นักวิจัยจีนได้ข้าวทนเค็มที่มีผลผลิตพอเลี้ยงประชากร 200 ล้านคน




credits: Xinhua


ข้าวสามารถปลูกได้เกือบทุกพื้นที่ในโลก
ตามพื้นที่สูงชันและตามเชิงเขาต่าง ๆ
ด้วยการใช้แรงงานราคาถูกและมีปริมาณน้ำเพียงพอ
ทำให้มีการปลูกข้าวกันมากในหลายพื้นที่ของเอเชีย
ซึ่งมีแรงงานราคาถูกและปริมาณน้ำอย่างเหลือเฟือ
อย่างไรก็ตามยังมีการปลูกข้าวบนพื้นที่ลุ่มบริเวณชายฝั่งทะเลหลายแห่ง
เช่น บังคลาเทศ ศรีลังกา จีน อินเดีย
ประเทศเหล่านี้มีสายพันธุ์ข้าวทนเค็มแต่ปริมาณผลผลิตค่อนข้างต่ำ
ซึ่งพื้นที่หลายล้านไร่จะมีสภาพเป็นดินเค็มและใกล้ท้องทะเล
ถ้าดินเค็ม น้ำเค็ม มากเกินไปจะมีผลต่อต้นข้าว
ที่จะทำลายการเติบโตต้นข้าวให้ตายซากไป
นี่คือ เหตุผลที่ว่าทำไมข้าวทนเค็มจึงเปลี่ยนโลกได้

ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวทนดินเค็มด่างในชิงเต่า ภาคตะวันออกของจีน
Saline-Alkali Tolerant Rice Research and Development Center (Qingdao)
นำทีมวิจัยโดย หยวนหลงปิง Yuan Longping บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสม วัย 87 ปี
ทีมนักวิจัยและนักศึกษาได้ทดลองปลูกข้าวมากว่า 200 สายพันธุ์
แล้วลดความเค็มของน้ำทะลที่สูบจากทะเลเหลือง
มาผสมกับน้ำจืดก่อนให้น้ำไหลลงสู่ท้องนา
ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวต้นข้าวเติบโตเหมือนนาข้าวทั่วไป

นักวิจัยคาดว่าโครงการดังกล่าวน่าจะได้ข้าวราว ๆ 4.5 ตันต่อ 2.5 ไร่ (1.8 ตัน/ไร่)
แต่พบว่ามีข้าว 4 สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่จดบันทึกไว้ราว ๆ 6.5-9.3 ตันต่อ 2.5 ไร่
ทำให้มีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจเพราะสูงกว่าค่าเฉลี่ยการปลูกข้าวทั่วโลกที่ 4.5 ตันต่อ 2.5 ไร่
ถ้า 1 ใน 10 ของพื้นที่รกร้างว่างเปล่าของจีนที่ดินใกล้ชายฝั่งทะเลและมีดินเค็ม
กับมีปริมาณน้ำจืดค่อนข้างไม่เพียงพอในการชลประทาน
ถ้าที่ดินถูกใช้นำมาปลูกกับสายพันธุ์ข้าวทนเค็ม
จะสามารถเพิ่มการผลิตข้าวในประเทศจีนเกือบร้อยละ 20
นั้นหมายความว่าจะสามารถผลิตอาหารได้ถึง 50 ล้านตัน
ซึ่งเพียงพอที่จะเลี้ยงดูประชากรได้ถึง 200 ล้านคน


ในปี 1970 เริ่มมีการค้นคว้าข้าวทนเค็มแล้ว
โดย หยวนหลงปิง Yuan Longping นักวิทยาศาสตร์ด้านเกษตรกรรม บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสม
เพราะจีนกังวลในเรื่องอาหารสำหรับประชากรจีนที่และเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
จึงเริ่มมองหาพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกให้เจริญเติบโตในพื้นที่มีเกลือปนเปื้อน
นักวิจัยได้พยายามค้นหาข้าวที่ทนเค็มได้และมีผลผลิตที่มากยิ่งขึ้น
หลังจากหลายสิบปีของการคัดเลือกสายพันธุ์ การผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์
และตรวจคัดกรองพันธุกรรมต่าง ๆ จนสรุปได้ลงตัวที่ 8 สายพันธุ์
แต่ผลผลิตก็ยังต่ำอยู่ที่ประมาณ 800 กิโลกรัม/ไร่
แต่ตอนนี้ จีนประสบความสำเร็จครั้งใหญ่แล้ว
แม้ว่าต้นทุนการผลิตยังจะเป็นปัญหาใหญ่
แต่เรื่องนี้ก็เป็นการส่งสัญญาณที่ดีเช่นกัน

ราคาขายข้าวทนเค็มกิโลกรัมละ 50 หยวน (7.50 เหรียญสหรัฐ)
แพงกว่าข้าวทั่วไปประมาณ 8 เท่า เพราะข้าวเป็นอาหารราคาถูก
อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตคาดว่าจะลดลงได้
ถ้ามีการเพิ่มการผลิตทั้งปริมาณและเนื้อที่ปลูกข้าวที่เพิ่มขึ้น
เพราะประเทศจีนมีพื้นที่เสียเปล่ามากกว่า 1,000,000 ตารางกิโลเมตร(625 ล้านไร่)
ขนาดเทียบเท่ารัฐเท็กซัสรวมกับรัฐแคลิฟอร์เนีย
พื้นที่ดังกล่าวถ้าพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นและเพาะปลูกข้าวได้
จะมีศักยภาพในการเลี้ยงดูผู้คนในเมืองจีนได้จำนวนมาก
แม้ว่าจะต้องมีการลงทุนพัฒนาปรับปรุงคุณภาพน้ำและดินในระยะแรก




credits: Xinhua



" เทตนิคนี้ยังมีผลพลอยได้จากด้านอื่น ๆ ด้วย
เพราะน้ำเค็มช่วยทำลายศัตรูพืชและปรสิต
รวมทั้งแบคทีเรียที่อาจจะเป็นอันตรายได้หลายชนิด
และลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตรายในห่วงโซ่อาหารได้
นั้นหมายถึง ผู้ผลิตอาจลดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากข้าวทนน้ำเค็ม ข้าวสารที่ได้จะไม่เค็ม
แต่มันก็ยังอุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น แคลเซียม เป็นต้น "
ศาสตราจารย์หวังชีหวัน Huang Shiwen หัวหน้าทีมวิจัยโรคข้าว
สถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติจีนในหางโจว เขตเจ้อเจียง
China National Rice Research Institute ใน Hangzhou

" โครงการข้าวทนเค็ม จะช่วยให้การจัดหาอาหาร
มีความปลอดภัยด้านความมั่นคงด้านอาหารยิ่งขึ้นกับจีน
ด้วยการเปลี่ยนดินแดนที่เสียหายเป็นทุ่งหญ้าสีเขียว
แม้ว่าผลผลิตยังมีจำนวนน้อยและราคาสูง แต่ก็สามารถเพิ่มพื้นที่ได้
และมีที่ดินทำกินซึ่งสามารถนำมาใช้ทำนาได้อีก
จะช่วยชีวิตคนจำนวนมากได้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ตามรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติแห่งสตอกโฮล์มเมื่อปีที่แล้ว
พื้นที่บริเวณชายฝั่งของบางเพิ่มมากขึ้นเพราะแม่น้ำใหญ่
เช่น แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเหลือง ได้ทิ้งซากตะกอนลงไปในทะเลเป็นจำนวนมาก
ข้าวทนเค็มจะสามารถปลูกในดินแดนถิ่นฐานใหม่นี้ได้ "
ศาสตราจารย์จู้ซิหยู Zhu Xiyue นักเศรษฐศาสตร์และนโยบายผู้เชี่ยวชาญ ที่สถาบันข้าวแห่งชาติ


" เพื่อให้ข้าวอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเหล่านี้
จะต้องมียีนบางตัวที่แข็งแกร่ง/สตรองอย่างมาก
ที่ทำให้ข้าวสามารถทนทานต่อต้านการโจมตีของโรคหรือแมลงได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดโรคขึ้นที่รากหรือคอรวงข้าว
ข้าวทนเค็มที่พัฒนานี้ไม่ได้ใช้น้ำทะเลโดยตรง
แต่จะมีการผสมกับน้ำจืดเพื่อลดปริมาณเกลือ 6 กรัมต่อลิตร
เพราะน้ำทะเลมีปริมาณเกลือมากถึง 5 เท่า
และมันจะต้องใช้เวลาหลายปีมากในการวิจัย
เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำเค็ม "
หยวนหลงปิง Yuan Longping ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวทนดินเค็ม
ที่ใช้เวลาศึกษามานานมากแล้วจนได้ชื่อว่า บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสม

ผู้ก่อตั้ง Yuan Ce Biological Technology ผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์อัพในชิงเต่า
และเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของ Yuan Longping
ได้กล่าวว่า บริษัทได้ตั้งร้านค้าออนไลน์ในเดือนสิงหาคมตั้งชื่อว่า
Yuan Mi เพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์หัวหน้าโครงการ
เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บเกี่ยวเมื่อปีที่แล้ว ได้ลงมือเพาะปลูกในปีนี้
กำลังจะเก็บเกี่ยวและนำเข้าสู่ยุ้งฉางข้าวในเดือนหน้า
Yuan Mi จะมีราคาขายกิโลกรัมละ 50 หยวน (7.50 เหรียญสหรัฐ)
ขายในขนาดน้ำหนัก 1 กก. 2 กก. 5 กก. และ 10 กก.
เมื่อเดือนที่แล้วมีผู้สั่งซื้อสินค้าเกือบ 1,000 ราย
และมีการขายข้าวไปแล้ว 6 ตันต่อเดือนนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม
ผู้จัดการฝ่ายขายของ Yuan Ce กล่าว
" เป้าหมายรายได้จากการขายของเราอยู่ที่ 10 ล้านหยวนภายในสิ้นปีนี้"
ซึ่งเป็นตัวเลขที่มองโลกในแง่ดี สำหรับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
เพราะเป็นตัวเลขรายได้ในช่วงเพียงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้
ลิ่วกวนเฟย Liu Guangfei ผู้เชี่ยวชาญการฟื้นฟูดินรกร้างว่างเปล่า
Beijing-based Eagle Green Technology Development
" ข้าวจะเติบโตในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศจีน
ขณะที่ 90% ของดินเค็มและดินด่างอยู่ภายในพื้นที่ของประเทศ
ในพื้นที่เขตชนบท เช่น เฮยหลงเจียงและซินเจียง
ผืนดินเหล่านี้เต็มไปด้วยโซเดียมซัลเฟต
ซึ่งข้าวยังไม่พร้อมที่จะรับมือ/ปลูกขึ้นได้
เพราะดินที่ปลูกข้าวทนเค็ม ข้าวจะทนต่อโซเดียมคลอไรด์

นอกจากนี้ การปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่นี้จะทำให้ดินเก็บกักเกลือได้มากยิ่งขึ้น
ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในดินได้อย่างสมบูรณ์สำหรับพืชชนิดอื่น ๆ ที่จะมาปลูกทดแทน
พืชเชิงพาณิชย์ชนิดอื่น ๆ เช่น พุทรา และ เก๋ากี่
สามารถปลูกได้บนพื้นดินเหล่านี้ ทั้งยังช่วยลดปริมาณความเค็มและปรับปรุงคุณภาพดินโดยรวมด้วย
การปลูกข้าวนี้จะทำให้ผืนแผ่นดินเค็มไปตลอดกาล และไม่สามารถใช้ปลูกพืชชนิดอื่นได้ "

(น่าจะข้าวมีช่วงอายุสั้น ทางใบที่จะกลายเป็นฟางจะดูดซึมโซเดียมซัลเฟตขึ้นมาตามทางใบ
และถ้าไม่มีการจัดการฟางให้ดี จะทำให้มีปริมาณโซเดียมซัลเฟตตกค้างบนผิวดินมากขึ้น
ผิดกับต้นไม้ใหญ่ที่ทางใบค่อนข้างเล็กและดูดซึมระเหยไปในอากาศมากกว่าข้าว)

แม้ว่าจะมีทัศนคติที่เด็ดเดี่ยวและไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้
แต่ถ้าเป็นเรื่องของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหาร
นี่คือผลสำเร็จอันน่าทึ่งซึ่งอาจสร้างความแตกต่างครั้งยิ่งใหญ่ในบางส่วนของโลก
แม้ว่าในตอนนี้ จีนจะมีปริมาณผลผลิตข้าวเกินดุล/ความต้องการ
และการเพิ่มขึ้นของตลาดข้าวใหม่ยังต้องหาหนทางอยู่พอสมควร




credits: Xinhua




เรียบเรียง/ที่มา


https://goo.gl/M6wRft
https://goo.gl/wYhyVY
https://goo.gl/BDCFLv
https://goo.gl/JuWkH3













เรื่องเล่าไร้สาระ

ข้าวทนเค็ม ถ้ามีการพัฒนาปลูกได้ในไทย
จะสามารถปลูกในผืนดินที่เสียหายไปมากจากนากุ้ง(กุลาดำ)
ที่เคยมีวาทกรรม กุ้งกินโหนด (โฉนด)
หมายถึงขาดทุนย่อยยับจนต้องขายที่ทางบ้านช่องจากการเลี้ยงกุ้ง
และดินก็มีความเค็มไม่สามารถปลูกข้าวได้เหมือนแต่ก่อน
ในบริเวณชายฝั่งระโนด จะทิ้งพระ หัวไทร ที่เห็นจำนวนมาก
รวมทั้งที่ชายฝั่งทะเลที่มีการบุกรุกป่าชายเลนเพื่อเลี้ยงกุ้งในอดีต
หรือพื้นที่ดินเค็มในภาคอีสานที่มีการปนเปื้อนความเค็มจากเกลือสินเธาว์

แต่ทั้งนี้สายพันธุ์ข้าวมีความอ่อนไหวต่อแสงแดดมาก
เพราะช่วงแสงยาวหรือสั้นเกินไปมีผลต่อผลผลิตข้าวเช่นกัน
การปลูกข้าวจึงต้องมีระยะเวลาช่วงแสง
ข้าวนาปีมีระยะเวลาออกรวงข้าวช้ากว่าข้าวนาปรัง
ข้าวนาปรังมีช่วงอายุและระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าวนาปีมาก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณช่วงแสงและน้ำที่ใช้ในการเกษตร

ภาคใต้โสด/ตอนล่างจึงเริ่มลงมือปลูกข้าวกันจริงจังก็หลังวันออกพรรษา
เพราะมีปริมาณน้ำฝนและช่วงแสงมีมากในช่วงนี้
ขณะที่เดือนพฤศจิกายนขึ้นไปแถวภาคกลางจะเริ่มเกี่ยวข้าวกันแล้ว
แต่ทางภาคใต้กว่าจะได้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวนาปีก็ช่วงเดือนมีนาคมขึ้นไป
ทำให้เพื่อนผมบางคนกลับมาจากบ้านนอก
ผมมักจะบอกรู้เลยว่าไปเก็บข้าวมา
เพราะผิวสีดำและคล้ำอย่างเห็นได้ชัดเจน

ในพื้นที่ภาคใต้ในอดีตจะใช้แกะในการเก็บเกี่ยวข้าว
เพราะปริมาณฝนมีเกือบทุกสัปดาห์เป็นส่วนใหญ่
ทำให้ดินมักจะเปียกชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง
มีผลต่อการกองข้าวบนพื้นดินจะเฉอะแฉะ
เสียเวลาตากข้าวให้แห้งและฟัดข้าวแบบภาคกลาง
ทั้งรวงข้าวมักจะสุกไม่ค่อยพร้อมกัน
เพราะสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองพันธุกรรมยังไม่นิ่ง
จึงต้องเก็บเกี่ยวทีละรวงด้วยการตัดที่คอข้าว
จนมีอำมาตย์คนหนึ่งจากภาคกลางสอนให้ใช้เคียวและดุว่า คนใต้ดื้อ
แต่คนใต้ส่วนใหญ่ที่ใช้แกะจะไม่ยอมทำตาม
เพราะไม่เหมาะสมกับพื้นที่และวัฒนธรรมที่เคยทำต่อ ๆ กันมา

ในภาคใต้สวนยางสวนมะพร้าวบางแห่ง
เคยเห็นคนสวนบางคนโรยเกลือลงในที่ดินปีละหนึ่งถึงสองกิโลกรัม/ไร่
เพราะเชื่อว่าเป็นปุ๋ยประเภทหนึ่งที่มีราคาถูกและช่วยเพิ่มผลผลิตได้




แกะที่ใช้ตัดคอรวงข้าวแทนเคียว



ข้าวนาปี และ ข้าวนาปรัง

ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/qF9Gfe



Create Date : 25 ตุลาคม 2560
Last Update : 25 ตุลาคม 2560 23:34:24 น.
Counter : 3083 Pageviews.

0 comments
"เรื่องที่มักเข้าใจผิด" อาจารย์สุวิมล
(25 มิ.ย. 2568 10:56:08 น.)
"หลวงพ่อโต" วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มิ.ย. 2568 02:46:10 น.)
สวนรถไฟ : นกเฉี่ยวบุ้งใหญ่ ผู้ชายในสายลมหนาว
(19 มิ.ย. 2568 13:46:10 น.)
แผ่นยิปซั่มกั้นห้องสามารถใช้งานกับห้องแบบไหน เลือกอย่างไรดี? gaopannakub
(13 มิ.ย. 2568 17:22:58 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ravio.BlogGang.com

ravio
Location :
สงขลา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]

บทความทั้งหมด