สตรีนกขมิ้น : ภัยพิบัติช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ![]() 1. คนงานในโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ National Shell Filling Factory No.6, ที่เมือง Chilwell แคว้น Nottinghamshire ปี 1917. Photo credit: Imperial War Museum บทบาทสตรีที่ร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นเรื่องราวที่รู้จักกันดีและน่าชื่นชม เพราะในขณะที่บุรุษต้องมุ่งสู่แนวหน้าที่ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เพื่อทำการสู้รบกับยันกองทัพปรัสเซีย(เยอรมันนี) Birmingham University ได้แปรสภาพเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มีนางพยาบาลหลายร้อยคนดูแลคนเจ็บมากกว่า 64,000 ราย ตำแหน่งงานต่าง ๆ ภายในโรงงานก็ขาดแคลนกำลังแรงงาน ทำให้สตรีต้องเข้าไปทำงานทดแทน และทำงานในโรงงานอย่างรวดเร็ว มีผลทำให้โรงงานแต่ละแห่งเต็มไปด้วยสตรี สตรีทำงานในสายการผลิต สตรีขับรถบรรทุก สตรีเป็นนางพยาบาล สตรีทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มกันการโจมตีทางอากาศ สตรีทำงานด้านการสื่อสาร สตรีทำหน้าที่ประมวลข่าวกรอง และทำหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายร้อยหน้าที่ ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างมากในการทำสงคราม แต่อีกบทบาทหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของสตรี คือ เพื่อให้แน่ใจว่าทหารในแนวหน้ามีอาวุธยุทโธปกรณ์เพียงพอ ตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เริ่มปะทุขึ้นมา อังกฤษประสบปัญหาอย่างมากในการผลิตอาวุธและกระสุนจำนวนมาก ตามที่กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ต้องการ หลังจากที่ฝ่ายค้านในรัฐสภาได้อภิปรายโจมตีการทำงานของรัฐบาล และสื่อมวลชนได้กระจายข่าวเรื่อง Shell crises of 1915 รัฐบาลอังกฤษจึงได้ประกาศพระราชบัญญัติ Munitions of War Act 1915 กระทรวงยุทโธปกรณ์ ที่มีการตั้งขึ้นมาใหม่ David Lloyd George เป็นรัฐมนตรีคนแรก กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธยุทธภัณฑ์มีผลบังคับใช้ทันที ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มการกำกับดูแลของรัฐบาล และใช้บังคับแทนกฎหมาย/กฎระเบียบของโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มากที่สุด ![]() ![]() บริษัทเอกชนที่ทำหน้าที่ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ รวมทั้งโรงงานผลิตอาวุธยุทธภัณฑ์ของรัฐถูกตั้งขึ้นมา สตรีถูกเรียกให้ลงทะเบียนเพื่อเข้าทำงาน แรงงานฝีมือได้รับค่าจ้างอัตราเช่นเดียวกับผู้ชาย เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว มีจำนวนสถานประกอบการ ของเอกชน 4,285 แห่งที่ควบคุมโดยรัฐ และของรัฐจัดตั้งเอง 103 แห่ง โรงงานเหล่านี้กระจายไปทั่วทั้งอังกฤษ โดยเฉพาะในลอนดอนเขตตะวันออกและกลาสโกว์ โดยมีสตรีทำงานอยู่ถึงเกือบ 1,000,000 คน ค่าจ้างแรงงาน ชั่วโมงการทำงาน และเงื่อนไขการทำงาน ได้รับการควบคุมตามกฎหมายฉบับใหม่ทั้งหมด การนัดหยุดงานเป็นเรื่องต้องห้ามโดยเด็ดขาด คนงานทุกคนถูกห้ามไม่ให้ลาออกจากงาน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากนายจ้าง พระราชบัญญัตินี้ยังบังคับให้ใช้กับโรงงานที่จ้างสตรีด้วย เพราะผลจากการขาดแคลนชายฉกรรจ์ซึ่งส่วนใหญ่ต้องไปทำสงคราม ในปี 1915 รัฐบาลไม่เพียงแต่สร้างโรงงาน ยังสร้างชุมชนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ Gretna และ Eastriggs บัานพักและแฟลตถูกสร้างขึ้นสำหรับพนักงานและคู่สมรส ซึ่งมีมาตรฐานสูงจนใช้งานได้จนถึงทุกวันนี้ ใกล้กับโรงงานมีการสร้างค่ายทหารที่เลียนแบบกระท่อม 85 หลัง เป็นร้านค้าสวัสดิการของสตรีทำงาน เช่น ร้านอาหาร ร้านขนมปัง อาคารสันทนาการ โบสถ์ และรางรถไฟที่สร้างขึ้นใหม่ระยะทางยาว 9 ไมล์ คนงานสตรีชาวไอริชมากกว่า 30,000 คนที่นำเข้ามา ส่วนใหญ่ทำงานก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางปี 1916 ซึ่งเป็นผลงงานที่น่าทึ่งมากในการก่อสร้าง โดยรัฐบาลใช้จ่ายไป 5 ล้านปอนด์ ในปี 1917 โรงงาน HM Factory ที่ Gretna ผลิตชนวนระเบิดได้ 800 ตัน/สัปดาห์ มากกว่าทุกโรงงานที่ผลิตชนวนระเบิดรวมกัน ในขณะที่สตรีทำงานในสายการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ ต่างต้องแบกรับกับความกล้าหาญในการทำงาน เพราะมีภยันตรายที่คอยคุกคามอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เพราะโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ มักจะตกเป็นเป้าหมายหลักในการโจมตีทางอากาศของศัตรู ด้วยการใช้เครื่องบินทำการทิ้งระเบิดเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการระเบิดขึ้นเองภายในโรงงาน Nancy Evans รำลึกถึงตอนทำงานที่โรงงาน Rotherwas ใน Herefordshire " เราต่างเหมือนนกขมิ้น เราต่างมีสีเหลืองตามผิวหนัง ผมก็เปลี่ยนเป็นสีบรอนซ์ ยกเว้นตรงกลางที่ผมยังเป็นสีเดิม " Dr Helen McCartney ที่ King's College London ระบุว่า คนงานสตรีบางคนคลอดบุตรสีเหลืองสดใส Gladys Sangster ซึ่งแม่เธอทำงานที่โรงงาน National Filling Factory Number 9 ใกล้ Banbury, Oxford คือ หนึ่งในนั้น ได้ให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่า " ฉันเกิดตอนช่วงมีสงคราม และผิวของฉันเป็นสีเหลือง นั่นทำให้พวกเขาเรียกพวกเราว่า ทารกนกขมิ้น Canary Babies ทารกเกือบทุกคนที่เกิดมามีสีเหลือง แต่ตอนโตขึ้นก็จางหายไป แม่ฉันบอกว่าเธอได้รับมันมาเป็นของขวัญ มันเคยเกิดขึ้นและนั่นคือเรื่องราวคราก่อน." Amy Dale นักวิจัยให้สัมภาษณ์กับ BBC " ในโรงงานเหล่านี้ พวกเธอจะได้รับปลอกกระสุน/ปลอกลูกระเบิด แล้วเติมผงเคมีที่จุดฉชนวน/ผงระเบิดลงไป พร้อมกับปิดปลอกระเบิดด้านบน ด้วยการเคาะมันลงไป ถ้าเคาะแรงเกินไป เกิดผิดพลาดขึ้นมา มันก็จะเกิดการระเบิดขึ้นมาทันที เรื่องแบบนี้ มันเคยเกิดขึ้นกับสตรีคนหนึ่งที่กำลังตั้งครรภ์ในเวลานั้น และทำให้เธอต้องตาบอดและสูญเสียมือทั้งสองข้าง " ![]() 2. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์ 2 รายกำลังยืนทำงานข้างปลอกลูกระเบิด ที่ National Shell Filling Factory No.6 เมือง Chillwell แคว้น Nottinghamshire ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 Photo credit: Imperial War Museum ทั้งนี้ ยังมีคำสั่งห้ามใช้ผ้าไหม เนื่องจากวัสดุเหล่านี้จะสร้างไฟฟ้าสถิตย์ สามารถสร้างประกายไฟที่อาจทำให้เกิดการระเบิดได้ สตรีทุกคนจะถูกตรวจค้นและคัดกรองก่อนเข้าทำงานทุกวัน ทุกคนจะต้องฝากเสื้อผ้าต้องห้าม ข้าวของเครื่องใช้ที่มีโลหะไว้ก่อนเข้าทำงาน รวมทั้งยกทรงที่มีเข็มกลัดเป็นโลหะและปิ่นปักผมโลหะ ถ้าเกิดตรวจพบจะถูกปรับเงิน 6 เพนนี อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการระเบิดกลายเป็นเรื่องปกติ ทำให้คนงานสตรีตายหรือบาดเจ็บเป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง มีการระเบิดเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้งในช่วงนี้ ทำให้มีคนตายมากกว่า 300 คนและบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน ทั้งนี้ อันตรายในการทำงานในโรงงานผลิตอาวุธ ยังมีอีกอย่างคือ การได้รับสารเคมีที่เป็นพิษอย่างต่อเนื่อง สตรีหลายคนต้องทำงานอยู่กับ Trinitrotoluene (TNT) ซึ่งใช้ในการผลิตวัตถุระเบิดและชนวนระเบิด เพื่อใช้ในการทำลูกกระสุนปืนและลูกระเบิด เมื่อชนวนถูกจุดให้ลุกไหม้ขึ้นมา ก็จะปลดปล่อยก๊าซที่ขยายตัว ทำหน้าที่ขับเคลื่อนหัวกระสุนปืน หรือทำให้ปลอกหุ้มระเบิดฉีกขาดออกจากกัน การผลิตทั้ง TNT และ ชนวนจุดระเบิด ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับสารกัดกร่อน เช่น กรดซัลฟิวริก sulfuric และกรดไนตริก nitric ควันจากกรดเหล่านี้ มีผลทำให้ผิวหนังและผม ของสตรีหลาย ๆ คน กลายเป็นสีเหลือง ทำให้พวกเธอได้ชื่อเล่นว่า สตรีนกขมิ้น Canary Girls ![]() 3. กรรมกรสตรีทำงานที่ห้อง Finishing Room, No. 14 National Filling Factory Hereford. Photo credit: Imperial War Museum ที่โรงงาน HM Factory ในเมือง Gretna ทางตอนใต้ของสกอตแลนด์ เป็นโรงงานผลิตชนวนระเบิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น มีการจ้างตรีทำงานแบบนี้มากกว่า 12,000 ราย ทำให้พวกเธอมีชื่อเล่นว่า Female munitionettes สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์ พวกเธอมีหน้าที่กวนสารเคมีด้วยมือเปล่าในถังขนาดใหญ่ การทำงานที่เสี่ยงตายอย่างยิ่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า ข้าวโอ้ตปีศาจ Devil's Porridge โดย Sir Arthur Conan Doyle ผู้เขียนนวนิยายชุด Sherlock Holmes ท่านที่มีชื่อเสียงแล้วตอนที่ได้ไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1916 ท่านรู้สึกประทับใจในการทำงานของพวกสตรีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง " ที่นี่อาจเป็นสถานที่โดดเด่นที่สุดในโลก เพราะกองทัพไม่เพียงแต่ให้อุปกรณ์ดำรงชีพที่จำเป็นเท่านั้น ภายในชุมชนยังมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีโรงหนังและสถานที่เต้นรำ บรรดาสาว ๆ สวมชุดสุกากี ต่างยิ้มแย้ม ขณะที่กวนสารเคมีด้วยมือของพวกเธอ โดยไม่สำนึกถึงความจริงที่ว่า พวกเธออาจจะถูกระเบิดกลายเป็นจุลได้ในทันที หากมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นมา " Rebecca West นักเขียนนวนิยายได้เขียนว่า " ชีวิตข้างในไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน บรรดาสาวสวยต่างต้องอยู่ภายในค่ายทหาร ที่อยู่กันเหมือนอยู่ในรวงผึ้งและมีทหารยามลาดตระเวน ความเพลิดเพลินและสิ่งอำนวยความสะดวกของชุมชนก็ถูกจำกัด ด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน บางครั้งก็ต้องทำงานล่วงเวลาในตอนกลางคืน วันว่างของพวกเธอ คือ วันอาทิตย์เท่านั้น และการเดินทางสาธารณะก็ถูกจำกัด รถไฟที่จะไปยัง Carlisle ก็ถูกยกเลิก เพราะมีการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นั่น แม้การเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวก็ยังเป็นปัญหา พวกเธอต่างพักอาศัยอยู่ภายในกระท่อม ที่มีห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบเฉพาะสร้างจากไม้ ส่วนมากมักจะนั่งและนอนอยู่ในห้องนอนขนาดเล็กที่มีผ้าม่าน แต่ไม่มีประตู มีเสียงบ่นถึงความหนาวเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤดูหนาวที่หนาวจัดในปี 1917 รายได้ของพวกเธออยู่ระหว่าง 30 ชิลลิงและ 2 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (20 ชิลลิงเป็น 1 ปอนด์ ถ้าของไทย 4.-บาทเป็น 1 ตำลึง 20.-ตำลึงเป็น 1 ชั่ง) แน่นอนว่าสูงกว่าค่าจ้างเดิมที่พวกเธอเคยรับมาก่อน แต่ก็มีการหักค่าใช้จ่ายรายการสำคัญเป็นค่าที่พักและอาหาร " อันที่จริง ยังมีอันตรายต่อสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งในการทำงานในโรงงาน TNT สีเหลืองที่ดูเหมือนว่าเป็นอันตรายเพียงเล็กน้อย และอาการสีเหลืองที่เกิดขึ้นก็จะจางหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์ บางครั้งคนงานสตรีก็นอนหลับภายในโรงงาน และตายโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ TNT มีผลเป็นพิษต่อตับ และการได้รับสารนี้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางและโรคดีซ่าน ซึ่งทำให้ร่างกายมีสีเหลืองแตกต่างกัน มีคนไข้ที่เป็นโรคกระเพาะจำนวนราว 400 ราย มีการบันทึกไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 มีผู้เสียชีวิต 100 ราย คนงานบางรายมีรายงานทางการแพทย์ว่า เกิดอาการสลายตัวของกระดูกในร่างกายในภายหลัง ในขณะที่คนอื่น ๆ มีปัญหาทางช่องคอ และโรคผิวหนังที่เกิดจากการย้อมสีของ TNT สตรีบางรายยังให้กำเนิดทารกสีเหลืองสดใส ทารกเหล่านี้เรียกว่า เด็กนกขมิ้น Canary Babies ทุกวันนี้ มีพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ใกล้ Gretna เพื่อสำรวจประวัติความเป็นมาของ HM Factory และเน้นบทบาทผู้หญิงที่มีส่วนร่วมในสงคราม ที่เรียกว่า The Devils Porridge Museum เรียบเรียง/ที่มา https://bit.ly/2OdDTUf https://bit.ly/2OI5del https://bbc.in/2LSdGOq ![]() 4. การกวนข้าวโอ๊ตปีศาจ Devils Porridge ที่ HM Factory Gretna. Photo credit: the Devils Porridge Museum, Gretna. ![]() 5. สตรีกำลังเตรียมสาร Nitre ที่โรงงานผลิตอาวุธ Gretna Photo credit: Science & Society Picture Librar/SSPL ![]() 6. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์ทำงานเกี่ยวกับการผลิตลูกระเบิด แผนกหนึ่งขอโรงงาน Vickers Limited พฤษภาคม 1917. Photo credit: Imperial War Museum ![]() 7. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังปรับแต่งลูกระเบิดขนาด 4.5 นิ้วที่โรงงานในเขต Birmingham มีนาคม 1918. Photo credit: Imperial War Museum ![]() 8. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังเจาะรูลูกระเบิดขว้างในโรงงานแห่งหนึ่ง Photo credit: Imperial War Museum ![]() 9. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังตรวจสอบลูกระเบิดขว้างในโรงงานแห่งหนึ่ง Photo credit: Imperial War Museum ![]() 10. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์ทำงานในโรงงานที่ปิดลับ Photo credit: Imperial War Museum ![]() 11. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังระบายสีลูกระเบิดในโรงงานที่ปิดลับ Photo credit: Imperial War Museum ![]() 12. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังช่วยกันขนลูกระเบิดที่ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ทางการแล้ว มิถุนายน 1918. Photo credit: Imperial War Museum ![]() 13. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังระบายสีลูกระเบิดในโรงงาน มิถุนายน 1918. Photo credit: Imperial War Museum ![]() 14. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังคัดแยกอุปกรณ์ระเบิดในโรงงานปิดลับ ช่วงเดือนมีนาคม 1918 Photo credit: Imperial War Museum ![]() 15. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์กำลังขนถ่ายจัดเรียงปลอกระเบิด Howitzer ขนาด 6 นิ้ว ที่โรงงานอาวุทธยุทธภัณฑ์ Chilwell ใน Nottinghamshire, UK. กรกฎาคม 1917 Photo credit: Imperial War Museum ![]() 16. สตรีอาวุธยุทโธปกรณ์รวมตัวกันที่ Recreation Room ทึ่โรงงานอาวุธยุทภัณฑ์ Cubitts มีนาคม 1918 Photo credit: Imperial War Museum ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Turra Coo แม่วัวที่ทำให้ทั้งเมืองจลาจล ![]() David Lloyd George เป็นชาว Welsh Leeks คือ สัญลักษณ์ประจำชาติ Welsh ท่านคือผู้ที่เสนอออกกฎหมายประกันสังคมแห่งชาติ ทำให้เกิดการจราจลเพราะแม่วัวชื่อ Coo ตัวเดียว มีการประท้วงด้วยคำว่า จากฟาร์ม Lendrum to the Leeks ด้วยการเขียนที่ลำตัวแม่วัว Coo ก่อนที่จะเกิดจลาจลในเวลาต่อมา จนคำว่า Turra Coo คือ การประท้วงความไม่ชอบธรรมของรัฐบาล |
บทความทั้งหมด
|