พบหนังสือเคลือบยาพิษ 3 เล่ม ![]() นวนิยายหนังสือมรณะ Aristotle ของ Umberto Eco ในปี 1980 ชื่อ The Name of The Rose ที่เล่าเรื่องราวบาทหลวง Benedictine ที่วิกลจริต/บ้าคลั่ง ที่ใช้หนังสือเล่มนี้สร้างความหายนะให้กับบาทหลวงในอารามอิตาลี ในศตวรรษที่ 14 เพราะหนังสือเล่มนี้จะฆ่าผู้อ่านทุกคนที่เลียนิ้วมือ เมื่อพยายามพลิก/เปิดหน้าหนังสือที่เคลือบยาพิษ เรื่องราวเหล่านี้เคยเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หนังสือเคลือบยาพิษ ![]() ![]() งานวิจัยล่าสุดของคณาจารย์ University of Southern Denmark พบว่า มีหนังสือ 3 เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือเก่าแก่หายากมาก หัวข้อเรื่องประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เป็นงานสะสมของห้องสมุด University of Southern Denmarks library พบว่ามีสารหนูจำนวนมากที่เคลือบอยู่บนหน้าปกหนังสือ หนังสือเหล่านี้ผลิตขึ้นมาในศตวรรษที่ 16 และ 17 คุณสมบัติของการเป็นพิษบนหนังสือเหล่านี้ ถูกตรวจพบโดยการวิเคราะห์ X-ray fluorescence analyses (Micro-XRF) เทคโนโลยีนี้จะแสดงสเปกตรัมองค์ประกอบของสารเคมีวัตถุ ด้วยการวิเคราะห์คุณลักษณะของรังสีชั้นที่ 2 ที่ปลดปล่อยออกมาจากรงควัตถุ ในช่วงการฉายแสงอย่างแรงจากเครื่อง X-ray ที่ใช้เทคโนโลยี Micro-XRF ซึ่งมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในด้านโบราณคดีและงานศิลปะ เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบทางสารเคมีของเครื่องปั้นดินเผาและภาพวาด ![]() สีเขียวแวววาว เหตุผลที่ต้องนำหนังสือหายากจำนวน 3 เล่มนี้ ไปยังห้องทดลองเพื่อทำการเอ็กซ์เรย์ เพราะบรรณารักษ์ห้องสมุดพบว่า มีเศษชิ้นส่วนต้นฉบับหนังสือยุคกลาง เช่น สำเนาของกฎหมายโรมัน และกฎหมายบัญญัติ ถูกนำมาใช้ซ้ำอีกครั้งเพื่อทำหน้าปกหนังสือเหล่านี้ ทั้งนี้ยังมีบันทึกในอดีตที่ระบุไว้ว่า ปกหุ้มหนังสือและรองในหนังสือ ในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 มักจะนิยมใช้กระดาษเก่ามา Reuse ใช้ซ้ำอีกครั้ง หลังจากที่นักวิจัยพยายามจะระบุว่า ข้อความภาษาละตินด้านใน หรืออย่างน้อยก็ให้อ่านเนื้อหาบางส่วนได้ แต่แล้วก็พบว่าข้อความภาษาละตินในปกของหนังสือทั้ง 3 เล่ม อ่านได้ยากมากเพราะมีสีเขียวทีบแสงมาก จนปิดบังตัวหนังสือที่เขียนด้วยลายมือยุคเก่า ดังนั้น นักวิจัยจึงต้องนำหนังสือเหล่านี้ไปยังห้องแล็บ โดยมีแนวคิดว่า จะทำการกรองผ่านชั้นของสีโดยใช้ micro-XRF และมุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบทางเคมีของหมึกด้านล่าง เช่น เหล็กและแคลเซียม โดยหวังว่าจะทำให้นักวิจัย จะสามารถอ่านตัวอักษรออกได้มากขึ้น แต่ผลการวิเคราะห์ XRF พบว่าชั้นเม็ดสีเขียวเป็นสารหนู Arsenic สารเคมีนี้เป็นหนึ่งในสารที่เป็นพิษมากที่สุดในโลก และการสัมผัสสารหนู อาจนำไปสู่อาการข้างเคียงต่าง ๆ อาการเป็นพิษ การพัฒนาของมะเร็ง และนำไปสู่ความตาย สารหนู (As) เป็น Metalloid ธาตุกึ่งโลหะ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างแพร่หลาย ในธรรมชาติสารหนูมักจะปะปนเข้ากับธาตุอื่น ๆ เช่น คาร์บอนและไฮโดรเจน ที่เรียกว่าสารหนูอินทรีย์ สารหนูอนินทรีย์สารหนูอาจเกิดขึ้นในรูปแบบโลหะบริสุทธิ์ รวมทั้งสารประกอบตัวแปรที่เป็นอันตรายมากยิ่งกว่า ความเป็นพิษของสารหนูไม่ลดลงตามระยะเวลา อาการต่าง ๆ ของการเป็นพิษจากสารหนู ได้แก่ อาการท้องร่วง กระเพาะอาหารระคายเคือง ท้องเสีย ท้องร่วง การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง และการระคายเคืองของปอด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดสารหนูและระยะเวลาที่สัมผัสกับสารหนู ![]() อุบัติเหตุจากสารพิษ และสภาพสีเขียว ในปี 1859 © Wellcome Collection, CC BY-SA สีเขียวที่อยู่บนปกหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้ เป็นสีเขียวปารีส Paris green copper(II) acetate triarsenite กับ copper (II) acetoarsenite Cu (C₂H₃O₂) ₂· 3Cu (AsO₂) ₂ ที่รู้จักกันและเรียกว่า สีเขียวมรกต เพราะเป็นสีเขียวที่สะดุดตาคล้ายคลึงกับสีอัญมณียอดนิยม ![]() ![]() โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 19 สีจากสารหนู - เป็นผงผลึกละเอียด ผลิตได้ง่ายและมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานกันหลากหลายวัตถุประสงค์ ขนาดของผงที่บดละเอียดเหมือนผงแป้ง มีผลต่อการปรับแต่งสี ตามที่ยังเห็นได้ในภาพสีน้ำมันและแลคเกอร์ ผงสารหนูที่มีขนาดใหญ่(ไม่ละเอียด) จะทำให้เกิดสีเขียวคล้ำขึ้น ผงสารหนูเม็ดเล็กกว่าจะมีสีเขียวอ่อน เม็ดสีเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการสร้างความเข้มของสี และความต้านทาน/ทนทานต่อการซีดจาง เม็ดสีในอดีต การผลิตสีเขียวปารีส เชิงอุตสาหกรรมเริ่มต้นในยุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 จิตรกร Impressionist และ Post-impressionist มักจะใช้สีที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างผลงานชิ้นเอก ผลงานที่เร้าใจของจิตรกร นั่นหมายความว่า ภาพวาดในพิพิธภัณฑ์หลายชิ้นในปัจจุบันยังมีพิษอยู่ ในช่วงนิยมสีเขียวปารีส จึงมีการใช้สีนี้กันอย่างแพร่หลายมาก ใช้กันในทุกประเภทของวัสดุ เสื้อผ้า แม้กระทั่งปกหนังสือ ก็มักจะเคลือบสีเขียวปารีสสีเขียว เพื่อความงดงาม แน่นอนการที่ผิวหนังสัมผัสสารหนูอย่างต่อเนื่อง จึงนำไปสู่อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากพิษของสารหนู ![]() Paris Green Chris Goulet/Wikimedia Commons, CC BY-SA ต่อมา ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 อาการเป็นพิษของสารหนู จึงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และผงฝุ่นสารหนูที่ใช้ผสมเป็นสีต่าง ๆ ก็เลิกใช้งานไป เพราะมีการค้นพบสีเขียวปารีสจากวัตถุอื่นทดแทนได้ จึงมีการนำไปใช้ในงานจิตรกรและอุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่สีเขียวปารีส/สารหนูกลับนำไปใช้เป็นสารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่เพาะปลูก เพราะได้ผลดีกว่าสารเคมีชนิดอื่น ๆ ในกรณีที่หนังสือทั้ง 3 เล่มที่มีการใช้สารหนู คงไม่ใช่ใช้เพื่อความสวยงามแต่อย่างใด คำอธิบายที่เป็นไปได้คือ การประยุกต์ใช้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ในศตวรรษที่ 19 สีเขียวปารีสในหนังสือเก่าที่พบนั้น อาจใช้เพื่อป้องกันแมลงหรือสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อหนังสือ ![]() Wilhelm Grimm (ซ้าย) กับ Jacob Grimm ในปี 1856 วาดโดย Elisabeth Jerichau-Baumann ผู้รวบรวมและเรียบเรียงนิทานพื้นบ้าน ภายใต้สภาพแวดล้อมบางอย่างของสารหนู เช่น arsenates และ arsenites อาจเปลี่ยนองค์ประกอบย่อยลงเป็น arsine (AsH₃) ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่มีกลิ่นคล้ายกลิ่นกระเทียม นิทานของ Grimm ที่มีเรื่องราวที่น่ากลัวของ green Victorian wallpapers กระดาษปิดผนังสีเขียวแบบวิกตอเรีย ที่คร่าชีวิตเด็กในห้องนอน จึงเป็นเรื่องที่มีเค้าโครงจากเรื่องจริง ทำให้ตอนนี้ทางบรรณารักษ์ได้แยกหนังสือ 3 เล่มนี้ นำไปเก็บรักษาไว้ในกล่องกระดาษพร้อมกับป้ายเตือนอันตราย ทั้งยังมีแผนการที่จะทำเป็นหนังสือดิจิตอลออีกจำนวนหลายเล่ม เพื่อลดอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดจากหนังสือได้ ![]() The Arsenic Waltz. © Wellcome Collection, CC BY-SA เรียบเรียง/ที่มา https://bit.ly/2KzZnt0 https://bit.ly/2yYxSIo https://dailym.ai/2KBd2QR ![]() บันทึกสั่งตายของ Marie Curie ภาพเพิ่มเติม ![]() Fig. 1 Leiden, University Library, 583, งานพิมพ์ (ศตวรรษที่ 16) พร้อมกับเศษชิ้นส่วนเอกสารยุคกลางภายใน (ศตวรรษที่ 12) © EK ![]() Fig. 2 Leiden, University Library, เศษชิ้นส่วนจากเอกสารสะสม BPL collection © Julie Somers Source ![]() Fig. 3 Rembrandt, Old Man with a Beard (ซ้าย) และภาพวาดตนเอง (ขวา) ที่ซ่อนอยู่ด้านล่างชั้นสี ![]() Fig. 4 The MA-XRF-เครื่อง scanner พัฒนาโดย Joris Dik กับทีมงานที่ Delft University © EK ![]() Fig. 5 The head of the MA-XRF scanner ขณะทำงานตรวจสอบหนังสือศตวรรษที่ 16 Leiden, University Library, 617 F 19 ![]() Fig. 8 Leiden, University Library, 180 E 18: เศษชิ้นส่วนเอกสารขนาดใหญ่ภายในชั้นที่ปกปิด © Anna Käyhkö ![]() Martin Engelbrecht งานลงสีด้วยมือ dominotière หรือลายพิมพ์ผ้า/กระดาษ พร้อมกับชุดสวมใส่ตัวอย่างลาย Wallpaper (Germany, 173540) (งานสะสม Bibliothèque des Arts Décoratifs, Paris) ![]() เครื่องจักรผลิต Wallpaper ที่พิมพ์สีได้ด้วย คิดค้นโดย Charles Potter ในปี 1839 อุตสาหกรรมนี้แพร่หลายมากใน Victorian Englands Peak District (งานสะสมส่วนตัว) ![]() วารสารทางการแพทย์ฝรั่งเศส ปี 1859 ภาพประกอบอธิบายถึงอันตรายจากสารหนู ที่มีสาเหตุมาจากการปนเปื้อนจากผงสารหนู ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสี อาการพิษที่มีผลต่อเส้นเลือดและปรากฏร่องรอยสีเขียวขึ้นมา ลักษณะเฉพาะของผิวหนัง กระเนื้อขนาดเล็ก และ รอยด่างดำหลังอาการอักเสบ (งานสะสม Wellcome Library ใน London) ![]() นี่คืออาการหลังจากกินยาชั้นเยี่ยม ARSENIC การ์ตูนอังกฤษในปี 1850 เจ้าแห่งความตายโผล่ขึ้นด้านหลังผู้ป่วย ที่มีผลข้างเคียงจากการกินยาที่มีส่วนผสมสารหนู (งานสะสม Wellcome Library ใน London) ![]() Pages from Bitten by Witch Fever (© the author for Hyperallergic) ![]() Pages from Bitten by Witch Fever (© the author for Hyperallergic) ![]() Grid of wallpaper by C. E. & J. G. Potter, Lancashire, UK (1856); James Boswell, Dublin, Ireland (1846); Christopher Dresser for William Cooke, Leeds, UK (1860); C. E. & J. G. Potter, Lancashire, UK (1856) (© 2016 Crown Copyright) ![]() Wallpaper by Corbière, Son & Brindle, London, UK (1879) (© 2016 Crown Copyright) ![]() Grid of wallpaper by Heywood, Higginbottom, Smith & Company, Manchester, UK (1857); C. E. & J. G. Potter, Lancashire, UK (1856); Corbière, Son & Brindle, London, UK (1877); Jules Desfossé, Paris, France (1880) (© 2016 Crown Copyright) ![]() Wallpaper by John Todd Merrick & Company, London, UK (1845) (© 2016 Crown Copyright) ![]() Grid of wallpaper by Christopher Dresser for William Cooke, Leeds, UK (1862); Christopher Dresser for William Cooke, Leeds, UK (1862); Christopher Dresser for William Cooke, Leeds, UK (1862); Christopher Dresser for Jeffrey & Company, London, UK (1863) (© 2016 Crown Copyright) ![]() Wallpaper by Scott, Cuthbertson & Company, London, UK (1874) (© 2016 Crown Copyright) ![]() Grid of wallpaper by Christopher Dresser for William Woollams & Company, London, UK (1863); Lightbown, Aspinall & Company, Lancashire, UK (1881); William Cooke, Leeds, UK (1880); Christopher Dresser for Jeffrey & Company, London, UK (1863); Alexander J. Duff, London, UK (1880); William Cooke, Leeds, UK (1880); William Cooke, Leeds, UK (1880); James Toleman, London, UK (1856) (© 2016 Crown Copyright) ![]() Wallper by Jules Desfossé, Paris, France (1879) (© 2016 Crown Copyright) ![]() Wallpaper by Corbière, Son & Brindle, London (1877) (© 2016 Crown Copyright)
เลี่ยงไม่อ่านมานาน
เพราะรู้สึกว่ามันน่ากลัว แล้วมันก็น่ากลัวจริงๆ กว่าวิทยาการจะก้าวหน้า จนสามารถระบุได้ว่าสิ่งใดมีพิษ ก็ใช้เวลานาน และก็คงยังมีอีกหลายอย่าง ที่จะต้องค่อยๆ พบเจอต่อไป โดย: เพรางาย
![]() |
บทความทั้งหมด
|
แต่เรื่องราวด้านล่าง น่ากลัว