สะพานไม้ไผ่กำปงจามที่สร้างขึ้นใหม่ทุกปีกำลังจะสูญหายไป ![]() Photo credit: James Antrobus/Flickr การเดินทางข้ามแม่น้ำโขงทางตะวันออกของกัมพูชา ใช้สะพานไม้ไผ่ที่เชื่อมต่อระหว่างเกาะกลางแม่น้ำ Koh Pen เก๊าะเปน เกาะเต็ม เช่น พนมเปน(เขาเต็ม) แม่น้ำปิง แม่น้ำเต็ม ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางแม่น้ำโขงกับกำปงจาม Kampong Cham เมืองใหญ่อันดับที่ 6 ของกัมพูชาทางฝั่งตะวันตก สะพานไม้ไผ่นี้สร้างเป็นฤดูกาล โดยจะมีการสร้างขึ้นในทุกฤดูแล้ง เมื่อลำน้ำในแม่น้ำโขงลดตัวลง และกลายเป็นที่ตื้นเกินไปสำหรับเรือข้ามฟาก แต่หลังจากนั้นในช่วงเริ่มต้นของฤดูฝนแต่ละครั้ง ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเอ่อล้นขึ้นมาสูงกว่าเดิม ชาวบ้านจะช่วยกันรื้อถอนสะพานไม้ไผ่ด้วยมือ แล้วนำไปเก็บไว้ใช้ใหม่หรือนำไปใช้กับสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ เพราะในช่วงฤดูฝน กระแสน้ำของแม่น้ำไหลเชี่ยวมากเกินไป จนสะพานไม้ไผ่เหลือที่จะทนทานอยู่รอดได้ เรือข้ามฟากจึงทำหน้าที่ข้ามแม่น้ำโขงแทน เมื่อน้ำในแม่น้ำเริ่มลดลงมีสภาพเริ่มตื้นเขินและกระแสน้ำไหลไม่เชี่ยวแล้ว ชาวบ้านก็จะร่วมมือกันก่อสร้างสะพานไม้ไผ่ใหม่ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยการนำท่อนไม้ไผ่ขนาดยาวและหนากระแทกลงในแม่น้ำ แล้วนำไม้ไผ่ที่ตอกออกมามัดเป็นซีก ๆ วางไว้ด้านบนเพื่อทำให้พื้นผิวถนน กับใช้การประสานกันของไม้ไผ่พร้อมกับการขวั้นเชือกเพื่อโยงยึดเข้าด้วยกัน ไม้ไผ่แต่ละท่อนมีส่วนในการโยงยึดและรั้งกับฐานรากของสะพานไม้ไผ่ สะพานไม้ไผ่แห่งนี้มีความแข็งแรงและกว้างพอ ที่จะรองรับน้ำหนักของยานพาหนะที่มีน้ำหนักเบา ถ้ามองดูจากระยะไกลดูเหมือนกับก้านไม้ขีดไฟสานกัน เนื่องจากไม้ไผ่โค้งงอตัวได้มาก ทำให้มีโอกาสหักได้น้อยมาก ไม่ไผ่นำมารนไฟแบบพวกมืออาชีพที่ทำว่าวขาย จะเหนียวหนึบ/เด้งตัว/กันมอดดีกว่าไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านการรนไฟ การขับขี่รถยนต์หรือรถเครื่อง(จักรยานยนต์) เหนือสะพานไม้ไผ่ เร้าใจเร้าอารมณ์มากเหมือนขับบนระนาด เพราะการที่สะพานไม้ไผ่หดตัวและตีดกลับ สร้างประสบการณ์ในการขับขี่ผ่านกองคลื่นไม้ไผ่ พร้อมกับเสียงกระเพื่อม/เสียงอึกทึกที่ส่งผ่านล้อยาง " ยังไม่มีใครนับจำนวนไม้ไผ่ราวหลายพันลำ ที่โยงยึดกันเป็นแนวยาวและแนวนอนขึ้นเป็นรูปสะพานได้ แต่มันค่อนข้างไหลลื่นและขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ การเร่งเครื่องยนต์บนสะพานไม้ไผ่ จะส่งเสียงและแรงกระเพื่อนไปทั่วทั้งสะพาน ทำให้คนเดินเท้าบนสะพานต้องหลีกทางก่อน ไปยืนหลบตามแถวข้างทางสะพานไม้ไผ่ ที่ดูค่อนข้างน่ากลัวและแหลมคม " Emily Lush เขียนใน Wander Lush ![]() Photo credit: Stephen Bugno/Flickr อย่างไรก็ตาม มีนักท่องเที่ยวหลายพันคน ต่างเดินทางมาที่กำปงจามในแต่ละปี เพื่อได้ความตื่นเต้นเร้าใจกับการขับขี่ข้ามสะพานไม้ไผ่ สำหรับชาวบ้านในท้องถิ่นต่างจ่ายเงิน 100 เรียล 2.5$ เซนต์(สามสลึง)ในการใช้สะพาน แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะถูกเรียกเก็บเงิน เป็น 40 เท่าของราคาชาวบ้าน(ราว 30.-บาท) ซึ่งเป็นธรรมเนียมปรกติของพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกแล้ว สร้างรายได้คิดเป็นเงินที่เรียกเก็บเงินราว 1-2 ล้านเรียล/วัน หรือประมาณ 250-500$(7,500-15,000.-บาท) ประมาณปีละ 2.0 ล้านบาท รายได้หลัก ๆ จึงมาจากชาวต่างชาติแบบเสือนอนกิน โดยจะนำรายได้ที่เก็บรวบรวมไว้นี้ ไปทำการก่อสร้างและบำรุงรักษาสภาพสะพานไม้ไผ่ ซึ่งต้องใช้เงินประมาณ 50,000-60,000$ในแต่ละปี(1.5-1.8 ล้านบาท) สะพานไม้ไผ่กำปงจามมีการสร้างขึ้นใหม่ทุกปีมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ในปีนี้อาจจะเป็นปีสุดท้ายที่จะมีสะพานไม้ไผ่ เพราะห่างออกไปจากสะพานไม้ไผ่นี้ อีกประมาณ 2 กิโลเมตรทางตอนใต้ มีการสร้างสะพานคอนกรีตเส้นใหม่แล้ว ที่ได้เปิดให้บริการในเดือนมีนาคม ปีนี้ สะพานคอนกรีตมีความยาว 800 เมตร สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกได้ถึง 30 ตัน ขณะที่สะพานไม้ไผ่รองรับได้เพียง 4 ตัน และมีอายุการใช้งานนานกว่าสะพานไม่ไผ่ถึง 50 ปี ชาวบ้านบางคนบน Kok Pen ดูเหมือนว่ามีความสุขกับสะพานใหม่ เพราะมีความสะดวก ประหยัดเวลา รวมทั้งปลอดภัยยิ่งขึ้น และยังไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางเหมือนเดิมอีกด้วย แต่การสูญเสียสะพานไม้ไผ่ อาจจะต้องสูญเสียนักท่องเที่ยว ทำให้ชาวบ้านหลายคนต่างวิตกว่า จะส่งผลกระทบ/ผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของเกาะแห่งนี้ รวมทั้งภูมิปัญญา/การมีส่วนร่วมของชาวบ้าน ในการสร้างสะพานไม้ไผ่ทุก ๆ ปี เรียบเรียง/ที่มา https://bit.ly/2AEKTYy ![]() Photo credit: Donald Macauley/Wikimedia ![]() Longest bamboo bridge in the world. Photo credit: Dale Warren/Shutterstock.com ![]() Photo credit: Stephen Bugno/Flickr ![]() Photo credit: Stephen Bugno/Flickr ![]() Photo credit: Stephen Bugno/Flickr ![]() View under the bamboo bridge in Kampong Cham. Photo credit: Vitalii Karas/Shutterstock.com ![]() Photo credit: Vitalii Karas/Shutterstock.com ![]() Photo credit: Kompasskind.de/Shutterstock.com เรื่องเล่าไร้สาระ กำปง คือ ท่า (ทางขึ้นบก/ท่าเรือ/ท่าน้ำ) จาม คือ ชาวจาม/จัมปา ที่หนีตายมาขึ้นบกทึ่นี่ อาณาจักรจัมปา ที่เคยรุ่งเรืองมากในอดีต เดิมนับถือศาสนาฮินดู/พุทธก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นศาสนาอิสลาม ต่อมาถูก ไดเวียด ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวจัมปา มีในหนังสือของ ปแฏงมหาบุญเรือง คัชมาย์ ท่านแปลและเรียบเรียงมาจากนักประวัติศาสตร์เขมร ที่ประมาณการว่า ชาวจามตายราว 400,000 กว่าคน ท่านได้ส่งต้นฉบับมาให้ผม แต่ผมยังไม่มีเวลาเรียบเรียง เรื่องราวชาวจามยังมีในบทความของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ผลการแพ้รบเลยทำให้ชาวจามกลายเป็นชนกลุ่มน้อยมุสลิม อาศัยอยู่ในตะเข็บรอยต่อเวียตนามกับเขมร เวียด คือ ชาวญวน/เวียตนาม บางคนว่า เป็นพวกชนเผ่าเย่ว์ที่มักจะก่อการกบฎ เย่ว์ จีนมักเรียกรวม ๆ ชนเผ่าพื้นเมือง/พวกร้อยเผ่าพันแม่ จนทางการจีนต้องปราบปรามหลายครั้งมาก บางคนว่า เวียดน่าจะเป็นพวกทหารจีนที่พ่ายแพ้ ในศึกชิงบัลลังค์/พวกก่อการกบฎ ในยุคแรกเวียดยังไม่มีแผ่นดินของชาติตนเอง จึงรวมพลกับคนไดเข้ายึดครองอาณาจักรจัมปา เพื่อยึดครองดินแดนกับทรัพยากรของพวกจาม ได คือ คนไท ได กะได หรือคนจ้วง ขัอมูลอื่น ๆ มีใน Facebook จำนงค์ ทองภิรมย์ บริเวณถิ่นฐานเมืองหลวงจัมปา แถวรอบ ๆ เมืองเดียนเบียนฟู มีคนไทอาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง ไทดำ ไทขาว ดูจากสีเสื้อผ้าที่นิยมสวมใส่ ไทดำชอบอยู่ตามพื้นที่ราบสูง ไทขาวชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ คนไทดูเหมือนว่ารักสงบ แต่ก็รบไปทั่วรอบรั้วบ้านตั้งแต่ยุคอดีต เคยไปตีพม่า มอญ เขมร ลาว มาเลย์ เพิ่อกวาดต้อนไพร่พลมายังเมืองหลวง ไทบางส่วนไปสร้างอาณาจักรอัสสัมที่อินเดีย รัฐฉานในพม่า ก่อนที่ยะแยยะจะพ่ายในภายหลัง ตอนสงครามครั้งสุดท้ายของเวียตนามกับฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟู กองทัพปลดแอกเวียตนามก็ต้องขอเดินทางผ่านชุมชนไท จิรนันท์ พิตรปรีชา กับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ก็เคยเดินผ่านหมู่บ้านไทดำแถวนี้ มีในหนังสือ อีกหนึ่งฟางฝัน เล่าว่า เสกสรรค์ยิงฟาน(เก้ง) ได้ เจอเด็กไทดำเดินสวนทางพูดไทยว่า " ฟาน ดีกิน " ![]() การล่มสลายของอาณาจักรจัมปา ทำให้คนจามต้องอพยพมาเป็น กองอาสาจาม ตามตำนานบอกว่า พวกนี้เป็นพวกเจ้าหนีตายจากไดเวียด ที่ทำสงครามแบบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาณาจักรจัมปา จริง ๆ แล้ว กองอาสา ก็คือ ทหารรับจ้างในสมัยกรุงศรีอยูธยา แต่ใช้วาทกรรมให้ดูดีมีสกุลกว่าคำว่า รับจ้าง คนจามมีการอพยพอีกละลอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ในช่วงที่ไทยรบกับญวน เพราะกษัตริย์เขมรชอบเหยียบเรือสองแคม ชอบทำตัวเป็นลูกเลี้ยงไม่ยอมโต เพราะไทยเหมือนแม่ ญวนเหมือนพ่อ พอถูกใครตีดุด่าก็วิ่งไปหาอีกคน จนทำให้พ่อแม่ต้องทะเลาะกันเรื่องลูก ตามข้อเขียน มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช คนจามส่วนมากมักจะมากระจุกตัวอยู่ที่บ้านครัว ซึ่งเป็นแหล่งทอผ้าไหมด้วยมือในสมัยอดีต ที่ Jim Thomson ราชาผ้าไหมไทย นำไปเผยแพร่และสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับไทย เพราะจากการเดินเข้าไปสำรวจชุมชนที่อยู่ตรงข้ามกับบ้าน มีเพียงคลองแสนแสนคั่นกลางเท่านั้น โรงงานแถวบ้านก็มักจะชอบ Import คนจัมปามุสลิมในเขมรมาทำงาน เพราะส่วนมากมักจะพูดภาษามลายูได้ ค่อนข้างขยัน อดทน และรักความสะอาด ข้อสำคัญคือ ไม่ดื่มเหล้าแบบแรงงานชาวพุทธ ![]() ![]() แถวบ้านมีสะพานข้ามทะเลน้อย เดิมเป็นถนนชั่วคราวในหน้าแล้ง ที่พระกับชาวบ้านช่วยกันสร้างถนนให้เดินเป็นทางลัด จากระโนฏไปยังพัทลุง เรียกชื่อว่า ถนนพระสร้างประชาทำ โดยต้องสร้างกันใหม่ทุก ๆ ปีในตอนหน้าแล้ง ต่อมา ชาวบ้านทั้งสองฝั่งทะเลร่วมหุ้น(ลงขัน) สร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราวให้รถพอวิ่งได้ มีการนำเอาเสาไฟฟ้าและแท่งคอนกรีตที่ขอ/ซื้อมาราคาถูก มาสร้างเป็นสะพานไม้ให้พอข้ามทางได้ในช่วงหน้าฝน โดย เอกชัย ศรีวิชัย ที่ดังเพลงหมากัด ในปี 2538-2539 ก็มาช่วยจัด Concert เพื่อหาทุนสร้างสะพานนี้ด้วย หมากัด - เอกชัย ศรีวิชัย กรมทางหลวงได้สร้างสะพานคอนกรีตถาวรคร่อมทางเดิมภายหลัง ชื่อ สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (เส้นทาง พท. 3070) แต่ชาวบ้านยังเรียกกันว่า สะพานเอกชัย หรือ สะพานไประโนฎ(ตาลโตนด) ชื่อเดิมคือ ถนนสายบ้านไสกลิ้ง-บ้านหัวป่า สะพานเริ่มจากทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ไปสู่ อ.ระโนด จ.สงขลา รวมระยะทาง 14 กิโลเมตร เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เส้นทางข้ามทะเลน้อย จะเห็นทะเลน้อย นกนานาชนิดและ ควายน้ำ อาศัยอยู่ ![]() ไม้ไผ่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ![]() ไม้ไผ่เป็นพืชวงศ์หญ้าที่โตเร็วมาก สามารถปลูกทดแทนได้ในรอบ 1-3 ปี หน่อไม้ปี๊บที่ขายกันมากทุกปี เป็นผลผลิตมาจากปราจีณบุรี ราวแขวนยางพาราในโรงงานรมควันยางพารา ราวตากยางแผ่นให้แห้งมักจะใช้ไม่ไผ่เป็นหลัก ถ้าใช้วัสดุอื่นจะแพงกว่า/แผ่นยางจะมีโอกาสเสียหาย สวนปาล์มภาคใต้ที่ติดกับชายแดนมาเลย์ จะมียาฆ่ากอไผ่ขาย มีคนลักลอบนำเข้ามา ยานี้ตัวเดียวกับยาเร่งดอกลำไย ที่ฉีดใบ/ราดโคนต้นให้ออกดอกนอกฤดู แต่ต้องบำรุงต้นลำไยให้สมบูรณ์ก่อน ควรทำปีเว้นปี ข้อมูลจากเกษตรกรที่ทำลำไยนอกฤดูแถวบ้าน การที่ต้องกำจัดไม้ไผ่เพราะเติบโตเร็วเกินไป จนไปแย่งปุ๋ย บังแดด กับกีดขวางทางเดิน ในการเข้าไปแทงทะลายปาล์มน้ำมัน เอกสารงานวิจัย ![]() |
บทความทั้งหมด
|