
หลายปีก่อน นักศึกษาได้ถาม
Margaret Mead นักมนุษยวิทยาระดับตำนาน
ว่า อะไรที่เธอคิดว่าคือ สัญญาณแรกเริ่มของ
อารยธรรมที่มีในวัฒนธรรมของมนุษย์
นักศึกษาต่างคาดว่า คำตอบจะเป็น เบ็ดตกปลา
หรือ หม้อปั้นดินเผา หรือ ขวานหิน หรือ ศาสนวัตถุ
(นักวิทยาศาสตร์บางท่านระบุว่า ไฟ
คือ อารยธรรมเริ่มต้นในวัฒนธรรมมนุษย์)
แต่ Margaret Mead กลับบอกว่า
ตั้งแต่ยุคโบราณ
จุดเริ่มต้นอารยธรรมในวัฒนธรรมของมนุษย์
คือ กระดูกต้นขาที่หักของคน
ได้รับการรักษาเยียวยาจนกระดูกสมานกันและหายดีแล้ว
หลักฐานชิ้นแรกของอารยธรรม คือ
กระดูกโคนขาร้าวอายุ 15,000 ปีที่พบในแหล่งโบราณคดี
โคนขาเป็นกระดูกที่ยาวที่สุดในร่างกายเชื่อมโยงสะโพกถึงหัวเข่า
ในสังคมที่ยังไม่มีการแพทย์แผนปัจจุบัน
จะใช้เวลาพักประมาณ 6 สัปดาห์เพื่อรักษากระดูกขาที่แตกหัก
จนกระทั่งกระดูกขานี้หายเป็นปกติ
คำอธิบายก็คือ ในโลกของสัตว์ ถ้าขาเกิดหัก ตายสถานเดียว
เพราะวิ่งหนีจากภยันตรายไม่ได้ ไปกินน้ำที่แม่น้ำไม่ได้
ออกล่าสัตว์หาอาหารกินไม่ได้ จะตกเป็นเหยื่อของนักล่าที่อยู่รอบๆตัว
ไม่มีสัตว์ตัวใดที่จะเอาชีวิตรอดอยู่ได้นานพอ
ก่อนที่จะรอให้กระดูกต้นขาที่หักประสานกัน และใช้งานได้อีกครั้ง
มีหลักฐานว่า กระดูกต้นขาที่หักและประสานกันจนหายดีของคน
แสดงว่ามีใครสักคนหนึ่ง ที่ได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกับคนที่กระดูกต้นขาหัก
ทำการดาม/รักษากระดูกต้นขาที่หัก แบกคนเจ็บไปยังที่ปลอดภัย
และคอยเฝ้าดูแลคนเจ็บอยู่ตลอดเวลาพักรักษาตัว
การช่วยเหลือผู้อื่นในช่วงเวลาทุกข์ยากลำบาก
คือ สัญญานแรกเริ่มของอารยธรรมที่กำเนิดขึ้นมาแล้ว
เราจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด
เมื่อเราช่วยเหลือผู้อื่น จงเป็นคนมีอารยธรรม
ไม่ต้องสงสัยเลยที่มีกลุ่มชนเล็ก ๆ ที่มีน้ำใจ
คนเหล่านี้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้
และแน่นอนนี่คือ เรื่องที่เคยเกิดขึ้นจริง
เรียบเรียง/ที่มาhttps://bit.ly/2YU6KWq
https://bit.ly/3drlZKq

เรื่องเล่าไร้สาระMargaret Mead เป็นคนทำงานแบบทุ่มเททั้งกายและใจในการทำวิจัย
จนมีข่าวเล่าลือว่า เธอยอมเป็นเมียหัวหน้าเผ่าคนหนึ่งใน
Samuaเพื่อทำการวิจัยชนเผ่านี้จนได้ผลงานตามที่ต้องการ
แต่ข้อเท็จจริงคือ เธอผ่านการแต่งงานถึง 3 ครั้ง
กอปรกับเธอเชื่อมั่นในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศสภาพ
เมืองไทย มีงานวิจัยที่ทุ่มเททั้งกายและใจที่ จขกท.เคยอ่าน1.
นางศุลีมาน นฤมล ที่ไปคลุกคลีกับพนักงานอาบอบนวด
โดยได้เพื่อนพนักงานช่วยกันปกป้องเธอจากการขายบริการ
จนได้วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ และเป็นสตรีคนแรกที่จุดประกายการวิจัยแบบมีส่วนร่วม
กระบวนการกลายเป็นหมอนวด : กรณีศึกษาหญิงบริการในสถานบริการ อาบ อบ นวดมีตีพิมพ์เป็นหนังสือ
นางงามตู้กระจก : การศึกษากระบวนการกลายเป็นหมอนวดไทย ศุลีมาน (นฤมล) วงศ์สุภาพ
2.
ผศ.ดร.ปนัดดา ชำนาญสุข อาจารย์มหาวิทยาลัยผู้ทำวิจัยด้วยการซ้อนท้ายเด็กแว้นจนกระทั่งได้ประเด็นและข้อมูลในการวิจัยเรื่อง
การป้องกันปัญหาจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ในกลุ่มเยาวชน กรณีศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา3.
นายบุญเลิศ วิเศษปรีชา การเดินทางสู่โลกของคนไร้บ้านด้วยการลงพื้นที่คลุกคลีกับคนไร้บ้านในกทม.
และนำวิทยาพนธ์มาเขียนเป็นหนังสือ
โลกของคนไร้บ้านในการทำวิทยาพนธ์ปริญญาเอก ได้เดินทางไปฟิลิปปินส์
เพื่อคลุกคลีหาข้อมูลในการเสนอดุษฎีนิพนธ์
หัวข้อ Structural violence and homelessness: Searching for Happiness on the streets of Manila
และตีพิมพ์เป็นหนังสือ
สายสตรีท: มานุษยวิทยาข้างถนนในมะนิลา4.
นายศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ที่ลงพื้นที่ในหมู่บ้านนายู(ไทยมุสลิม/มาลายู)
เพื่อทำงานวิจัยแบบคลุกคลีกับชาวบ้านและอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
หัวข้อ
ปาเยาะห์เนาะยาดีนายู (มันยากที่จะเป็นนายู) :
ความเป็นชาติพันธุ์ ความหมาย และการต่อรองของมลายูในชีวิตประจำวันและตีพิมพ์เป็นหนังสือ
มันยากที่เป็นมลายูคนฟาตอนี(ปัตตานี) จะเรียกคนไทยว่า ซือแย(สยาม)
ส่วนมาเลย์ จะเรียกคนไทยว่า เซียม(สยาม)
มาฝากเสมอค่ะ