเวท ฯลฯ แบบเบาๆ 3 ครั้ง/สัปดาห์, อีกกลุ่มหนึ่งให้นั่งๆ นอนๆ "แบบเดิมๆ" ต่อไป 4 เดือน

ผลการศึกษาพบว่า

  • กลุ่มที่ออกแรง-ออกกำลังมีไขมันส่วนลึกในช่องท้อง (visceral fat) เท่าเดิม (ไม่เพิ่มขึ้น)
  • กลุ่มที่ไม่ได้ออกแรง-ออกกำลังมีไขมันส่วนลึกในช่องท้อง (visceral fat) เพิ่ม 10%

สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งอเมริกา (ASPS) รายงานว่า การดูดไขมันใต้ผิวหนัง (liposuction) ได้รับความนิยมลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

คนอเมริกัน 313.2 ล้านคน ไปดูดไขมันออก 204,700 รายในปี 2011/2554 = คนอเมริกัน 1,530 คนไปดูดไขมัน 1 คน (ปี 2554), เทียบปีต่อปีแล้ว ลดลงจากเมื่อ 10 ปีก่อน = 42%

ภาวะแทรกซ้อนระยะสั้นจากการดูดไขมันได้แก่ การตกเลือดใต้ผิวหนัง เส้นประสาทที่ผนังหน้าท้องเสียหาย ผิวหนังหย่อนยาน

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การลดความอ้วนทั้งตัว (เน้นไขมันใต้ผิวหนัง) กับการลดอ้วนลงพุง (เน้นไขมันส่วนลึกในช่องท้อง) มีแนวทางสำคัญต่างกันได้แก่

  • ลดความอ้วน > เน้นควบคุมอาหาร มากกว่าออกแรง-ออกกำลัง
  • ลดอ้วนลงพุง-ไขมันเกาะตับ > เน้นออกแรง-ออกกำลัง มากกว่าควบคุมอาหาร
เรื่องที่น่ารู้ คือ อ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวเกิน 90 ซม.ในผู้ชาย; 80 ซม.ในผู้หญิง) อันตรายกว่าน้ำหนักเกิน ซึ่งคิดได้จากค่าดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI = น้ำหนักเป็น กก. หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง; ค่าปกติ 18.5-23.4)

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Reuters > SOURCE: bit.ly/JVcSf1 Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism, online April 26, 2012.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 10 พฤษภาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.



Create Date : 04 สิงหาคม 2555
Last Update : 4 สิงหาคม 2555 10:30:03 น. 0 comments
Counter : 1005 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com