บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
25 สิงหาคม 2554
 

แข่งกีฬา-เสี่ยงหัวใจหยุดเต้นมากไหม

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Cardiac arrest strikes young and old athletes alike' = "หัวใจหยุดเต้นพบใน (strike = ตี โจมตี ทำร้าย) นักกีฬาทุกวัย (อายุน้อยและมาก) พอๆ กัน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

อ.ดร.อีลอย มาริจง และคณะ จากศูนย์วิจัยโรคหัวใจ-หลอดเลือด ปารีส ฝรั่งเศส รวบรวมข้อมูลจากภาวะหัวใจหยุดเต้นจากการเล่นกีฬา 820 รายในช่วงปี 2005-2010/2548-2553

.

ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาหัวใจหยุดเต้นเกือบทั้งหมดที่พบในผู้ใหญ่ผู้ชาย พบในการเล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนานมากกว่าการแข่งกีฬา

.

โอกาสเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นในการแข่งขันกีฬา = 10 คน/ล้านคน/ปี (10 ในล้าน/ปี) หรือถ้ามีคนแข่งขันกีฬา 1 ล้านคน จะพบหัวใจหยุดเต้น 10 คนใน 1 ปี

.

ทว่า... โอกาสเกิดหัวใจหยุดเต้นจากการเล่นกีฬา มากกว่า 90% ไม่ได้พบในการแข่งขันกีฬา แต่พบในการเล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน เช่น จักรยาน วิ่ง ฯลฯ และส่วนใหญ่พบในผู้ชายที่มีสุขภาพดี อายุ 35-65 ปี

.

คนที่มีปัญหาหัวใจหยุดเต้นจากการเล่นกีฬา น้อยกว่า 1/3 ได้รับการปั๊มพ์หัวใจ หรือปฏิบัติการกู้ชีพ (CPR) ซึ่งถ้าได้รับการช่วยชีวิตทันที... จะมีโอกาสรอดเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า

.

เรื่องสำคัญที่ทุกคนในทีมกีฬาควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นโค้ช นักกีฬา หรือกองเชียร์ คือ ทุกคนควรฝึกปฏิบัติการกู้ชีพ (CPR) ให้เป็น

.

การปฏิบัติการกู้ชีพ (CPR) เน้นการปั๊มพ์หัวใจ และไม่ต้องเสี่ยงเป่าปากคนแปลกหน้า (เว้นไว้แต่จะแน่ใจว่า ไม่มีโรคเอดส์ ไม่มีไวรัสตับอักเสบ และไม่มีโรคติดต่อทางเลือด)

.

คนอเมริกัน 312 ล้านคน ตายจากหัวใจหยุดเต้นประมาณ 300,000 คน/ปี = 1/1,000 หรือคนอเมริกัน 1,000 คนจะตายจากหัวใจหยุดเต้น 1 คน/ปี และส่วนใหญ่ไม่รอด

.

ประเทศไทยน่าจะตั้งเป้าให้เด็กไทยรุ่นใหม่ ปฏิบัติการกู้ชีพพื้นฐานเป็น โดยรวมการฝึกนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาภาคบังคับ และสร้างจิตสำนึกในการป้องกันโรคหัวใจ เช่น ฝึกทำอาหารสุขภาพ-ออกกำลังเพื่อสุขภาพให้เป็นตั้งแต่เด็ก ฯลฯ 

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.


> [ Twitter ]



  • Thank Reuters > SOURCE: bit.ly/prsXn9 Circulation, online July 25, 2011.

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 25 สิงหาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.

  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.






Free TextEditor


Create Date : 25 สิงหาคม 2554
Last Update : 25 สิงหาคม 2554 23:11:27 น. 0 comments
Counter : 661 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com