+ + + ร้อนขนาดนี้ " แก้ผ้าอาบน้ำ" กันดีกว่า + + + ![]() แก้ผ้าอาบน้ำ ม.ย.ร มะลิ เขียน สำนักพิมพ์วงกลม พิมพ์ครั้งที่ 1 (เปลี่ยนปก ) 251 หน้า 190 บาท ตั้งชื่อบล็อกเสียหวาดเสียว จะมีใครหลงมาร่วมแก้ผ้าอาบน้ำด้วยกันไหมนี่ ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ แก้ผ้าอาบน้ำที่ว่านี่คือ ชื่อหนังสือ ที่ว่าด้วยการแก้ผ้าอาบน้ำ ในโรงอาบน้ำสาธาระณะและไปอาบไกลถึง ประเทศญี่ปุ่นและตุรกีโน่น นี่เป็นหนังสือเล่มแรกของม.ย.ร.มะลิ (คนเดียวกับที่เขียนโตเกียวอะโซบิ นั่นล่ะค่ะ) ผู้เขียนเล่าประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีธีมหลักอยู่ที่ "การอาบน้ำ" เธอบอกถึงที่มาของการอาบน้ำในที่สาธารณะของญี่ปุ่นไว้อย่างน่าสนใจ ผู้เขียนบอกว่าในสมัยเอโดะ ประเทศญี่ปุ่นยังการมีการแบ่งชั้นวรรณะ เช่นชนชั้นบุชิโด พ่อค้า ชาวนา ฯลฯ แต่ละชนชั้นจะเข้าใจวรรณะของกันและกันได้จากเสื้อผ้าที่สวมใส่ ปรกติแล้วผู้คนที่มาจากต่างวรรณะกันจะไม่พูดจากัน ยกเว้นตอนที่ละจากวรรณะชั่วคราวก็คือตอนที่อยู่ในโรงอาบน้ำนี่เอง ในที่แห่งนั้นทุกคนจะถอดเสื้อผ้าและมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน ชาวนากับซามูไร ผู้ที่โดยปรกติไม่แม้แต่จะมองหน้ากัน ก็ได้มีโอกาสพูดคุยกันในโรงอาบน้ำนี่เอง สังคมในโรงอาบน้ำเปรียบเสมือนโลกในอุดมคติ ที่ทุกคนมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน คนญึ่ปุ่นจับใจกับเรื่องนี้ จนมีคำพูดที่พูดกันบ่อยๆ ว่า "ความสัมพันธ์แบบเปลือยเปล่า" ซึ่งหมายถึงความจริงใจ การถอดยศฐาบรรดาศักดิ์ พอตกมาสมัยนี้การอาบน้ำรวมยังหมายถึง การอาบน้ำร่วมกับคนหมู่มากและการอาบน้ำรวมระหว่างพ่อ แม่ ลูกด้วย ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนยังเน้นถึงการอาบน้ำแร่ เพราะประเทศญี่ปุ่นมีภูเขาไฟมากมาย จึงมีบ่อน้ำแร่อยู่ถึงสองหมื่นกว่าแห่งทั่วประเทศ การอาบน้ำแร่แช่น้ำร้อน ในญี่ปุ่น จึงมีจุดมุ่งหมายถึงเรื่องสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ อ่านหนังสือเล่มนี้ไป ได้ความรู้สาระ ในเรื่องที่เรายังไม่เคยรู้ไป แถมยังได้อ่านประสบการณ์เขินอายของผูเขียนที่น่ารักดี คือผู้เขียนเคยลองอาบน้ำแต่ในห้องอาบน้ำสาธารณะ ที่เป็นโรงอาบน้ำหญิง แต่ยังไม่เคยกล้าอาบน้ำรวมในโรงอาบน้ำสาธารณะที่เป็นแบบอาบน้ำรวมแบบแยกหญิง-ชายสักที อ่านถึงตอนที่เธอกล้าๆ กลัว ว่าจะกล้าออกไปตรงส่วนอาบน้ำรวมในโรงอาบน้ำแห่งหนึ่ง แล้วต้องอมยิ้มในความเขินอายของเธอ ถึงตรงนี้ผู้เขียนให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ เธอบอกว่าคนญึ่ปุ่นพึ่งมาต้องแยกโรงอาบน้ำออกเป็นหญิง-ชาย เมื่อหลังสงครามโลกเมื่อปี ค.ศ.1870 นี้เอง คนอเมริกันเข้ามาจัดการกฏระเบียบภายในประเทศ ห้ามมิให้ชาย-หญิงอาบน้ำรวมกัน ซึ่งเป็นที่อึดอัดแก่เจ้าของโรงอาบน้ำมาก เพราะต้องมีทุนรอนเพิ่มในการกั้นห้อง ผู้เขียนบอกว่า ตอนนี้ตามต่างจังหวัดของญี่ปุ่น ก็ยังโรงอาบน้ำสาธารณะที่ไม่แยกหญิง-ชายปรากฏอยู่ เอาเข้าจริงคนตะวันตกเองที่ ไม่เข้าใจขนบดั้งเดิม รวมไปถึงมุ่งแต่จะ "จัดระเบียบ" ในนามของ "พี่เบิ้ม" มากเกินไป แถมยังไม่เข้าใจปรัชญาของการ"เปลือยเปล่า" เสียจริงๆ จขบ.เคยอ่านหนังสือ "จดหมายจากเกียวโต" ที่เขียนโดย ฮิมิโตะ ณ เกียวโต เธอเคยเล่าประสบการณ์การอาบน้ำรวม เธอบอกว่าที่นี่ในโรงอาบน้ำ ทำให้เธอรู้สึกว่า หัวนมมีคุณค่าไม่ต่างกับหัวแม่เท้า คือเมื่อเปลื้องผ้า( ในโรงอาบน้ำ) อวัยวะชิ้นไหนก็มีคุณค่าเท่ากันหมด ไม่มีใครสนใจมองดู อวัยวะชิ้นไหนเป็นพิเศษ ช่างเป็นโลกในอุดมคติจริงๆ ต่างกับโลกยามที่เราสวมเสื้อผ้าอย่างสิ้นเชิง ทุกอย่างๆ มีคุณค่า "มีราคา" ด้วยกันทั้งสิ้น หนังสือเล่มนี้เคยพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี 2546 โดยสำนักพิมพ์ Fullstop แต่นำมาเปลี่ยนปกใหม่โดยสำนักพิมพ์วงกลม ปกครั้งแรกคือปกนี้ค่ะ ![]() โดย: erol
![]() จาร้อนหรือไม่ร้อนก้อต้องแก้ผ้าอาบอยู่แล้วคร้าบ..
แต่ถ้าร้อนมาก ๆ ก้อแก้ผ้านอน ประหยัดเสื้อผ้าไป 1 ชุด ![]() โดย: 90210
![]() ปกใหม่น่าเอ็นดูดีจัง
![]() (ป.ล. บ่อที่น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน work มากๆ เลย แม้จะมิใช่บ่อรวม อิอิ) โดย: แพนด้ามหาภัย
![]() ![]() น่าสนใจดีค่ะ รู้สึกว่าพอมีเรื่องแก้ผ้าแล้วมันน่าสนใจพิลึก
![]() โดย: ยาคูลท์
![]() นึกว่าเขียนเรื่องความร้อนตอนนี้แล้วจะมาชวนแก้ผ้าอาบน้ำ
น่าสนใจอีกแล้วค่ะ เอาไว้สอบเสร็จก่อนนะคะ ![]() โดย: keyzer
![]() สาระน่ารัก น่าสนใจค่ะ
...ปรัชญาชีวิต ของคาริล ยิบราล แปลโดย อ.ระวี ภาวิไล ..อ่านไว้นานแล้ว ค่ะ ชักเลือน ๆ จำได้ว่าต้องใส่ความพยายามอย่างสูงเพื่อทำความเข้าใจ..ไม่รู้ว่าได้ย่ออ่านไว้รึไม่..ค้น ๆอาจจะเจอ ?.. แต่ท้ายที่สุด ความเข้าใจง่ายทั้งมวล กลับตกผลึกจาก..พุทธธรรม ของเรา ค่ะ ขอบคุณที่แวะไปคุยด้วย นะคะ โดย: samranjai
![]() แล้วญี่ปุ่นในเมืองไทย เขามีห้องอาบน้ำแบบนี้มั่งไหมคะ
โดย: ป้ามด
![]() ![]() พี่แป็ดครับ
ผมก็ชักคิดเหมือนพี่บาคนะครับ ที่ว่าน่าจะเป็นปี 1970 หลังสงครามโลกที่อเมริกาชนะ ยุคก่อนหน้านั้นอเมริกาไม่น่าจะเก่งกาจทำตัวเป็นพี่เบิ้มเยี่ยงวันนี้ ช่วงนี้ผมอ่านแต่นวนิยายครับ พึ่งอ่านซีรีย์ไมลอน โบลิทาร์ เรื่อง fade away (เรื่องไทยชื่อ เล่ห์) จบไป ก็สนุกดีครับ แต่น้อยกว่าที่คาดไว้เล็กน้อย นึกว่าจะหักมุมได้สะจิตกว่านี้ อย่างไรก็ตามผมชอบหนังสือซีรีย์นี้ตรงที่พูดถึงวงการกีฬานี้แหละ ไม่ค่อยมีคนเขียนนิยายเกี่ยวกับกีฬาเท่าไร แถมนี้เป็นกีฬากับนักสืบเสียด้วยสิ เมื่อวานซืนอ่าน คินดะอิจิยอดนักสืบ เล่ม 5 (อยากอ่านเล่ม 4 จัง) มนต์เสน่ห์ของตำนานน่ากลัวแฝงอยู่ในทุกบรรทัด กลายเป็นจุดเด่นของนวนิยายซีรีย์นี้ อ่านแล้วชวนขนลุกนะครับ พี่แป็ดอยากลองเปลี่ยนอารมณ์ก็ลองดูนะครับ ไม่น่าเชื่อว่าอาทิตย์ที่ผ่านมาผมอ่านนวนิยายวันละเล่ม โอ้ว!!! พระเจ้าถ้าทำวิทยานิพนธ์ขยันแบบนี้ได้ก็คงดีสิ โดย: I will see U in the next life.
![]() ![]() ![]() โดย: แม่มดพันปี
![]() เป็นอีกเล่มที่อยากอ่านแต่ยังไม่ได้ซื้อค่ะ (ติดใจตั้งแต่โตเกียวอะโซบิแล้วล่ะค่ะ)
เอ..แต่ถ้า 1970 มันก็แค่ปี 2513 เองนะคะ ช่วงนั้นมีสงครามอะไรฤา? ตกลงอยากได้อะไรจากอิตาลีมั้ยคะพี่? ![]() โดย: สาวไกด์ใจซื่อ
![]() ผมเดาว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อะครับ เพราะอเมริกาก็ควบคุมญี่ปุ่นอยู่นานเหมือนกัน
ที่ว่ามานี้เดาล้วน ๆ โดย: I will see U in the next life.
![]() คิดเหมือนสาวไกด์อ่ะค่ะ
ถ้า 1970 มันไม่นานมานี้เอง อย่างไรก็ตามจะเช็คกับสำนักพิมพ์ให้ค่ะ ส่วนเรื่องอิตาลีไปตอบที่บล็อกแล้วจ้า โดย: grappa
![]() ![]() เล่มนี้ น่าสนใจจังครับ
(เอาไว้ไปอ่านเวล แก้ผ้า อาบน้ำ 5555 ![]() โดย: กุมภีน
![]() ![]() ตอนแรกนึกว่าเจ้าของบล็อกจะชวนไปแก้ผ้าอาบน้ำด้วย เกือยบตกปากรับคำแล้วเชียว
![]() ![]() โดย: เข็มขัดสั้น
![]() เล่มนี้ไม่ได้อ่านค่า จริงๆ อยากลองไปออนเซ็นหรือเซ็นโตเหมือนกัน แต่เขิลลล
![]() โดย: foneko (fonkoon
![]() ![]() ยามเมื่อฟ้าสดใส และทุกอย่างเริ่มเข้ารูปเข้ารอย ชีวิตก็จะดำเนินไปตามวิถีทางของมัน จงคว้าจับวันนี้ไว้ให้ดี เพื่อว่าเราจะเข้าสู่จุดหมายได้เร็วขึ้น เพราะพรุ่งนี้จะดูแลตัวของมันเอง โดย: คนเดินดินฯ
![]() มาบอกความโก๊ะของตัวเอง
อัพบล็อกแต่ไม่ได้ตั้งเป็นหน้าแรก เชยมั่กๆ เพิ่งเห็นว่าเพื่อนๆ ไปตอบบล็อกเก่ากันจนจะสองร้อยเม้นท์แล้ว ![]() อ้าว..เหรอคะ ฟลอเรนซ์เครื่องเขียนสวยๆ เหรอ แหม..รู้แล้วน้ำลายหกง่ะ อยากได้มั่งง่ะ แต่ไม่ได้แวะอะค่ะ งือออ โดย: สาวไกด์ใจซื่อ
![]() น่าสนใจนะค่ะ เพราะเคยลองถามเพื่อนบล็อกที่อยู่ญี่ปุ่นก็เล่ามาเหมือนกันว่าได้อารมณ์แบบไหน ... เทียบกับทางนี้ก็คงเหมือนกับห้องซาวน่า ซึ่งไม่ค่อยมีใครสนใจกันเท่าไหร่เวลาต้องเปลื้องหรือว่านุ่งน้อยห่มน้อย
คนข้างๆ เคยเล่าเรื่องนู้ดบีชที่นี่เหมือนกัน ก็คิดว่าอยากไปเห็นนะ แต่ว่าเค้าบอกว่าจะให้ดีก็ต้องไปแก้ผ้าด้วยถึงจะถือว่าเป็นการเคารพคนและสถานที่ ฟังแล้วเปลี่ยนใจเลยค่ะ เพราะว่ายังไงก็ยังไม่อยากเปิดร่างอวบอั๋นสู่สายตาประชาชี ตัวเองยังทำใจไม่ได้เลยค่ะ ![]() โดย: JewNid
![]() 1945 สงครามโลกครั้งที่สอง
1950 สงครามเกาหลี 1970 สงครามเวียดนาม โดย: นพดล เวชสวัสดิ์ IP: 58.8.99.226 วันที่: 10 พฤษภาคม 2549 เวลา:0:07:16 น.
เห็นแล้วอยากไปอาบน้ำให้หายร้อนเลยค่ะ
ขนาดตอนเช้ายังร้อนมั่กๆ ^^' โบว์ได้หยุดวันศุกร์วันเดียวค่า^^... ![]() โดย: ขอบคุณที่รักกัน (blueberry_cpie
![]() ![]() ตกลงช่วงสงครามเวียดนาม
ง่า..แล้วทำไมมามีอิทธิพลต่อญี่ปุ่นด้วยอ้ะ? หรือติดมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อปี ๔๕ ที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามอะคะ? (ยาวนาน ๔๕ ปีเลยฤา?) งง โง่ประวัติศาสตร์จริงๆ เลยเรา ![]() ![]() โดย: สาวไกด์ใจซื่อ
![]() ^
^ เท่าๆ ที่ทบทวนความทรงจำคร่าวๆ อเมริกาพยายามเข้าไปมีบทบาทในประเทศต่างๆ ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา กรณีญี่ปุ่น ยิ่งชัดเจน เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศแพ้สงคราม อเมริกาอยู่ฝ่ายพันธมิตร ประเทศชนะสงครามเลยถือโอกาสเข้าไปจัดระเบียบประเทศแพ้สงคราม แต่ที่สงสัยคือว่า ปี 1970 คือสงครามเวียดนาม ซึ่งคราวนี้อเมริกาแพ้ หลังปี 1970 อิทธิพลอเมริกันในภูมิภาคเอเชียน่าจะค่อยๆ แผ่วๆ ลงไปแล้ว ส่วนปี 1870 ที่สงสัยว่าคือปีอะไร ได้ส่งข้อมูลต่อให้สำนักพิมพ์แล้วค่ะ เขากำลังสืบค้นข้อมูลให้อยู่ โดย: grappa
![]() ![]() รอคำตอบนะครับพี่ว่าปี 1870 อเมริกาไปทำอะไรที่ญี่ปุ่นหนอ
โดย: I will see U in the next life.
![]() คิดแบบคนไทย โดยส่วนตัวคิดว่า
การแยกโรงอาบน้ำชาย-หญิง น่าจะเป็นการสะดวกใจกว่าการอาบรวม แต่ก็เข้าใจนะคะว่าสิ่งที่เป็นมาแต่เดิม นั่นคือปรัชญาชีวิตอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ที่อาจมีความหมายไปถึงการละวางทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนชั้น ยศถาบรรดาศักดิ์ ฯลฯ น่าสนใจดีค่ะ ขอบคุณคุณ grappa สำหรับการแนะนำ หนังสือน่าอ่านนะคะ สนใจเรื่อง turkish bath ด้วยค่ะ ![]() โดย: ป้าติ๋ว (nature-delight
![]() ![]() ผมกำลังไปญี่ปุ่นพอดี ...แล้วต้องไปลองมั่ง ... ว่าจะเป็นไงครับ
โดย: POL_US
![]() ![]() บรรณาธิการสำนักพิมพ์วงกลม
ส่งอีเมล์มาตอบคำถาม เรื่องปี 1870 ตามข้อสังเกตุของคุณ Johann sebastian Bach (คอมเม้นท์แรก ) บรรณาธิการแนบข้อความของ ม.ย.ร.มะลิ มาตามนี้ค่ะ ถึงผู้อ่านที่กรุณาช่วยสังเกตและชี้แนะ ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างสูงค่ะ เป็นความผิดพลาดของผู้เขียนเองค่ะ เกิดจากการสับสน ในบทบาทของชาวอเมริกันต่อประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีสองช่วงใหญ่ๆค่ะ ที่จริงเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เป็นช่วงปี 1853 ที่สหรัฐส่งกองรบเรือเข้ามากดดันให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ในช่วงนั้นญี่ปุ่นถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตกอย่างหนัก ในที่สุดก็นำไปสู่การฟื้นฟูระบอบจักรพรรดิ และรับเอาอิทธิพลจากตะวันตกเข้ามาแบบสุดๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เช่นเปลี่ยนชื่อเมืองจาก เอโดะเป็นโตเกียว(1868),ยกเลิกชนชั้นซามูไร(1872) และการตั้งกฎ ห้ามชายหญิงอาบน้ำร่วมกัน ก็เกิดขึ้นในปี 1870 สืบเนื่องจากกระแสดังกล่าวด้วย ผู้เขียนรู้สึกเสียใจ และต้องขออภัยอย่างสูงต่อข้อมูลที่ผิดพลาดค่ะ คราวหน้าจะพยายามระวังและตรวจข้อมูลให้ละเอียดกว่านี้ ขอบพระคุณมากที่กรุณาช่วยชี้แนะมาค่ะ ม.ย.ร.มะลิ โดย: grappa
![]() ![]() ^
^ ^ โอเคค่ะ เข้าใจแล้น ขอบคุณที่ไปบอกข่าวกันนะคะพี่ ![]() โดย: สาวไกด์ใจซื่อ
![]() หน้าปกของหนังสือน่ารักเชียวครับ
เเต่พออ่านที่คุณ grap เขียนเเล้ว อีกอารมณ์หนึ่งเลย ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกด้วยครับ ชอบตรงที่คุณ grap พูดถึงสังคม ในโรงอาบน้ำที่เป็นโลกอุดมคติครับ ชีวิตมนุษย์สุดท้ายก็มีเสรีภาพเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเหนือกว่าใคร หนีความตายกันไม่พ้นทุกคน ![]() โดย: Dark Secret
![]() ![]() โอ้... แค่เหไ็นปกหนังสือก็อยากอ่านเสียแล้วอ่ะค่ะ
โดย: Mocha Macchiato
![]() ว่าแล้ว...ก็อยากแก้ผ้า
. . . . . . . . . . . . . โดดลงคลอง ![]() เป็นผมก็คงเขิน เหมือนกันแหละครับ ![]() แต่ คุณเธอมะกัน แกก็ขาจัดระเบียบดีจัง คุ้น ๆ ว่าเดี๋ยวนี้จะลุกลามเข้ามาในบ้านเราแล้ว เปิดทีวีมาก็เจอหมอกศีลธรรมบังรูปแวนโก๊ะห์ ซะงั้น "ไม่เข้าใจศิลปะกันเลยจริง ๆ" เหมือนกับที่ พวกมะกัน "ไม่เข้าใจปรัชญาการเปลือยเปล่าอย่างเท่าเทียมกัน" (บ่น-บ่น) ![]() โดย: ShadowServant
![]() สวัสดีค่ะคุณกรัปป้า มาบล็อกคุณกรัปป้าทีไร ได้หนังสือดีๆ ที่ต้องเก็บไว้ในลิสต์หนังสืออยากอ่านจัง... เสมอๆ เลยค่ะ รวมถึงเล่มนี้ด้วยค่ะ อ่านรีวิวของคุณกรัปป้าได้ความรุ้เพิ่มมากมายขนาดนี้ หากได้อ่านเต็มๆ เล่มหนังสือ คงได้ประโยชน์และความรู้มหาศาลเชียวค่ะ ขอบคุณคุณกรัปป้ามากๆ ค่ะ ![]() โดย: มัชฌิมา
![]() ![]() แหม่ ว่าจะทักท้วงแล้วเชียว ช้าไปหน่อย จิ๊
![]() โอ่ะ กำลังบอกว่าผมเคยเห็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ออกแบบได้เจ๋งมาก กลับเป็นหนังสือเล่มเดียวกันพิมพ์ครั้งแรกนี่เอง 555 ผมชอบพิมพ์ครั้งแรกนะ ทั้งปกทั้งกระดาษ และรูปแบบข้างใน ไม่รุ้ว่าพิมพ์ครั้งใหม่ยังคงรูปแบบเดิมอยุ่รึป่าว (แต่ผมไม่ได้ซื้อนะ เพราะเรื่องมันเฉพาะเจาะจงมาก ถ้าไม่สนใจเลยไม่ซื้อน่ะ) อ่อ แล้วไม่เห้นพูดถึงการอาบน้ำแบบตุรกีเลย ว่ามันต่างกันรึป่าวน่ะ โดย: คูต้าว IP: 58.136.198.109 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:12:23:53 น.
ขอบคุณที่ไขความกระจ่างครับ
โดย: I will see U in the next life.
![]() ![]() ขอให้คุณ grappa ประสพความสำเร็จในหน้าที่การงานเช่นกันนะจ้ะ ![]() โดย: อินทรีทองคำ
![]() เห็นภาพประกอบ หนังสือ น่ารักจัง
กลับจากเมืองไทยคราวที่แล้ว หอบการ์ตูน ญี่ปุ่น ซึ่งเก็บสะสมมานานเป็นเวลา ๒๐ ปี มาด้วย ![]() โดย: grosse_erwartungen IP: 85.2.112.156 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:16:32:26 น.
ปกสวย...จัง
ปกแรก..........สวยกว่า .. .. ส่วนเล่ม จม.จากโตเกียว งานเขียนคุณ ฮิมิโตะ (คำผกา) นี่สนุกดีครับ ผมเป็นผู้ชาย แต่ชอบอ่าน เธอแรงดี55 ![]() โดย: แร้ไฟ
![]() 1870 เป็นสมัย The Last Samurai พี่ทอม ครู๊ส นี่เอง อิอิ หนังสือน่าอ่านมากเลยค่ะ
โดย: ปอมปอมเกิร์ล
![]() เคยอ่านงานอีกเล่มของพี่ มยร. มะลิกุล
ชอบ เขียนหนังสือสนุกดี ออนเซ็น ออนเซ็น อยากไป ![]() โดย: ยีน IP: 203.118.74.223 วันที่: 18 พฤษภาคม 2549 เวลา:19:49:03 น.
ไปอาบน้ำรวมกันเขินตายเลยค่ะ
แต่อยากอ่านเล่มนี้จัง ชอบงานเขียนทุกอย่างที่เกี่ยวกับญี่ปุ่น ไม่รู้ทำไม (สงสัยว่าได้รับอิทธิพลจากการ์ตูนญี่ปุ่นอ่ะค่ะ แหะๆ) โดย: ยอดมนุษย์หญิง IP: 86.143.200.101 วันที่: 18 พฤษภาคม 2549 เวลา:22:18:34 น.
พี่grappaที่รัก (จะเรียกชื่อเล่นจริงๆก็ไม่รู้ว่าจะเปิดเผยหรือเปล่า)
มาบอกว่าแอบอ่านblogอยู่นานแล้ว ฮิฮิ แขกเคยเห็นพี่โพสต์หน้าปกหนังสือเมนูปรารถนาไว้ในบล็อค ตอนนี้หาเท่าไรก็หาไม่เจอ ว่าจะส่งหน้าปกไปให้เพื่อนดูค่ะ anyway แวะมาทักทายอย่างเป้นทางการในฐานะแฟนผู้ติดตามอย่างเหนียวแน่นด้วย คิดถึงค่ะ โดย: แขก IP: 220.47.184.33 วันที่: 18 พฤษภาคม 2549 เวลา:23:21:09 น.
พี่ขา
ตั้งก๊ะเกิดมา... หนูยังไม่เคยใส่เสื้อผ้าอาบน้ำเลยค่ะ อิอิ ![]() โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ (the grinning cheshire cat
![]() ผมมีเล่มพิมพ์ครั้งแรก สีม่วงนะครับ เป็นหนังสือขนาดเล็กกระทัดรัด ออกแบบสวย เนื้อหาน่าอ่าน ชอบมากครับ
โดย: ป้อจาย
![]() อ่านแล้วเหมือนกันค่ะ
เรื่องอื่นๆอ่านแล้วก็สนุกดีนะคะ ^^ โดย: KoPoK IP: 61.47.97.213 วันที่: 30 พฤษภาคม 2549 เวลา:18:52:34 น.
การแก้ผ้าอาบน้ำมันก็น่าหนุกแต่ว่ามันอายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆมากๆๆๆๆ
![]() โดย: เด็กใต้ IP: 58.147.29.218 วันที่: 17 กันยายน 2549 เวลา:18:38:28 น.
อ่านแล้วรักญี่ปุ่นขึ้นมากเลย
![]() ![]() โดย: หญิงจ๊ะ IP: 203.113.61.103 วันที่: 15 ตุลาคม 2550 เวลา:1:15:33 น.
เรื่องแก้ผ้าอาบน้ำเป็นเรื่องธรรมดา
เค้าก่ะเพื่อนสนิท4คนแก้ผ้าอาบน้ำรวมกันบ่อยๆไม่เห็นจ่ะแปลกเลยเพศเดียวกานนิอายไร หนังสือน่านกน่ะน่าอ่านดี่เดียวค่อยซื้อ ![]() ![]() โดย: 1234 IP: 203.113.71.167 วันที่: 22 ธันวาคม 2550 เวลา:13:57:13 น.
|
บทความทั้งหมด
|
"เธอบอกว่าคนญึ่ปุ่นพึ่งมาต้องแยกโรงอาบน้ำออกเป็นหญิง-ชาย เมื่อหลังสงครามโลกเมื่อปี ค.ศ.1870 นี้เอง"
จริง ๆ แล้วมันต้อง ค.ศ. 1970 ใช่ไหมครับ