ม้า หมา แมว อูฐ ช่วยโซเวียตรัสเซียชนะสงครามโลกครั้งที่ 2







นอกเหนือจากม้าและหมา
ยังมีสัตว์พิเศษอีกชนิดหนึ่งคือ อูฐ
ที่ทหารโซเวียตรัสเซียนำเข้ามาร่วมรบเพื่อมาตุภูมิ
แม้ว่าพวกอูฐจะไม่ได้ร่วมรบในแนวหน้าในตอนแรก
แต่ก็ได้ช่วยชีวิตผู้คนในแนวหลังจำนวนมาก


ในการรบช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
รถถังจำนวนมากมีบทบาทในการรบ
และรุกคืบหน้าในสนามรบแต่ละแห่ง
แต่พวกม้าก็ยังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
ท่ามกลางสนามรบทั้งแนวหน้า/แนวหลัง


ยุทธการโจมตีจากหน่วยทหารม้า
จะเป็นยุทธการที่ยากลำบากในสนามรบยุคนั้น
เพราะอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายทั้งคนและม้าจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยทหารม้ารัสเซียก็ใช้ม้าในการรบ
โดยใช้ในการติดตามไล่ล่าและตรวจหาพวกศัตรูที่ถอยทัพ
บ่อยครั้งที่พวกทหารม้าได้ลงจากหลังม้าศึก
ร่วมต่อสู้ร่วมกับทหารราบในการรบแบบตัวต่อตัว


ในยุคพระเจ้าซาร์ รัสเซียก็เคยมีหน่วยทหารม้า คอสแซค
ที่ขึ้นชื่ออยู่แล้วในการรบและปราบปรามฝ่ายตรงข้าม


ทหารปืนใหญ่โซเวียตรัสเซียมักจะควบม้าโผล่ขึ้น
แบบที่พวกศัตรูนาซีเยอรมันไม่คาดคิดเลย
หลังจากการทิ้งระเบิดอย่างหนักเพื่อกดหัวพวกศัตรูไว้
กลยุทธ์ดังกล่าวมีประโยชน์มากใน Battle of Moscow ในปี 1941
โดยมีหน่วยทหารม้าประจำการถึง 1 ใน 4 ของกองทัพโซเวียต


นอกจากนี้ยังใช้พวกม้าในการขนส่งเสบียงอาหาร อาวุธ/ปืนใหญ่
ในบริเวณพื้นที่/สนามรบที่ยังไม่มีถนน
สภาพภูมิประเทศที่โหดร้ายในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวของรัสเซีย
ทำให้พวกม้ามีข้อได้เปรียบมากกว่ารถบรรทุก
เพราะพวกม้ามักจะไม่ติดหล่มในโคลนหรือหิมะ
แถมยังเป็นอาหารในยามขาดแคลนของพวกทหารได้ด้วย
ท่ามกลางการล้อมปราบหรือถูกปิดล้อมจากศัตรู


แม้ว่า Wehrmacht ของนาซีเยอรมันนี
จะมีหน่วยทหารม้าของตนเอง
ที่ยืนหยัดต่อสู้จนหยดเลือดสุดท้าย
แต่พวกนาซีเยอรมันนีไม่มีแหล่งป้อนพวกม้าได้มากมายเลย
ขณะที่สหภาพโซเวียตรัสเซียมีฝูงม้าจำนวนมากกว่าแทบไม่อั้นเลย
เพราะได้มาจากประเทศมองโกเลีย พันธมิตรด้านตะวันออกไกล












พวกหมายังได้ทำหน้าที่เท่าเทียมกับม้าในสนามรบ
โดยช่วยปกปักรักษา/คุ้มครองพวกทหารทั้งแนวหน้า/แนวหลัง
พวกหมามีบทบาทอย่างมากในการเป็นผู้ช่วยแพทย์
ด้วยการลากจูง/ชักลากทหารที่บาดเจ็บออกจากสนามรบ
ทั้งยังทำหน้าที่ค้นหากับระเบิดที่ฝังไว้โดยพวกศัตรู
พวกหมาลากเลื่อนยังช่วยในการขนส่งอาหาร/อาวุธในสนามรบ
เหตุการณ์สำคัญคือ พวกหมาเคยทำหน้าที่ก่อวินาศกรรม
และทำหน้าที่ป้องกันพวกที่จะมาก่อวินาศกรรม


ในช่วงเริ่มต้นของสงคราม
รัสเซียได้ตั้งศูนย์ฝึกหมาพลีชีพ(ฆ่าตัวตาย)
หรือชื่อที่เรียกอีกอย่างคือ นักทำลายรถถังผู้หิวโหย
พวกมันจะถูกฝึกให้อดหยากและหิวโหย
เพื่อวิ่งเข้าไปหาอาหารที่ผูกไว้ใต้ท้องรถถัง
เมื่อตอบรบพวกมันจึงมักจะวิ่งเข้าใส่ใต้ท้องรถถังของพวกข้าศึก
พร้อมกับอุปกรณ์ระเบิดติดอยู่บนลำตัว
หลังจากที่พวกมันวิ่งมุดเข้าใต้ท้องรถถังแล้ว
กระเดื่องคันโยกด้ามยาวที่กระทบใต้ท้องรถถัง
จะจุดระเบิดทันที ทำให้ฆ่าทั้งคนในรถถังและหมา


รถถังนาซีเยอรมันมากกว่า 300 คัน
ที่ถูกทำลายโดยหมาพลีชีพของรัสเซีย
แต่ในช่วงหลายปีสุดท้ายของสงคราม
ยุทธการแบบนี้ไม่มีความจำเป็นต่อไปแล้ว
เพราะรัสเซียผลิตรถถังได้จำนวนหนึ่ง
และได้รับรถถังสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา
ทำให้การใช้หมาพลีชีพยุติลง/ทอดทิ้งพวกมันไป


แต่มีพวกหมาบางส่วนถูกนำมาฝึกหากับระเบิด
มีหมามากกว่า 6,000 ตัวที่ถูกฝึกค้นหากับระเบิด
ประมาณการว่ากับระเบิดมากกว่า 4 ล้านลูกถูกพวกหมาค้นพบ
ในปี ค.ศ.1945 Julbars วีรสุนัขที่ได้รับเกียรติยศ
เข้าร่วมขบวนเฉลิมฉลองชัยชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จัตุรัสแดง
โดย Stalin ได้ติดเหรียญตราให้ที่เสื้อสามารถ
ให้กับ Julbars หมาที่บาดเจ็บกับคู่หูของเธอ
เพราะทั้งคู่ค้นพบกับระเบิดมากกว่า 7,468 ลูกในช่วงสงคราม



หมาพลีชีพ



ที่มา https://goo.gl/w25ULp





Dina Volkaz กับ Julbars ที่มา https://goo.gl/zZSmLW






อูฐปรากฏตัวครั้งแรกในการรบแนวหน้า Great Patriotic War
ในช่วงระหว่างสงคราม Battle of Stalingrad
กองทัพโซเวียตรัสเซียที่อยู่ใกล้กับ Astrakhan
ต้องเคลื่อนย้ายกำลังเข้ามาร่วมรบในสงคราม
แต่ปัจจัยสำคัญมากที่สุดในการเคลื่อนย้ายกำลัง
คือ ภาวะสงครามทำให้ขาดแคลนรถบรรทุกและม้า


พวกทหารที่นั่นจึงเริ่มค้นหาและจับอูฐป่าในเขตทะเลทราย
นำมาฝึกฝนเพื่อใช้บรรทุกสินค้าและการขนส่งปืนใหญ่
การนำอูฐมาใช้หลังจากฝึกฝนประสบความสำเร็จ
ในไม่ช้าพวกอูฐกลายเป็นสหายร่วมรบกับทหารโซเวียตรัสเซีย


มีอูฐจำนวนเกือบ 350 ตัวที่มีส่วนร่วมรบในสงคราม
อูฐหลายตัวตายในสนามรบและอีกหลายตัวถูกปลดประจำการ
โดยพวกทหารได้มอบพวกอูฐไว้ที่สวนสัตว์ท้องถิ่น
ตามเส้นทางรุกสู่แนวหน้าแถวยุโรปตะวันออก
เพราะทหารโซเวียตรัสเซียเริ่มมีรถบรรทุกและม้าแล้ว


อย่างไรก็ตามมีอูฐบางตัวร่วมรบจนถึง Berlin
มีตำนานว่า อูฐที่ชื่อว่า Kuznechik (Grasshopper) ตั๊กแตน
ได้เดินไปบนเส้นทาง/ชั้นบนของ Reichstag
สัญญลักษณ์ของนาซีเยอรมันนีที่ถูกยึดไว้แล้ว
และ Kuznechik ได้ถ่มน้ำลายรดบนพื้นที่นี่
สัญรูปอาการดูถูกเกลียดชังพวกนาซีเยอรมันนี



อาคาร Reichstag Photo credit: Roman Lashkin/Flickr







แมวไม่ได้ทำหน้าที่ร่วมรบเหมือนกับม้า หมา อูฐ
พวกมันไม่ได้ต่อสู้กับพวกศัตรูหรือบรรทุกสินค้า
แม้ว่าพวกมันจะไม่เคยปรากฏตัวขึ้นที่แนวหน้า
แต่พวกมันก็มีส่วนสำคัญในสงครามอย่างมาก


ในระหว่างที่พวกนาซีเยอรมันนีปิดล้อมเมือง Leningrad
ตอนนี้ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นเมือง St. Petersburg แล้ว
ชาวบ้านต่างต้องทนทุกข์ทรมานจากความหิวโหยอย่างแรง
ทำให้พวกชาวบ้านต้องไล่ล่าจับแมวมากินจนหมดทั้งเมือง
แต่ส่งผลกระทบที่เลวร้ายทันที เพราะไม่มีศัตรูกำจัดพวกหนู
ทำให้กองทัพหนูบุกเข้าไปในบ้านเรือนและค้นหาที่หลบซ่อนเก็บอาหาร
พร้อมกับกัดกินอาหารที่ขาดแคลนอยู่แล้วจนเกือบหมดสิ้น


แม้ว่าจะมีการจัดตั้งหน่วยล่าหนูขึ้นภายในเมืองก็ตาม
มีการไล่ล่าหนูด้วยการไล่ยิงไล่ทุบตี
จนแม้กระทั่งกระหน่ำยิงด้วยรถถัง
แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรได้มากนัก


รัสเซียชอบเล่นบทโหดหลายต่อหลายครั้ง
เช่น การยิงปืนใหญ่ใส่เป้าหมายศัตรู/พลซุ่มยิง
โดยไม่สนใจอาคารหรือผู้คนรอบข้าง
แม้ว่าจะมีการใช้ตัวประกันมาต่อรอง
ทำให้ได้รับฉายาว่า โหดสัตว์รัสเซีย


หลังการปิดล้อมเมืองนี้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1943
มีกองเกวียนคาราวาน(รถบรรทุก)จำนวนหนึ่ง
นำแมวจากไซบีเรียจำนวนกว่า 5,000 ตัว
ลำเลียงส่งเข้ามายังเมืองแห่งนี้เพื่อมากำจัดหนู
ก่อนการส่งเสบียงอาหารเข้ามาในเมืองตามมา


กองพลเหมียว Meowing Division ที่ชาวบ้านเรียกกัน
ได้ทำยุทธการรบกับกองทัพหนูอย่างรวดเร็วมาก
ในการจัดการกับปัญหาเรื่องนี้
และช่วยให้ทั้งเมืองปลอดจากโรคที่ติดมากับพวกหนู
ทำให้พลเมืองนี้ได้สร้างอนุสาวรีย์ให้กับกองพลเหมียว
ที่ยังสามารถพบเห็นได้ในทุกวันนี้ที่ St. Petersburg











เรียบเรียง/ที่มา


https://goo.gl/YPs3vx
https://goo.gl/hsZqba
https://goo.gl/LJQPpe

















เรื่องเล่าไร้สาระ


ตอนช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
กองทัพญี่ปุ่นได้บุกยึดและขอผ่านทางจากเมืองสงขลา
ในระหว่างนั้นได้ยึดจักรยานชาวบ้าน
/ส่วนราชการไปเป็นจำนวนหลายคัน
โดยทหารญี่ปุ่นรู้ด้วยว่ามีจักรยานที่ไหนบ้าง
เพราะมีจารชนญี่ปุ่นปลอมตัวทำธุรกิจฝังตัวอยู่ที่สงขลา
พอกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกได้
ก็แต่งชุดนายทหารมากำกับการเลย
มีรายละเอียดส่วนหนี่งใน บันทึกมาซาโอะ เซโตะ
บุตรชายสายลับญี่ปุ่น | เมืองสงขลา
กับคำบอกเล่าของคนรุ่นก่อน


กองทัพทหารญี่ปุ่นใช้จักรยานในการขนทหารและอาวุธ
เดินทางได้ไกลกว่าวันละ 100 กิโลเมตร 7 วันก็ถึงสิงคโปร์
เริ่มตั้งแต่สงขลาลงไปตอนเหนือจังโหลน/ด่านนอก รัฐไทรบุรีมาเลย์
(จัง=ใบจัง หรือ ช้าง โหลน=หล่น ตกลงมาหรือพลัดตกภูเขา
ร่องรอยจากภาษาคนสยามในมาเลย์)
ถ้าเป็นมอเตอร์เวย์มาเลย์ตอนนี้ 772 กิโลเมตร https://bit.ly/2PG42vd


กองทัพญี่ปุ่นบางส่วนบุกเข้ายึดเมืองปีนังจากอังกฤษ
โดยมีการยึดจักรยานอีกจำนวนมากมาใช้ในการรบ
ในช่วงกองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนย้ายทัพลงไปตอนใต้มาเลย์
แทบจะไม่มีการปะทะจากทหารอังกฤษเลย
เพราะทหารอังกฤษส่วนใหญ่หนีไปตั้งหลักที่สิงคโปร์จำนวนมาก
มีทั้งรอกองทัพมาหนุนกับรอหนีไปยังอินโดนีเซีย อินเดีย พม่า ออสเตรเลีย
เมื่อกองทัพญี่ปุ่นมีชัยชนะในสิงคโปร์แล้ว
จึงได้กวาดต้อนเชลยศึกมาสร้างสะพานที่กาญจนบุรีในเวลาต่อมา
ด้วยการขนส่งเชลยศึกมาทางเรือส่วนหนึ่ง ทางรถไฟอีกส่วนหนึ่ง
พวกเชลยศึกที่ตายระหว่างทางขนส่งก็จำนวนมากเช่นกัน


ญี่ปุ่นมีการว่าจ้างคนงานอินโดนีเซีย พม่า มาเลย์ ไทย
ให้มาสร้างสะพานในครั้งนั้นด้วย
ที่ตายและฝังที่สุสานอนาถาก็มีจำนวนมาก
ไม่นานมานี้เพิ่งจะมีการรื้อฟื้น
และสืบหาร่องรอยที่ฝังศพญาติพี่น้องที่สูญหายไป
โดยมีญาติพี่น้องเดินทางมาจากมาเลย์/อินโดนีเซีย
มาทำพิธีรำลึก/สวดมนตร์อุทิศให้กับผู้ตาย





เส้นทางจักรยานมืออาชีพ/วัน







ศึกเดืยนเบียนฟู
สงครามครั้งสุดท้ายที่เวียตนามซัดกับฝรั่งเศส
เวียตนามใช้จักรยานในการขนส่งอาวุธ
ปืนใหญ่จะถูกถอดออกมาเป็นชิ้น ๆ ขนไปกับจักรยาน
มีการใช้แรงงานคนบางส่วนขนส่ง
เมื่อถึงเป้าหมายก็นำมาประกอบขึ้นเป็นปืนใหญ่
แล้วนัดวันยิงถล่มค่ายทหารฝรั่งเศส
จนทำให้ทหารฝรั่งเศสบาดเจ็บล้มตายและยอมจำนนในที่สุด


อนึ่ง ทางผ่านไปยังเดียนเบียนฟูเป็นพื้นที่ไทดำส่วนหนึ่ง
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล กับ จิรนันท์ พิตรปรีชา ก็เคยเดินผ่านเส้นทางนี้
มีเขียนไว้ในหนังสือ อีกหนึ่งฟางฝัน บันทึกแรมทางของชีวิต
ทั้งคู่เจอเด็กชายไทดำ เดินมาพบแล้วบอกว่า ฟานดีกิน (ฟานคือ เก้ง)
เพราะเสกสรรค์ยิงเก้งได้ตัวหนึ่งเตรียมจะนำมาทำเสบียงอาหาร


จักรยานชาวบ้านรุ่นโบราณมีตะแกรงหลังแข็งแรงมาก
ไว้ขนข้าวสาร/หมู/ยางแผ่น หนัก 100 กิโลกรัมได้สบาย ๆ







Create Date : 18 ธันวาคม 2561
Last Update : 18 ธันวาคม 2561 15:53:52 น.
Counter : 1653 Pageviews.

1 comments
พระพุทธสิหิงค์ : หลวงพ่อเพชร ผู้ชายในสายลมหนาว
(27 มิ.ย. 2568 15:34:46 น.)
"เรื่องที่มักเข้าใจผิด" อาจารย์สุวิมล
(25 มิ.ย. 2568 10:56:08 น.)
กำแพงแสน : นกตบยุงเล็ก ผู้ชายในสายลมหนาว
(12 มิ.ย. 2568 08:52:18 น.)
#WatmahathatYuvarajarangsarit #พรรณีเกษกมล สมาชิกหมายเลข 4665919
(11 มิ.ย. 2568 09:27:18 น.)
  
ทำข้อมูลได้น่าอ่านมากค่ะ
โดย: sawkitty วันที่: 18 ธันวาคม 2561 เวลา:22:54:12 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ravio.BlogGang.com

ravio
Location :
สงขลา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]

บทความทั้งหมด