- - - Sputnik Sweetheart - - - ฮารูกิ มูราคามิ - - GOD องค์ใหม่แห่งโลกโพสท์โมเดิร์น - - -





รักเร้นในโลกคู่ขนาน
Sputnik Sweetherart


ฮารูกิ มูราคามิ เขียน
นพดล เวชสวัสดิ์ แปล

ชวนคุยเรื่องมูราคามิอีกครั้ง
ใครอยากคุยเรื่องหนังสือเล่มไหนของมูราคามิตามสบายเลยค่ะ ขอเริ่มด้วยเล่มนี้แล้วกัน รักเร้นในโลกคู่ขนาน - - - Sputnik Sweetheart - -

หนังสือเล่มบางๆ ที่มีตัวละครหลักป็น ผู้หญิงสองคนคือ มิว สุมิเระ และผู้ชายอีกหนึ่งคน มูราคามิให้เรารู้จักเขาในนามว่า ผม สุมิเระสาวน้อยหัวกระเซิงอายุยี่สิบสองปี สูบบุหรี่จัด ไม่สนใจทักษะเชิงสังคม ความมุ่งมั่นประการเดียวในชีวิตเธอคือการเขียนนิยาย สุมิเระหลงรักมิวหญิงสาวอีกคนที่อายุมากกว่าเธอถึง 17 ปี มิวเป็นผู้หญิงทีเพียบพร้อมในทั้งวัยวุฒิ ทรัพย์สมบัติเงินทอง ความงาม และรสนิยมการใช้ชีวิต แต่มีเหตุการณ์ที่เหมือนจุดหักเหครั้งสำคัญในชีวิตมิว ที่ทำให้เธอกลายเป็นผู้หญิงผมหงอกขาวทั้งศรีษะตั้งแต่อายุ 25 ปี (บ้าดีไหม ) สุมิเระหลงรักมิวอย่างสุดจิตสุดใจ

ผม (ในเรื่อง) เป็นเพื่อนคนเดียวของสุมิเระ ผมกับสุมิเระ พูดคุยกันได้ในทุกเรื่อง สุมิเระสามารถเรียกหา ได้ในทุกเวลา (ย้ำว่าทุกเวลา ) ที่เธอต้องการ ผมหลงรักสุมิเระอย่างสุดจิตสุดใจเช่นเดียวกัน ฟังดูยุ่งยากดีไหมผู้หญิงสอง ผู้ชายหนึ่งคนทุกคนต่างพัวพันกันเพราะความรัก

นี่เป็นหนังสืออีกเล่ม(ในจำนวนไม่กี่เล่มนัก) ที่สามารถอ่านรวดเดียวจบ อ่านแบบจมหายไปในหนังสือของเขา พร้อมกับอาการหมุนวนของหัวสมอง โดนสะกดด้วยเวทมนตร์ของเขาอย่างจัง อ่านจบมีอาการนิ่ง อึ้ง ไม่อยากพูดจากับใครไปชั่วขณะ (ผิดกับเมื่ออ่านเดอะรีดเดอร์ ตอนนั้นอยากจะบอกใครต่อใครว่าทำไมหนังสือมันเศร้าอย่างนี้ (วะ) ) คำถามหลายคำถามระดมใส่สมอง ความรัก ความอ้างว้าง ความเปล่าดาย ความซ้ำซาก ชนชั้นทางสังคม ฯลฯ มีอะไรให้เราคว้าไว้ได้มั่งหนอ ทุกอย่างเปล่าดาย ทุกอย่างล้วนจับต้องไม่ได้
(โอ นี่เรากลายเป็นคนในโลกโพสโมเดิร์น
ไปแล้วหรือเนี่ยะ
)

เคยคุยกับเพื่อนคนนึง บอกว่าเขาใจเข้าความรู้สึกของเคนจิ (พระเอกของ เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล) ที่อยู่มาวันนึงก็อยากตาย โดยที่ความอยากตายนั้นไม่ได้เกิดมาจากความผิดหวังในชีวิต มีปัญหาหนี้สินรุงรัง พ่อแม่ไม่รัก แฟนเลิก ไม่ใช่เหตุผลทั้งหลายเหล่านั้น เพียงแต่อยู่มาวันนึงก็คิดถึงความตาย แค่นั้นเอง
ตอนที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบก็ คิดถึงเพิ่อนคนนั้นขึ้นมาจับใจ (แต่ขี้กียจคุยกับมัน)

คัดเอาพารากราฟใกล้จบของหนังสือเล่มนี้ ที่รู้สึกว่า "จี๊ด "เหลือเกิน

นั่นละ วิถีที่เราดำเนินชีวิต ไม่ว่าความสูญเสียจะสาหัสหรือเจ็บปวดสักเท่าใด ไม่ว่าสิ่งสำคัญที่สุดจะพรากไปจากชีวิตของเรา บางคราวก็ถูกยุดยื้อกระชากไปจากมือ เราอาจเปลี่ยนเป็นอีกคนที่ยังสวมหน้ากากเค้าเดิม ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไป
...ในความเงียบงัน เราคืบเคลื่อนเข้ามาใกล้ขอบเวลาที่จัดสรรไว้ให้หนึ่งชีวิต โบกมืออำลาอดีตที่ลาลับที่ทิ้งไว้เบื้องหลัง ทำเช่นนี้ซ้ำซาก ทำซ้ำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หว่านโปรยปรายความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวไว้เป็นสายเส้นทางหยักคดโค้ง ...


So that's how we live our lives. No matter how deep and fatal the loss, no matter how important the thing that's stolen from us - that's snatched right out of our hands - even if we are left completely changed people with only the outer layer of skin from before, we continue to play out our lives this way, in silence. We draw ever nearer to our alloted span of time, bidding it farewell as it trails off behind. Repeating, often adoritly, the endless deeds of the eveyday. Leaving behind a feeling of immeasurable emptiness

โค้ดภาษาอังกฤษข้างบนนำมาจากที่คุณ O แห่งเว็บเฟย์ลิซิตี้โค้ดไว้ ภาษาอังกฤษเพราะดี เลยเอามาให้อ่านกัน ลิงค์แนะนำหนังสือของคุณ O อยู่ข้างล่างแล้วค่ะ

ถ้าคุณอยากเร้นหายไปจากโลกนี้สักพักนึง หนังสือเล่มนี้เหมาะกับคุณค่ะ



หนังสือเล่มล่าสุดของมูราคามิ Kafka on the shore
ที่เมืองไทยหนังสือเล่มนี้ฉบับภาษาอังกฤษ มีขายแล้วแล้ว ! o_o ! รีวิวได้อย่างน่าสนใจที่นี่
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=ioup&date=31-03-2005&group=4&blog=1

คุณ O แห่งเว็บเฟย์ลิซิตี้ แนะนำหนังสือเล่มนี้ไว้ด้วยเข้าไปอ่านได้ที่นี่ //www.faylicity.com/book/book1/sputnik.html


เท่าที่อ่านงานมูราคามิมาสี่-ห้าเล่ม
ชอบเล่มนี้ที่สุดค่ะ แกะรอยแกะดาว

หมายเหตุ
บล็อกนี่พับบลิชครั้งแรกเมื่อ 10 พ.ค. 2548 เจ้าของบล็อกกลับมาอ่านอีกครั้งเมื่อต้นปี 2552 พยว่ายังมีคนเข้ามาตอบคอมเม้นต์อยู่เรื่อยๆ
เลยมาอัพเดทเพิ่มเติมว่า ตอนนี้เขียนถึงหนังสือมูราคามิเพิ่มขึ้นแล้วค่ะ เข้าไปอ่านได้ที่นี่

-

ด้วยรัก ความตายและหัวใจสลาย และ Norwegian Wood ของ จอห์น เลนนอน
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=a-wild-sheep-chase&month=21-11-2006&group=1&gblog=36

- คาฟก้า วิฬาร์ นาคาตะ การเดินทางข้ามสองโลก
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=a-wild-sheep-chase&month=02-05-2006&group=1&gblog=29




Create Date : 10 พฤษภาคม 2548
Last Update : 31 สิงหาคม 2557 16:30:42 น.
Counter : 9264 Pageviews.

109 comments
  
สมัยก่อนได้อ่านหนังสือบ้างนะ ของเพื่อนทั้งนั้น พวกมันชอบซื้อ แล้วมาทิ้งไว้ให้อ่าน
จะซื้อมูราคามิ หลายที
แต่ออกจากร้านหนังสือทีไร ไหงมีแต่หนังสือธรรมะ



โดย: สุภาฯ วันที่: 27 มีนาคม 2548 เวลา:10:33:16 น.




เป็นหนังสือเล่มแรกของมูราคามิที่ผมได้อ่านครับ
อ่านแรกๆ ก็หงุดหงิด แล้วก็งงว่าทำไมผู้แปลต้องใช้ภาษาฉวัดเฉวียนเวียนวนถึงขนาดนั้น หารู้ไม่ว่าจะกลายเป็นอะไรที่มีอิทธิพลอน่างรุนแรงต่อชีวิต

**SPOILER**

ชอบตอนที่หญิงสาวเห็นร่างแยกของตัวเองกำลัง xxx มากๆ สุดยอด ประมาณ Persona + That Obscure Object of Desire ไปสร้างเป็นหนังคงสนุกพิลึก



โดย: merveillesxx วันที่: 27 มีนาคม 2548 เวลา:10:43:48 น.




อื่ม ปกติ ไม่ค่อยได้อ่านอะไรแนวนี้อ่ะค่ะ ส่วนใหญ่ดูแนวขำๆ แต่ว่า เนื้อเรื่องน่าสนใจดีนะ ไว้ จะลองดูๆค่ะ



โดย: ++FeRn_NaJa++ วันที่: 27 มีนาคม 2548 เวลา:11:19:48 น.




คุณแมกเวยxx

ลองหาสำนวนแปลของคนอื่น ที่แปลงานของมูราคามิ อย่าง คมสัน นันทจิต อาฟเตอร์เดอะเควก( After the quake ) และโตมร ศุขปรีชา - การปรากฎตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก - ( West of the Border ,South of the Sun ) จะพบว่าการใช้ภาษาแตกต่างกันออกไป เรียบง่ายกว่าภาษาของคุณนพดล
เวชสวัสดิ์ การแปลเป็นการตีความต้นฉบับของผู้เขียน นักแปลแต่ละคนตีความงานต้นฉบับแตกต่างกันไป



โดย: grappa วันที่: 27 มีนาคม 2548 เวลา:12:07:14 น.



โดย: grappa วันที่: 10 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:51:05 น.
  
ชอบมุราคามิด้วย



โดย: ชมทะเล วันที่: 27 มีนาคม 2548 เวลา:13:18:11 น.




อ่านเล่มนี้แล้วเหมือนกัน
แต่ไหงผมไม่ค่อยเข้าใจเลย

จะว่าไปหนังสือของเขาจัดเป็นหนังสือที่อ่านยากนะ



โดย: มิ๊กกี้ วันที่: 27 มีนาคม 2548 เวลา:13:25:40 น.




ตอบคุณ grappa ทั้งสองเล่มที่ว่าซื้อมาแล้วครับ แต่ยังไม่ได้อ่านเลย แถมฮานิดนึง After the Quake นี่ซื้อมามีลายเซ็นแถมให้ด้วย (ทั้งๆที่พี่คมสันแกไม่ได้เซ็นให้ตอนซื้อหรอกนะ) สงสัยจะเซ็นไว้นานแล้ว ฮ่าๆ



โดย: merveillesxx วันที่: 27 มีนาคม 2548 เวลา:23:39:53 น.




โอยๆๆๆ น่าอ่านมากๆ อิจฉาคนกรุง บ้านนอกไม่ค่อยมีขายเลยอะครับ สงสัยต้องฝากเพื่อนซื้อซะแล้ว



โดย: underdog (พ่อน้องโจ ) วันที่: 28 มีนาคม 2548 เวลา:0:08:29 น.




คุณพ่อน้องโจ หนังสือสั่งซื้อได้ที่เว็บของมติชนด้วยค่ะ
//www.matichonbook.com ด้วยค่ะ




โดย: grappa วันที่: 28 มีนาคม 2548 เวลา:9:21:49 น.



โดย: grappa วันที่: 10 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:53:20 น.
  
ที่งานหนังสือเรื่องอื่นลด 20% ครับ
ยกเว้น sputnik sweetheart อยู่ในกอง 100 เดียว



โดย: tincubus วันที่: 28 มีนาคม 2548 เวลา:9:37:34 น.




...ผมไปไม่เข้าทางของ มูราคามิ จริงๆ ผมยังไม่หายเมากับพินบอลและลูกแกะเลย เดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะกลับมาอ่านอีกซักตั้ง



โดย: "ผมอยู่ข้างหลังคุณ" วันที่: 29 มีนาคม 2548 เวลา:23:17:54 น.





แวะมาเยี่ยมฮับ..^^








โดย: sleepless.cs วันที่: 31 มีนาคม 2548 เวลา:1:19:02 น.




อยากอ่านเหมือนกันครับ
แต่หนังสือที่ซื้อมาดองไว้ยังอ่านไม่จบซักเล่มเลย ....

เฮ่อ.. ไม่รู้จะซื้อมากองไว้ทำไม คิดๆ แล้วก็เซ็ง!




โดย: it ซียู วันที่: 31 มีนาคม 2548 เวลา:11:08:14 น.




-- คุณผมอยู่ข้างหลังคุณ ลองอ่าน Norwegian Wood ก็ได้ครับ อันนี้มึนน้อย เข้าถึงง่าย จี๊ดใจสุดๆ อ่านแล้วใจสลายเป็นระลอกๆ

-- คุณ it ซียู หัวอกเดียวกันครับ ล่าสุดผมดองไว้ 55 เล่มแล้วครับ -__-''



โดย: merveillesxx วันที่: 1 เมษายน 2548 เวลา:14:52:54 น.




ตามมาจาก faylicity จะมาอ่านอีกนะ



โดย: wink วันที่: 1 เมษายน 2548 เวลา:21:06:21 น.




ไม่รู้เคยอ่านอันนี้ไหม? เอามาฝากแล้วกัน
//www.faylicity.com/book/book1/kafkas.html

คุณgrappa เราชอบ wild sheep chase เหมือนกัน

โดย: wink วันที่: 1 เมษายน 2548 เวลา:21:11:33 น.




คุณ wink คะ ดีใจค่ะ ที่ชอบหนังสือเล่มเดียวกัน ตอนนี้หลงรักมูราคามิ อย่างถอนตัวไม่ขึ้นแล้วค่ะ เมื่อวานเจอฝรั่งคนนึงกำลังอ่าน A wild sheep chase ที่ร้านของเพื่อนแถวถนนพระอาทิตย์ เลยเข้าไปคุยกับแกใหญ่ ปรากฏว่าแกเป็นบิ๊กแฟนของมูราคามิเหมือนกัน

ไม่ได้เข้าไปอ่านเว็บคุณเฟย์เสียนาน ตามลิงค์ของคุณเข้าไป จึงเห็นว่าคุณ O รีวิว Spunik Sweetheart ไว้น่าอ่านเชียว โค้ดตอนใกล้จบตอนเดียวกันด้วย (แต่คุณ O โค้ดจากภาษาอังกฤษ แหะ แหะ )

อ่านลิงค์ของคุณ !o_o! หรือยังแนะนำ Kafka on the shore ไว้น่าอ่านมาก



โดย: grappa






โดย: grappa วันที่: 10 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:56:33 น.
  
เราก็ได้อ่านsputnikแล้ว คุ้ยมาจากกอง100บาทนั่นแหละ บังเอิญจัง ชอบมุราคามิมาก แนะนำ norwegian wood เหมือนกัน ชอบมากๆเลยค่ะ



โดย: บัว วันที่: 13 เมษายน 2548 เวลา:20:47:17 น.




โหย ไม่ทันแล้วอ่ะ
แต่ตอนไปงานหนังสือไม่ได้เข้าไปค้นในบู๊ตมติชนเลยอ่ะค่ะ
เสียดายๆ



โดย: ปลาทองแก้มยุ้ย วันที่: 17 เมษายน 2548 เวลา:19:30:16 น.



โดย: grappa วันที่: 10 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:58:10 น.
  
อืม...เราเพิ่งได้ทำความรูจักกับโลกของมุราคามิ
ประเดิมเล่มแรกด้วยสปุตนิกสวีตฮาร์ต (จากงานสัปดาห์หนังสือน่ะแหละ แต่เอ..เรามะรู้แฮะว่าเค้าลดราคาเหลือ100 หลับหูหลับตาหยิบ ซื้อพร้อมนอวีเจียนวูด มิน่าตอนจ่ายตังค์ทำไมถูกจัง)
เป็นก้าวแรกที่แสนสับสน อา...มะเข้าใจอ่ะ
แต่ก็ชอบ มุราคามิมีลีลาการประพันธ์ประหลาดโลก แต่แสนงดงาม ยิ่งสำนวนแปลของนพดลนี่ทำเอาเราแทบชักดิ้นชักงอเพราะชอบบบมั่ก คาระวะเลย

พอได้อ่านนอวีเจียนวูดเท่านั้นแหละ...ความรู้สึกพุ่งล้นมากระจุกที่คอหอย
โอ๊ก๊อด...มันจี๊ดใจเหรือหราย ปราศจากคำบรรยาย
ช่วงนั้นมะค่อยได้อ่านหนังสือโดนๆ
พได้อ่าน 2 เล่มน้นี่โดนๆๆแทงตายคาหนังสือเลย
สุขล้นนนนนน

รอโอกาสเสาะแสวงหาเล่มอื่นๆอยู่ ที่บ้านนอกนี่ขาดแคลน



โดย: myrmidon (myrmidon ) วันที่: 23 เมษายน 2548 เวลา:23:06:28 น.




ในที่สุดเขาก็มาแล้ว มูราคามิกับอารมณ์แบบมูราคามิๆ แม้ว่าจะมาถึงบ้านเราช้าไปเกือบ 20 ปีก็ตาม แต่ก็ช่างน่ายินดีที่ได้มาถึง


ในสปุตนิก ผมชอบ มุขที่นางเอกโทรหาพระเอกตอนดึกๆ
ลองคิดดูสิครับใครสักคนที่โทรมาปลุกเราตอนตี3 เพื่อถามปัญหาหยุมหยิม มุขของเรื่องตรงนี้ผมอ่านแล้วรู้สึกว่ามันโรแมนติกแบบเก๋ๆดี
คนแรกที่เรานึกถึงยามมีเรื่องกวนใจไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องคอขาด แต่เป็นเรื่องพื้นๆ คนที่เราอยากได้ความเห็นจากเขา ไม่ว่าจะอยู่ในโลกนี้หรือว่าโลกคู่ขนาน คนๆนั้นทำให้เราไม่ต้องลอยคอคนเดียวเดี่ยวเหงาแบบหมาไลก้าในยานสปุตนิก ถ้าเจอคนที่ว่านี่แล้วจะปฎิเสธความรู้สึกตัวเองได้ลงเชียวหรือ? (จะมัวทำตัวหลงทางในโลกคู่ขนานไปไย)



ป.ล. อ่านเรื่องของ มูราคามิ พร้อม บทสัมภาษณ์ เพิ่มเติมได้ในหนังสือ Book virus 2



โดย: โบคุ วันที่: 29 เมษายน 2548 เวลา:17:45:55 น.




ชอบความเห็นคุณโบคุจัง



โดย: grappa (grappa ) วันที่: 8 พฤษภาคม 2548 เวลา:21:58:13 น.




ถ้าลดเหลือร้อยน่าซื้อมั่งอะตอนนั้น
หุหุ -_-" หาไม่เจอ

ตามมาจากพันทิพครับ
แวะมาถามว่าชอบคุณนพดลแปลไหมครับ
:D

ล่อเป้าชอบก๊ลล อิอิ

ถ้าว่างแวะมาคุยกันได้นะครับ //msg.diaryhub.com ครับ



โดย: msg วันที่: 9 พฤษภาคม 2548 เวลา:0:05:20 น.




คนประเภทไหนกันที่ขับรถชนเสาหิน แล้วนั่งแ-กเบียร์บนหลังคารถ-ลมขับขาน
คนประเภทไหนที่ไม่ใส่ฟังคำขู่ของเลขาชุดสีดำว่าจะไม่มีทางได้ประกอบอาชีพอีกแล้วในโลกการแปล รับเงินมา แต่ไม่ทำงานเสียเฉย-แกะรอยแกะดาว
คนประเภทไหนที่ฟังเพลงบีตเทิล คุยซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับเรโกะหกครั้ง อิ่มเหลือเฟือจนไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว-นอร์วีเจียน
และคนประเภทไหนแอบลึงค์แข็งตอนบ่ายสาม ตอนปีนลงกระได และตอนช่วยขนข้าวของ
ถ้าการแปลเป็นการตีความ ผมคิดว่าคุณนพดลเล่นได้ถึงแก่นแล้ว



โดย: virgin วันที่: 9 พฤษภาคม 2548 เวลา:13:54:00 น.



โดย: grappa วันที่: 10 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:59:34 น.
  
บล็อกสวยอีกแล้วครับ

อืม อยากมีเวลาอ่านหนังสือเหมือนกันนะ ผมเป้นโรคอ่านแล้ววางไม่ลง ถ้าตั้งใจอ่านแล้ว จะไม่ทำอะไรเลยนอกจากอ่าน เฮ้อ ต้องหาเวลาบ้างซะแล้ว
โดย: underdog(พ่อน้องโจ) IP: 203.113.77.100 วันที่: 10 พฤษภาคม 2548 เวลา:21:03:16 น.
  
อืมมมมมม คุยกันถึง มุราคามิ เสียจนต้องตามไปลองอ่านซะแล้วสิ
เห็นหน้าปกก็ชอบอ่ะ น่าสนใจดี แล้วจาตามมาคุยด้วยละกัน ว่าชอบหรือไม่
555555
โดย: หมูยอทอดกรอบ IP: 61.90.113.192 วันที่: 11 พฤษภาคม 2548 เวลา:23:35:47 น.
  
ครับผมว่าคนที่ชอบ wind-up bird chronicles คงจะชอบอ่าน kafka on the shore มากนะครับ

ผมไม่อยากเล่าเรื่องในหนังสือเลย เพราะว่าน่าจะไปอ่านเองแล้วจะได้อรรถรสมากกว่า แต่มันเป็นคล้ายๆในเรื่อง wind-up bird ที่แบบ มีหลายอย่างเกิดขึ้น แต่ก็ดูเหมือน มันไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้นเลย เหมือนอยู่ในเส้นต่อของความจริง และโลกเสมือนจริง เป็นเหมือนโลกของนามธรรม

ตัวเอกของเรื่อง Kafka on the shore เป็นเด็กอายุ สิบห้า ที่พยายามจะหนีจากชะตากรรมตัวเอง โดยเป็นการเดินทางไปยังจุดตัดของชีวิตและความตาย ความจริงและความฝัน อนาคตและอดีต และก็เป็นการเดินทางเข้าไปในตัวเองเพื่อให้ได้เรียนรู้ถึงตัวตนและแก่นของชีวิต

อืมมมมม อิๆ ไม่รู้จะอธิบายยังไงให้ไม่ spoil แต่เอาเป็นว่า ใครที่ชอบเรื่อง wind-up bird chronicles ต้องชอบเรื่องนี้มากอย่างแน่นอน และเรื่องนี้นั้น จะลงตัวมากกว่า wind-up bird chronicles แน่นอน (เพราะฉบับ ภาษาอังกฤษของ wind-up bird chronicles นี่โดนตัดไปหลายหน้ามากๆๆเพราะมันยาวเกินไป - เห็นมีคนพูดไว้ใน amazon - ทำให้มีจุดที่ไม่คลี่คลายหรือสรุปหลายจุดมากๆๆๆๆๆ) และเรื่องนี้ก็ใช้เทคนิคการบรรยายเรื่องสองเรื่องที่เป็นคู่ขนาน เหมือน hardboiled wonderland .. แต่จะไม่บอกว่า มันเป็นคู่ขนานที่มาบรรจบกันหรือไม่ :)

สรุป ยังมีความเป็นมุราคามิอยู่เต็มตัว และยังล่อลอยเคว้งคว้าง แต่ในแก่นนั้นยังเข้มข้นเหมือนเดิม
โดย: ! o_o ! วันที่: 13 พฤษภาคม 2548 เวลา:2:30:29 น.
  
เข้ามาบล็อคตัวเองตอนเลขสวย
999 เลยบันทึกไว้หน่อย
โดย: grappa วันที่: 13 พฤษภาคม 2548 เวลา:15:38:59 น.
  
เมื่อคืนผมฝันครับ ฝันว่า..
หว่อง การ์ ไว นำ Norwegian Woods มาทำเป็นหนัง
โดยมี คริสโตเฟอร์ ดอย เป็นมือกล้อง
กำกับศิลป์ ลำดับภาพโดย เป็นเอก รัตนเรือง
และ บทภาพยนต์โดย ปราบดา หยุ่น
ส่วนนักแสดงนำชายหญิง ผมไม่คุ้นหน้าค่าตาสักคน

ฉากในฝัน
..ผมอยู่ในโรงหนังเพียงผู้เดียว
เลขที่นั้ง E-13 บนที่พักแขนมีน้ำดื่มขวดเล็ก
..หนังดำเนินเรื่องเชื่องช้า หดหู่หม่นหมอง
ผมละเลียดทุกฉาก รินเติมความเศร้าลงในหัวใจอันกลวงเปล่าดาษดื่น
...หลังจาก นาโอโกะต้องเข้าไปยังสถานบำบัด
ผมรู้สึกว่าหัวใจของผมเต้นแผ่วเบาลงเรื่อย ๆ
ผมหดหู่ระทมระบม(ระyam)
...จนเรื่องราวดำเนินไปถึงตอนท้าย
ผมแทบจะไม่ได้ยินเสียงลมหายใจของตัวเอง
ผมเริ่มหายใจไม่ออก ความทรมานรุมเร้า
ผมขัดขืน กะตุ้นร่างกายทุกวิถีทาง
จนผมผละตัวเองขึ้นจากเตียง
ร่างอยู่ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน
ผมทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น
--ผีอำ--ผมสรุป
ผมลุกจากเตียง ดื่มน้ำเย็นแก้วใหญ่รวดเดียว กลับสู่เตียง นอนต่อ ขณะนั้น ตี 3 เศษ
รุ่งเช้าผมจำต้องตื่นเพราะผมได้ยินเสียงวิทยุ และเสียงสนั่นข้างกาย
ผมสลัดความงัวเงียมองไปยังต้นเสียง
ผมแบจะไม่เชื่อสายตาตนเอง
บุรุษผู้นั้นหันมายิ้มให้ผมแล้วเอ่ย--เฮ้ วาตานาเบะ มาเต้นด้วยกันซิ
โดย: sokra jantra IP: 202.28.27.3 วันที่: 13 พฤษภาคม 2548 เวลา:15:41:06 น.
  
ดองหนังสือเหมือนกันเลย
ชอบอ่าน แต่ไม่มีเวลา
ไม่ได้อ้างแต่ถึงบ้านแล้วหลับ จริงๆ
จะอ่านบนรถก็ไม่สามารถ อ่านแล้วเมารถมาก
อ้วกแน่ๆ

ยินดีที่ได้รู้จักจ้า สวีดัด สวัสดี
โดย: LUNATIC SPACE วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:01:56 น.
  
พอดีไปแบบรีบๆครับคุณgrappa เลยไม่ได้ซื้ออะไรติดมือเลยนอกจากเพลงครับ

บล็อกสวยจัง
โดย: underdog (พ่อน้องโจ ) วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:24:55 น.
  
แวะมาทักทายค่ะ :D พอดีคิดคำถามมาถามออกแล้ว :D

wind-up bird chronicles มีฉบับภาษาไทยแล้วยังคะ?
kafka on the shore ควรอ่านงานของคาฟคาก่อนอ่านมั้ย เกี่ยวเปล่าคะ?
มีใครเขียนวิเคราะห์ norwegian wood พอหาอ่านได้บ้างมั้ยคะ วิเคราะห์เหตุผลการกระทำของตัวละครไรงี้น่ะค่ะ เพราะมีหลายจุดที่ไม่เก็ท O_O;;
โดย: lulla IP: 202.28.103.20 วันที่: 14 พฤษภาคม 2548 เวลา:23:26:58 น.
  
Wind-up bird chronicles คุณนพดล เวชสวัสดิ์กำลังแปลอยู่ค่ะ ได้ข่าวว่าเล่มหนาเชียว Kafka on the shore เนี่ยะคิดว่าคงไม่ต้องอ่านงาน kafka ก่อนก็ได้มังคะ ดูจากที่คุณ ! o_o ! เล่าข้างบน
(เคยสงสัยเหมือนกันว่าทำไมถึงชื่อนี้ เกี่ยวอะไรกับ Kafka )
Norwegain Wood นี่ ไม่เก็ทตรงไหน เล่าสู่กันฟังก็ได้ค่ะ เผื่อว่าจะช่วยให้เก็ทขึ้นบ้าง
สวัดดีคุณ lunatic space ด้วยค่ะ
ขอบคุณทุกคนที่มาคุยถึงงานมูราคามินะคะ วันหลังมาคุยอีกน้า :D
โดย: grappa IP: 61.90.15.229 วันที่: 15 พฤษภาคม 2548 เวลา:9:44:54 น.
  
หวา คุณนพดลอีกและ หนีไม่พ้นเลย คาฟคาก็คงคุณนพดลแปลอีกแหงเลย

ถาม norwegian wood นะคะ
คิดว่านาโอโกะไม่รักพระเอกจริงอย่างที่พูดเหรอเปล่าคะ?
นาโอโกะคิดอะไรตอนที่มายืนโป๊อาบแสงจันทร์
แค่มีเซ็กส์กันไม่ได้นี่ทำให้แฟนนาโอโกะต้องฆ่าตัวตายเลยจริงเหรอ? อะไรจะขนาดนั้น
พระเอกกับเรโกะมีเซ็กส์กันทำไมตอนจะจบ

คือก็อ่านมาหลายเดือนแล้ว ลืม ๆ ชื่อตัวละครไปแล้วอ่ะค่ะ แหะๆ
โดย: lulla IP: 161.200.255.163 วันที่: 15 พฤษภาคม 2548 เวลา:19:20:20 น.
  
คุณ lulla ไม่ชอบคุณนพดลแปลหรือคะ
คุณนพดลก็แปลดีนะคะ
คิดว่า นาโอโกะ ไม่เคยรักพระเอกของเรื่องคือ วาตานาเบะ นะคะ
คู่รักของเธอคือ คิซึกิ ทั้งสองเป็นคู่รักที่เหมือนกันมาก ต่าง "บกพร่องเว้าแหว่ง" เหมือนกัน นาโอโกะเคยพูด ว่า
"...ถ้าคิซึกิยังมีชีวิตอยู่ ฉันแน่ใจว่าเราสองคนก็คงต้องอยู่ด้วยกัน รักกัน และใช้ชีวิตอมทุกข์ร่วมกัน... เพราะเราต้องชำระหนี้ที่เราติดค้างโลก ความเจ็บปวดของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เราอาศัยอยู่ในเวลาที่เรายืมมาใช้ล่วงหน้า เราไมได้จ่ายชำระความเจ็บปวดของช่วงวัยนั้น หนี้ครบกำหนดแล้วเราต้องจ่าย ก็คงเป็นเพราะเหตุนี้กระมังที่คิซึกิฆ่าตัวตาย..."

ตัวละครที่รักพระเอกของเรื่องคือ มิโดริ โดยส่วนตัวชอบตัวละครตัวนี้มาก
ชอบตอนที่มูราคามิบรรยายเวลาเธอทำอาหาร ชอบๆ หลายฉากที่เธอเหมือนเป็นสาวซ่าส์แต่จริงๆ ก็หลงรักพระเอก จำฉากที่ทั้งคู่ไปปิคนิค
บนดาดฟ้าแล้วนั่งมองไฟไหม้บ้านเพื่อนบ้านได้ไหมคะ มูราคามิใจร้ายจริงๆ

> นาโอโกะคิดอะไรตอนที่มายืนโป๊ะ อาบแสงจันทร์
ก่อนที่จะมีเซ็กซ์กับวาตานาเบะ ใช่ไหมคะ นาโอโกะบอกว่าพระเอก(วาตานาเบะ )เปรียบเสมือนเป็นตัวเชื่อมไปสู่โลกภายนอกให้คู่รักทั้งสอง คือทั้งนาโอโกะและคิซึกิเหมือนกันมากตรงที่เป็นคนที่บกพร่องเว้าแหว่งเหมือนกัน (จึงไม่สามารถอยู่บนโลกนี้ได้) เมื่อมีวาตานาเบะเข้ามาเป็นเพื่อนสนิททั้งคู่จึงรักวาตานาเบะมาก มูราคามิอาจจะทำให้ฉากการมีเซ็กซ์กับพระเอกเป็นการพยายามเชื่อมโยงสู่โลกภายนอกของนาโอโกะ

>พระเอกกับเรโกะมีเซ็กซ์กันทำไมตอนจะจบ
คำถามนี่ยากจัง คิดอยู่เหมือนกันว่าทำไมมูราคามิถึงให้เรื่องนี้จบแบบนี้ เระโกะ หายจากอาการป่วยไข้ ออกมาใช้ชีวิตเหมือนคนปรกติได้ คำถามนี้ขอติดไว้ เด๋วไปตามคนที่พึ่งอ่านมาช่วยตอบดีกว่า

หรือใครผ่านเข้ามาจะช่วยตอบก็ได้นะคะ
โดย: grappa IP: 61.91.110.166 วันที่: 15 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:31:45 น.
  
นี่เวบบล็อค ของพี่แป๊ดเหรอครับเนี่ย
ผมคมสันเองครับ
พอดีมีคนอ่านส่งลิงค์มาให้ บอกว่าเวบนี้เขียนถึงมูราคามิ
เลยมาจ๊ะกันแบบนี้เอง
ตลกดี

มูราคามิ เล่มที่ผมชอบที่สุด ก็คือ ไวลด์ ชีพ เชส เหมือนกันครับ
รองลงมาก็ อาฟเตอร์ เดอะ เควค(ฮา!)
โดย: คส IP: 210.246.73.229 วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:1:57:18 น.
  
ง่ะ เพิ่งอ่านจบแท้ๆ
ทำไมเราตอบไม่ได้หว่า (ฮ่าๆๆ)
ตอบได้แค่ข้อหนึ่งเองอ่ะ
ตายๆๆ แสดงว่าเป็นคนอ่านไม่มีประสิทธิภาพอย่างแรง..
ฮือๆๆ ขอไปอ่านรอบสองให้จบดีกว่า (ค้างไว้ตั้งแต่วันจันทร์ที่แล้ว) แป่ว!???

ป.ล. ขอโทษด้วยนะครับ พี่แป๊ด ช่วยอะไรไม่ได้เลย ฮือๆๆ เศร้าใจตัวเอง
โดย: it ซียู วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:2:22:13 น.
  
คมสัน หวัดดีจ้า เจอกันในโลกไซเบอร์ด้วยเนอะ
ว่าจะเขียนถึง "เรื่องรักในวรรณกรรมสมัยใหม่"
อยากอวดลายเซ็นพี่เต้ย
แต่ จำอะไรไม่ค่อยได้ หมดสภาพขนาดนั้น อายว่ะ
(แต่จำได้ว่าคมสันพูดดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดนๆๆๆๆ)

อิสระสรรค์
ทีหนังล่ะ จำได้ดีเชียวนะ
อุตส่าห์ไปตามมาช่วยตอบ
งอน ๆ
โดย: grappa วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:7:25:39 น.
  
ขอบคุณคุณ grappa ที่ช่วยตอบค่ะ ^^ แต่ก็ยังงงอยู่ดีอ่า ไม่เข้าใจคำพูดของนาโอโกะอ่ะ "เราอาศัยอยู่ในเวลาที่เรายืมมาใช้ล่วงหน้า เราไมได้จ่ายชำระความเจ็บปวดของช่วงวัยนั้น" ไม่เก็ทอ่ะ เค้าสองคนผิดเหรอที่คบกันอยู่แค่สองคน ไม่สนใจโลกภายนอกน่ะ อย่างนี้เรียกว่าติดค้างโลกด้วยเหรอ @_@

ไม่ชอบสำนวนคุณนพดล เพราะมันเว่อไปอ่ะค่ะ แบบจะเว่อไปไหนอ่ะ กัลบกงี้ ภาษายังกะร้อยกรอง เราว่าสไตล์มูราคามิน่าจะเป็นแบบเรียบง่ายมากกว่าน่ะค่ะ รู้สึกว่าคุณนพดลใส่ความเป็นตัวเองเข้าไปในงานแปลจนเกินงาม แล้วมา "บ่" อีก... เราว่าไม่ใช่อ่ะ แปลผิดด้วยบางที แบบอ่านแล้วรู้ว่าภาษาอังกฤษเขียนว่ายังไงเลย (ขอโทษนะคะถ้าระบายมากไปนิด แบบไม่ชอบเอามาก ๆ อ่ะค่ะ)

ข้าพเจ้าคือคนที่ส่งลิงก์ไปให้คุณคมสันเองล่ะค่ะ แหะ ๆ ไม่นึกว่าจะรู้จักกันด้วย :D
โดย: lulla IP: 161.200.255.163 วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:07:14 น.
  
quoted: ถ้าคุณอยากเร้นหายไปจากโลกนี้สักพักนึง หนังสือเล่มนี้เหมาะกับคุณค่ะ

แต่กลัวว่าจะไม่หายไปจากโลกพักหนึ่ง เพราะเราใช้เวลานานมาก กว่าจะออกจากการเร้นหาย
โดย: pino IP: 61.91.138.58 วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:27:19 น.
  
เห็นด้วยกับคุณ merveillesxx ค่ะ norwegian wood เหมาะกับคนที่อยากลองอ่านงานมูราคามิครั้งแรก มึนน้อย แต่จี๊ดนาน แล้วจากนั้น จะหลงมูราคามิจนถอนตัวไม่ขึ้น (เหมือนบล็อค)
โดย: pino IP: 61.91.138.58 วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:55:32 น.
  
ชอบพินบอล 1973 ที่สุดค่ะ (หรือ 1975???) เป็นเล่มแรกที่อ่านด้วย รู้สึกเหมือนเป็นเรื่องของตัวเองเลย เขาพูดอะไรออกมาก็เข้าใจไปหมด บรรยากาศการอ่านเหนือจริงเอามากๆ เลยประทับใจเป็นพิเศษ

แต่เคยคุยกับจิตแพทย์ เขาบอกว่า "อาการอย่างคุณนี่ต้องชอบมุราคามิด้วยใช่ไหมล่ะ?" โฮะๆ ระวังตัวกันไว้หน่อยก็ดีนะค้า
โดย: ลูกสาวโมโจ โจโจ้ IP: 202.176.81.251 วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:15:25 น.
  
อา ชอบอ่านหนังสือมูราคามิ และคุณนพดล เวชสวัสดิ์ก็แปลดีมากค่ะ
ชอบๆ
โดย: นานานะจัง IP: 61.91.35.46 วันที่: 16 พฤษภาคม 2548 เวลา:19:59:26 น.
  
-- ผมชอบสำนวนคุณนพดลครับ และคิดว่าถ้าไม่ใช่เขาแปล ผมคงไม่ชอบนิยายของมูราคามิขนาดนี้ แรกๆก็มึนเหมือนกันครับ แต่เท่าที่คุยมา หลายคนเหมือนกันนะที่ไม่ชอบ ^^''

-- ชอบ PINBALL 1973 เหมือนกัน ผมว่ามันมีเหลักเนื้อหาให้จับต้องน้อยเหลือเกิน อ่านแล้วเหมือนจะถูกพัดลอยออกจากเรื่องราวและตัวละครทุกที (หรือจะเรียก เข้าไม่ถึง ก็ได้กระมัง) เท่าที่จำได้ผมกลับเข้าไปในหนังสือได้อีกที ในฉากที่พระเอกเข้าไปในโรงงานพินบอล เพราะผมรู้สึกหนาวเย็นไปกับ 'ผม' ในเรื่องจริงๆ ...มันน่าแปลกที่ว่าไอ้ตู้พินบอลอะไรเนี่ย มันเป็นสิ่งที่ไกลตัวผมมากๆ (เกิดมาเคยเห็นมั้ยก็ไม่รู้) แต่เนื้อหาตรงนี้ก็ทำให้ผมรู้สึกได้ 'อย่างรุนแรง' และ 'เฉียบเย็น'

-- กลับกันกับ Norwegian Wood ที่เข้าแทรกถึงได้ทุกอณูของหนังสือ ไม่ใช่ว่าเก่งกาจอะไร แต่เพราะผม PROJECTION ตัวเองไปในนิยาย ด้วยการรับบทเป็น 'ผม / โทรุ วาตานาเบ้' ตั้งแต่บทแรกของเล่มแล้วครับ เพราะฉะนั้นผมก็เลยถูกทำให้ชอกช้ำระกำใจไปทั้งเรื่องเลย โอย พูดแล้วจะกระอักเลือด

การ PROJECTION เป็นการเข้าถึงหนังสือ / ภาพยนตร์ / ละคร ฯลฯ ได้อย่างหนักหน่วง แต่รุนแรงอาจถึงตายได้ (จริงๆนะ ไม่ได้ล้อเล่น อิอิ)

-- มาที่คำถามของคุณ lulla

ถาม: คิดว่านาโอโกะไม่รักพระเอกจริงอย่างที่พูดเหรอเปล่าคะ?
ตอบ: อย่างที่บอกไปว่าผม project ตัวเองเป็นวาตานาเบ้ซังไปแล้ว เพราะฉะนั้นเพื่อให้คุ้มกับค่าหนังสือ (ฮา) ผมก็เลือกที่จะเชื่อตามมุมมองของเขาว่า "นาโอโกะไม่เคยรักผมเลย"

เทียบกับเหตุการณ์จริงในชีวิต
1. เคยเจอผู้หญิงที่เราทำทุกอย่างไป เพื่อพบกับความว่างเปล่ามั้ย -- ตอบ: เคย
2. เคยเจอผู้หญิงที่เราไม่สามารถเข้าใจตัวเธอได้เลยมั้ย -- ตอบ: เคย

ตัวอย่างจากโลกภาพยนต์ : ผู้หญิงที่ฉันไม่เข้าใจเธอเอาซะเลย
1. นางเอกจากเรื่อง La Belle -- ซึ่งใกล้เคียงกับเรื่องนี้มาก เพราะเราสงสัยมาทั้งเรื่องว่าเธอรักพระเอกหรือเปล่า...ก่อนที่หนังจะพาไปสู่คำตอบที่ทำร้ายจิตใจผมมากถึงมากที่สุด

2. ครูเปียโนจาก The Piano Teacher -- อ๊ะๆ อย่าร้องว่านี่มันหนังจิตแตกนี่หว่า นางเอกเรื่องนี้ก็เข้าใจยากพอกัน เราสงสัยว่าเธอแกล้งปั่นหัวลูกศิษย์ของเธอเล่น หรือเธอรักเขาจริงๆกันแน่ ...ซึ่งก็เช่นกัน หนังพาไปสู่จุดจบสะเทือนอารมณ์ แต่เป็นในแบบ "จิตแตก-แหกขนบ-ตบคนดู"

3. หญิงสาวนิรนามจาก Anatomy of Hell (กรี๊ดดด) สาวคนนี้ไม่ได้น่าสงสัยในเรื่องรัก-ไม่รักใคร แต่เธอคล้ายๆนาโอโกะตรงที่(พยายามจะ)ฆ่าตัวตาย ยัยผู้หญิงคนนี้ระบุได้ยากว่าเป้น 'ผู้หญิงเว้าแหว่งเต็มขั้น' หรือ 'ผู้หญิงจากโลกอุดมคติที่ตายไปแล้ว' ที่เด็ดที่สุดคือเธอบอกว่า "ฉันอยากตายเพราะฉันเป็นผู้หญิง" (ขอกรี๊ดอีกที)

**เขียนถึงหนังเรื่อง La Belle / Anatomy of Hell ไว้ในบล็อก

ด้วยเหตุการณืในชีวิตจริง / ความพิศวงของหญิงสาว / เพราะผมเป้นผู้ชาย ก็เลยเลือกเชื่อตามที่บอกไปครับ

แต่ผมคิดว่าแม้แต่ตัวมูราคามิเองก็อาจจะไม่รู้ก็ได้ หมายถึงว่าเขาไม่ได้ต้องการให้คำตอบในจุดนี้หรอก ความซวยจึงตกเป็นของพวกเราไงครับ

ถาม: นาโอโกะคิดอะไรตอนที่มายืนโป๊อาบแสงจันทร์
ตอบ: อันนี้ไม่ทราบจริงๆครับ ผมเป็นผุ้ชายทึ่มๆ ที่ไม่ค่อยเข้าใจผู้หญิง

ถาม: แค่มีเซ็กส์กันไม่ได้นี่ทำให้แฟนนาโอโกะต้องฆ่าตัวตายเลยจริงเหรอ? อะไรจะขนาดนั้น
ตอบ: ผมว่าแต่ละคนรู้สึกกับเรื่องแบบนี้ไม่เท่ากัน แต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องเจ็บปวดพอดู (สถาบันครอบครัวล่มสลายก็เพราะเรื่องแบบนี้มานักต่อนัก)

แต่ผมคิดว่ามันมีสาเหตุมากกว่านั้นครับ ตัวหนังสือก็ไม่ได้บอกอะไรชัดเจน แต่รู้สึกมั้ยครับว่าช่วงชีวิตวัยรุ่นของพวกเขาเหล่านี้มี 'บางสิ่งบางอย่าง' ที่คอยจ้องทลายชีวิตของพวกเขาอยู่

ผมนึกถึงหนังเรื่อง Elephant ครับ คือหนังมันไม่ได้บอกเลยว่าไอ้เด็กบ้าสองตัวนั่นมันเพี้ยนอะไรขึ้นมาถึงแบกปืนมากราดใส่เพื่อนๆในโรงเรียน แต่ 'บรรยยากาศ' ในหนังมันบอกเราว่า เหล่าเด็กๆในหนังถูกอะไรสักอย่างกดทับชีวิตอยู่ ซึ่งผมคิดว่านั่นเป้นสิ่งที่ผู้กำกับกัส แวง ซองต์ปล่อยช่องว่างให้เราไปคิดต่อกันเอง ...บางที 'ช้าง' ในที่นี้อาจจะหมายถึงสิ่งนั้นก็ได้

และถ้าจำไม่ผิดใครสักคนในหนังสือพูดว่า "จะมีวัยใดเล่าที่มีความทุกข์ใจไปมากกว่าวัยหนุ่มสาว"

ด้วยปัจจัยทั้ง 'ภายนอก' และ 'ภายใน' แบบนี้ผมจึงไม่แปลกใจที่ตัวละครสักตัวจะฆ่าตัวตายไปเสียดื้อๆ และไม่แปลกใจกับฉากโดดรถไฟหมู่ในหนังเรื่อง Suicide Club ด้วย

ถาม: พระเอกกับเรโกะมีเซ็กส์กันทำไมตอนจะจบ
ตอบ: อันนี้มูราคามิช็อกผมแล้วล่ะ ผมก็เดาไม่ออกหรอกว่ามันจะมาทางนี้ แต่ส่วนตัวแล้วผมคิดว่ามันมีเหตุมีผล และเกิดขึ้นได้ครับ
โดย: merveillesxx (merveillesxx ) วันที่: 17 พฤษภาคม 2548 เวลา:6:26:23 น.
  
คุณ lulla
ไปตามคนมาช่วยตอบให้แล้วนะคะ
อ่านความคิดเห็นข้างบนได้ค่ะ
ส่วนประโยคหรือ สิ่งที่คุณไม่เก็ท นั้น ดีแล้วล่ะค่ะ
แสดงว่าคุณเป็นคนปรกติดี คนปรกติยังไงๆ ก็ไม่เข้าใจ
ชีวิตที่ 'เว้าแหว่ง ' หรอกค่ะ

อ้อ ส่วนหนึ่งที่ชอบคุณนพดลแปล ก็เพราะ คุณนพดลตีความมูราคามิ
ได้ "แมน" มากค่ะ

ตอนแรกก็อดแปลกๆ กับสำนวนที่เอาภาษาอีสานเข้ามาใส่ แต่ตอนนี้ไม่ได้ติดใจเท่าไรนัก


คุณ pino
ดิฉันก็อยาก (มาก) เร้นหาย (ไปอิตาลี ) นานๆ เหมือนกับคุณที่เร้นหาย(ไปไอร์แลนด์ ) นาน ๆ เหมือนกันนะ

มูราคามิบอกว่าเขาเขียนเรื่องนี้จบ เมื่อปี 1987 (ดูสิกว่าเราจะได้อ่าน )
ตอนต้นเขียนในกรีซ ตอนกลางเขียนในซิซิลี และตอนจบเขียนในโรม

> ...ฟังอัลบัม ซาเจนต์ เปปเปอร์ ' ส โลนลี ฮาร์ต คลับแบนด์ ของบีตเทิล จากวอร์คแมน 120 จบ ดังนั้นนิยายเล่มนี้ได้รับความช่วยเหลือจาก a little help from my friends พอล แม็กคาร์ตนีย์ และจอห์น เลนนอน อยู่มากโข >

โอ กรีซ ซิซีลี ...ดินแดนในฝันของเจ้าของบล็อคเลยนะนี่ ส่วนโรมนั้น ได้ทำให้ฝันเป็นจริงไปแล้วหนึ่งครั้ง โอ อยากเที่ยวๆ เผื่อชีวิตจะดีขึ้นบ้าง
โดย: grappino (grappa ) วันที่: 17 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:52:55 น.
  
มาด้อมๆ มองๆ ค่ะ
โดย: มิว (Mutation ) วันที่: 17 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:22:58 น.
  
ตามมาจากบล็อกคุณมิวครับ
เซ็กส์ของเรโกะกับวาตานาเบะตอนท้ายเล่ม
อยากจะมองว่าเป็นการหลุดพ้นจากข้อกำหนดประดามีที่แบกไว้ทั้งเล่ม ข้อกำหนดที่สังคมมองอยู่น่ะครับ
ผมอยากให้มองเลยต่อไปอีกหน่อย ตอนที่เรโกะจูบวาตานาเบะที่ชานชาลา ไม่กลัวสายตาของใครทั้งนั้น
หลังจากที่ชำระล้างใจให้สะอาด จากเรื่องเซ็กส์เหลือไอกรุ่นเพียงความเป็นมิตร เข้าใจกันและกันได้ถ่องแท้

เว็บสวย
จะแวะมาอ่านบ่อยๆครับ
โดย: นพดล IP: 210.213.44.51 วันที่: 17 พฤษภาคม 2548 เวลา:18:33:03 น.
  
อา ขอบคุณคุณนพดลมากค่ะที่มาไขข้อข้องใจให้พวกเรา
เป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่คุณนพดลแวะมาทักทายกันค่ะ
ตอนนี้กำลังอ่าน เริงระบำแดนสนธยาอยู่
ท่าจะติดหนึบอ่ะค่ะ
โดย: grappa วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:0:37:56 น.
  
ขอบคุณมากค่ะคุณ grappa และ merveillesxx ช่วยได้เยอะเลยค่ะ ^^

กรี๊ด คุณนพดลมาด้วย หนีดีกว่า >_<
โดย: lulla IP: 161.200.255.163 วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:00:34 น.
  
เล่มนี้ยังไม่ได้อ่านเลยค่ะ


=@^_^@=
โดย: มรกตนาคสวาท วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:32:21 น.
  
อันนี้เอามาจากหลังปก พินบอล 1973
ฉบับแปลโดยนพดล เวชสวัสดิ์

คำนิยม โดย โตมร ศุขปรีชา

>... ความพยายามที่จะวิพาษ์ทุนนิยมของมูราคามิให้ผลแปลกประหลาด
เรารู้ว่าเขาเป็นเจ้าของกิจการแจ๊สคลับ
และไม่เคยอ่านนิยายญี่ปุ่นด้วยความใส่ใจก่อนหน้าที่จะลงมือเขียน
ธุรกิจพินบอลของมูราคามิจึงไม่ปะติดปะต่อเป็นโครงสร้างธุรกิจแยกเดบิตเครดิตชัดเจน
งานของเขา , แม้พูดถึงโครงสร้างใหญ่ในสังคม
ทว่ากลับมีลีลาของสายฝนที่ร่วงหล่นอย่างเงียบงันลงไปในทะเล
แต่ไม่อาจทำร้ายทะเลได้
ได้แต่ทำให้คนที่เฝ้ามอง...ต้องร้องไห้ >

- - -

เห็นภาพได้เลยโตมร
สายฝน(บางๆ ) ที่ร่วงหล่นลงในทะเล
ใครมองแล้วไม่ร้องไห้ได้บ้างหนอ

โดย: grappa วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:23:40 น.
  
นอร์วีเจียน มาจากเรื่องสั้นชื่อ หิ่งห้อย
เพียงแค่ไม่กี่ประโยคที่ปล่อยหิ่งห้อยออกจากโถแก้ว ปล่อยให้แสงกะพริบวาบลอยจากไป ใกล้แค่มือเอื้อม แต่แตะสัมผัสไม่ถึง

พอจะอ่านอิ่ม แต่อกกลวง

โดย: นพดล IP: 210.213.44.141 วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:13:54:43 น.
  
กระชากใจมากๆ เลยล่ะค่ะ สำหรับนอร์วีเจียน วูด
อ่านหนังสือเล่มนี้จบ ก็เลยไปค้นเพลง นอร์วีเจียน วูด มาฟัง
เคยฟัง แต่เพลงป๊อบๆ ฟังง่ายๆของ Beatles
พอไปค้นเนื้อหาเพลงนี้มาฟัง
แล้วก็พบว่าเพราะมาก
เนื้อหาในเพลงของ Beatles เหมือนง่ายแต่ยากหลายๆ เพลง

ทำไม มูราคามิถึงเลือกเพลงนี้ มาตั้งชื่อหนังสือล่ะคะคุณ นพดล

ความจริงเนื้อหาของเพลงก็พอจะเข้าเค้ากับเนื้อหาของหนังสือ
ไม่แน่ใจว่า มีความหมายพิเศษอะไร มากกว่านี้หรือเปล่าคะ
Norwegian Wood ( This Bird Has Flown)

I once had a girl, or should I say, she once had me.
She showed me her room, isn't it good, norwegian wood?

She asked me to stay and she told me to sit anywhere,
So I looked around and I noticed there wasn't a chair.

I sat on a rug, biding my time, drinking her wine.
We talked until two and then she said, "It's time for bed".

She told me she worked in the morning and started to laugh.
I told her I didn't and crawled off to sleep in the bath.

And when I awoke I was alone, this bird had flown.
So I lit a fire, isn't it good, norwegian wood.

โดย: grappa วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:39:17 น.
  
บล็อกสวยมากๆครับ เดี๋ยวว่างๆจะไปอัพมาใหม่มั่ง ไม่ยอมๆ
โดย: underdog(พ่อน้องโจ) IP: 203.156.66.4 วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:54:17 น.
  
เนื้อหาของเพลง นอร์วีเจียนวู้ด ไม่เกี่ยวกับหนังสือกระมังครับ

(อาจเกี่ยวนิด ๆ ถ้าจะประกาศว่า "เธอไม่ได้รักผม" เสียดายไม่มีฉากโทรุจุดไฟเผาบ้านแสนรักของนาโอโกะ)

ดีนะที่มูราคามิไม่เอาเพลง Maxwell silver hammer มาเป็นชื่อหนังสือ :)
โดย: นพดล IP: 210.213.44.141 วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:23:12 น.
  
ของมูราคามิ เคยอ่าน Wind-up Bird Cronicles ฉบับอเมริกัน
หลงมาอ่านเพราะหนังสือสวย พออ่านแล้ววางไม่ลงเลยนะ
แต่ให้อ่านหลายเรื่องติดต่อกัน คงไม่ไหว ตอนนี้เลยมี wild sheep chase
กับ pinball ประดับตู้อยู่
แต่สักวันต้องอ่านของนักเขียนคนนี้ให้หมดแน่
โดย: gata IP: 61.90.15.227 วันที่: 18 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:44:09 น.
  
เห็นที่คุยตอบกันแล้ว อยากอ่านขึ้นมาทันที ผมอ่านหนังสือน้อยครับ
ถนัดอ่านใจมากกว่า -_-" ล้อเล่นๆๆ สงสัยต้องหามาศึกษาบ้างซะแล้ว
โดย: Mint@da{-"-} วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:9:24:52 น.
  
เห็นหลายคนทยอยเข้ามา “ตอบ” และ “พูดถึง” ผลงานของมูราคามิอยู่เนืองๆ แล้วอดไม่ได้ .....คันปากอยากตอบมั่ง

ขอตอบคำถามของคุณ lulla ก่อนนะครับ

1. คิดว่านาโอโกะไม่รักพระเอกจริงอย่างที่พูดเหรอเปล่าคะ?
โดยส่วนตัวแล้ว ผมขอ “เลือก” ที่จะเชื่อตามความรู้สึกของตัวเองครับ ...นั่นคือ นาโอโกะไม่เคย “รัก” วาตานาเบะเลย ความรู้สึกที่เธอมีต่อเขาเป็นเพียงแค่ ความรู้สึกผูกพันชิดใกล้ แต่ยังไปไม่ถึงคำว่า “รัก”

ผมคิดว่านาโอโกะรักคิซึกิมาก ...มากเสียจนเธอไม่สามารถรักใครได้ต่อไปอีกแล้ว (เหมือนเหลียงเฉาเหว่ย ใน 2046 ...ที่ไม่ว่าจะอย่างไร เขาก็ไม่อาจลืมซูไหล่เจิน เพื่อไปรักกับหญิงคนอื่นได้)

จากหน้า 149 – “..ผมอยู่ที่นั่น มองเห็นคุณทุกสัปดาห์ พูดคุยกับคุณ และทราบดีว่า ในหัวใจของคุณมีแต่คิซึกิ เจ็บ เจ็บจนแทบทนหายใจไม่ออก เพราะเหตุนี้ผมถึงได้นอนกับหญิงคนไหนก็ได้ที่ผมไม่รู้จัก”

อย่างไรก็ดี ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับนิยามของคำว่า “รัก” ของแต่ละคนครับ - บางครั้ง บางครา ในชีวิตของคนเรา ก็มีใครสักคนที่เรา “รัก” แต่ไม่อาจอยู่ร่วมได้เหมือนกัน อย่างผมกับเพื่อนคนนึง เราตัวติดกันมาก ตั้งแต่เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย ไปไหนก็ต้องไปด้วยกัน แม้จะเรียนกันอยู่คนละภาควิชา แต่ก็ยังติดกันแจ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน ใครๆ ก็มักสงสัยว่าเราเป็นแฟนกันรึเปล่า?

คำถามนี้ถูกถามมาตั้งแต่ปีหนึ่ง ปีสอง ปีสาม จนกระทั่งตอนนี้ก็ยังไม่เลิก ซึ่งพอถูกถามคำถามนี้ทีไร ผมและเธอก็ต้องออกตัวปฏิเสธเสมอ อย่างไรก็ดี ผมไม่รู้หรอกว่าลึกๆ แล้วเพื่อนผู้หญิงคนนั้นคิดยังไงกับผม แต่สำหรับผมแล้ว เธอเป็นได้เพียงแค่คนพิเศษ และเพื่อนสนิทที่สุดที่ผมมี ...เท่านั้นเองครับ

ไม่สามารถเกินเลย และข้ามขั้นเป็นแฟน หรือเป็นคนที่สามารถอยู่ร่วมกันได้เลย ... ผมรู้สึกว่า เธอ “ดี” เกินกว่าที่จะคู่ควรกับคน “บกพร่องเว้าแหว่ง” อย่างผม , ผมรู้สึกว่าเธอคงจะเจ็บปวดน่าดูหากเราได้อยู่ร่วมกัน ...ก็เท่านั่นเอง --- นี่แหละความสับสนของสิ่งที่เรียกว่า “รัก” เพราะบางครั้ง ตัวเราเองก็ยังไม่แน่ใจกับความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ข้างในได้เลย
(เอ๊ะ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับนาโอโกะ รักหรือไม่รักวาตานาเบะเลย งงง)

2. นาโอโกะคิดอะไรตอนที่มายืนโป๊อาบแสงจันทร์

ดวงจันทร์ที่สาดส่องเป็นเสี้ยวโค้ง ....ร่างโค้งเว้าของนาโอโกะที่ได้รูปทรง สองสิ่งนี้เมื่อหลอมรวมเข้าด้วยกันแล้ว มันก่อให้เกิดภาพกระจ่างตาที่สุดในสมองของผมเลยครับ

ผมไม่รู้หรอกว่าเธอคิดอะไรอยู่ ผมไม่รู้หรอกว่า “นัยยะ” ที่แฝงไว้คืออะไร แต่หากสิ่งที่ผมสัมผัสได้ คือ “ความงดงามเหลือเกิน….” (ใช้คำนี้พร่ำเพรื่อจริงๆ เลยเรา)

มันคือความงดงามของการได้ปลดปล่อยครับ ..ผมเชื่อว่าบางครั้งบางครา คนบกพร่องเว้าแหว่งอย่างนาโอโกะ (และรวมถึงผมด้วย ฮา) ก็อยากเผยเรือนร่างแห่งอิตถีเพศที่สวยงาม (และลึกลับ) ให้จันทรา และ ชายที่อยู่ต่อหน้าเธอได้ประจักษ์บ้าง

คำตอบของผมอาจดูเลื่อนลอย แต่ผมเชื่อว่า ในชีวิตของคนเรา ก็เคยทำอะไรที่ไร้เหตุผลด้วยกันทั้งนั้นแหละครับ...

3. แค่มีเซ็กส์กันไม่ได้นี่ทำให้แฟนนาโอโกะต้องฆ่าตัวตายเลยจริงเหรอ? อะไรจะขนาดนั้น

พูดยากครับ... ในอาการของคนรักกัน ความจริงไม่จำเป็นต้องมีเซ็กซ์ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ในกรณีนี้ สำหรับผม ผมคิดว่า มันถึง ณ จุดๆ หนึ่งแล้ว มันคือจุด Peak ที่ยากเกินจะแก้ไข

จำคำพูดในหนังสือได้ไหมครับ (มี quote ไว้หลังปกด้วย) “ช่วงชีวิตตอน 19 หรือ 20 ปี เป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิต บุคลิกเฉพาะตัวจะก่อตัวขึ้นมาในช่วงนี้ หากปล่อยให้ภาพนั้นบิดเบี้ยวผิดรูปร่าง ภาพนั้นจะตามหลอนคุณเมื่ออายุมากขึ้น” เรโกะ

ผมว่าประโยคนี้ สามารถแถลง ชี้แจง ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนังสือครับ - การที่คิซึกิ ฆ่าตัวตาย เพราะ ณ ยามนั้น บุคลิกเค้ามันบิดเบี้ยวจนเกินจะทนครับ จากสภาวะรอบข้าง จากเรื่องรอบตัว มีผลต่อจิตใจคนทั้งนั้น

จากปัญหาเดิมๆ สะสมคั่งค้างอย่างยาวนานหลายต่อหลายปี ก็ย่อมหลอมรวมให้คนอย่างคิซึกิมีบุคลิกที่บิดเบี้ยวไปมากเกินกว่าที่ใครจะคาดเดา ...ซึ่งนั่น เขาจึงเลือกการจบทุกสิ่งด้วย “ควมตาย”

4. พระเอกกับเรโกะมีเซ็กส์กันทำไมตอนจะจบ
ผมคิดว่ามันคือการปลดเปลื้อง ปลดปล่อยครับ แม้ว่าวาตานาเบะ จะไม่สามารถลืมถึงเรื่องทุกสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่นั่นก็คือสิ่งจุดประกายบางอย่างให้เขาโทรศัพท์หามิโดริ ในบรรทัดต่อมา

จริงอยู่ที่ความเจ็บปวด และ อาการหัวใจสลาย ของวาตานาเบะ มันจะไร้ซึ่งหนทางเยียวยา แต่อย่างไรก็ดี การได้ปลดปล่อย และสัมผัสกับคนที่รักและหวังดีกับเขา ก็คงเป็นหนทางที่ดีที่สุดแล้วแหละครับ ที่จะช่วยประคับประคองให้เขาสามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป งงๆ กับคำพูดตัวเองแฮะ

ป.ล. ชอบคำแปลคุณนพดลมากครับ ผมชอบการ "สรร" คำใช้ของคุณนพดลมาก มันช่างกระแทกกระทั้นใจดีเหลือเกิน
โดย: it ซียู IP: 202.44.7.67 วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:04:51 น.
  
จ๊ากก ใส่โค้ดผิด
กลายเป็นขีดเส้นใต้เป็นพรืด
สงสัยลืมปิด tag แหงมๆ
โดย: it ซียู IP: 202.44.7.67 วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:10:02 น.
  
ความรักเป็นเรื่องเศร้า ฮือ ฮือ
โดย: grappino IP: 61.90.15.29 วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:11:39:52 น.
  
> เป็นการหลุดพ้นจากข้อกำหนดประดามีที่แบกไว้ทั้งเล่ม ข้อกำหนดที่สังคมมองอยู่น่ะครับ

ชอบความคิดเห็นของคุณนพดลตรงนี้มากค่ะ
โดย: grappa วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:13:42:17 น.
  
ผมซื้อ wind-up bird cronicles มาฉบับภาษาอังกฤษ ยังไม่ได้อ่านเลย
หนามาก ไม่มีกำลังใจ อิอิ

แต่อ่านสำนวน ของคนที่แปลงาน มุราคามิ มา ผมว่า คุณนพดล แปล แกะรอยแกะดาว ได้ดีมากๆ ส่วนเล่มอื่น แปลไม่ค่อยดีน่ะครับ อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือผมโง่ก็ไม่รุ

คุณโตมร แปลดี ครับ แต่อ่านไปอาจต้องนั่งคิดว่าบางอันเป็นสำนวนคุณโตมร หรือ ของมุราคามิ

เท่าที่อ่านก็ชอบมากๆเลย โดยเฉพาะ แกะรอยแกะดาว กับ การปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก ชอบตั้งแต่การตั้งชื่อจนถึงการแปลข้างในเลยทีเดียว

โดย: bud วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:20:19:46 น.
  
ไม่มีใครชอบ hard boiled wonderland and the end of the world เลยเหรอครับ ฮือๆๆ

ส่วน kafka on the shore นั้นมีสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ในเรื่องกับ kafka อยู่หลายอย่างนะครับ เช่น kafka เป็นชื่อที่พระเอกตั้งให้ตัวเองตอนหนีออกจากบ้าน และตัวเอกมี alter ego เป็น อีกา (คำว่า kafka หมายความว่ากา) และก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงโลกที่มืดมน บิดเบี้ยวเหมือนนิยายของ kafka (เช่น the penal settlement) แต่ผมว่าไม่ต้องอ่านก่อนหรอกครับไม่จำเป็น

ตัวละครที่ผมชอบที่สุดใน norwegian wood คือ nagasawa แหละ เท่ห์ดีชอบ
โดย: ! o_o ! IP: 81.86.236.160 วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:00:04 น.
  
>ไม่มีใครชอบ hard boiled wonderland <
เคยอ่านนิยายวิทยาศาสตร์กันไหมครับ? ขึ้นยานออกเดินทางไปดวงดาวไกลโพ้น ไม่มีวันได้หวนกลับมายังโลกอีกแล้ว ไม่ได้เห็นญาติพี่น้อง ไม่ได้พบผองเพื่อน...ที่สำคัญ ไม่ยอมกลับมาพร้อมกับเงาเสียด้วย
>ตัวละครที่ผมชอบที่สุดใน norwegian wood คือ nagasawa แหละ เท่ห์ดีชอบ<
เย้...มีเพื่อนอีกคนแล้ว
โดย: นพดล IP: 210.213.44.14 วันที่: 19 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:16:29 น.
  
ชอบนอร์วีเจี้ยน วูดมากที่สุดแล้ว ได้อ่านเป็นเล่มแรก อ่านจบรู้สึกชอบมากก็เลยไปตามหนังสือของมุราคามิทุกเล่มที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว มาอ่านแต่ยังไงๆก็ชอบนอร์วีเจียน วูดมากที่สุดอยู่ดี เเละก็ยังมีอีกเล่มหนึ่งที่ยังไม่มีในครอบครอง ก็เป็นไอ้เล่มที่คุณโตมรแปล หาซื้อไม่ได้ ใครรู้แนะนำที่เน้อ นิยายมุราคามิทำให้เราอยากกินเบียร์ก็ตัวเอกในเรื่องกับเพื่อนของเค้านะซิ เอะอะเอะอะ อะไรก็กินเบียร์ จิบเบียร์ ดื่มเบียร์ จนเรานะจากที่ไม่เคยกินก็อยากกินเบียร์ไปซะงั้น อ่านจบเดินไปซูเปอร์ฯ ตรงไปแผนกเครื่องดื่ม เปิดตู้มองหาเบียร์ ไฮเนเก้น สิงห์ ช้าง ไม่สนอะไรทั้งนั้น ต้องเป็นอาซาฮีเท่านั้นจะได้ใกล้เคียงอารมณ์แบบญี่ปุ่น ๆ แต่เราก็ผิดหวังอย่างเเรง เบียร์ไม่เห็นอร่อยเลย กลัมมากินนมเหมือนเดิมดีฝ่า...ฮิฮิ
โดย: Amy IP: 203.107.193.40 วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:0:13:10 น.
  
^
^
^
อิอิ คุณ Amy ช่างอินจริงๆ แต่ อาซาฮี ไม่อร่อย นะคะ ค่อนข้าง จืด เอาทีเดียว แต่กินนมอ่ะดีแล้วค่ะ ดูเป็นเด็กรุ่นใหม่อนามัยดี เด็กรุ่นใหม่เขาต้องรักษาสุขภาพกันใช่ไหมคะ

>เพียงแค่ไม่กี่ประโยคที่ปล่อยหิ่งห้อยออกจากโถแก้ว ปล่อยให้แสงกะพริบวาบลอยจากไป ใกล้แค่มือเอื้อม แต่แตะสัมผัสไม่ถึง
พอจะอ่านอิ่ม แต่อกกลวง >

กรี๊ด หาเรื่องสั้นชื่อ หิ่งห้อย อ่านได้จากไหนคะ รวมเรื่องสั้นที่คิโนคุเนยะ มีหรือเปล่าคะ คุณนพดล

โดย: grappino (grappa ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:40:38 น.
  
ขอโทษนะคะ ถ้าเข้ามาแล้วอยากปิดเพลงต้องกดตรงไหน หาไม่เจอค่ะ
ระหว่างนี้ปิดเสียงของเครื่องไปพลาง ๆ
โดย: ถาม IP: 58.10.18.208 วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:9:07:10 น.
  
ขอบคุณทุกคนที่ช่วยตอบค่ะ ^^
ขอบคุณคุณ ! o_o ! ที่เคลียร์เรื่อง kafka ด้วยค่ะ

เราชอบมากนะคะ hard-boiled wonderland ชอบที่สุดเลยในทุกเล่มของมูราคามิที่เคยอ่านก็ว่าได้ เจ๋งดีค่ะ ^^
โดย: lulla IP: 161.200.255.163 วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:02:43 น.
  
มันเป็นไฟล์แฟลชน่ะครับ
ปิดบ่ได้
นอกจากจะปิดลำโพง ฮา!
(แต่ถ้ามีวิธีปิดได้ ขออภัยในความรู้น้อยของข้าพเจ้าด้วย หุหุ)
โดย: it ซียู IP: 202.44.7.67 วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:15:20:49 น.
  
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ คุณ นพดล ก่อนเลยครับ แปลได้เยี่ยมจริงๆผมชอบมาก ไม่ต้องเปลี่ยนสำนวนหรอกครับแบบนี้หล่ะดูเพี้ยนๆ ดี

ผมอ่าน มุราคามิ ที่ออกกับ มติชน มาทุกเล่มแล้วครับ ยกย่อง เข้าขั้น คลั่งไค้ลเลย มุราคามิ เขียนงานได้โรแมนติกมาก ผมชอบนางเอกในนิยายทุกคนนะครับ คุณนพดล ครับ นางาสาวะ ก็เป็นตัวละครที่ผมชอบที่สุดเช่นกัน "ฉันจะมีอำนาจพอฟาดงวงฟาดงาได้มากเท่าใดในระบบราชการเส็งเคร็ง" เด็ดมากอ่ะยอมรับเลย

ส่วนเรื่องอ่านแล้วอยากกินเบียร์นี่นึกว่าเป็นอยู่คนเดียว มีเพื่อนด้วยแฮะ

สรุปว่ารักและชอบ มุราคามิ มาก นอวีเจี้ยนวู้ด อ่านง่ายแต่ จี้ดที่สุด ฮาทบอย อ่านเข้าใจยาก แต่น่าทึ่งที่สุด ส่วนที่อ่านสนุกที่สุดผมว่า เป็น เริงระบำแดนสนธยานะ สาวน้อยพลังจิตน่ารักมากๆ บวกกับ "โบคุ" หรือ ผม นั้นแก่ลงมากแล้ว ความคิดเลยตกผลึกเป็นพัฒนาการที่เห็นชัดมาก

หาซื้อที่ท่านอื่นแปลไม่ได้เลยมีวางที่ไหนช่วยบอกกันบ้างนะครับ
โดย: เจ IP: 203.155.224.96 วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:16:40:33 น.
  
ชอบมูราคามิเหมือนกันเลยค่ะ ตั้งใจจะเขียนถึงหนังสือของเขาเหมือนกัน
แต่เรากำลังรอตัวเองให้อ่านเรื่อง แดนฝันปลายขอบฟ้า ให้จบก่อนแล้วจะเขียน เพราะว่าอ่านทุกเรื่องของเขาที่แปลไทยครบแล้วยกเว้นเรื่องนี้ เราว่ามูราคามิเนี่ย เป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือแบบว่าต้องมีสมาธิในการอ่านก่อน คือจะเริ่มต้นอ่านต้องตั้งใจ แต่พอหลุดเข้าไปในโลกของเขาแล้ว เราจะโดนเรื่องราว ตัวละคร การพร่ำรำพัน จินตนาการ ดึงเข้าไปจนวางไม่ลง อ่านไปจนจบ

ชอบหลายเรื่องมาก อย่างแกะรอยแกะดาวเนี่ย ชอบจินตนาการพี่แกเหนือบรรยายจริงๆ สนุกอีกต่างหาก พินบอลก็แบบว่าทำให้เราที่ไม่ได้สนใจไอ้เครื่องนี้ แต่อ่านไปด้วยความอยากรู้อยากเห็นและทึ่งไปกับเครื่องนี้ การปรากฏตัวของหญิงสาวเป็นเรื่องแรกที่เราอ่านของเขา อ่านแล้วสุดยอดจริงๆ หลงไปในวังวนของความหมกมุ่นของตัวละครไปเลย ยังกับว่าเราเป็นตัวละครตัวนั้น สำหรับเราถ้าจะแนะนำให้เพื่อนอ่านเรื่องไหนสักเรื่องของเขาก่อนก็คงเป็น นอวีเจี้ยน วู้ด เราว่ามันให้ได้ทั้งความสนุกและความเป็นเอกลักษณ์ของเขา เหมาะที่จะให้ใครสักคนที่ยังไม่รู้จัก มูราคามิ ได้อ่าน

[ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย (Norwegian Wood)
“ความตายดำรงอยู่, มิใช่ภาคตรงข้าม, หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต” โทรุ วาตานาเบะ]

เราว่าเป็นประโยคที่ขอบอกว่าตรงสุดๆ ประโยคแค่นี้ เข้าใจชีวิตมากขึ้นไปเลย

ดีใจเจอคนชอบอ่านเหมือนกัน สวัสดีค่ะ
โดย: cottonbook วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:21:53:13 น.
  
South of the Border West of the Sun

เล่มนี้ อาจจะเป็นงานที่ดูด้อยถ้าเทียบกับเล่มอื่น ๆแต่มุมมองหมกมุ่นที่มูราคามิมีต่อ ความสัมพันธ์ ความรัก เซ็กส์ ความตายยังอยู่ครบ
โดย: ดุ๊ก IP: 161.200.255.163 วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:19:12 น.
  
ร่มรื่นในเงาคิด มติชนสุดสัปดาห์ 27 มิถุนายน 2546

สัมพันธ์แปลกแยก ผู้เขียน สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร พยายามอ่านงานของ "ฮารูกิ มูราคามิ" ที่ใครต่อใครยกย่องว่าเป็นนักเขียนญี่ปุ่นที่ก้าวสู่ "ระดับโลก" มาหลายรอบ โดยเฉพาะงานในชุด "ไตรมาสแห่งมุสิก" ที่ นพดล เวชสวัสดิ์ แปล เป็นภาษาไทย แต่ก็มีอันต้องวางลงอยู่หลายรอบเช่นกัน เหมือนจูนกันไม่ติด - - รู้สึกว่า ยัง "จับ" อะไรที่เขาต้องการสื่อออกมาไม่ได้ จนพลอยรำคาญตัวเองทำนองว่า อ่านหนังสือมาก็ไม่น้อย แต่ทำไมยัง "จับความ" หนังสือของเขาไม่ได้ และลึกๆ อาจเกิดอาการกลัวเสียฟอร์มว่าเป็นนักอ่านที่ไม่ได้เรื่อง เลยพาลเลิกอ่านเอาเสียดื้อๆ แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับเกิดความรู้สึกอยากอ่านหนังสือชุดนี้ขึ้นมา "อยาก" หลังจากดูวีซีดี เรื่อง "สุดเสน่ห์หา" หนังไทยที่ไปกวาดรางวัลในงานมหกรรมหนังมาหลายแห่ง ซึ่งจริงๆ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย แต่กลับทำให้ "ทะลุ" อะไรบางอย่าง กล่าวคือ... ก่อนดูหนังสุดเสน่ห์หา ในหัวเต็มไปด้วยคำขู่ จากคอลัมน์วิจารณ์หนังทั้งหลายว่า หนังเรื่องนี้ "ยาก" สามารถทำให้คนลุกออกจากโรงก่อนที่หนังจะจบ ขณะเดียวกันก็อาจมีบางคนดื่มด่ำกับหนังอย่างยิ่ง จนหาข้อสรุปชัดๆ ว่าชอบหรือไม่ชอบ ไม่ได้ เลยตั้งใจตั้งแต่ไปเช่าเอาวีซีดีเรื่องนี้มาดู ว่าจะทำใจเป็นกลางๆ ไม่ต้องไปสนใจว่าหนังเรื่องนี้จะดีเด่นจนได้รางวัลมากมาย ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องไปกลัวว่าหนังจะน่าเบื่อ จนทนไม่ไหว ทำใจว่างๆ ชอบก็ดูต่อ ไม่ชอบก็เอาไปคืนร้าน ถือเอาความรู้สึกเราเป็นหลัก ได้ผลดีอย่างประหลาด สามารถดู "สุดเสน่หา" อย่างราบรื่น และรู้สึกได้ถึง "ชุดความคิด" ของตัวเอง ที่ไม่จำเป็นต้องไปสอดคล้องกับคอลัมน์วิจารณ์หนังที่ใหญ่หรือเล็กทั้งสิ้น ตอนนี้ยังสนุกกับการได้ตั้งคำถามกับตนเองอยู่หลายๆ ประเด็น อย่าง หญิงสูงวัยในเรื่อง ที่ไปถึง สุดเสน่ห์หา ด้วยการ "เสพสม" กับชู้รักแบบสุดยอด ทำไมถึงต้องจบลงด้วยน้ำตาอย่างสุดกลั้น - - ถุงยางที่ถูกชูขึ้นหลังจากความ "เสร็จสม" นั้น มันคือ "สัญลักษณ์" อะไร แต่ขณะเดียวกัน หญิงสาวที่ไปไม่ถึง "สุดเสน่ห์หา" เพียงแต่ทำให้คนที่เธอรักไปสู่ความสุขด้วย "ปาก" กลับนอนหลับตาเคลิ้บเคลิ้มถึงธรรมชาติอันงดงามได้ มีความแตกต่างในความสุดแห่งเสน่ห์หาอย่างไร - - คิดไปคิดมาสนุกดี ความสนุกจากการไม่ต้องตั้งเป้าหมายว่าจะได้อะไร หรือต้องเข้าใจว่าผู้ผลิตงานชิ้นนั้นต้องการสื่ออะไร จากการดู สุดเสน่ห์หา นี้เอง ทำให้ นึกถึงหนังสือของ ฮารูกิ มูราคามิ ขึ้นอย่างที่ว่าไว้ในตอนต้น เราอาจไปตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเข้าใจ และ รู้เรื่อง ว่า นักเขียนที่กำลัง "ดัง" เขาต้องการสื่ออะไรมากเกินไป ทำให้ไม่สนุก แล้วถ้าไม่คิดอะไรเลยล่ะ เลยไปค้นลิ้นชัก หยิบเอา "พินบอล 1973 " ซึ่งเป็นงานลำดับที่สอง ในชุดไตรภาคแห่งมุสิก ของ ฮารูกิ มูราคามิ มาลองอ่านด้วยความรู้สึกใหม่ ปรากฏว่าได้ผลดีเกิดคาด สามารถอ่านหนังสือที่วางแล้ววางอีกจบในการอ่านรวดเดียว ถามว่ารู้สึกอย่างไร ขอยืมคำพูดของ "โตมร ศุขปรีชา" ทีโปรยไว้ในปกหลังของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งตรงกับความรู้สึกหลังจากที่อ่านหนังสือจบลง มาใช้ ว่า "...มีลีลาของสายฝนที่ร่วงหล่นอย่างเงียบงันลงไปในทะเล แต่ไม่อาจทำร้ายทะเลได้ ได้แต่ทำให้คนที่เฝ้ามอง...ต้องร้องไห้" งานของ ฮารูกิ มูราคามิ ในเรื่อง พินบอล 1973 เป็นอย่างนั้นจริงๆ เรียบๆ จืดๆ แต่พอต่อเชื่อมเป็นภาพรวม เศร้าชะมัดยาด เขาไม่ได้เจาะจง หรือเน้นให้เห็นปัญหาอันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ "อันแปลกแยก" ของตัวละครที่เรียกตัวเองว่า "ผม" กับคนอื่นและเทคโนโลยี "ผม" ที่ด้านหนึ่งมีความสัมพันธ์อันแปลกประหลาดกับหญิงฝาแฝดคู่หนึ่ง ที่พวกเขาเริ่มต้นจากเช้าวันหนึ่งที่ "ผม" ตื่นขึ้นมาแล้วพบว่ามีสาวรุ่นคู่แฝดนอนขนาบข้างอยู่ "เรื่องเช่นนี้ เกิดขึ้นต่อผมบ่อยครั้ง แต่สาวแฝดนับได้ว่าเป็นครั้งแรก แฝดทั้งสองหลับสนิทจมูกซุกมาชนที่หัวไหล่ของผม เช้าวันอาทิตย์ แสงแดดอ่อนแจ่มใส" อย่างไรก็ตาม แม้พวกเขาทั้งสามคนจะใกล้ชิดกันบนเตียง "อย่างยิ่ง" แต่ก็เป็นคนแปลกหน้าของกันและกันอยู่นั่นเอง พวกเขาไม่รู้จักแม้แต่ชื่อกันและกัน คู่แฝด ยินดีให้ "ผม" เรียกอะไรก็ได้ "ซ้ายกับขวา" "แนวตั้งกับแนวนอน" "บนกับล่าง" "หน้ากับหลัง" "ออกกับตก" "ทวารหน้ากับประตูหลัง" แต่ความสัมพันธ์ก็สามารถดำเนินไปได้ นอกเหนือจากความสัมพันธ์อันแปลกประหลาดกับมนุษย์คู่แฝดนั้นแล้ว "ผม" ยังไปผูกพันกับตู้พินบอล หรือที่เรารู้จักกันในเมืองไทยว่า "บอลตู้" ซึ่งเป็น "เครื่องจักรกล" ที่ไร้ชีวิต "ผม" หมกมุ่นอยู่แต่กับตู้พินบอล จนมันกลายเป็นความผูกพัน แต่เป็นความผูกพันที่ไร้ประโยชน์ เพราะเล่นตู้พินบอล มีแต่เสียกับเสีย แรกสุดเสียเงินที่หยอดลงไปเพื่อเริ่มเกม จากนั้นเวลาอันมีค่าก็สูญไปเปลืองเปล่า ไม่มีวันเรียกคืนมาได้ และที่สำคัญ มันไม่มีชีวิต ความสัมพันธ์ ของ "ผม" กับสิ่งรอบข้างจึงไม่ปกติ แปลกแยกไปจากคนอื่น ด้านหนึ่งก็ล้นเกินจาก การมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงในคราเดียวกันถึงสองคน ด้านหนึ่งก็ขาด เพราะไปมีสัมพันธ์กับเครื่องจักรกลที่ไร้ชีวิต และที่สุดความสัมพันธ์อันไม่ปกติทั้งสอง ก็ต้องจบลงตามครรลองของมัน คู่แฝดกล่าวคำอำลา ขณะที่ตู้พินบอลสูญหายไปในโกดัง เพื่อเปิดที่ว่างให้เครื่องจักรรุ่นที่ทันสมัยกว่า ดีกว่า เข้ามาแทนที่ ได้ข้อสรุปส่วนตัวว่า ฮารูกิ มูรากามิ อาจจะกำลังบอกเรากลายๆ ว่าโลกสมัยใหม่นี้ แม้คนจะมีความสัมพันธ์ต่อกันเกินล้น หนึ่งต่อสอง หนึ่งต่อสาม แต่ที่สุดก็ คือการจากลาอยู่นั่นเอง เช่นเดียวกับเทคโลยี ที่ดูเหมือนจะมีบทบาทมีความสัมพันธ์กับชีวิตเราทั้งชีวิต แต่ที่สุดต่างฝ่ายต่างก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนต้องลาจากกัน
โดย: DuKE vers.1.0 IP: 161.200.255.163 วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:22:37 น.
  
เพลงที่เปิดเวลาเข้ามาในบล็อกเพราะมากๆเลยครับ
โดย: underdog (พ่อน้องโจ ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2548 เวลา:23:07:01 น.
  
ไตรภาคครับ...ไตรภาค
จะบอกว่า "ไตรมาส" เดี๋ยวจะมีคนแปลว่า สามเดือนของหนู

นิทานหิ่งห้อยมีแต่ภาษาญี่ปุ่นครับ ยังไม่ได้แปลเป็นอังกฤษ
โดย: นพดล IP: 210.213.44.61 วันที่: 21 พฤษภาคม 2548 เวลา:3:30:45 น.
  
> “ความตายดำรงอยู่, มิใช่ภาคตรงข้าม, หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต”

ชอบประโยคนี่เหมือนกันค่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ คุณ Cottonbook

ขอบคุณสำหรับคำตอบค้า คุณนพดล
โดย: grappa IP: 61.90.15.114 วันที่: 21 พฤษภาคม 2548 เวลา:9:09:58 น.
  
ตอนแรกที่อ่านแดนฝันปลายขอบฟ้าแล้วไม่เข้าใจเลยค่ะ เป็นเล่มแรกของมูราคามิที่เปิดอ่านแล้วปิดเมื่อผ่านไปสักสองบท (เล่มอื่นซื้อปุ๊บก็อ่านปั๊บและจบรวด) พลางนั่งหาคำตอบว่าทำไม คาดว่าสภาพจิตไม่พร้อม (จิตลงดิ่งตกเหว) หรือเป็นเพราะเนื้อเรื่องที่ออกแนววิทย์คณิตก็ไม่รู้ แต่พอทิ้งไว้เกือบเดือน แล้วทำใจสบายๆ กลับมาอ่านใหม่ ก็หลุดเข้าไปในนิยายจนจบเรื่อง หู...น่าทึ่งมากค่ะ เรื่องของโลกสองโลก กับการเชื่อมโยงเวลา โลก เงา ความทรงจำ ความฝัน คิดว่าเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ที่โรแมนติกมาก รู้สึกว่าคนเขียนคิดพล็อตขนาดนี้ได้ยังไง ขณะที่คนแปลก็แปลได้แจ่มแจ้งมาก ขอคารวะค่ะ

หมายเหตุ: คุณ grappino คะ ชื่อใหม่นี้ตั้งใจจะแซวมิสไอร์แลนด์หรือเปล่าคะ ;-)
โดย: pino IP: 61.91.114.211 วันที่: 21 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:17:25 น.
  
>ตอนแรกที่อ่านแดนฝันปลายขอบฟ้าแล้วไม่เข้าใจเลยค่ะ <
อาการเดียวกันครับ ผมหยิบมาอ่าน วางทิ้งไว้สองสามเดือน แปลกใจอยู่เหมือนกัน กลั้นใจหยิบมาอ่านใหม่ เชื่อว่า เขาคงเขียนให้มนุษย์อ่าน :)
ใช้วิธีนี้ครับ
ผมแปลเฉพาะบทคี่จนจบเล่ม
เสร็จแล้วก็ทำบทคู่ต่อ
ตอนแรกเสนอให้เขาจัดหน้า หันหลังชนกัน...ไม่มีใครยอมเล่นด้วย
เลยแอบเขียนคำนำให้อ่านบทเว้นบท
โดย: นพดล IP: 210.213.42.14 วันที่: 21 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:26:39 น.
  
ขออนุญาตกรี๊ดนะคะคุณนพดล
คิดที่คุณนพดลเขียนไว้ว่าให้อ่านบทเว้นบทเหมือนกันค่ะ แต่ชอบเรื่องราวที่ตัดสลับไปมา (ชอบคิดว่าโลกนี้ไม่ได้มีโลกเดียว มันมีโลกคู่ขนาน และอีกหลายโลกที่ดำเนินไปพร้อมๆ กันค่ะ) และถือเป็นวิธีคิดวิธีเขียนของนักเขียนที่เข้าท่ามากค่ะ
ขอนอกเรื่องมูราคามิคือ คล้ายเรื่อง about a boy ของ nick hornby ค่ะ คือเขาเขียนเรื่องสลับกันบทต่อบทระหว่างชีวิตของผู้ใหญ่กับเด็ก เพียงแต่ว่าเนื้อหาคนละแนวกับมูราคามิเยอะเลย
โดย: pino IP: 61.91.114.211 วันที่: 21 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:38:08 น.
  
โอวววว มาอ่าน blog นี้ ดีจัง ได้รู้ว่าแดนฝันปลายขอบฟ้า ให้อ่านสลับบทได้
จริงๆ เราก็อ่านคำนำแล้วล่ะ แต่นึกว่าเป็นประมาณล้อประโยคที่ว่า ยังไงก็เหลือชีวิตไม่เกิน 24 ชั่วโมงแล้วนี่
พอมาอ่านที่นี่ ก็เลยหยิบหนังสือมาดู เห็นจริงๆด้วยว่า บทคี่กับคู่จะมีภาพสัญลักษณ์ไม่เหมือนกัน
บทคี่ เป็นภาพวาดรูปคน
บทคู่ เป็นภาพสัตว์ที่เราว่าคือ ยูนิคอร์น
แต่ไงจะลองอ่านแบบต่อเนื่องกันไปก่อน ดูว่าจะไปได้ถึงไหน

ส่วน about a boy เนี่ยเราชอบมากๆเลย เป็นหนังสือที่เราอ่านตามหลังจากดูหนัง
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราดูหนังแล้วเราจะไม่อ่านหนังสือ
แต่เรื่องนี้ หนังสือก็สนุกด้วยตัวของหนังสือ หนังก็สนุกในแนวทางของหนัง
อ่านแล้วถึงรู้ว่า หนังเรื่องนี้ดัดแปลงหนังสือไปได้ดีมากๆ
คือ ไม่ได้เหมือนหมด หรือลอกมา แต่คัดเอาสิ่งสำคัญที่หนังสือต้องการนำเสนอมาได้หมด

แล้วก็เลยมานึกว่า ยังไม่เคยได้ดูหนังที่ดัดแปลงมาจากหนังสือของมูราคามิเลย อ่านใน Bioscope เห็นว่าเคยมีคนเอา "สดับลมขับขาน" มาแปลงเป็นหนัง ไม่รู้จะเป็นไง และเขาก็บอกว่าจะมีคนนำเรื่องสั้นอีกเรื่องของเขาดัดแปลง เรื่องสั้นขนาดยาวที่อยู่ในรวมเรื่องสั้น the ghost of Lexington ที่ยังไม่มีแปลในไทย
เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มที่ชื่อ โทนิ ทาคิทานิ กำพร้าแม่ มีพ่อที่ชอบหนีไปทัวร์กับวงดนตรีแจ๊ซบ่อยๆ อยู่คนเดียวแบบนี้เขาไม่เหงาเท่าไร แต่พอเขาได้แต่งงานกับดีไซเนอร์สาวสวยและเธอก็จากไป เขาก็ได้แต่จ้องมองและพูดคุยกับชุดของเธอ สุดท้ายเขาถึงตัดสินใจลงหนังสือพิมพ์เพื่อตามหาผู้หญิงใส่เสื่อไซส์ 7 พอดีตัว
ผู้กำกับคือ จุน อิชิคาว่า ที่เคยกำกับ Tokyo Marigold (ซึ่งเราเคยดูแล้วแบบว่าไม่สามารถดูได้จนจบ -_-!) สำหรับเรืองที่ดัดแปลงจากหนังสือ มูราคามิ เรื่องนี้ ได้เข้าชิงซันแดนซ์สาขาเวิลด์ซีนีม่า นำแสดงโดย อิสเซย์ โอกาตะ และ ริเอะ มิยาซาว่า
ข้อมูลได้จากนิตยสาร Bioscope ฉบับที่ 42 หน้า 107

อยากดูเรื่องนี้
โดย: cottonbook IP: 202.57.175.234 วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:1:48:39 น.
  
ฮาทบอยวอนเดอแลน นี่ อ่านทีละบทก็สนุกไปอีกแบบนะครับ ทำให้อ่านง่ายขึ้นเยอะแต่ถ้าสลับกันอ่านอาจจะมึนหน่อย (แต่ผมชอบ) ยิ่งสนุกเข้าไปอีก
โดย: เจ IP: 203.209.125.148 วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:9:25:07 น.
  
แหะ แหะ ขออนุญาต เปลี่ยนเป็นเพลง "ตาสว่าง"
นะคะ พึ่งไปดูคอนเสริ์ตมา กำลังอินกับเพลงนี้

" ... ถึงเวลาที่ฉันนั้นควรสงบ
ใช้ปัญญาที่เหลือ
ทบทวนที่ผ่านมาให้เข้าใจ

สุดท้าย
เรื่องราวว่างเปล่าในใจ
ต้องเจอ ต้องเป็น
แล้วจะเห็นใช่ไหม
....
ที่แท้ ที่แท้ แล้ว....... "

ใครไม่ชอบเพลงนี้ เลือกปิดที่ลำโพงของคุณได้ค่ะ
แต่ในบล็อคบังคับฟังค่ะ อิอิ
โดย: grappa วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:38:19 น.
  
อยากดู หนังที่ทำจากเรื่องสั้นของมูราคามิ เหมือนกันค่ะ
คุณ Cottonbook

about a boy ที่เป็นหนังสนุกดี จำได้ว่ามุขขนมปังแข็งโป๊กที่ฆ่าเป็ดโชคร้ายตัวนั้น ดูแล้วฮามาก ทั้งที่เป็นมุขธรรมดาๆ
แต่ชอบตอนจบในหนังสือมากกว่าค่ะ
โดย: grappino (grappa ) วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:51:47 น.
  
ชอบ Hardboiled Wonderland ครับอ่านเอาสนุก ก็สนุกดีครับ Norwegian Wood ก็ชอบ
แต่เรื่องที่ชอบที่สุดคือ South of the Border West of the Sun ครับ
โดย: FF>> IP: 58.9.161.191 วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:13:25:37 น.
  
About a boy เป็นหนังที่ทำให้ผมชอบเพลง Killing Me Softly ครับ
แหะๆ นอกเรื่องไปไกล :D
โดย: it ซียู IP: 61.90.18.81 วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:13:59:53 น.
  
ป.ล. หมั่นไส้คนได้ไปดูคอนเสิร์ตจริงๆ
(ตอนนี้ ข้างบ้านเปิดเพลง MD ดังลั่นเช่นกันครับ)
แต่มิเป็นไร อย่างน้อยเราก็ได้ดูละครถาปัดแหละน่า หุหุ
สนุกไม่แพ้กัน
โดย: it ซียู (it ซียู ) วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:20:42 น.
  
ขออนุญาติ add blog นะค่ะ มีหลายอย่างที่ชอบคล้ายๆ เจ้าของ blog ค่ะ

มูราคามิ อ่านไปหลายเล่มแล้ว ชอบสำนวนแปล คุณคมสัน นันทจิตค่ะ เหงาดี ไม่ซับซ้อนมาก


ไว้ว่างกว่านี้จะมาเสวนาด้วยนะค่ะ


ตอนนี้ ฟังเพลง "...มา" พร้อมกะเพลง "ตาสว่าง" ใน blog นี้ คุคุ

ปล.แรก เมื่อคืนสุดยอดมากๆ สำหรับ MD
โดย: ปีกที่ไม่อาจจะโบยบิน (WhaT iT'S W๐l2tH ) วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:20:39:09 น.
  
ไม่ชอบวงนี้อะ ผมผิดปกติรึเปล่า
โดย: underdog (พ่อน้องโจ ) วันที่: 22 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:22:22 น.
  
แวะมาใส่ข้อมูลหนังที่สร้างจากเรื่องสั้นของ มูราคมิ ค่ะ เราค้นหาจาก google ก็เลยได้มา

TONY TAKITANI
กำกับโดย Jun Ichikawa
บทดัดแปลงโดย Jun Ichikawa จากเรื่องสั้น TONY TAKITANI ขอว Haruki Murakami

official Website มีเป็นภาษาอังกฤษด้วยค่ะ //www.tonytakitani.com/e/introduction/index.html

จะลงรูปให้ดู ลงไม่เป็นใน comment ลองไปดูที่เว็บเลยค่ะ

โดย: cottonbook วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:1:01:38 น.
  
ตั้งกระทู้เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ไว้ที่

//www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A3493737/A3493737.html#1

เช็คเว็บหนังแล้ว พบว่ารายชื่อของประเทศที่ซื้อหนังเรื่องนี้ไปแล้ว มีชื่อ Thailand ด้วย แสดงว่าเรามีโอกาสได้ดูแน่เลยค่ะ แต่ไม่รู้ว่าใครซื้อมา แต่ถ้าจะได้ดูหนังแล้ว ก็อยากอ่านเรื่องสั้นของเขาก่อนจัง
โดย: cottonbook IP: 202.5.83.200 วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:1:21:49 น.
  
ใส่รูปจากหนังที่ทำจากเรื่องสั้นของมูราคามิ ตามที่คุณ cottonbook บอก
หนังตั้งชื่อ ตามพระเอก Tony takitani



โดย: grappa วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:52:30 น.
  
฿ปนี้เศร้ามาก

โดย: grappa วันที่: 23 พฤษภาคม 2548 เวลา:8:54:34 น.
  
ลิงค์เรื่องสั้น Tony takutani
คุณ ! o_o ค้นมาจากกูเกิ้ล

//magna.cs.ucla.edu/~hxwang/newyorker/blog/files/tonytakitani.html
โดย: grappino (grappa ) วันที่: 24 พฤษภาคม 2548 เวลา:0:14:19 น.
  
ขอบคุณสำหรับลิงค์เรื่องสั้น tony takutani ค่ะ
ชอบประโยคนี้มาก

ยังคงความเป็นมูราคามิ อ่านๆไปเรื่อย แล้วนึกเป็นหนังเลยค่ะ ดีที่กำลังจะได้ดูหนังเรื่องนี้ที่เมืองไทยด้วย ใช่มั้ย???
โดย: pino IP: 61.91.138.48 วันที่: 24 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:23:29 น.
  
อุ๊บส์ ประโยคหายค่ะ
ขอแก้ตัว
โดย: pino IP: 61.91.138.48 วันที่: 24 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:25:02 น.
  
ว๊า...เสียเซลฟ์ค่ะ เลยรู้หมดว่าเราโลว์เทค ;-)
คิดว่าคงเป็นที่ฟอนต์ภาษาอังกฤษ เลยขอแปลเป็นไทยว่า "ชีวิต เป็นสิ่งที่ผมไม่มีวันเข้าใจจริงๆ" ประมาณนี้ค่ะ หวังว่าคงไม่พลาด ขออำภัยค่ะ
โดย: pino IP: 61.91.138.48 วันที่: 24 พฤษภาคม 2548 เวลา:10:27:58 น.
  
ประโยคไหนอ่ะ คุณ pino
แต่เราชอบประโยคนี้ ในเรื่องสั้น Tony Tanitaki

...Each memory was now the shadow of a shadow of a shadow. The only thing that remained tangible to him was the sense of absence...
โดย: grappa วันที่: 24 พฤษภาคม 2548 เวลา:14:15:09 น.
  
อ้าว ฟังได้แล้นนนน
เพื่อนเอ๋ย
ป.ล. ตอนนี้ฟังเพลงชาติ รายการถึงลูกถึงคนอยู่ ยุ่งจริงๆเลยวุ้ย เพลงชาติเนี่ย

ป.ล.2 เดี๋ยวจะกลับไปอ่านครับ ปรินท์มาแล้วแต่ขี้เกียจ ฮ่าๆ
โดย: it ซียู IP: 161.200.255.161 วันที่: 25 พฤษภาคม 2548 เวลา:0:08:32 น.
  
เมื่อกี้ ดูรายการ Thailand Top Model
แล้วขำดี มีผู้เข้าประกวดคนนึงนอนเอกขเนก
อยู่ในบ้าน กำลังอ่าน Dance Dance Dance อยู่
พร้อมกับทำหน้านิ่วคิ้วขมวด เสียดายจำหน้าเธอไม่ได้
จะได้เชียร์
เอ๊ะ หรือเธอเข้าใจว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับการเต้นระบำ
อิอิ
โดย: grappino IP: 61.91.110.51 วันที่: 25 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:19:32 น.
  
ดูมหาลัยเหมืองแร่มาแล้วจ้า...
โดยส่วนตัว คิดว่าหนังเรื่องนี้มีอะไรบางอย่างที่คล้ายคลึงกับ Motorcycle Diaries พอสมควร
- เป็นหนัง Coming of Age เหมือนกัน
- มีเรื่องมิตรภาพของตัวละครหลักสองคนคล้ายๆ กัน (แต่ Motorcycle ชัดกว่า)
แต่กระนั้น Motorcycle ผมกลับให้เกรดแค่ A- แต่เรื่องนี้ให้ A กับครึ่งประจุบวก

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะ Motorcycle มันตามสูตร ตามขนบไปหน่อย แต่หนังพี่เก้ง มีสไตล์ส่วนตัวของผกก. ค่อนข้างชัด มุกเล็กๆ น้อยๆ ที่ใส่เข้ามาน่ารักมากกก ชอบ Worm Digging, Water Carrying อะไรพวกนี้

ผมชอบที่ ผกก. เข้าใจคิด แบ่งซีเควนซ์ของหนังออกเป็นชีวิตในรั้วมหาลัยสี่ปี ซึ่งแต่ละปีก็มีการเติบโต มีปัญหาต่างๆ แสดงออกมาชัดเจน พอก่อนดีกว่า รอดูรอบสองอีกครั้งแล้วจะมาเล่าอีกที เพราะเดี๋ยวเล่าตรงนี้เยอะไป จะไม่มีอะไรให้เขียน (ฮา)
โดย: it ซียู วันที่: 26 พฤษภาคม 2548 เวลา:21:58:17 น.
  
แหะ แหะ เพิ่งกลับมาอ่าน
มีคุณ นพดล มาตอบซะด้วย
ผมดันบ่นว่า อ่านของคุณ นพดล ไม่รู้เรื่องไปซะอีก
แต่ผิดที่ผมเนี่ยล่ะครับ ไม่ใช่คนแปลหรอกครับ

กะลัง อ่าน นอวีเจียน วูด ไว้อ่านแล้วจะมาคุยกะทุกคนนะ
โดย: bud IP: 210.86.177.142 วันที่: 26 พฤษภาคม 2548 เวลา:22:01:04 น.
  
yo yo มาตามอ่านคร้าบ
โดย: ^U^=(nAthAn)= IP: 58.10.234.170 วันที่: 27 พฤษภาคม 2548 เวลา:1:18:40 น.
  
ชอบเนื้อหาหนังสือแต่ไม่ชอบสำนวน นพดล อ่านแล้วหงุดหงิด ชอบโตมรแปลมากกว่า นิ่งและเนียนกว่า
โดย: มีหนังสือเป็นเพื่อนสนิท IP: 202.28.21.4 วันที่: 15 มิถุนายน 2548 เวลา:19:14:44 น.
  
ผมไม่คิดว่าสาวกมุราคามิจะเยอะแบบนี้ ยินดีที่ได้เห็นเวปนี้ครับ

ผมชื่อชมเรื่อง hear the wind sing มากที่สุดเลย ส่วนเรื่องอื่นก็ชอบมาก
โดย: ผม IP: 61.91.176.205 วันที่: 2 กรกฎาคม 2548 เวลา:1:32:47 น.
  
ได้เคยอ่านแค่norwegian wood และ wild sheep chase เท่านั้นเอง แต่รู้สึกจะdeepกับnorwegianมากกว่า สงสัยจะมีอดีตที่สับสน ดูดดื่ม ว้าเหว่ เว้าแหว่ง คล้ายกับในหนังสือมั้ง ที่สำคัญฟังbeatlesก่อนอ่านมากกว่า100รอบ
ขอบคุณคุณgrappaที่แนะนำนะครับ
โดย: gent-ino IP: 210.246.72.46 วันที่: 4 กรกฎาคม 2548 เวลา:0:58:02 น.
  
*จะอ่านงานของ Haruki Murakami นี่เริ่มจากเล่มไหนก่อนดีคับ

(ผมอ่านแกะรอยแกะดาวไปได้นิดหน่อย ก้อพักไปอ่านอย่างอื่นก่อนคับ)


*คุ้นๆว่าในคำนำบอกไว้ ว่าแกะรอยแกะดาวนี่มัน เล่ม 2 ของไตรภาคพินบอล อย่างนี้ผมต้องเริ่มอ่านจาก 1 - 2 - 3 ป่ะคับ หรืออ่านเล่มไหนก่อนก้อได้

(ห้องสมุดที่ยืมหนังสือมาอ่าน ไม่มีเรื่องพินบอลครับ)



ขออนุญาตแปะคำถามไว้ก่อนนะครับ หน้านี้ยาวมาก อ่านไม่หมด แล้วจะค่อยๆทยอยอ่านครับ

ถ้ามีพูดถึงเรื่องที่ผมถามไปแล้วก้อขออภัยฮะ
โดย: wahahahaha IP: 221.128.82.66 วันที่: 4 กรกฎาคม 2548 เวลา:14:29:33 น.
  
อ่าน pinball ก่อนครับ
จะพอเข้าใจการเขียนของมุราคามิ ในเบื้องต้น
และมีกำลังใจอ่านเรื่องต่อไป

ความจริง แกะรอยแกะดาว ถ้าผ่านช่วงนิ่งๆ ในตอนแรก
ไปสู่การเดินทางแล้ว ก็วางไม่ลงแล้วล่ะครับ...

คุณwahahahaha น่าจะข่มใจอ่านอีกหน่อย

ผมชอบ dance dance dance เริงระบำแดนสนธยาที่สุดแล้วครับตอนนี้...
โดย: bud IP: 210.86.178.98 วันที่: 15 กรกฎาคม 2548 เวลา:4:44:48 น.
  
West of the Border, South of the Sun เป็นเรื่องแรกที่อ่าน แล้วเลยติดใจซื้อเล่มอื่นๆอีก A Wild Sheep Chase, Norwegion Wood, Sputnik Sweetheart
ชอบ West of the Border, South of the Sun ที่สุด อาจเพราะแปลให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายกว่าเรื่องอื่น Sputnik Sweetheart ก็ชอบเหมือนกัน แต่เรื่อง A Wild Sheep Chase ยังอ่านไม่จบสักที งงๆ
โดย: toon IP: 202.129.18.68 วันที่: 9 สิงหาคม 2548 เวลา:14:18:57 น.
  
โอ่วว แฟนมุราคามิเยอะจริง ๆ ...
ได้อ่าน After The Quake เป็นเล่มแรกค่ะ Sputnik Sweetheart เป็นเล่มที่สอง และ "จี๊ด" ที่สุด อ่านแล้วอ่านอีก อ่านครั้งแรกมองตัวเองเป็นสุมิเระ อ่านครั้งที่สองเห็นตัวเองเป็นมิว แต่อ่านครั้งล่าสุดเห็นตัวเองเป็นเค

สำหรับ Norwegian Wood คิดว่าถ้าได้อ่านก่อน SS คงจะรู้สึกจี๊ดกับมันมากกว่านี้ ส่วน West of the Border, South of the Sun อ่านแล้วยิ่งทำให้นึกถึง SS มากยิ่งขึ้นอ่ะ ตอนนี้เลยขอหยุดอาการแบบมุราคามิซึ่มของตัวเองไว้แค่ Sputnik Sweetheart เท่าน้านน
โดย: sanonoi วันที่: 13 กันยายน 2548 เวลา:11:04:21 น.
  
มุรากามิ เป็นนักเขียนคนที่สองที่ผมติดตามซื้อทุกเล่ม (อันดับ ๑ คือ อาว์'รงค์)

Hard Boiled Wonderland(เขียนถูกหรือเปล่า?) ออกมาตั้งนานแล้วยังไม่ได้อ่านเลย แง ๆ
โดย: มอสทาร่ายักษ์ วันที่: 26 กันยายน 2548 เวลา:12:34:25 น.
  
อ่านแกะรอยแกะดาวก่อนค่ะ เป็นหนังสือที่ใช้เวลาอ่านนานมาก อ่านครั้งแรก แล้ววางเลย ไม่เข้าใจ ผ่านไปหลายเดือน กลั้นใจหยิบมาอ่านใหม่ ครั้งนี้รวบรวมสมาธิ และทำความเข้าใจกับมันมากขึ้น สุดท้ายก็หลงรักหัวปักหัวปำ รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ด้วย
โดย: porr IP: 203.151.140.118 วันที่: 1 ตุลาคม 2548 เวลา:20:39:21 น.
  
เราก็ชอบมูราคามิ เหมือนกันค่ะที่รู้จักแรกๆก็เห็นมีคนพูดถึง ทั้ง2ฝ่าย คือที่ไม่ชอบก็ไม่ชอบไปเลย ส่วนคนที่ชอบก็ชอบมาก ก็เลยลองหามามาอ่าน เรื่องแรก อ่าน Norweigian Wood ก็รู้สึกว่าชอบมากเลยค่ะ ชอบการบรรยายคาแร็กเตอร์แต่ละตัว ที่บางทีก็รู้สึกเหมือนกับว่าดูหนังอยู่แล้วมองเห็นภาพได้ชัดเจนมาก Sputnik Sweatheart ก็สนุกมากๆ เรื่องสำนวนใครแปลนั้น เราไม่ทันได้สังเกตอ่ะค่ะ ก็ว่าสนุกเหมือนๆกัน(?)

ชอบคาแร็กเตอร์ของ คุณเรโกะ อิชิดะ (Norweigian Wood) กับ มิว(Sputnik Sweatheart) เราชอบตัวละครที่เป็นนักดนตรีอ่ะไม่รู้สิ- -a
โดย: ด้วยคนค่ะ IP: 158.108.2.6 วันที่: 4 ตุลาคม 2548 เวลา:11:54:53 น.
  
ชอบมูราคามิมากๆครับ Norweigian Wood เป็นหนังสือเล่มเดียวที่อ่านเกิน 1 รอบ(ตอนนี้อ่านรอบที่ 4)
โดย: Toru IP: 203.156.86.26 วันที่: 28 ตุลาคม 2548 เวลา:13:04:57 น.
  
^^ เล่มใหม่ออกสักที
โดย: jack IP: 61.91.108.42 วันที่: 22 มีนาคม 2549 เวลา:18:01:19 น.
  
นาโอโกะ... ไม่ได้รักวาตานาเบะ
วาตานาเบะ... ไม่ได้รักเรโกะ
ต่างมี sex เพื่อ heal their pain

ทุกอย่างเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ
เหมือนกับคืนนั้นที่นาโอโกะเปลือย
กายใต้แสงจันทร์ พระจันทร์ก็เป็น symbolic ของความเว้าแหว่งดำมืด เช่นเดียวกับตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้
โดย: Grandpa IP: 203.146.79.130 วันที่: 12 กันยายน 2549 เวลา:17:30:17 น.
  
นาโอโกะ... ไม่ได้รักวาตานาเบะ
วาตานาเบะ... ไม่ได้รักเรโกะ
ต่างมี sex เพื่อ heal their pain

ทุกอย่างเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ
เหมือนกับคืนนั้นที่นาโอโกะเปลือย
กายใต้แสงจันทร์ พระจันทร์ก็เป็น symbolic
ของความเว้าแหว่งดำมืด
เช่นเดียวกับตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้
โดย: Grandpa IP: 203.146.79.130 วันที่: 12 กันยายน 2549 เวลา:17:32:44 น.
  
ผมอ่านเรื่องแรกคือ แดนฝันปลายขอบฟ้าครับ
แล้วก็อ่านบทเว้นบทตามที่คุณนพดลบอกไว้ แล้วพบว่า สนุกมายเลยครับ แบบว่า เฮ้อ ทำไมเค้าเขียนเรื่องได้น่าสนใจขนาดนี้
จนตามซื้อของเค้ามาทุกเล่ม แต่ก็พบว่าบางเรื่องก็อ่านแล้วเบื่อๆไปเหมือนกัน

เรื่องที่ชอบสุดเห็นจะเป็น สดับลมขับขาน ครับ
ผมต้องบอกตรงๆเลยว่าคุณนพดลเลือกคำว่าสดับลมขับขานมาแทนคำว่า hear the wind sing แล้วฟังดูเข้าท่ามาก

ส่วนเรื่องเนื้อหาของเกือบจะทุกเรื่อง ผมว่าไม่ต้องเข้าใจหรืออะไรมาก เพราะบางทีตัวละครของเค้าก็ทำอะไรไม่มีเหตุผลเลยจริงๆ แต่ก็เหมือนคนเราคือเวลาชักนำให้เราเดินทางไปในแต่ละวัน เช่นกันกับเลขหน้าที่ชักนำตัวละครให้เดินทางไปข้างหน้า ไม่มีทางหยุด ไร้เหตุผล และสุดท้ายจุดจบก็พาตัวตนของเราลงสู่อะไรบางอย่าง ได้อย่างเสมอภาค

ปล. ผมเป็นคนอ่านหนังสือน้อยมากน่ะครับ แต่พบว่าตัวเองอ่านเรื่องของมูราคามิแล้วค้นพบเลยจริงๆว่า ชีวิตมันก็เป็นเช่นว่านั่นแหละ สับสน งุงงง เคว้งคว้าง ซึมเศร้าในบางครั้ง
โดย: มนุษย์ดาวแมวน้อย IP: 58.9.149.61 วันที่: 26 มีนาคม 2550 เวลา:15:24:00 น.
  
หนังสือของมุราคามิชอบเรื่องสั้นมากกว่า เพราะคมและกระชับ
พอเป็นเรื่องยาวบางทีออกจะพล่ามมากไป
โชคดีที่อ่านจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นได้ เลยไม่ต้องเวียนหัวกับสำนวนแปล และความผิดเพี้ยนจากการถ่ายทอดผ่านสองภาษา
โดย: reiko IP: 58.8.47.27 วันที่: 3 ตุลาคม 2550 เวลา:3:46:13 น.
  
ผมอ่าน Norwegian Wood เเล้วฟังเพลง Norwegian Wood ของ เดอะ บีเทิ่ลไปด้วย ได้อารมณ์ เหงา เศร้า สุดๆ
โดย: kingcondo IP: 203.146.114.19 วันที่: 3 ตุลาคม 2550 เวลา:11:28:28 น.
  
งานแปลของคมสัน กับโตมร รวมทั้งนพดล มีการตีความที่ต่างกัน ตรงที่ความเรียบง่าย ของคมสัน นัน กับ โตมร จะอ่านเข้าใจง่ายกว่า แต่ตรงแก่นของมูราคามิยังมีอยุ๋ทั้งในแบบของคมสัน โตมร หรือ นพดล
โดย: zineki IP: 202.28.77.34 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:02:35 น.
  
อ่านแบบต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นแล้วเป็นยังไงบ้าง
โดย: zinekiza IP: 202.28.77.34 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:19:13 น.
  
พึ่ง อ่าน sputnik sweetheart จบคะ มีคำถามอยากถามคะ

1. จริงๆแล้วเกิดอะไรขึ้นกับมิว บนชิงช้าสวรรค์
2. ตอนที่ Sumire หายตัวไป คุณคิดว่าเขาไปทำอะไรคะ และ การที่เขาหายไป มีผลกระทบต่อ K และ Miu ยังไง

ขอบคุณคะ ^0^

โดย: 36 IP: 119.63.71.13 วันที่: 29 มีนาคม 2551 เวลา:14:21:33 น.
  
ตอนนี้มีเล่มใหม่ของมูราคามิที่แปลเป็น
แล้วบ้างไหมคับ ล่าสุดที่อ่านเป็น
slow boat
โดย: วิน IP: 192.193.164.8 วันที่: 28 พฤษภาคม 2551 เวลา:12:49:32 น.
  
//www.facebook.com/album.php?aid=5196&l=aaea6&id=1045874997

ราตรีมหัศจรรย์ (After Dark) แปลโดยคุณนพดล จะวางตลาด 5 สิงหาคมค่ะ สำนักพิมพ์กำมะหยี่พิมพ์ Norwegian Wood ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย กับ A Wild Sheep Chase แกะรอย แกะดาว อีกครั้งด้วยค่ะ
โดย: แอน IP: 125.24.150.126 วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:14:13:52 น.
  
กำลังอ่าน Kafka on the Shore อยู่ครับ เยี่ยมมากๆ คืนฟอร์มอีกครั้งหลังจากแอบผิดหวังเล็กๆจาก Afterdark

นอกจาก Murakami แล้ว ใครเขียนแบบ Surreal เจ๋งๆแบบนี้อีกคร้าบบบบ ช่วยแนะนำด้วยเด้อ zoe@magnum.co.th
โดย: Zoe IP: 124.121.136.233 วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:1:55:34 น.
  
ฮาจัง
เมื่อเช้าเข้ามาบล็อกคุณgrappa
เพื่อมาเข้าลิงท์ลุงมุฯ

อยู่ๆก็คิดถึง
เขาจะรู้มั๊ยนะว่ามีแฟนคนไทยคิดถึง
แล้วสนพ.จะรู้มั๊ยนะว่าเรารอ
โดย: Evil is Live วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:13:11:33 น.
  
ผมเพิ่งซื้อเกร็ดความคิดบนก้าววิ่งมาเมือวาน ตอนนี้อ่านไปได้ค่อนเล่มแล้ว ชอบที่เขาเปรียบเทียบการเขียนกับการวิ่งได้ดี อยากให้คนอ่านเล่มนี้กันมาก ๆ ได้เห็นถึงความมุ่งมั่นกับทุกเรื่องของมูราคามิครับ
โดย: ขจรฤทธิ์ IP: 125.27.51.149 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:21:06:48 น.
  
ไม่เคยอ่านเลย แต่ได้ยินชื่อมานานมาก และก็อ่าน Comment มาพอสมควร รู้สึกว่าจะอ่านยาก งง งง ต้องตีความเยอะจัง ว่าจะลอง Hard-Boiled ก่อนนะ การเรียงลำดับเรื่องคล้าย The Dispossessed ผู้ครองฟ้า นิยายวิทยาศาสตร์ ของ Ursula K.Le Guin เลย
โดย: asimov clarke IP: 210.86.209.63 วันที่: 1 สิงหาคม 2554 เวลา:1:10:32 น.

A-wild-sheep-chase.BlogGang.com

grappa
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]

บทความทั้งหมด