บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 มกราคม 2555
 

เนื้อสำเร็จรูปเพิ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง Processed meat 'linked to pancreatic cancer' = "เนื้อสำเร็จรูป (มีความสัมพันธ์กับ) เพิ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

 

ภาพที่ 1: อวัยวะภายในส่วนท้อง > (1). หลอดอาหาร / (2). กะบังลม / (3). กระเพาะอาหาร / (4). ตับ / (5). ถุงน้ำดี / (6). ลำไส้เล็ก / (7). ตับอ่อน / (8). ม้าม > [ wikipedia ]

.

การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน Br J Cancer) ทำโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิจัย 11 รายงาน รวมกลุ่มตัวอย่างคนไข้มะเร็งตับอ่อน 6,643 คน

.

ผลการศึกษาพบว่า การกินเนื้อสำเร็จรูป หรือเนื้อที่ผ่านกระบวนการผลิต (processed meat) เช่น เบคอน ไส้กรอก หมูแผ่น หมูหยอง ฯลน เพิ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน

.

การกินเนื้อสำเร็จรูปเสี่ยงมะเร็งตับอ่อนดังต่อไปนี้


  • 50 กรัม/วัน = 1/2 ขีด/วัน = ไส้กรอกขนาดกลาง 1 ชิ้น/วัน > เพิ่มเสี่ยง 19%

  • 100 กรัม/วัน = 1 ขีด)/วัน = ไส้กรอกขนาดกลาง 2 ชิ้น/วัน > เพิ่มเสี่ยง 38%



ภาพที่ 2: อวัยวะในช่องท้องส่วนบน (stomach = กระเพาะอาหาร; duodenum = ลำไส้เล็กส่วนต้น; pancreas = ตับอ่อน; gall bladder = ถุงน้ำดี; common bile duct / CBD = ท่อน้ำดีรวม; pancreatic duct = ท่อตับอ่อน) > [ wikipedia ]

.

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะที่อยู่หลังช่องท้อง ทำให้มะเร็งตับอ่อนมีอาการไม่ชัดเจน ส่วนใหญ่จะตรวจพบหลังเนื้องอกมีขนาดใหญ่ กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ แล้ว โดยอาจมีอาการได้แก่


  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • ปวดท้อง ท้องอืด ปวดร้าวไปทางด้านหลัง อาการมากขึ้นหลังกินอาหาร

  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดหลัง


 

มูลนิธิวิจัยมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund / WCRF) รายงานว่า ความเสี่ยงส่วนหนึ่งน่าจะผ่านโอกาสการมีน้ำหนักเพิ่ม-อ้วน

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินเนื้อแดง (read meat) หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น แพะ แกะ วัว หมู ฯลฯ และเนื้อสำเร็จรูป เพิ่มเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

.

รัฐบาลอังกฤษ (UK) แนะนำให้จำกัดปริมาณเนื้อแดง ไม่เกิน 70 กรัม/วันในปี 2011/2554 โดยอาจกินไข่ ถั่ว โปรตีนจากพืช (เช่น เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง), เต้าหู้ โปรตีนเกษตร สัตว์ปีก ปลา (ปลาที่ไม่ผ่านการทอดให้โอเมกา-3 ได้ดีที่สุด)

.

ศ.ลาร์ซซัน หัวหน้าคณะวิจัยจากสวีเดนกล่าวว่า มะเร็งตับอ่อนมีพยากรณ์โรคไม่ค่อยดี การลดปัจจัยเสี่ยงจึงเป็นทางเลือกที่ทำให้คนเราปลอดภัยขึ้น

.

มูลนิธิวิจัยมะเร็งอังกฤษ (Cancer Research UK) กล่าวว่า โอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนตลอดชีวิต คือ


  • ผู้ชาย = 1/77 > ผู้ชาย 77 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อน 1 คน

  • ผู้หญิง = 1/79 > ผู้หญิง 79 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อน 1 คน


มูลนิธิวิจัยมะเร็งโลก (WCRF) แนะนำให้จำกัดเนื้อแดงไว้ ไม่ให้เกิน 500 กรัม/สัปดาห์ = 5 ขีด/สัปดาห์ = 1/2 กก./สัปดาห์ (น้ำหนักอาหารปรุงสุกแล้ว / cooked weight) และให้หลีกเลี่ยงเนื้อสำเร็จรูป


 

สถาบันเมโย คลินิก แนะนำวิธีป้องกัน (ลดเสี่ยง) มะเร็งตับอ่อนได้แก่

.

(1). ไม่สูบบุหรี่ - ไม่หายใจเอาควันบุหรี่มือสองที่คนอื่นสูบเข้าไป หลีกเลี่ยงห้องแอร์ที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ - ไม่เผาขยะ ใบไม้ - ไม่ใช้ฟืนในบ้าน (หลีกเลี่ยงควันจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง)

.

(2). ระวังน้ำหนักเกิน-อ้วน

.

(3). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ อย่างน้อยควรเดินสะสมเวลา 40 นาที/วัน, ขึ้นลงบันไดตามโอกาส 4 นาที/วัน

.

(4). กินอาหารสุขภาพ > เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้องอย่างน้อย 1/2, กินผัก ผลไม้ทั้งผล, ถั่วที่ไม่ผ่านการทอด (ถั่วฝักหรือถั่วสดมีเส้นใยสูง ให้กำลังงาน/แคลอรีต่ำ เช่น ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ฯลฯ ดีกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ ถ้าไม่ผ่านการทอด), เมล็ดพืชเปลือกแข็งกระเทาะเปลือก (nuts) เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]



  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 15 มค.54. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า > CC: BY-NC-ND.

  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.






Free TextEditor


Create Date : 17 มกราคม 2555
Last Update : 17 มกราคม 2555 22:14:46 น. 0 comments
Counter : 1615 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com