
หลังจากสูญสิ้นอำนาจเพราะต่อกรกับ Joseph Stalin
Leo Trotsky พบว่าตนเองอยู่ภายใต้สถานะการณ์ที่ล่อแหลมมาก
Mary Evans Picture Library/Global Look Press หน่วยสืบราชการลับโซเวียตรัสเซียในทศวรรษ 1930-50
ไม่เคยเกรงกลัวที่จะกำจัดนักการเมืองที่มีปัญหาด้วยการฆาตกรรมทิ้ง
เรื่องราวของศัตรูของรัฐ 3 คนซึ่งถูกสังหารทิ้งโดยสายลับโซเวียตรัสเซียในต่างประเทศ
" จะไม่มีความปราณีต่อสายลับและคนต่อทรยศต่อมาตุภูมิ "
บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์พรรคบอลเชวิค Bolshevik ในปี 1937
วาทกรรมนี้ คือ คำขวัญของหน่วยสืบราชการลับโซเวียตรัสเซีย
คำว่า ทรยศ หมายถึง ใครก็ตามที่กระทำการใด ๆ
ที่เป็นอันตรายต่อพรรคคอมมิวนิสต์ และผลประโยชน์ของผู้นำที่ยิ่งใหญ่
สายลับโซเวียตรัสเซียจะทุ่มเทเงินทองและความพยายามอย่างเต็มที่
ในการกำจัดศัตรูของรัฐ แม้ว่าศัตรูเหล่านี้จะอาศัยอยู่ห่างไกลจากรัสเซียก็ตาม
วิธีการกำจัดคู่ต่อสู้/คู่แข่งทางการเมืองเป็นที่นิยมกันมาก
โดยเฉพาะภายใต้การปกครองในสมัยสตาลิน Joseph Stalin
ซึ่งได้รับการยืนยันหลังการตายของสตาลินแล้ว
1.

Alexander Kutepov - ผู้นำขบวนการฝ่ายขาว White Movement ในยุโรป Legion MediaAlexander Kutepov (1882 - 1930)
นายพลที่เป็นข้าราชบริพารจักรพรรดิ์รัสเซีย
ที่อุทิศชีวิตเพื่อรับใช้สถาบันกษัตริย์ราชวงศ์โรมานอฟ
ท่านกลายเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการกองทัพบก
เป็นผู้นำในกลุ่มฝ่ายขวาต่อต้านกลุ่มคอมมิวนิสต์
ในช่วงสงครามกลางเมือง (1917-1922)
แต่การเคลื่อนไหวของฝ่ายขวา หรือ White Movement
กลับประสบความล้มเหลวในที่สุด
ในปี 1920 ท่านจึงหนีจากรัสเซียไปยุโรป
แต่ท่านก็ยังคงต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์อย่างเนื่อง
ในปีนั้นเอง ท่านได้กลายเป็นประธานสหภาพทหารรัสเซีย
Russian All-Military Union (ROVS)
องค์กรเคลื่อนไหวฝ่ายขาว White Movement ที่นิยมกษัตริย์
ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อพยายามจะเอาชนะพวกบอลเชวิค
ในฐานะประธาน ROVS ท่านจึงได้สั่งให้มีการก่อการร้ายในสหภาพโซเวียตรัสเซีย
เช่น การวางระเบิดใน Central Club of the Party
พรรคคอมมิวนิสต์ในเมือง Leningrad
จึงไม่น่าแปลกใจอย่างใดที่ท่านจะต้องถูกตอบโต้กลับจาก
เจ้าหน้าที่รัฐ OGPU (Joint State Political Directorate)
ข้อมูลและพยานหลักฐานอย่างไม่เป็นทางการ
ยังไม่มีความชัดเจนว่า Alexande Kutepov ตายเพราะสาเหตุใด
เพราะครั้งสุดท้ายยังมีคนเห็นท่านใช้ชีวิตอยู่ในกรุงปารีส
ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1930
ตามบันทึกของ Pavel Sudoplatov อดีตสายลับโซเวียต
เจ้าหน้าที่ 2 คนแต่งตัวเป็นตำรวจฝรั่งเศส
สั่งให้ Alexander Kutepov หยุดบนท้องถนนและพาท่านไปที่รถยนต์
หลังจากท่านได้ยินคำพูดภาษารัสเซียจากตำรวจปลอม
Alexander Kutepov จึงเริ่มต่อสู้และเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากอาการโรคหัวใจวาย
แต่อีกกระแสข่าวระบุว่า
สายลับรัสเซียพยายามลักพาตัว Alexander Kutepov ไปยังสถานที่ลับแห่งหนึ่ง
บังเอิญฉีดมอร์ฟีนใส่ Alexander Kutepov มากเกินไป ทำให้ท่านเสียชีวิตทันที
2.

Leon Trotsky - ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์เสื่อมเสีย
ภาพขณะให้สัมภาษณ์ที่บ้านแห่งใหม่ที่ลี้ภัย
พิพิธภัณฑ์ของ Leon Trosky ในเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก
Leon Trotsky เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1940 ในเม็กซิโก
เป็นเหยื่อของการถูกสังหารทิ้ง / DPA/Global Look Pressในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองภายในรัสเซีย
Leon Trotsky (1879 1940)
ท่านคือ ผู้นำคอมมิวนิสต์หมายเลข 2
และผู้บัญชาการทหาร/ผู้ก่อตั้งกองทัพแดง
ชาวบ้านมักจะเรียกท่านว่า สหายหมายเลขสองของพรรค
เพราะความสำคัญในการติดตามและรับใช้เลนินอย่างใกล้ชิด
รวมทั้งมีข้อคิดข้อเขียนแนวคิดทฤษฏีคอมมิวนิสต์ไม่ด้อยกว่าเลนิน
ความนิยมและอิทธิพลของ Leon Trotsky
ดูเหมือนว่าไม่ใครจะทำร้ายหรือโค้นล้มลงได้
แต่กาลเวลาได้พิสูจน์ว่าเรื่องนี้ผิดพลาดและไม่จริง
หลังจากการเสียชีวิตของ Lenin ในปี 1924
สตาลินค่อย ๆ บีบ/กำจัดผู้สนับสนุนทรอตสกี้
ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์/รัฐบาลโซเวียตรัสเซีย
แล้วรวบอำนาจทั้งหมดอยู่ในมือในปี 1927
ทรอตสกี้ถูกขับไล่ออกจากพรรคคอมมิวนิสต์
และต่อมาไม่นานก็ถูกเนรเทศออกจากรัสเซีย
มีประเทศหนึ่งในยุโรปได้ปฏิเสธรับทรอตสกี้ลี้ภัย
เพราะได้รับแรงกดดันจากสตาลินอย่างแรง
ทรอตสกี้จึงต้องหนีไปลี้ภัยที่ซึกโลกอีกด้านหนึ่ง ที่เม็กซิโก
แต่แล้วสตาลินรู้ทันทีว่า
การปล่อยตัวศัตรูหนีไปต่างชาติกลายเป็นความผิดพลาด
แม้ว่าทรอตสกี้จะถูกเนรเทศออกไปจากรัสเซียแล้ว
แต่ท่านยังคงตีพิมพ์เผยแพร่แพร่หนังสือและเขียนบทความต่าง ๆ
ประนามระบอบการปกครองของสตาลิน
ว่าเป็นลัทธิแก้ที่หลีกหนีจากอุดมการณ์ลัทธิมาร์กซิสต์
และไม่ได้การปฏิวัติเพื่อชนชั้นกรรมาชีพ/ชาวนา
ทั้งยังพยายามสร้างขบวนการสังคมนิยมนานาชาติ เพื่อต่อต้านระบอบสตาลิน
ดังนั้น สตาลินจึงตัดสินใจว่าต้องกำจัดศัตรูรายนี้ทิ้ง
Pavel Sudoplatov รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศของ NKVD
จึงได้เริ่มวางแผนลอบสังหารทรอตสกี้
โดยมอบหมายให้ Ramón Mercader สายลับชาวสเปญที่นิยมสตาลิน
ไปแกล้งทำตัวเป็นผู้สนับสนุนและเป็นฝ่ายชื่นชอบทรอตสกี้
ทำให้สายลับรายนี้เข้าถึงวงในและที่พักส่วนตัวของทรอตสกี้ได้ในที่สุด
รวมทั้งมักจะไปแวะเยี่ยมบ้านพักทรอตสกี้ใน Coyoacán
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1940
ทั้งคู่อยู่กันเพียงสองคนภายในบ้านพักทรอตสกี้
ในขณะที่ทรอตสกี้ก้มลงอ่านกระดาษแผ่นหนึ่งบนโต๊ะ
Mercader ได้แอบเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ ๆ
แล้วจามศีรษะทรอตสกี้ด้วยขวานจามหิมะ/น้ำแข็ง
จนทำให้ทรอตสกี้บาดเจ็บสาหัส
แม้ว่าแผลที่ศีรษะของทรอตสกี้จะลึกประมาณ 7 เซนติเมตร
แต่ทรอตสกี้ก็ยังมีชีวิตอยู่เกือบเป็นวันหลังจากนั้น
ในที่สุด Ramón Mercader ถูกศาลเม็กซิโกตัดสินจำคุก 20 ปี
แต่ติดคุกจนกระทั่งปี 1960 ก็ได้รับการปล่อยตัว
หลังจากออกจากคุก Ramón Mercader ได้ย้ายไปอยู่ที่สหภาพโซเวียตรัสเซีย
และได้รับเหรียญวีรบุรุษโซเวียต Hero of the Soviet Union
ต่อมาไม่นานก็เสียชีวิตจากโรคมะเร็งและถูกฝังศพอยู่ใน Moscow
จนกระทั่งทุกวันนี้ Stepan Bandera (1909-1959)
ยังคงเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากที่สุด
หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตรัสเซีย
แต่ชาวยูเครน Ukrainians ส่วนใหญ่ต่างลงความเห็นว่า
ท่านเป็นนักสู้เพื่อเสรีภาพที่นำการเคลื่อนไหวต่อต้านโปแลนด์
และต่อต้านโซเวียตรัสเซียในยูเครนตะวันตกในทศวรรษ 1920-1930
แต่ก็ยังมีชาวยูเครนและชาวรัสเซียที่สนับสนุนสหภาพโซเวียตรัสเซียในอดีต
ต่างประนามท่านที่ร่วมมือกับพวกนาซีเยอรมันนี Nazi
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และการสังหารหมู่พลเรือนผู้บริสุทธิ์
แต่มีเรืองหนึ่งที่แน่นอนคือ ท่านเป็นศัตรูตัวยงของสหภาพโซเวียตรัสเซีย USSR
ในช่วงต้นทศวรรษ 1950
Stepan Bandera อดีตนักโทษในค่ายกักกัน Sachsenhausen ในมิวนิค
ท่านได้ร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองตะวันตกที่มี CIA เป็นแกนนำ
เพราะหวังว่าจะทำลายคอมมิวนิสต์และทำให้ยูเครนมีเอกราช
ดังนั้น ท่านจึงตกเป็นเป้าหมายของการลอบสังหารหลายครั้ง
ผู้สนับสนุนท่านจึงได้ขอร้องให้ท่านหลบหนีไประยะหนึ่ง
Stepan Bandera เห็นชอบด้วยกับเรื่องนี้และตอบตกลง
แต่การลอบสังหารครั้งสุดท้ายประสบความสำเร็จ
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1959
Bohdan Stashinsky สายลับของ KGB
ได้แอบซุ่มตัวรอคอยอยู่ที่ทางเข้าบ้านพักของ Stepan Bandera ใน Munich
พร้อมกับปืนลมที่บรรจุกระสุนไซยาไนด์ Cyanide
ที่ซ่อนไว้ในหนังสือพิมพ์ที่พับไว้
" แก มาทำอะไรที่นี่ "
Stepan Bandera ถาม Bohdan Stashinsky
ก่อนที่จะถูกลอบสังหารทิ้งด้วยยาพิษที่รุนแรง
Bohdan Stashinsky สามารถหนีคดีอาญาได้ถึง 2 ปี
โดยหลบหนีเข้าไปอยู่ในเยอรมันนีตะวันออก
ซึ่งเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ก่อนที่จะหลบหนีออกมาพร้อมกับภริยา
เดินทางเข้ามาในเยอรมนีตะวันตก
สมัยนั้นยังเป็นเมืองบริวารของสหรัฐอเมริกา
และขอลี้ภัยทางการเมืองที่นั่น
โดยรับสารภาพว่า เขาคือคนที่ลอบสังหาร Stepan Bandera
แต่ถูกทางการเยอรมันนีปฎิเสธและตัดสินจำคุกเป็นเวลา 4 ปี
หลังจากเป็นอิสรภาพแล้วได้ลี้ภัยไปอยู่สหภาพแอฟริกาใต้
ด้วยความร่วมมือของ CIA ในการเปลี่ยนแปลงหลักฐานต่าง ๆ
รวมทั้งการผ่าตัดแปลงโฉมหน้ากันการถูกลอบสังหาร


Cyanide Gas Gun ที่ KGB ใช้สังหารศัตรู ที่มา https://goo.gl/mKmKTbเรียบเรียง/ที่มาhttps://goo.gl/6ceNhc




