บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
18 พฤศจิกายน 2555
 

อยู่ใกล้คนที่รวยกว่า_อาจทำเราเศร้า


.
อาจารย์แมนดิ วูดรัฟฟ์ ตีพิมพ์เรื่อง 'The linke betweeen wealth and suicide is impossible to ignore' = "เป็นไปไม่ได้ที่จะละเลยความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่ง (ฐานะการเงิน) กับการฆ่าตัวตาย"
.
= "อยู่ใกล้คนรวย_อาจทำเราเศร้า (เพิ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย)" ทางเว็บไซต์ BusinessInsider, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ทีมวิจัยจากธนาคารกลางซาน ฟรานซิสโก ทำการศึกษาข้อมูลจากศูนย์สถิติสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ ซึ่งทำการสำรวจทั่วประเทศในปี 1990/2533
.
ผลการศึกษาพบว่า คนที่มีรายได้ต่ำกว่าเพื่อนบ้าน 10% เพิ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย (to commit suicide) = 4.5%

ปรากฏการณ์นี้พบบ่อยในหมู่คนรวยด้วยกัน (high-earning individuals) ก็จริง ทว่า... กลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงสุดเป็นคนจนที่อยู่ท่ามกลางคนรวย
.
เช่น คนมีรายได้น้อย (low-income people) ที่อยู่ท่ามกลางคนรวย (the wealthy)
.
เส้นความทุกข์ยาก (misery benchmark) จากการศึกษานี้คล้ายกับเส้นความยากจนทางการเงิน คือ
  • คนที่มีระดับรายได้ต่ำกว่านี้ ถือว่า ยากจน
  • คนที่มีระดับรายได้สูงกว่านี้ ถือว่า ไม่ยากจน

.
การศึกษานี้พบว่า รายได้ต่ำสุดที่จะทำให้มีความสุขทางการเงิน (financial happiness) = มีเงินพอที่จะ "ลืมตาอ้าปาก" ได้คล่องคอ หรือ "ฐานะดี" (ปานกลางค่อนข้างรวยขึ้นไป) ในสหรัฐฯ เท่ากับ... (คิดที่ 30.69 บาท/ดอลลาร์ฯ)
  • = 75,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี
  • = 2,301,447.62 บาท/ปี
  • = 191,787 บาท/เดือน
การศึกษานี้พบว่า เส้นความทุกข์ยาก (misery benchmark) = ถ้ามีเงินต่ำกว่าระดับนี้ จะมีเงินไม่ค่อยพอใช้ = "ชักหน้าไม่ถึงหลัง" = "ยากจน" เท่ากับ ... (คิดที่ 30.69 บาท/ดอลลาร์ฯ)
  • = 34,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี
  • = 1,043,322.92 บาท/ปี
  • = 86,943.57 บาท/เดือน

.
ความเสี่ยงฆ่าตัวตายมีความสัมพันธ์กับฐานะทางการเงินดังนี้
  • ต่ำกว่าเส้นความทุกข์ยาก > เพิ่มเสี่ยง 50%
  • สูงกว่าเส้นความทุกข์ยาก แต่ต่ำกว่าเส้นฐานะดี > เพิ่มเสี่ยง 10%
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างฆ่าตัวตายได้แก่
.
(1). ที่อยู่อาศัย
.
คนจนที่อยู่ท่ามกลางคนรวยเสี่ยงฆ่าตัวตายมากกว่าคนที่จนที่อยู่ท่ามกลางคนฐานะปานกลาง หรือคนจนด้วยกัน
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ สังคมที่มีคนรวยอยู่มากมักจะมีค่าครองชีพ (cost of living) สูงขึ้น เช่น ค่าหมอ-ค่ายา ค่าบ้าน-ค่าเช่าที่พัก ฯลฯ
.
(2). ภาวะตกงาน
.
คนที่ตกงานเพิ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย 72% เมื่อเทียบกับคนที่กำลังมีงานทำ
.
คนที่เกษียณแล้ว (retirees) และคนที่กำลังจะเกษียณ (people on leave from work) เพิ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย
.
.
คุณอาผู้เขียนเล่าให้ฟังว่า นายทหารท่านหนึ่งทำใจตอนเกษียณใหม่ๆ ไม่ได้... เช้าขึ้นมาก็แต่งเครื่องแบบขับรถไปที่ทำงาน แล้วขับกลับ เป็นอย่างนี้อยู่นานกว่าจะทำใจได้
.
การเกษียณงานเป็น "ความเครียด" อย่างหนึ่งของชีวิต โดยเฉพาะท่านที่มี "ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข" จากการทำงานสูง เปรียบคล้ายกับการ "ตก(จาก)สวรรค์"
.
การเตรียมตัวเกษียณอย่างสง่า เช่น ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ หางานพิเศษ หรืองานอดิเรกที่ชอบหลังเกษียณไว้ล่วงหน้า (เช่น ปลูกต้นไม้ เล่นกับน้องหมา) ฯลฯ น่าจะช่วยให้เราทำใจ "เกษียณ" ได้ดีขึ้น
.
อาจารย์จิตแพทย์ท่านหนึ่งเล่าว่า คนไข้ท่านหนึ่งบ่นจะฆ่าตัวตาย เพราะมีเงิน 20 ล้านเท่านั้นเอง... ที่อยากฆ่าตัวตาย เพราะไปเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันที่มีเงิน 200 ล้าน
.
.
กล่าวกันว่า "การเปรียบเทียบ (comparison)" ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อ(ความ)ทุกข์ในโลก
.
เฉพาะผู้มีใจสูงมากเป็นพิเศษเท่านั้นที่จะยินดี หรือชื่นชมกับ "ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข" ของคนอื่นแบบ "มุทิตา" ได้ เช่น ท่านผู้ที่พิจารณากรรมและผลของกรรมเป็นประจำ ฯลฯ
.
การเปรียบเทียบมักจะนำไปสู่ความอิจฉาริษยาในคนส่วนใหญ่
.
พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ชอบเปรียบเทียบเด็กๆ เช่น เปรียบเทียบพี่กับน้อง ฯลฯ มักจะทำให้ฝ่ายหนึ่งได้หน้า อีกฝ่ายหนึ่งเสียหน้า และเพิ่มเสี่ยงต่อการแตกความสามัคคี อิจฉาริษยากันในระยะยาว
.
.
วิธีที่น่าจะดี คือ
.
(1). หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบ เช่น ไม่พูดว่า "น้องกอไก่เก่งกว่าน้องขอไข่", พูดชมทั้งสองคนในแต่ละด้าน เช่น "น้องกอไก่ขยันทำการบ้าน", "น้องขอไข่ขยันกวาดบ้าน" ฯลฯ
.
(2). ฝึกชมการกระทำให้มากกว่าชมบุคคล เช่น ถ้าเห็นน้องกอไก่ขยันทำการบ้าน... ให้ฝึกชมว่า "ดีนะ... ขยันทำการบ้านจัง", ถ้าเห็นน้องขอไข่ขยันกวาดบ้าน... ให้ฝึกชมว่า "ดีนะ... ขยันกวาดบ้าน"
.
การไม่ระบุบุคคลมีข้อดี คือ ถ้าคนอื่นทำแบบนี้ก็จะได้รับคำชม ทำให้คนอื่นอยากทำอะไรดีๆ บ้าง
.
หน่วยงานที่ชอบเชิดชูคนดี... บ่อยครั้งทำให้คนดีโดดเดี่ยว (ดีไม่ดีทำให้กลายเป็นคนที่น่าหมั่นไส้)
.
.
เพราะคนที่เหลือมักจะรู้สึกว่า มีคน "บางคน" เท่านั้นที่ "ทำดีแล้วได้ดี"... คนอื่นทำไปก็ไม่ได้ดี เช่น ไม่ใช่คนของนาย ฯลฯ... เลยไม่อยากทำดี
.
วิธีที่น่าจะดี คือ
.
(1). ฝึกชมทีมงานหรือกลุ่มคนทำงาน(คนหลายๆ คน) แทนการชมบุคคล (คนเดียว)
.
(2). หลีกเลี่ยงการทำคนคนเดียวให้เป็นฮีโร่ หรือเลิศไปหมดทุกด้าน... ส่งเสริมให้กลุ่มคนที่ร่วมกันทำดีแทน
.
(3). ชื่นชมการกระทำแทนการชมบุคคล
.
เพราะน่าจะทำให้คนในหน่วยงานอยากทำดี "ร่วมกัน" มากขึ้น
.
.
กล่าวกันว่า พื้นฐานความสามัคคีอย่างหนึ่งในสังคมญี่ปุ่น คือ คนรวยส่วนใหญ่ไม่ค่อยอวดรวยเหมือนกับชาติอื่นๆ
.
คนญี่ปุ่นนิยมแต่งกายคล้ายๆ กัน เช่น ใส่เสื้อนอกหรือชุดทำงานของบริษัทไปทำงาน ฯลฯ ทำให้คนในหน่วยงานสามัคคีกันดี
.
คนรวยมีส่วน "ช่วยชาติ" ได้ด้วยการ "ไม่อวดรวย"... ทำตัวให้เรียบ ง่าย ประหยัด จะช่วยลดปัญหาในสังคมได้แยะ เช่น การปล้น จี้ ฆ่า อิจฉาริษยา เกลียดชังกัน ฯลฯ
.
รัฐบาลมีส่วนช่วยลดปัญหาในสังคมได้ด้วยการส่งเสริมการศึกษา ซึ่งจะทำให้คนมีงานทำตลอดชีวิต
.
.
สาขาที่ควรเพิ่ม คือ สาขาที่จบมาแล้วมีงานทำ เช่น หมอฟัน พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล นักบัญชี นักบิน วิศวกร-สถาปนิกบางสาขา หมอฝังเข็ม ฯลฯ
.
ถ้าส่งเสริมสถาบันที่สอนด้านวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว เช่น ม.รามฯ, ม.ราชภัฎ, ม.ราชมงคล ให้ร่วมมือกับโรงพยาบาล ผลิตหมอฟัน-พยาบาล-ผู้ช่วยพยาบาล-หมอฝังเข็ม... จะทำให้เด็กๆ มีความหวัง มีความสุข ลดโรค "เศร้า-เหงา-เซง-ฆ่าตัวตาย" เพราะจบมาแล้วมีงานทำ
.
ควรลดการผลิตสาขาที่จบมาแล้วไม่มีงานทำ เพราะจะเพิ่มเสี่ยงต่อความฟุ้งซ่าน ปั่นป่วน การเมืองไม่นิ่ง
.
และอย่าลืม... หลีกเลี่ยงการมีบ้าน-ที่พัก หรือเช่าบ้านในเขตคนรวย (ถ้าเป็นไปได้) เพื่อป้องกันโรค "ซึม-เศร้า-เหงา-เซง" และโรคฆ่าตัวตาย
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


> [ Twitter ]




Create Date : 18 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2555 15:33:15 น. 0 comments
Counter : 1100 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com