Twin-Heart Fish Trap / 七美雙心石滬, Penghu / 澎湖, Taiwan / 臺灣 / 台灣 / 대만
1.

ที่มา https://bit.ly/2xUjuxPกั้นลัง หรือกับดักจับปลาที่ทำเป็นรูปฝาย
เป็นหนึ่งในวิธีที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมา
สำหรับการจับปลาในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง
โดยทั่วไปกั้นลังมักจะสร้างด้วยหินหรือเสาไม้
และอาศัยกระแสน้ำขึ้นน้ำลงเพื่อดักปลาให้อยู่ภายในกั้นลัง
ช่วงน้ำขึ้นฝูงปลาจะแหวกว่ายเข้ามาในพื้นที่
ที่มีกับดักทำเป็นกำแพงล้อมรอบไว้
และเมื่อกระแสน้ำลดลงแล้ว
ฝูงปลาบางส่วนก็ยังคงติดค้างอยู่ในกั้นลัง
เพราะว่ายน้ำหนีออกไปไม่ทัน
ทำให้ชาวประมงสามารถจับปลาได้อย่างง่าย ๆ
การทำประมงริมฝั่งสมัยโบราณที่บ้านกาหลง
ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน
มักจะใช้วิธีการปักไม้ในทะเลน้ำตื้น
เพื่อทำเป็นปีกสองข้าง เรียกว่า กั้นลัง
โดยจะอาศัยน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยสำคัญ
เป็นหลักการทำประมงง่าย ๆ
แต่ต้องอาศัยความชำนาญเกี่ยวกับการเลือกทำเล
ที่จะปักไม้ลงอวนของคนในพื้นที่
เป็นคอกยาวด้านละ 500 เมตรโดยประมาณ
ในช่วงน้ำลง ปีกโป๊ะจะเหมือนบีบให้ปลามารวมกัน
ที่จุดศูนย์กลางของปีกมุมเหลี่ยม
แล้วจะเอาอุปกรณ์ที่ใช้ตักกุ้งหอยปูปลา
ที่ติดเข้ามาในกั้นลังแต่ละครั้ง
จากนั้นจะย้ายทำเลจะเคลื่อนที่ตลอด ไม่มีที่ประจำ
ปลาที่จับได้มักจะเป็น ปลากระบอก ปลากุเลา ปลาลิ้นหมา
2.

ผลการศึกษามีหลักฐานที่แสดงว่า
มีการทำกั้นลังหรือฝายจับปลาด้วยหินทั่วโลกตั้งแต่ยุคหิน
ตั้งแต่หมู่เกาะแปซิฟิกใต้ หมู่เกาะในเอเชียที่ทอดยาวในมหาสมุทรแปซิฟิค
และแม้แต่ในฟินแลนด์และออสเตรเลีย
แต่ในเกาะ Penghu ทางฝั่งตะวันตกของไต้หวัน
ชาวประมงท้องถิ่นได้สร้างกั้นลังโดยใช้หินซ้อนกันเป็นเวลา 700 ปีที่ผ่านมา
เผิงหู Penghu มีกั้นลังหินมากกว่า 570 แห่ง
แต่แห่งที่โด่งดังมากที่สุด คือ
กั้นลังหัวใจคู่ Twin-Heart ใน Chimei Township
ที่สร้างขึ้นจากหินบะซอลต์และซากปะการัง
ลักษณะของกั้นลังคล้ายคลึงกับหัวใจสองดวง
ถ้ามองจากด้านบนชายฝั่งลงไปที่ท้องทะเล
ด้วยเหตุที่กั้นลังแห่งนี้รูปร่างไม่เหมือนแบบทั่วไป
ทำให้กั้นลังหัวใจคู่ Twin-Heart Stone Weir
กลายเป็นสถานที่ดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่รักโรแมนติกและเพิ่งจะแต่งงานใหม่
ที่มาของกั้นลังแห่งนี้ยังไม่ทราบประวัติความเป็นมา
แต่มีการใช้งานมานานหลายศตวรรษแล้ว
เพราะในทางปฏิบัติสามารถสร้างได้ง่าย ๆ
แต่การสร้างจริง ๆ ต้องดูทิศทางน้ำขึ้นน้ำลง
เพื่อให้ฝูงปลาที่ว่ายเข้ามาจะติดกับอยู่ข้างใน
หลังจากกระแสน้ำลดลงไปจากปรกติแล้ว
กั้นลังหินจึงกลายเป็นแหล่งเศรษฐกิจ
ที่สำคัญของชาวประมงในเมือง Penghu
แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากวิถีชีวิตชาวประมงมีการเปลี่ยนแปลง
วิธีการประมงและความเสียหายจากสภาพแวดล้อมทางทะเล
กั้นลังหินก็จับปลาได้น้อยลง ๆ ทำให้ขาดการดูแลรักษาา
ทำให้กั้นลังบางอันก็จมหายลงฝังในพื้นทรายทราย
และบางส่วนก็ถูกทิ้งไว้ในท้องทะเลกลายเป็นซากปรักหักพัง
แม้ว่ากั้นลังจับปลาของชาวประมง Chimei จะค่อย ๆ เลือนหายไป
แต่กั้นลั้งหัวใจคู่นี้ยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
ให้มาชมกั้นลั้งดักจับปลามากกว่าความต้องการมาจับปลา
เรียบเรียง/ที่มา