Bächle of Freiburg ทางน้ำยุคกลางที่กลายเป็นจุดนัดพบ Bächle in Freiburg Freiburg เมืองชายขอบ Black Forest ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ ทางน้ำไหลผ่านเมืองที่ไหลผ่านช่องแคบ ๆ ที่จมลง/ฝังลึกลงลงไปในทางเท้า ในช่วงวันที่อากาศร้อนซึ่งมีหลายวันในเมือง Freiburg จะสามารถมองเห็นผู้คนที่ผ่อนคลายความร้อนจากทางน้ำเหล่านี้ ด้วยการจุ่มเท้าลงไปแช่ในน้ำเย็นในทางน้ำ ขณะที่พวกเด็ก ๆ ชอบแช่ตัวในทางน้ำ กระโดดเล่นในทางน้ำ วิ่งเล่นบนทางน้ำ ลอยเรือกระดาษแข่งกันในทางน้ำอย่างมีความสุข และถ้าคนต่างถิ่นเกิดพลัดตกลงในทางน้ำ มีความเชื่อชาวบ้านในยุคโบราณว่า จะได้แต่งงานกับคน Freiburger ทางน้ำที่ไม่เหมือนใครในเมืองแห่งนี้รู้จักกันในชื่อ Bächle เพราะแต่เดิมเป็นการผันน้ำจากแม่น้ำ Dreisam มาใช้ในเมือง เพื่อเลี้ยงปศุสัตว์และเผื่อไว้ดับไฟไหม้ในเมือง Bächle มีการบันทึกไว้ในเอกสารครั้งแรกในปี ค.ศ. 1220 แต่จากการขุดค้นทางโบราณคดีชี้ให้ร่องรอยว่า Bächle มีอยู่อย่างน้อย 100 ปีก่อนหน้าที่จะตั้งเมือง Freiburg ขึ้นมา 1. ![]() การก่อสร้างทางน้ำให้ไหลเข้าเมือง มีการทำให้เหมือนหลักการไหลตามธรรมชาติ เพราะในสร้างเมืองยุคแรกมีการสร้างให้สอดคล้องกับทางลาด ซึ่งทำให้น้ำไหลลงได้สะดวกตามหลักแรงโน้มถ่วง แต่เมื่อเมือง Freiburg ขยายตัวออกไปมากขึ้น จึงกลายเป็นเรื่องยากสำหรับน้ำที่จะไหลไปถึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ มีระดับความสูงเฉลี่ยมากกว่าเขตเมืองเก่าถึง 3 เมตร จึงต้องสร้างการยกระดับน้ำ Bächle ขึ้นมาจากเดิม ทางน้ำ Bächle ไม่ได้มีไว้สำหรับการดื่มแต่เพียงอย่างเดียว แต่ใช้เป็นน้ำดื่มสำหรับปศุสัตว์ และการชลประทาน หลังจากที่มันได้ไหลผ่านเมืองไปแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นรางน้ำฝนที่พัดพาสิ่งสกปรกออกจากท้องถนน หนึ่งในคำอธิบายที่ถึงสภาพที่แย่ที่สุดของ Bächle เมือง Freiburg มาจากนักวิชาการ Erasmus of Rotterdam ในศตวรรษที่ 16 ในจดหมายที่เขียนถึง Gaspar Schetz นักการเมืองและรัฐบุรุษชาวดัตช์ " ที่นี่สกปรกอย่างมากเลย ถนนทุกสายมีทางน้ำที่สร้างขึ้นมาไหลผ่าน ทำให้เต็มไปด้วยเลือดสัตว์จากคนฆ่าสัตว์ ส่งกลิ่นเหม็นเน่าไปหมด ขยะจากบ้านก็ทิ้งลงในทางน้ำ อุจจาระและปัสสาวะจากบ้านพักก็ไหลลงที่นี่ เพราะบ้านเหล่านี้ไม่มีห้องน้ำในบ้านแต่อย่างใด น้ำจากทางน้ำนี้จึงใช้ทำความสะอาดทุกอย่าง แม้กระทั่งแก้วไวน์ หม้อไหที่ใช้ปรุงอาหารในบ้าน " Bächle เมือง Freiburg ในยุคแรกวิ่งผ่านกลางถนน/ใจกลางเมือง ซึ่งยังสามารถเห็นได้ที่ถนน Market ในทุกวันนี้ แต่เพราะการเพิ่มจำนวนประชากรและการสัญจรไปมาทางถนน ทำให้ Bächle กลายเป็นสิ่งที่น่ารำคาญและกีดขวางทางจราจร ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 Bächle จึงถูกย้ายไปที่ขอบถนน และส่วนมากถูกปิดทับด้วยแผ่นไม้หรือเหล็ก หรือสร้างขอบหินทางลาดเอียง หรือฝังท่อน้ำแทน ทางน้ำที่ไหลผ่านใจกลางเมืองมีมากในยุคกลาง Antonio de Beatis นักเดินทางชาวอิตาลีในศตวรรษที่ 15 ได้เขียนเกี่ยวกับถนนใน Innsbruck ว่า ในเมือง Goslar มีทางน้ำกว้างและหลายแห่งมาก พอ ๆ กับน้ำพุ แม่น้ำ Gose ได้เปลี่ยนเส้นทางผ่านกลางเมืองในปี ค.ศ. 1200 และมีการจัดหาระบบน้ำดื่มให้กับประชาชน ตามเมืองและนครในเยอรมนีหลายแห่งนอกจาก Freiburg ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ Freiburgs Bächle ในเดือนพฤศจิกายน 1945 Wolfgang Hoffmann นายกเทศมนตรี ต้องการรื้อฟื้นทางน้ำ Bächle อีกครั้ง แต่ก็ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ เพราะปัญหาเรื่องการทำความสะอาดและทางน้ำที่ไม่เป็นระบบ ในปี 1950 Bächle จึงเริ่มไหลในเขตเมืองบูรณะใหม่ ในปี 1952 FAC ('Freiburger Automobil-Club') ได้เรียกร้องให้ Bächle ไม่เป็นอุปสรรคจราจรอีกต่อไป ในปี 1956 นักท่องเที่ยวเรียกร้องให้มีป้ายบอกสถานที่ Bächle และพ่อค้ารายหนึ่งฟ้องร้องเมือง Freiburg เรียกค่าเสียหาย 2,360 DM เพราะทางน้ำทำลายกำแพงบ้าน แต่ศาลตัดสินให้ยกฟ้อง ในปี 1964 นักเดินทางรายหนึ่งฟ้องร้องเมือง Freiburg เพราะขาหักข้างหนึ่งหลังจากพลัตตกลงที่ Bächle ตรง Adelhauser Street แต่ศาลมีคำสั่งให้จ่าย 1/3 ของค่ารักษาพยาบาลด้วย เพราะ Bächle ทำให้นักเดินทางเหม่อลอยกับความงามจนลืมตัวไป ในปี 1973 ใจกลางเมือง Freiburg ได้ทำเป็นถนนคนเดินพร้อมกับรถราง Bächle จึงไม่กลายเป็นอุปสรรคในการจราจรอีกต่อไป เพราะผู้คนสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งความงามและการเดินทาง เครือข่ายทางน้ำ Bächle ระหว่าง Rempartstraße กับ Martinstor มีการปรับปรุงเพิ่มเติม ในปี 1986 Bächle ระหว่าง Universitätstraße กับ Niemensstraße ที่ปิดไปแล้วมีการรื้อฟื้นเปิดใหม่อีกครั้ง ในปี 2000 Bächle ที่ Innenstadtkonzept 86 (City Centre Concept 86) ใกล้กับ Neue Messe มีการวางแผนไว้ แต่เกือบจะยุติลงเพราะวิกฤติทางการเงิน/งบประมาณในการทำ แต่ประชาชนและหน่วยงานธุรกิจใน Freiburg ต่างยอมสนับสนุนในการพัฒนา Bächle ในอัตรา 500 DM ต่อ 1 เมตร และมีการสร้างยาวถึง 2 กิโลเมตร ในปี 2007 มีเทศบัญญัติในเรื่องการรักษาความสะอาด Bächle ที่รางน้ำและข้างเคียงจะต้องไม่ให้สกปรกด้วยขยะหรือหิมะ ทำให้ Bächle เป็นสถานที่พักผ่อนและท่องเที่ยวจนทุกวันนี้ เรียบเรียง/ที่มา https://bit.ly/2xMWRLy https://bit.ly/2xLFN8L 2. ![]() 3. ![]() 4. ![]() 5. ![]() 6. ![]() 7. ![]() 8. ![]() 9. ![]() 10. ![]() 11. ![]() Erasmus of Rotterdam 12. ![]() Gaspar Schetz 13. ![]() The travel journal of Antonio de Beatis through Germany, Switzerland, the low countries, France and Italy, 15178 https://bit.ly/2IokAG2 14. ![]() Middle age 15. ![]() 19th century 16. ![]() 19th to 20th century 17. ![]() 20th and 21st century เรื่องเล่าไร้สาระ Burg Burgh หรือ บุรี มักจะเป็นชุมชน/เมืองชายขอบ ที่อยู่ของพวกข้าทาสบริวารในระบบศักดินาเจ้าที่ดินเดิม เป็นแหล่งพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรรมท้องถิ่น รวมทั้งเป็นบริเวณที่พักครอบครัวน้องชายพี่สาวน้องสาวของขุนนางเจ้าที่ดิน ที่ให้ย้ายออกมาอยู่ข้างนอกปราสาท/คฤหาสถ์ เพื่อป้องกันการก่อกบฎ/ฆาตกรรมแย่งชิงสมบัติ เพราะกฎหมายเดิมมรดกทั้งหมดตกทอดกับลูกชายคนโต ไล่สายจนหมดก่อนจึงให้น้องชายคนรอง ทำให้พวกฝรั่งชอบผจญภัยหรือไปแสวงหาโชคภายนอกมีมาก รวมทั้งใช้นามสกุลใหม่ไม่เกี่ยวพันกับตระกูลดั้งเดิม เพราะเรื่องมรดกตกทอดอย่างหนึ่งกับความขาดแคลนทรัพย์สินส่วนหนึ่ง รายละเอียดเชิงนวนิยายในเรื่อง ลอร์ดน้อยฟอนเติลรอย อนึ่ง คนจีน คนญี่ปุ่น ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกันมาก ก็เพราะสาเหตุเรื่องมรดกส่วนหนึ่ง ที่ตกเป็นของพี่ชายคนโตทั้งหมด ความอดหยากยากแค้นส่วนหนึ่ง และบางส่วนเพราะแพ้ภัยทางการเมือง แบบชนะคือราชา แพ้คือขี้ข้า หรือเพราะความเชื่อทางศาสนาส่วนหนึ่งด้วย นักประวัติศาสตร์สายคอมมิวนิสต์เคยวิพากษ์ ขงจื่อ เรื่องความกตัญญู การเคารพบรรพบุรุษ การเคารพอาวุโส และการต้องทำพิธีกรรมที่หลุมศพพ่อแม่ ด้วยการอยู่กินและทำนาที่บริเวณนั่นถึง 3 ปี การมีพืธีกรรมเขงเม้งทุก ๆ ปี ต้องมาให้ได้ อาชีพที่เลวร้ายคือ พ่อค้า อาชีพที่ดีคือ ชาวนา ช่างตีเหล็ก ครู ขุนนาง แนวคิดขงจื่อ คิอ ศักดินาสวามิภักดิ์ ทำให้คนไม่กล้าทิ้งถิ่นฐาน เจ้าเมืองเกณฑ์คนได้ง่าย กอปรกับในอดีต คนเกิดง่าย แก่ง่าย ตายง่าย แรงงานมักจะขาดแคลนในบางช่วงเวลา การปลูกฝังแนวคิดขงจื่อจึงสอดคล้องกับนโยบายรัฐ แม้ว่าเหมาเจ๋อตุงจะพยายามทำลายแนวคิดขงจื่อ ตั้งแต่ตอนเริ่มเถลิงอำนาจขึ้นเป็นราชันย์ในจีน ด้วยวาทกรรมหลอกคนจน ปล้นคนรวย แล้วมาแบ่งกัน มีการวิพากษ์และทำลายล้างแนวคิดขงจื่อหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ยุคหลอกเยาวชน RedGuards รักษาอำนาจ แบบทุกอย่างเลวหมด ยกเว้นแต่เหมากับหนังสือปกแดง และมีการเชิดชูเหมายิ่งกว่าเง็กเซียนฮ่องเต๊ แต่สุดท้ายหลังจากที่จีนพัฒนาสู่ระบอบมทุนนิยม การนำแนวคิดขงจื่อที่ฝังใน DNA คนจีนมาหลายพันปี สอดคล้องกับผลประโยชน์ระยะยาวของจีนมากกว่า เลยพยายามรื้อฟื้นหลักคำสอนเดิมของขงจื่อ ที่สอดคล้องไม่ขัดกับอำนาจรัฐมารับใช้อีกครั้ง และพยายามส่งเสริมในรูปสถาบันขงจื่อไปทั่วโลก Cheonggyecheon River history and restoration คลองชองเกซอน รื้อทางด่วนพลิกน้ำเน่าให้เป็นแหล่งพักผ่อนกลางกรุงโซล คลองชองเกซอน (Cheonggyecheon)ได้ไหลผ่านประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ในช่วง ค.ศ. 1406-1412 กษัตริย์แทจง (King Taejong) ทรงริเริ่มปรับปรุงให้คลองชองเกซอนเป็นคลองระบายน้ำ เมื่อยามที่บ้านเมืองประสบปัญหาอุทกภัย แต่เมื่อคลองเกิดการตื้นเขิน กษัตริย์ยองโซ (King Yeongjo) จึงเกณฑ์ผู้คนมาขุดคลองขยายต่อ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้อย่างสะอาดและปลอดภัย กลายเป็นพื้นที่จัดแสดงวัฒนธรรมต่าง ๆ วิถีชีวิตริมคลองที่งดงามเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในช่วงสงครามที่ญี่ปุ่นเข้ายึดเกาหลี พื้นที่ริมคลองเริ่มมีผู้คนอาศัยหนาแน่นอีกทั้งระบบสาธารณสุขไม่ดีพอ คลองที่เคยใสสะอาดก็เริ่มเน่าเสียถึงขนาดที่ญี่ปุ่นเปลี่ยนชื่อเป็น คลองทาเกซอน (Takgycheon) อันหมายถึง สายน้ำที่เน่าเหม็น จากเดิมที่คลองชองเกซอนเคยมีความหมายว่าสายน้ำที่ใสสะอาด แทนที่จะปรับปรุงสภาพน้ำให้ดีขึ้น รัฐบาลในสมัยนั้นตัดสินใจกลบคลองปิดทับเป็นทางด่วนยกระดับ จากวิถีริมคลองสู่วิถีชีวิตที่แออัด เต็มไปด้วยมลภาวะเป็นพิษทั้งทางอากาศและเสียง ในปี ค.ศ. 2001 เมื่อลีมุงบัค ได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีของกรุงโซล หนึ่งในโครงการสำคัญคือการพลิกฟื้นคลองชองเกซองแห่งนี้ ให้คืนกลับเป็นคลองประวัติศาสตร์ที่มากคุณค่าอีกครั้ง การพัฒนาพื้นที่ริมคลองชองเกซองเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2005 ด้วยเงินลงทุนประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท แต่สามารถนำประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เคียงคู่สายน้ำชองเกซองให้คืนกลับมา กลายเป็นสวนสาธารณะใจกลางเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงโซลและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ลดมลพิษทางอากาศได้มากถึง 33% มีการสร้างน้ำพุตลอดแนว พร้อมเขื่อนชะลอน้ำเพื่อลดความเร็วน้ำ ภาพวาดขบวนเสด็จของกษัตริย์จงโจไปยังสุสานของพระบิดาบนกระเบื้องจำนวน 5,120 แผ่น มีลานสำหรับจัดกิจกรรมพร้อมประติมากรรมที่สวยงาม เส้นทางเดินเท้าตลอดแนวและสะพานข้ามคลองกว่า 22 แห่ง ที่สำคัญยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ตลอดแนวคลองชองเกซอน และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึง 750,000 ล้านบาท เปลี่ยนสัญลักษณ์กรุงโซลเมืองแห่งป่าคอนกรีต สู่การวางผังเมืองที่ขับเคลื่อนกรุงโซลให้เป็นพื้นที่สีเขียว แม้ว่าในช่วงการก่อสร้างจะก่อให้เกิดปัญหาการจราจรเป็นอย่างมาก แต่หลังจากเสร็จสิ้นประชาชนต่างชื่นชมกับประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้รับโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น Credit : สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ (อ้า) 18. ![]() 19. ![]() 20. ![]() 21. ![]() 22. ![]() 23. ![]() 24. ![]() ในเมืองไทยเดิมก็มีคลองคูน้ำจำนวนมาก ก่อนที่จะถมทิ้งกลายเป็นที่ดินและถนน เช่น คลองอรชร ที่กลายเป็น ถนนอังรีดูนังต์ คลองล่าสุดที่มีการบูรณะน่าจะเป็นที่สะพานเหล็ก ที่มีการรื้อสิ่งปลูกสร้างและแผ่นเหล็กที่สร้างคร่อมคลองออก เพื่อทำตามกฎหมาย/พัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนใจกลางเมือง และทำให้หลายต่อหลายคนต้องเปลี่ยนที่ทำมาหากิน 25. ![]() Credit : https://bit.ly/2OYLabo มีการศึกษาเรื่องคูคลองในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในรอบ 100 ปี ในรายงานผลการศึกษาของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายละเอียดใน ลักษณะและการเปลี่ยนแปลงสัณฐานของเครือข่ายลำคลอง ในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ พศ.2450-2550
![]() โดย: tuk-tuk@korat
![]() ![]() |
บทความทั้งหมด
|