ทีมนักวิจัยวิทยาศาสตร์ปากีสถานค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งซึ่งกำจัดพลาสติคให้ย่อยสลายได้
การค้นพบครั้งนี้นับว่าเป็นข่าวที่ดีมากสำหรับสภาพแวดล้อมมันต้องใช้เวลานับพันปีในการย่อยสลายพลาสติคให้หมดไป
นับตั้งแต่มีการผลิตพลาสติคขึ้นมาราว 65 ปีก่อน
พลาสติคคาดว่ามีอยู่ประมาณ 8.3 พันล้านตันทั่วโลก
พวกมันส่วนมากอยู่ในพื้นที่หลุมกลบฝังขยะในประเทศต่าง ๆ
พลาสติคเป็นสารสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นมาโดยมนุษย์
ทำให้พวกมันไม่สามารถกำจัดได้ด้วยธรรมชาติ
" เรากำลังเผชิญหน้าอย่างรวดเร็วจนจะกลายเป็นดาวเคราะห์พลาสติค
และถ้าเราไม่อยากจะอยู่กับโลกแบบนี้แล้ว เราต้องคิดใหม่ ทำใหม่
หาหนทางใช้วัสดุบางอย่างทดแทนพลาสติคได้อย่างยิ่งเลย "
Dr. Roland Geyer นักนิเวชวิทยาอุตสาหกรรม UC Santa Barbara ให้สัมภาษณ์กับ BBC News
//www.bbc.com/news/science-environment-40654915
เพื่อที่จะเอาชนะสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบพันธมิตร
ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยตามธรรมชาติ
เชื้อราในดินที่กำจัดพลาสติคให้ย่อยสลายได้
ผลการศึกษา Biodegradation of Polyester Polyurethane by Aspergillus tubingensis
จะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Environmental Pollution
//bit.ly/2wDTnaUSehroon Khan หัวหน้าทีมวิจัย World Agroforestry Center กับสมาชิกในทีม
ได้ศึกษาจากตัวอย่างกองขยะใน Islamabad ใน Pakistan
" เพื่อที่จะดูว่ามีอะไรบ้าง ที่ใช้พลาสติคย่อยสลายเป็นอาหารได้
พอ ๆ กับขบวนการย่อยสลายอาหารพวกพืชหรือสัตว์ที่ตายแล้ว Khan สรุป
เชื้อราที่ทีมนักวิจัยค้นพบอาศัยอยู่ในดิน
มีชื่อเรียกว่า Aspergillus Tubingensis
พวกมันสร้างอาณาจักรด้วยการยึดครองพลาสติค
แล้วผลิตเอนไซมส์(enzymes) ลึกลับบางประเภท
ทำลายพันธะทางเคมีที่มีอยู่ใน(พลาสติค) Polymers
ทำให้พลาสติคย่อยสลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้

Source: Bioimágenesพลาสติคสร้างขึ้นจากห่วงโซ่โมเลกุลที่เรียกว่า โพลีเมอร์
ซึ่งมีการขึ้นรูปแบบได้หลายอย่าง เช่น
Polyethylene Polystyrene และ Polypropylene
โดยมากพลาสติคมักจะประกอบด้วย Carbon กับ Hydrogen
และบางครั้งมี Oxygen Nitrogen Sulfur Chlorine Fluorine Phosphorous หรือ Silicon
Aspergillus Tubingensis คือ เชื้อราที่ย่อยสลาย Polyurethane ได้
ด้วยการสร้างเส้นใย(mycelia) ที่แข็งแรงมาก
ในการฉีกพลาสติคให้ขาดออกจากกันเป็นชิ้น ๆ ได้
พวกมันใช้เวลาในการกำจัดไม่นานมากนัก
เพรระนักวิจัยสังเกตพบความมีนัยสำคัญอย่างยิ่ง
ในการที่พวกมันขจัดกลุ่มพลาสติคตัวอย่างได้ภายในไม่กี่สัปดาห์
ในการใช้ประโยชน์จากเชื้อราเหล่านี้
จะเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นขจัดภูเขาขยะทั่วทุกมุมโลก
นักวิจัยได้ระบุว่า จะลงมือขยายพันธุ์เชื้อราดังกล่าวในหลุมกลบฝังขยะ
ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเบื้องต้นก่อน
(อุณหภูมิ และระดับความเป็นกรดเป็นด่าง)
แม้ว่าเชื้อรากลุ่มนี้จะไม่ใช่ของจากธรรมชาติชุดแรก
ที่มนุษย์ค้นพบในการกัดกินพลาสติคให้ย่อยสลาย
เพราะในช่วงต้นปี Dr. Federica Bertocchini
จาก Institute of Biomedicine and Biotechnology of Cantabria ใน Spain
ได้ค้นพบโดยบังเอิญขณะที่ทำการศึกษาว่า
หนอนผีเสื้อกลางคืนกำลังกัดกินถุงพลาสติค
ที่ขังพวกมันไว้ให้ย่อยสลายได้
พวกมันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
เพราะมันเริ่มกัดกินถุงลาสติคที่ขังพวกมันไว้ภายในเวลา 40 นาที
หลังจากนั้นเพียง 12 ชั่วโมงพวกมันไดย่อยสลายพลาสติคไป 12 มิลลิกรัม (0.0004 ออนซ์)