- - - ดีไซน์ +คัลเจอร์ ความหมายและเบื้องลึกของงานออกแบบ - - -




ดีไซน์+คัลเจอร์ ประชา สุวีรานนท์ เขียน
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน พิมพ์ ( 2551 ราคา 300 บาท)

เป็นหนังสือที่พออ่านถึงบทสุดท้ายแล้ว ต้องร้องว่า เฮ้ย อย่าเพิ่งจบ ยังอยากอ่านอีก
( คาดว่าคงมีเล่ม 2 เพราะคุณประชา สุวีรานนท์ยังเขียนคอลัมน์ชื่อเดียวกับหนังสืออยู่ในมติชนสุดสัปดาห์)

หนังสือเล่มนี้คือ " การสามารถย้อนกลับมาอ่านให้แตกว่า งานดีไซน์หนึ่งๆ มีรากที่มาอย่างไร ถูกหยิบใช้เละส่งผลสะเทือนอย่างไร จึงไม่ใช่อะไรนอกจากการอ่านประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้อย่างลุ่มลึก แยบคาย ทว่าอาจตรงไปตรงมา และปราศจากการครอบงำเสียยิ่งกว่าการอ่านตำราประวัติศาสตร์วัฒนธรรมฉบับทางการก็ได้" ( จากย่อหน้าสุดท้ายของคำนำสำนักพิมพ์)

ถึงแม้นชื่อหนังสือจะมีคำว่าดีไซน์ แต่มันไม่ใช่หนังสือที่จะทำให้คุณดีไซน์เก่งๆ หรือข้อมูลทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่มันคือสิ่งที่อยู่ลึกลงไปในงานดีไซน์ บางที่สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ( ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตของงานออกแบบ) มันบอกว่า เราเป็นใคร หรือเรารสนิยมแบบไหน ตัวอย่างง่ายๆ เช่นหลายคนคงเลือกตัดสินใจซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เพราะการออกแบบอันแสนเก๋ไก๋ของมัน บางบทในหนังสือเล่มนี้มันอธิบายว่าการดีไซน์มันเข้าไปอยู่ในระดับจิตสำนึกได้อย่างไร แต่หนังสือเล่มนี้ก็ยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น ตัวอย่างเช่นในบทที่ว่าด้วยเก้าอี้ ชื่อตอนความสบายกับความ(โม)เดิร์น คุณประชานำเสนอว่ามีงานวิจัยของอาจารย์ทางสถาปัตยกรรมแห่งมหาวิทยาลัย ยู.ซี.เบิร์กลีย์ ชิ้นหนึ่งบอกว่าการนั่งเก้าอี้เป็นผลผลิตของตะวันตก และยังเป็นเครื่องหมายทางชนชั้น เช่นเก้าอี้แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างเจ้ากับสามัญชนหรือแบ่งแยกเจ้านายกับลูกน้อง และการนั่งเก้าอี้แบบมีพนักพิงที่เรานั่งกันมาจนทุกวันนี้ เป็นความผิดพลาดอันมหันต์ในเชิงสรีรศาสตร์ของวัฒนธรรมตะวันตกด้วย เพื่อความถูกต้องทางสุขภาพ เราควรยกเลิการนั่งเก้าอี้แบบตะวันตกหันมาสนใจการนั่งกับพื้น และผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังด้วยเก้าอี้นอนแทน ( โอ นี่มันตะวันออกชัดๆ การนั่งกับพื้น แต่อ่านถึงบทนี้แล้วก็สะท้อนใจเราต้องรอให้ฝรั่งมาบอกว่าที่คุณทำน่ะมันเป็นผลผลิตที่ผิดพลาดของวัฒนธรรมบ้านชั้นนะ)


บทที่ตัวเองชอบมากที่สุด น่าจะเป็น สำนึก มุมมอง และอุดมการณ์ของแผนที่ ที่คนเขียนร่ายยาวตั้งแต่งานดีไซน์แผนที่ชิ้นคลาสสิกของลอนดอนอันเดอร์กราวด์ มาจนถึงงานศิลปะของ
วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ If there is No corruption ที่ใช้แผนผังระบบเครือข่ายรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานครมาเทียบเคียงกับงานศิลปะของตัวเอง และบท ภูมิศาสตร์ของความรู้สึก ทั้งสองบทนี้พูดถึงวาทกรรมเชิงพื้นที่ที่ปรากฏอยู่ในแผนที่อย่างหฤหรรษ์ เพราะแผนที่ทั้งหมดที่ถูกยกมาอ้างถึงในบทแรก ไม่ได้เป็นแผนที่ที่ช่วยหาพิกัดถูกต้อง แต่มันคำนึงถึงความสวยงามอย่างมากด้วย ตัวอย่างเช่นเส้นบางเส้นในแผนที่ของลอนดอนอันเดอร์กราวด์ แทนที่จะเป็นเส้นโค้งตามความเป็นจริงแต่เพื่อความสวยงามมันถูกทำให้กลายเป็นเส้นตรง หรือร่นระยะทางบางเส้นเพื่อให้สวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งคนลอนดอน"รับได้" กับความไม่ถูกต้องตรงนี้ แต่พอนำหลักการนี้มาใช้กับแผนที่นิวยอร์กซี้ตี้ ซับเวย์กลับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง คนนิวยอร์กประท้วงแผนที่ฉบับนี้อย่างฉับพลันทันใด อะไรที่ทำให้คนลอนดอนรับได้ และอะไรที่ทำให้คนนิวยอร์กรับไม่ได้ คุณประชาให้ภาพไว้อย่างสนุกสนาน

ส่วนบทภูมิศาสตร์ของความรู้สึกนั้น มันคือการบอกว่าการเขียนแผนที่ ต้องมีอุดมการณ์การสร้างชาติมารองรับด้วย บทนี้คุณประชาใช้แผนที่อุปมามาแสดงตัวอย่าง ( คือแผนที่ที่มีการตกแต่ง ดัดแปลง หรือบิดเบือนรูปทรงจนกระทั่งกลายเป็นคน สัตว์ สิ่งของ) อุปมาที่ใกล้ตัวที่สุดคือ "ขวานทอง" เป็นอุปมาที่ที่ช่วยสร้างภาพของประเทศซึ่งเป็นพื้นที่มีขอบเขต เขตแดนขึ้นในใจเราทำให้กลายเป็น"รูปร่างหน้าตาของชาติ" ในสำนึกของชาวไทยมาเนิ่นนาน นั่นคือแผนที่กลายเป็นอุดมการณ์การสร้างชาติที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง (อันนี้แค่การเริ่มต้นบทนะคะ ยังสนุกขนาดนี้)

อีกบทที่ชอบมากคือบทที่พูดถึงหนังสือ Very Thai ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนโดย ฟิลิป คอร์นเวล สมิท และถ่ายภาพโดย จอห์น กอสส์ ฝรั่งสองคนที่มาใช้ชีวิตในเมืองไทยมากว่าสิบปีแล้ว หนังสือเล่มนี้บอกว่า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ถุงพลาสติกใส่น้ำดื่ม ลูกกรง เหล็กดัดและปลักขิก ฯลฯ ต่างหากที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย วิถีชีวิตที่อยู่ตามตรอก ซอก ซอย ตึกแถวและสวนจตุจักร อาจจะ Very Thai มากกว่าสิ่งที่อยู่ในวัดวาอาราม หรือพระราชวัง Very Thai ไม่ยึดติดที่มาหรือรากเหง้า ไม่สนใจว่าสิ่งกำเนิดจะเป็นภูมิปัญญาหรือความมักง่าย ลอกเลียนหรือสร้างใหม่ อิมพอร์ตหรือไพเรต มันอาจจะเป็นประดิษฐกรรมของคนไทยที่ใช้ประกาศฐานันดรใหม่และปลีกตัวออกห่างจากประเพณี อาจจะเกิดจากการหยิบฉวยอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น เพลงป๊อป ลัทธิบูชาผู้คน ฯลฯ หรือคุณประชาใช้ประโยคภาษาอังกฤษ อธิบาย Very Thai ว่า essence lies not in invention but transformation ทำให้คิดถึงสิ่งที่เคยได้คุยกับวิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ วิชญ์อธิบายความเป็นคนไทยว่า ถ้ามีการตัดถนนแล้วไปเจออุโมงค์ คนญี่ปุ่นหรือฝรั่งอาจจะขุดอุโมงค์ใต้ดิน ทำทางเจาะทะลุผ่านอุโมงค์ไปจนได้ แต่คนไทยจะไม่ทำอย่างนั้น คนไทยจะเดินอ้อม แล้วหันกลับมาบอกเพื่อนๆ ว่าไม่ต้องขุด อ้อมไปทางนี้ก็ได้ ซึ่งพออ้อมไปแล้วอาจไปชนกำแพงก็ได้นะ แต่คนไทยก็ขออ้อมไว้ก่อน -อันนี้เป็นความสนุกของวิธีคิดของคนไทยแบบหนึ่ง



" ดีไซน์+คัลเจอร์ พยายามจะบอกเราว่าในการทำงานสร้างสรรค์นั้น วิธีคิด วิธีมองโลกที่อยู่เบื้องหลังย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด สำคัญเสียยิ่งกว่าการรู้เทคนิควิธีการที่ดี หรือการเข้าถึงเทคโนโลยีที่พร้อมสรรพเพียงใด" (จากหลังปกของหนังสือ)

จริงๆ แล้วหนังสือเล่มนี้มันสนุกทุกบทเลย มันทำให้เรารู้สึกว่าทุกอย่างล้วนถูก Construct ขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าเราจะมองหาความหมายของสิ่งเหล่านั้นเราควรจะ Deconstruct มันเสียก่อน

และมันทำให้เราสำนึกว่า แผนที่ รูปภาพ ไอคอนต่างๆ เสื้อยืด กราฟิก
โลโก เก้าอี้ แปรงสีฟัน รถถัง บลา บลา บลา มีคัลเจอร์ของคนทำและอุดมการณ์ของคนในประเทศที่ใช้สิ่งของเหล่านั้น ซุกซ่อนอยู่เสมอๆ





Create Date : 16 เมษายน 2551
Last Update : 29 สิงหาคม 2557 18:04:21 น.
Counter : 3650 Pageviews.

30 comments
  
พี่เข้ามาทักทายจ้า
โดย: อินทรีทองคำ วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:10:58:05 น.
  
โอ๊ะ พี่อินทรีฯ หายไปนานเลย
กลับมาแล้ว ดีใจๆ
โดย: grappa IP: 58.9.204.214 วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:12:11:59 น.
  
เมื่อวันที่ไปดูแสงศตวรรษ
เจอบล็อกเกอร์คนนึงถือหนังสือเล่มนี้มาด้วย
และคนข้างๆ บล็อกเกอร์คนนั้นก็บอกว่า
พี่แอมอ่านเล่มนี้สิๆ
ก็เลยบอกไปว่า อ่านอยู่ในมติชนสุดสัปดาห์จ้ะ
^^
โดย: I am just fine^^ วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:15:53:29 น.
  
อ่านรีวิวแล้วอยากอ่านโดยฉับพลันค่ะ หุๆๆ


สงกรานต์ไปไหนมาหรือเปล่าคะพี่?
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:18:08:47 น.
  
อ่านแล้วนึกถึงอาจารย์แสงอรุณเลยค่ะ

Happy belated Songkran's Dayนะคะ
โดย: haiku วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:18:16:59 น.
  
น่าอ่านๆๆๆ
โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:19:29:10 น.
  
เป็นหนังสือที่พออ่านถึงบทสุดท้ายแล้ว ต้องร้องว่า เฮ้ย อย่าเพิ่งจบ ยังอยากอ่านอีก


^
^


เด็ดนักล่ะคะประโยคนี้ อ่านหนังสือแล้วอยากให้มี
ความรู้สึกอย่างนี้บ่อยๆ เพราะถ้ามีเมื่อไหร่
หมายถึงว่าอ่านหนังสือเรื่องนี้ได้อินสุดๆ เลยนะคะ
โดย: JewNid วันที่: 16 เมษายน 2551 เวลา:22:59:28 น.
  
อ่านจบแล้วเช่นกันครับ

ชอบมากๆๆๆ

เอาไปขึ้นหิ้งคู่กับหนังสือ แล่เนื้อเถือหนัง มาสเตอร์พีซของคุณประชาอีกเล่มนึงได้เลย
โดย: ฟ้าดิน วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:3:51:52 น.
  
อ่านอย่างช้าๆ คืบคลานไปทีละบท
โดย: visuallyyours IP: 58.8.101.203 วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:6:57:15 น.
  
ง่า พี่แป็ดต้องชอบจริงๆนะเนี่ย

อยากที่เขียนในบล๊อกแหละค่ะ ว่าชื่นชมข้อมูลและเรื่องราวที่มาร้อยเรียงกัน แต่ว่าพอรวมๆแล้วว่ามันขาดเสน่ห์ไปนิด ซึ่งมันอาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องที่คุณประชาเขียนมันเป็นเรื่องที่ส่วนตัวพอมีข้อมูลอยู่แล้วไม่รู้ เลยพยายามจะหาส่วนอื่นมากกว่าในงานเขียนที่เกี่ยวกับดีไซน์

แต่ดีใจอ่ะพี่ที่หนังสือขายดี(ไปอ่านในเวบสนพ.มา)
โดย: DropAtearInMyWineGlass วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:7:30:24 น.
  
อ่า จะมีตามร้านเช่ามั้ยครับเนี่ย
(อยากอ่าน แต่ขี้เกียจซื้อ ฮา)
สงสัยต้องขอยืมจากอายซะแล้ว
โดย: getterTu วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:7:49:52 น.
  
- DropAtearInMyWineGlass

ข้อมูลเกี่ยวกับงานดีไซน์ พี่เฉยๆ นะ มันหาอ่านที่ไหนก็ได้
แต่จะตื่นเต้นตรงที่แกใช้ทฤษฎีมาวิเคราะห์ ราวกับว่าไม่มีทฤษฏี คือแกใช้ทฤษฎีได้เนียนมากน่ะ
โดย: grappa IP: 58.9.186.229 วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:8:41:40 น.
  
มาแอบอ่านรีวิว
โดย: Untrue วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:13:00:47 น.
  
ขี้เกียจอัพบล็อกด้วยแหละครับ กลับมาก็เหนื่อย
โดย: pick IP: 202.41.167.246 วันที่: 17 เมษายน 2551 เวลา:20:38:12 น.
  
ฟ้าเมืองไทย ผมหยิบๆวางๆมาอยู่หลายฉบับแล้วครับ ชอบแอบคิดว่า

"มันจะหนักไปสำหรับเราไหมนิ ."
โดย: เด็กผู้ชายที่ไม่เตะบอลตอนกลางวัน (kanapo ) วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:0:20:06 น.
  
สำนักพิมพ์ชื่อ "ฟ้าเดียวกัน" จ้า
โดย: grappa IP: 58.9.189.64 วันที่: 18 เมษายน 2551 เวลา:7:10:47 น.
  
แวะมาทักทาย...
โดย: kiimujii วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:10:58:52 น.
  
ผมก็ชอบเล่มนี้มากๆ
เหมือนกันครับพี่
ได้มาปุ๊บอ่านรวดเดียวจบเลย

โดย: จี้ IP: 125.25.40.111 วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:18:56:25 น.
  
- จี้
เมื่อไหร่จะอัพบล็อก คิดถึงบล็อกจี้มากๆ เลยนะ
โดย: grappa IP: 58.9.197.238 วันที่: 19 เมษายน 2551 เวลา:21:57:58 น.
  
หนังสือน่าสนใจอีกแล้ว

แต่เดี๋ยวนี้ขี้เกียจอ่านหนังสือจริงๆ รู้สึกหมดพลังงาน

ปล. ไปแล้วชอบไหมคะ อยากมีห้องสมุดแบบนั้นมั่งอ่ะ
โดย: rebel IP: 203.155.129.130 วันที่: 21 เมษายน 2551 เวลา:8:19:44 น.
  
อ่านที่เขียนแล้วน่าอ่านค่ะ ชอบที่เค้าบอกว่า "มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ถุงพลาสติกใส่น้ำดื่ม ลูกกรง เหล็กดัดและปลักขิก ฯลฯ ต่างหากที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย"

จริงๆน่ะคิดถึงชาดำเย็นในถุงพลาสติกทุกวันนี้ใช้ zip bag ใส่กับข้าวยังคิดเลยกลับบ้านคราวหน้าจะพกเอาถุงพลาสติกใส่แกงกลับมา
โดย: Special Ed. วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:0:01:19 น.
  
รูปบนหัวบล็อกท่านได้แต่ใดมา น่ารักแต๊ๆ


อ่า..ร้านอยู่จ.สุโขทัยค่ะพี่ แหะๆ

ข้าวเกรียบปากหม้ออร่อยสุดๆ ค่ะ เชียร์ๆ
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:10:57:01 น.
  

เป็นภาพจากงาน แฟต เฟสติวัลที่เชียงใหม่เจ้า
โดย: grappa วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:13:36:30 น.
  

รูปหัวบล็อกแนวมาก
โดย: merveillesxx วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:17:32:29 น.
  
อ่าน " สำนึก มุมมอง และอุดมการณ์ของแผนที่ " ในมติชนสุดฯ ชอบเหมือนกันค่ะ

ส่วนคอลัมน์เดียวกันในเล่มอื่นๆ ได้แต่เปิดผ่านๆ แหะๆ
โดย: Mutation วันที่: 22 เมษายน 2551 เวลา:22:25:21 น.
  
อยากอ่านนิยายไทย พี่พล็อตทันสมัย ไม่ได้ดูเป็นละครหลังข่าวเท่าไหร่
^
^
นิยายพล็อตทันสมัยมากเล่มล่าสุดที่อ่าน คือ "เรียลลิตี้โชว์ ไฮโซปลอดสารพิษ" ของคุณชาครียา สนพ. พิมพ์คำค่ะ

ถ้าแนวรักอ่านแล้วสบายใจ ก็ต้อง "ฝากฟ้าเคียงดิน" ของคุณ yayoi ค่ายแจ่มใส (มีอีกเรื่องที่น่าจะชวนยิ้มพอกัน แต่ยังไม่ได้อ่าน เลยไม่กล้าแนะนำ)

แต่เอาแบบเขียนดีและไม่น้ำเน่าชัวร์
เล่มล่าสุดของคุณดวงตะวัน "ณ ที่ดาวพราวพร่างรัก" ก็น่าสนนะพี่

...
แนะนำคนอื่นดิบดี แต่ตัวเองหันกลับไปอ่านนิยายป้าวลัย
โดย: ยาคูลท์ วันที่: 23 เมษายน 2551 เวลา:10:07:49 น.
  
ไว้จะไปหามาอ่านมั่งครับ น่าอ่านจัง

ที่บ้านมีแล่เนื้อเถือหนังทั้งเล่ม 1 และ 2
เล่ม 1 อ่านตั้งแต่ตอนเด็กๆ ย่อยยากแต่อ่านสนุกมาก ตื่นตาตื่นใจมากสมัยนั้น
โดย: เอกเช้า IP: 124.122.152.136 วันที่: 23 เมษายน 2551 เวลา:22:21:09 น.
  
แวะมาเยี่ยมเยีนยน ครับพี่
โดย: Travis IP: 125.24.223.67 วันที่: 24 เมษายน 2551 เวลา:2:14:52 น.
  
หนังสือน่าอ่านดีจังครับ
ชอบหนังสือแนวนี้แต่หาอ่านยากจัง

ว่าแต่ที่ไหนมีขายบ้างครับเนี่ย

แวะมาทักทายนะครับ
โดย: experimental วันที่: 28 เมษายน 2551 เวลา:9:10:33 น.
  
แพงไปหน่อย บ้านจนอ่ะ 200 ก็พอแย้ววววววววววววววววว
โดย: ชอบน่ะ IP: 125.25.40.80 วันที่: 4 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:41:18 น.

A-wild-sheep-chase.BlogGang.com

grappa
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]

บทความทั้งหมด