HMS Zubian (Zulu+Nubian) เรือพิฆาตไฮบริดลำแรกของโลก


HMS Zubian and the Dover Patrol



HMS Zulu + HMS Nubian = HMS Zubian



เรื่องปกติของราชนาวีแต่ละประเทศ
ที่เรือรบหมดสภาพ/พ้นยุคแล้วหรือชำรุดจากการรบ/อุบัติเหตุ
มักจะถูกปลดระวางแล้วขายเป็นเศษเหล็กให้กับคนภายนอก
แต่มีเรือลำหนึ่งมีการตัดต่อเชื่อมจากเรือสองลำขึ้นมาเป็นลำใหม่

ในปี 1909 ราชนาวีอังกฤษได้สร้างเรือพิฆาตชั้น Tribal จำนวน 2 ลำ
ชื่อ HMS Zulu กับ HMS Nubian
เรือพิฆาตทั้งคู่นี้ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไอน้ำ
ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำแทนการใช้ถ่านหิน
แต่ปรากฎว่าเรือทั้งสองลำนี้สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก
ทำให้มีการใช้เรือเพื่อภารกิจน้อยครั้งมาก
เพราะไม่สามารถแล่นไปไกล ๆ หรือออกท้องทะเลหลวง
ทำให้เรือทั้งคู่นี้ใช้ตรวจตราชายฝั่ง
ไล่ล่า/ป้องกันเรือดำน้ำที่มาป้วนเปี้ยนแถว ๆ เกาะอังกฤษ
 



HMS Zulu



HMS Nubian



ทั้งเรือพิฆาต HMS Zulu กับ HMS Nubian
ต่างผ่านยุทธนาวีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
HMS Zulu ประสบความสำเร็จในการลาดตระเวณแถวช่องแคบ Dover
และยึดเรือใบ Perhns ของเยอรมันนี้ได้ในเดือนสิงหาคม 1914
ทั้งยังร่วมในภารกิจครั้งสำคัญแนวชายฝั่งเบลเยี่ยม
ด้วยการวางทุ่นระเบิดและแหอวน(สะกัด/ดักเรือที่แล่นผ่าน)
เรือพิฆาต HMS Zulu ยังได้ปฏิบัติภาระกิจร่วมกับเรือพิฆาต HMS Nubian
ในการวางทุ่นเตือนภัยตำแหน่งของทุ่นระเบิดและพิ้นที่วางแหอวน


เรือพิฆาต HMS Nubian ทำหน้าทีฝึกทหารเรือในช่วงแรก ๆ
ในปี 1912 ได้แล่นเรือไปยัง Manchester
เพื่อเข้าร่วมงานเทศกาล Whitsuntide
โดยจอดที่ท่าเทียบเรือ Trafford Wharf
มีผู้คนหลายพันคนต่างแออัดรอคิวเพื่อขึ้นไปชมเรือลำนี้
แต่ก็มีบางคนถอดใจไม่ยอมขึ้นไปชมเรือลำนี้
 



HMS Zubian



ในเดิอนตุลาคม ปี 1916
ระหว่างยุทธนาวีที่ช่องแคบ Dover Strait
หัวเรือพิฆาต HMS Nubian ก็ถูกยิงด้วยตอร์ปิโดของเยอรมัน
ทำให้มีสภาพพังยับเยินและเสียหายหนักมากที่สุดแถวหอบังคับการเรือ
แต่ยังสามารถลากจูงกลับไปที่ Dover
ภายใต้สภวะอากาศที่เลวร้ายทำให้เรือต้องอับปางลง
ที่ South Foreland ใกล้กับr Dover
ทำให้ลูกรือตาย 15 คน และหัวเรือเสียหายอย่างแรง


อีกหนึ่งเดือนต่อมา
เรือพิฆาต HMS Zulu ขณะที่แล่นจาก Dover ไปยัง Dunkirk
ก็เกิดชนกับทุ่นระเบิดใต้น้ำ ทำให้ห้องเครื่องยนต์พังยับเยิน
ลูกเรือ 3 คนตาย พร้อมกับท้ายเรือที่แยกตัวออกไปและจมลงใต้ท้องทะเล
แต่หัวเรือพิฆาต HMS Zulu ยังลอยลำอยู่
และได้รับการลากจูงจากเรือพิฆาตฝรั่งเศสไปยังที่ใกล้ที่สุด


การที่เรือพิฆาตชั้น Tribal ทั้ง 2 ลำ
ต่างได้รับความเสียหายภายในเดือนเดียว
ราชนาวีอังกฤษจึงได้เริ่มปฏิบัติการครั้งสำคัญที่สุด
และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทางยุทธนาวี
ชิ้นส่วนที่เหลืออยู่ของเรือทั้ง 2 ลำ
ถูกลำเลียงไปที่อู่ต่อเรือ Chatham Dockyard ใน Kent
ที่นั่น นายช่าง/วิศวกรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญมาก
ได้ตัดต่อและเชื่อมชิ้นส่วนเรือทั้งสองลำเข้าด้วยกัน
จนกลายเป็นเรือพิฆาตลำใหม่ชื่อว่า HMS Zubian
หัวเรือเป็นชิ้นส่วนของเรือพิฆาต HMS Zulu
ท้ายเรือกับเครื่องยนต์เป็นของเรือพิฆาต HMS Nubian


เรือไฮบริดลำนี้ได้กลับไปทำหน้าที่
ลาดตระเวณบริเวณช่องแคบ Dover Straits
ตรวจตราและไล่ล่าเรือดำน้ำ U-boats ของเยอรมัน
ทั้งยังทำหน้าที่เป็นเรือคุ้มกันขบวนเรือต่าง ๆ
และตรวจตราร่วมกับเบลเยียมบริเวณแถวท่าเรือ


หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
เรือมีสภาพชำรุดมากจนถูกปลดระวาง
แล้วทำการประมูลขายเป็นเศษเหล็ก
เพื่อให้คนซื้อนำไปแปลงสภาพก่อน
นำไปหลอมใหม่เพื่อให้เป็นเหล็กรูปพรรณต่าง ๆ

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/2TkZRL0
https://bit.ly/2RgVopO


 



Nubian lying on its side after the storm.



The severed stern of HMS Zulu.









เรื่องเล่าไร้สาระ


ภายหลังวินาศกรรมของตึก World Trade Center (WTC) 9/11 11 กันยายน 2001
เศษเหล็กที่นอกเหนือจากการเก็บไว้เพื่อพิสูจน์หลักฐานและที่รำลึก
ได้มีการขายเป็นเศษเหล็กมากกว่า 70,000 ตัน ให้กับอินเดียและจีน
เพื่อนำไปหลอมเหลวแล้วทำการถลุงใหม่ไล่เศษสกปรกออก
ก่อนนำเหล็กที่ได้ใหม่เป็นก่อนไปแปรรูปเป็นเหล็กรูปพรรณต่าง ๆ 
ทำให้ราคาเหล็กโลกตกต่ำไปช่วงหนึ่งเพราะเหล็กราคาถูกล้นตลาด

ในปัจจุบันอินเดียก็นิยมซื้อเรือเดินทะเล/เรือบรรทุกน้ำมันที่ปลดระวางแล้ว
มาทำการตัดแยกเป็นชิ้น ๆ เพื่อนำไปหลอมเหลวก่อนนำมาถลุงเหล็กใหม่
 



How China Upended Life at India's Ship-Recycling Yards



Create Date : 13 มกราคม 2563
Last Update : 14 มกราคม 2563 9:05:22 น.
Counter : 1494 Pageviews.

0 comments
"เรื่องที่มักเข้าใจผิด" อาจารย์สุวิมล
(25 มิ.ย. 2568 10:56:08 น.)
สวนรถไฟ : นกสีชมพูสวน ผู้ชายในสายลมหนาว
(16 มิ.ย. 2568 15:03:09 น.)
#WatmahathatYuvarajarangsarit #พรรณีเกษกมล สมาชิกหมายเลข 4665919
(11 มิ.ย. 2568 09:27:18 น.)
กำแพงแสน : นกโพระดกธรรมดา ผู้ชายในสายลมหนาว
(10 มิ.ย. 2568 12:43:20 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ravio.BlogGang.com

ravio
Location :
สงขลา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]

บทความทั้งหมด