VIDEO Mysterious orange cave crocodiles that live in darkness are mutating into a new species 1. ในปี 2008
Richard Oslisly คือ คนแรกที่ค้นพบ
จระเข้ถ้ำในประเทศ กาบอง
ช่วงที่เดินทางเพื่อไปสำรวจป่าฝนและทำการวิจัย
ในตอนที่ท่านเดินเข้าไปในถ้ำ
ท่านก็ได้เผชิญหน้ากับสิ่งมีชีวิตที่ดูน่ากลัว
มีดวงตาเรืองแสงขนาดใหญ่และเกล็ดสีส้มสดใส พวกมันคือ จระเข้
ปกติ คนเรามักจะไม่ค่อยเจอจระเข้อาศัยอยู่ในถ้ำ
และด้วยรูปลักษณ์ที่ดูโหดร้ายเหล่านี้
ทำให้ท่านต้องยืนแน่นิ่งและอึ้งไปเลย
แต่โชคดีที่จระเข้ก็ตกใจท่านที่พบเห็นมันเช่นกัน
มันเลยรีบคลานหนีหายเข้าไปในความมืด
ในเวลาต่อมาช่วงปี 2010-2011
ทีมนักวิจัยจึงได้เดินทางกลับไปยัง Gabon
เพื่อสำรวจและค้นหาจระเข้ถ้ำอีกครั้ง
ภายในถ้ำค่อนข้างมืดและอากาศค่อนข้างร้อน
อากาศที่ไหลเวียนอยู่ภายในถ้ำ
มักจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนคลื่นไส้
และนักวิจัยต้องลุยผ่านกากตะกอนเหลว
ภายในถ้ำที่เฉอะแฉะและเหม็นมาก
" มันดูเหมือนโคลนเหลว แต่มันไม่ใช่โคลน
มันเป็นกองขี้ค้างคาวตกตะกอนจำนวนมาก
ผสมปนเปกับน้ำจนเป็นแอ่งโคลนเหนียวหนืด "
Olivier Testa นักวิทยาศาสตร์
" สภาพแวดล้อมภายในถ้ำร้ายกาจมาก
เมื่อตอนที่เราออกมาจากถ้ำ
เราต้องฉีดน้ำล้างชำระร่างกายทันที "
Matthew Shirley นักวิทยาศาสตร์
ด้านสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
ทีมนักวิจัยยังพบว่ามีจระเข้ถ้ำ 9 ตัว
ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยเลย
ไม่มีแสงสว่างภายในถ้ำ ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยขึ้ค้างคาว
และมีแหล่งอาหารน้อยมาก ส่วนมากจระเข้ถ้ำต้องกินค้างคาว
จระเข้บางตัวยังถูกขังอยู่ภายในด้วยช่องแคบและหลุมลึก
และแทบจะไม่มีทางที่จะคลานออกมาข้างนอกได้
หลังจากนั้น ก็มีการเดินทางไปยังถ้ำ Abanda
นับได้หลายครั้งมากในช่วง 2010-2011
โดยได้รับการสนับสนุนการวิจัยจาก IRD และ Foundation Liambissi
เพราะทีมนักวิจัยพยายามทำความเข้าใจ
ที่มาของฝูงจระเข้ถ้ำที่อาศัยอยู่ในถ้ำ Abanda แห่งนี้
จระเข้ถ้ำ Abanda เป็นสายพันธุ์ของจระเข้แคระแอฟริกา
Dward Crocodile (Osteolaemus tetraspis)
ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปทางตะวันตก/แอฟริกากลาง
พวกมันเป็นสายพันธุ์จระเข้ที่เล็กที่สุดในโลก
มีความยาวลำตัวเฉลี่ย 1.5 เมตร
อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและที่ราบลุ่ม
กินอาหารพวกปลาและกุ้งในน้ำเป้นหลัก
แต่ฝูงจระเข้ถ้ำมีลักษณะที่แตกต่าง
ฝูงจระเข้ถ้ำมีหัวที่โตขึ้น มีสายตาไม่ดี
และผิวหนังของจระเข้มีสีส้มซึ่งแปลกจากสีจระเข้ทั่วไป
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นผลมาจาก
หลายปีที่ฝูงจระเข้จมปลักอยู่ในกองขี้ค้างคาว
ทำให้เปลี่ยนสีผิวของฝูงจระเข้
เช่นเดียวกับช่างฟอกหนังจระเข้
ที่ใช้สารเคมีในการฟอกสีหนังจระเข้
" ขี้ค้างคาวประกอบด้วย ยูเรีย Urea
ในเยี่ยวค้างคาวก็ยังอุดมไปด้วยสารเคมี ไนโตรเจน Nitrogen
ภายในกองขี้ค้างคาวจึงมีค่า พีเอช pH ขั้นพื้นฐานสูง
ที่มากเพียงพอจะฟอกสีผิวหนังของฝูงจระเข้ "
Matthew Shirley
ยูเรีย สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง
สูตรเคมี คือ NH2CONH2 เป็นของแข็งสีขาว
มีจุดหลอมเหลว 130
C ละลายน้ำได้ดี ใช้ทำปุ๋ยไนโตรเจน
ในร่างกายสัตว์ยูเรียเกิดขึ้นจาก
กรดอะมิโนที่เปลี่ยนแปลงไป
ในกระบวนการเมแทบอลิซึมของโปรตีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]
2.แต่ยังมีความแตกต่างอย่างอื่นที่มากกว่าเรื่องสีผิว
ทีมนักวิจัยพบว่าลายเซ็นทางพันธุกรรมของฝูงจระเข้ถ้ำนี้
กลุ่มยีนถ่ายทอดมาจากพ่อแม่คู่เดียวกัน
ทั้งยังแตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่วิวัฒนาการมาไล่เลี่ยกัน
ทีมนักวิจัยเชื่อว่าฝูงจระเข้ถ้ำเหล่านี้กำลังจะกลายพันธุ์
และกำลังจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสายพันธุ์ใหม่
ทั้งนี้ เพราะการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมนี้
จะต้องใช้เวลาหลายร้อยชั่วอายุจระเข้
ในการเก็บตัวอย่าง ดีเอ็นเอ DNA
ทำให้เชื่อว่า ฝูงจระเข้ถ้ำนี้ได้แยกตัวออกจาก
ญาติพี่น้องสายพันธู์เดิมของพวกมันนับพัน ๆ ปีมาแล้ว
เพราะมีค่าตัวบ่งชี้ DNAs ที่แตกต่างกันมากกว่า 2%
จากจำนวนตัวอย่าง DNAs ที่มีนัยสำคัญทางสถิติ
จากการสุ่มตัวอย่างจระเข้ถ้ำ 30 ถึง 40 ตัวแบบไม่ซ้ำกัน
เปรียบเทียบกับตัวอย่างเลือดจากจระเข้แคระทั่วไปประมาณ 200 ตัว
จระเข้ถ้ำตัวใหญ่ที่สุดในถ้ำแห่งนี้มีความยาว 1.7 เมตร
และน่าจะมีอายุมากแล้วในฝูงที่มีอยู่ราว 100-200 ตัว
โดยจะมีการจับจระเข้ถ้ำขึ้นมาวัดขนาดความยาว
ชั่งน้ำหนักแต่ละตัว เจาะเก็บเลือดจระเข้ถ้ำ
แล้วปล่อยพวกมันกลับลงไปอยู่ในถ้ำตามเดิม
3." บางทีมันอาจจะเป็นการกลายพันธุ์ใหม่
ภายในกลุ่มประชากรจระเข้กลุ่มเล็ก ๆ
เช่น ถ้าคุณนำคนสัก 100 คนให้อยู่กินร่วมกัน
ภายในพื้นที่เดียวกันเป็นเวลากว่า 1,000 ปี
ผู้คนก็จะเริ่มกลายพันธุ์(ผ่าเหล่าผ่ากอ)
เพราะการแต่งงานกันภายในกลุ่มเดียวกัน "
Olivier Testa
เราสามารถพูดได้เลยว่า
เราพบสายพันธุ์ที่กลายพันธู์
เพราะว่าจระเข้ถ้ำมี รหัสพันธุกรรม GenticCode ที่ Haplotype
การกินอาหารของฝูงมันก็แตกต่าง
และสายพันธุ์นี้ก็ปรับตัวให้อยู่รอดได้ในโลกใต้ดิน
เพราะภายในถ้ำมีค้างคาวนับหมื่น ๆ ตัว
และยังมีฝูงจิ้งหรีดไต่ไปมาตามผนังถ้ำ
เราโชคดีมากที่ชาวบ้านแถวนี้ไม่กล้าเข้าไปในถ้ำ
เพราะกลัวฝูงจระเข้ฝูงนี้อย่างแรง "
Richard Oslisly ผู้ค้นพบจระเข้ถ้ำคนแรกในปี 2008
4.มันเป็นเรื่องยากที่จะสรุปได้ว่า
ทำไมฝูงจระเข้นี้จึงเลือกที่จะอยู่ภายในถ้ำ
บางทีอาจจะเป็นเพราะจระเข้ชอบกินค้างคาว
เพราะนี่เป็นสิ่งเดียวที่จระเข้ได้กินกับกินได้
ซึ่งภายในถ้ำมีค้างคาวนับหมื่น ๆ ตัวเลยทีเดียว
นอกเหนือจากจิ้งหรีดและสาหร่าย
บางทีฝูงจระเข้ตอนที่ยังเล็กอยู่
ได้เดินทางหาอาหารไกลจากบ้านเดิม
แล้วเดินสำรวจผ่านเข้าทางช่องว่างต่าง ๆ ภายในถ้ำ
หรืออาจจะตกลงไปในถ้ำแห่งนี้
เพราะตอนนี้ตรงทางเดินเข้าออกลึก 7 เมตร
เป็นหล่มทรายที่ทำให้จระเข้คลานขึ้นมาไม่ได้
แต่เมื่อจระเข้เริ่มมีขนาดใหญ่โตขึ้น
พวกมันก็ถูกกักขังอยู่ภายในถ้ำเลย
และต้องใช้เวลากับชีวิตที่เหลืออยู่
อยู่กันภายในถ้ำให้ผ่านพ้นวันคืนที่มืดมิด
ด้วยการกินค้างคาว จิ้งหรีด สาหร่าย เป็นอาหาร
คลานและแหวกว่ายไปมาท่ามกลางกองขี้ค้างคาว
เรียบเรียง/ที่มา https://bit.ly/2DidRib https://bit.ly/2QPD5ar https://bit.ly/2PRxC1p https://bit.ly/2QOybKA 5. Credit: Olivier Testa 6. จระเข้ถ้ำกับจระเข้แคระ Credit: Olivier Testa 7. จระเข้ถ้ำกับจระเข้แคระ Credit: Olivier Testa 8. จระเข้ถ้ำ 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. จระเข้แคระ 18.หัวกะโหลกจระเข้แคระ 19. จระเข้แคระ 20. ลูกจระเข้แคระรายงานการวิจัย Diet and body condition of cave-dwelling dwarf crocodiles ( Osteolaemus tetraspis , Cope 1861) in Gabon African Journal of Ecology · September 2016 22. 3. แผนที่พื้นที่ทำการศึกษา แสดงตำแหน่งที่ยังไม่ชัดเจนของ ถ้ำ Abanda
ที่ห่างจากแม่น้ำ Olandé ที่ไหลแยกออกมาจาก Fernan Vaz Lagoon
ในเขตมณฑล Ogooué-Maritime ประเทศ Gabon
แผนที่แทรกแสดงถึงตำแหน่ง Lope National Park
ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพื้นที่เบื้องต้น
24.การพล็อตกราฟ แสดงอัตราการเติบโตในแต่ละวันของลำตัวจระเข้ 4 ตัว
เทียบกับขนาดของลำตัวเฉลี่ยของจระเข้แคระ
เพราะขนาดของลำตัวตัวอย่างจากจระเข้ถ้ำมีขนาดเล็ก (n = 2)
จึงยังไม่สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการเจริญเติบโต
แม้ว่าการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า
จระเข้ถ้ำจะมีสภาพลำตัวที่ยาวกว่า
แต่ก็ไม่ได้มีขนาดลำตัวยาวขึ้นทุกวัน
อัตราการเจริญเติบโต
จุดสีเทาแสดงอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อวัน
ของจระเข้ที่อาศัยอยู่ในป่าจากป่าชายฝั่ง
Petit Loango ในอุทยานแห่งชาติ Loango (Eaton & Link, 2011)
ความยาวของหัว (HL, ด้านซ้ายบน)
ความลึกของช่องระบายอากาศ(รูจมูก) (SVL, ด้านขวาบน)
ความยาวรวม (TL, ล่างซ้าย) และมวล (M; ล่างขวา)
25.สภาพลำตัวจระเข้ถ้ำและจระเข้แคระที่อาศัยอยู่ในป่า
(a) การพล็อตมวลกับความยาวส่วนหัวที่แสดงความสัมพันธ์
ระหว่างมิติ (n = 3.0074 ± 0.1708, R2 = 0.9476)
มิติทั้งสองนี้และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่เห็นได้ชัด
ใน Fulton's K ระหว่างพื้นที่กับกลุ่มประชากรจระเข้ถ้ำ
Caves (circles) Forest (triangle) LNP (square) Lope (cross)
จระเข้วัยรุ่น (สีดำ) และ ผู้ใหญ่ (สีเทา)
b) Boxplot แสดงถึง Fulton's K ระหว่างพื้นที่กับกลุ่มประชากร
ขนาดที่ยาวกว่าของจระเข้าถ้ำวัยรุ่นเปรียบเทียบกับจระเข้แคระในพื้นที่ตัวอย่าง
จระเข้ถ้ำ Abanda มีลำตัวที่ยาวกว่าเมื่อเทียบกับจระเข้แคระในพื้นที่ตัวอย่าง
LNP = Loango National Park
VIDEO Bent-Winged Bat in a new cave found in Gabon