เรือรุ่นเก่าของอังกฤษที่ลากด้วยม้า ใน Cromford Canal ใกล้กับ Matlock ใน UK Credit : David Muscroft / Shutterstock.comก่อนที่จะมีเครื่องจักรดีเซลและไฟฟ้าใช้ในเรือทั่วไปกับเรือบรรทุกสินค้า
คนยุคก่อนต้องใช้พายในการพายหรือการดึงเรือให้เคลื่อนที่
หลายประเทศในยุโรป เช่น เนเธอแลนด์ อังกฤษ
และบางพื้นที่ของฝรั่งเศส เยอรมันนี และเบลเยี่ยม
ม้าลากเรือเป็นเรื่องธรรมดามาก
มีการใช้งานม้า ลา ล่อ ในการเดินไปตามลำคลอง
โดยลากเรือบรรทุกผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า
เพราะเรือเคลื่อนที่อยู่ในน้ำ จะมีแรงเสียดทาน/แรงต้านน้อยมาก
ทำให้สามารถลากน้ำหนักได้มากกว่าถึง 50 เท่า
ของน้ำหนักบรรทุกปกติที่ลากบนเส้นทางบก
เป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว
ที่เรือมักจะลากด้วยผู้ชาย
เพราะตามตลิ่งมักจะเป็นที่ดินส่วนตัว
ยังไม่มีการสร้างทางให้สัตว์พาหนะเดิน
ทำให้พวกผู้ชายมักจะเดินลุยตามตลิ่ง
เหยียบย่ำจนเกิดเป็นเส้นทางเดินลากเรือ
จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18
อังกฤษจึงเริ่มสร้างเส้นทางบนตลิ่งตามแม่น้ำและคลอง
ทำให้มีการใช้สัตว์พาหนะทำงานแทนคน เช่น ม้า ลา ล่อ
แต่ส่วนมากนิยมจะใช้ม้าลากเรือมากกว่า
ม้าจะลากเรือสินค้า ไปรษณีย์ภัณฑ์ และผู้โดยสาร
ยิ่งในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีการขนส่งข้าวของจำนวนมาก
ม้าจะทำหน้าที่นี้อย่างหนักมากภายในประเทศและพื้นที่ต่าง ๆ
ในช่วงปีค.ศ.1770 ถึงปีค.ศ.1830
เป็นยุคที่อังกฤษบูมมากในการสร้างคลอง
หรือเรียกกันว่ายุคทองของคลองอังกฤษ
Golden Age of British canals
ในยุคนั้นมีการสร้างคลองจำนวนมากมาย
แม้ว่าคลองหลายเส้นจะใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย
ทำให้มีคลองรวมกันยาวเกือบ 4,000 ไมล์
มีการตั้งบริษัทขุดคูคลองจำนวนมาก
และต่างแข่งขันกันในการทำธุรกิจนี้
เพราะต่างเก็งกำไรหวังรายได้จากธูรกิจนี้
คลองที่ขุดขึ้นในศตวรรษที่ 18
ค่อนข้างแคบมากและใช้ได้กับเรือลำที่ไม่กว้างมาก
บางแห่งมีความกว้างคลองน้อยกว่า 2 เมตรในการเดินเรือ
2. จุดเปลี่ยนเส้นทางบนสะพานสายคลอง Macclesfield Credit : Mike Serigrapher / Flickrทำให้ต้องหาทางแก้ไขสายลากเรือที่อาจจะพันกัน
ในช่วงย้ายสลับข้างจากตลิ่งคลองด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง
(ขาล่องเรือลง หรือขาล่องเรือขึ้น)
มีการสร้างวงเวียนเพื่อให้ม้ากลับตัวขากลับ
หรือตารางหมากรุกในเส้นทางตัดผ่านกัน
สร้างทางเดินภายเป็นอุโมงค์ใต้สะพานสายต่าง ๆ
สร้างทางลาดให้สอดคล้องกับเส้นทางเดินบนตลิ่ง
เวลาม้าลากเรือขึ้น/ลงบนทางลาดเพื่อข้ามสะพาน
เพื่อลากเรือไปตามเส้นทางเป้าหมายต่อไป
สะพานหลายแห่งจะมีทางเดินลอดผ่านใต้สะพาน
แต่ถ้าไม่มีอุโมงค์ใต้สะพานหรือไม่มีทางลอดผ่าน
ม้าจะถูกปลดเชือกที่เชื่อมโยงกับเรือสินค้าออกก่อน
แล้วลากจูงให้เดินไปข้างหน้า หรือสับเปลี่ยนม้าอีกชุดหนึ่ง
ส่วนคนเรือจะถูกบังคับให้ใช้ ขา ดันเรือสินค้าผ่านอุโมงค์
ด้วยการนอนราบหรือนอนหงายบนเรือ
แล้วใช้ขายัน/ดันบนผนังอุโมงค์หรือด้านบนสะพาน
ทั้งนี้เพื่อผลักดันเรือให้เดินไปข้างข้างหน้า
การใช้ขายัน/ดันให้เรือเดินหน้า
เป็นเรื่องที่อันตรายและยากลำบากมาก
เจ้าของเรือสินค้าส่วนใหญ่จึงมักจะจ้างคนงาน
คนงานมืออาชีพที่ชำนาญการเรื่องนี้ทำงานแทน
ยิ่งอุโมงค์ยิ่งยาวไกลยิ่งต้องจ้างมืออาชีพทำงานแทน
3. สะพานที่มีทางลอดไว้เดินภายใน Credit : Ronald Saunders / Flickrในประเทศเนเธอร์แลนด์การคมนาคมบนคลอง
มีนัยสำคัญมากกับเรือลากจูงสินค้าต่าง ๆ
มีการดำเนินการมานานกว่าศตวรรษก่อนหน้าอังกฤษ
คนในท้องถิ่นพวกเขาเรียกว่า Trekschuit
Trekschuit สายแรกเริ่มต้นในปีค.ศ.1632
ระหว่าง Amsterdam กับ Haarlem
สามารถบรรทุกคนโดยสารได้ 30 คน
คลองถูกขุดเป็นเส้นตรงเพื่อให้ระยะทางสั้นที่สุด
แต่ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนเรือโดยสารกลางทาง
การหยุดพักกลางทางเพื่อรอเปลี่ยนเรือ
กลายเป็นชื่อเรียกว่า Halfweg หรือ halfway ครึ่งทาง
Trekschuit ประสบความสำเร็จอย่างมาก
ทำให้เกิดเส้นทางระหว่าง Haarlem กับ Leiden
ในอีกสองทศวรรษต่อมา
หมายเหตุ ที่สงขลา มีจุดพักครึ่งทาง 6 กิโลเมตรพอดี
จากระยะทางรวม 12 กิโลเมตร
ใช้การเดินเท้าพอเหนื่อยพอดีแบบมาตรวัดยุคโบราณ
เส้นทางระหว่างตำบลปาดังเบซาร์กับที่ว่าการอำเภอสะเดา
ชาวบ้านเรียกชื่อกันว่า ปั้วโหล่เตี่ยม อยู่ที่บ้านทับโกบ
ปั้ว=ครึ่ง โหล่=ทาง เตี่ยม=ที่พักโรงเตี้ยม
สมัยก่อนเป็นจุดกึ่งกลาง
เพื่อรอสายข่าวตรวจสอบสภาพ
ประเมินสถานการณ์ภายในภายนอก
พวกนายด่านศุลกากรกับตำรวจ
ก่อนที่จะขนสินค้าชายแดน(หนีภาษี)
ผ่านอำเภอสะเดาเข้าปาดังเบซาร์
หรือเข้าหาดใหญ่โดยกองทัพมด
ซึ่งจะมีรายย่อยทำงานจำนวนมากเหมือนฝูงมด
เมื่อถึงช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 18
เครือข่ายการให้บริการเรือ Trekschuit
และเรือข้ามฟาก
ได้เชื่อมโยงเมืองสำคัญทั้งหมด
ตามชายฝั่งทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์
การเดินทางโดย Trekschuit มีความน่าเชื่อถือ สะดวกสบายและราคาถูก
และความเร็วประมาณ 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเร็วกว่าการเดินเท้า
และสะดวกสบายกว่าการนั่งโดยรถโค้ชที่ใช้ม้าลาก
ระบบนี้กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
และมีการขุดคลองแบบเดียวกันที่ Ohio กับ Erie Canal ในสหรัฐฯในยุค 1820
แต่การถือกำเนิดของรถไฟ
ม้าลากเรือกลายเป็นธุรกิจที่ล้าสมัย
แต่ยังมีอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งในสหราชอาณาจักร
เช่นที่ Foxton, Godalming, Tiverton, Ashton-under-Lyne, Newbury และ Llangollen
เรียบเรียง/ที่มา https://bit.ly/2QhJ1Z5 https://bit.ly/2qnowyO 4. เรือลากจูงที่เดินทางบน Grand Western Canal ใน Devon ประเทศอังกฤษ Credit : dcurzon / Shutterstock.com 5. เส้นทางเดินตัดผ่านหินข้างแม่น้ำ Lot ในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส Credit: Sylvain Crouzillat / Wikimedia 6. ม้าลากเรือปากแคบบนคลอง Kennet และ Avon ที่ Kintbury ใน Wiltshire Credit: Anguskirk / Flickr 7. ชายและหญิงลากเรือบรรทุกสินค้าผ่านคลองในเนเธอร์แลนด์ 1931 8. ผู้หญิงกำลังลากเรือในคลองที่ Netherlands (ไม่ระบุวันเดือนปี) 9. ม้าลากเรือ ที่ Finowkanal ใน Germany ช่วงปี 1880 10.ม้าสองตัวลากเรือ ที่ Ohio-Erie Canal, 1902 VIDEO Chinese Laborers pull boats upstream from a river which runs between high mountai...HD Stock Footage