“ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่ปาฏิหาริย์คือการเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว”

ติช นัท ฮันท์

436 .. เสียงอ่านสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ # 3 (9-11)











เสียงอ่านสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ # 3

ลำดับที่ 9-11









ก่อนจะเป็นเสียงอ่านสามก๊ก ฉบับแปลใหม่..... ขอเชิญเปิดอ่านที่นี่ค่ะ




ขอเชิญฟังเสียงอ่าน สามก๊ก ฉบับแปลใหม่

ลำดับที่ 9-11 ค่ะ




ลำดับที่ 9.1-9.3







ลำดับที่ 10.1-10.3







ลำดับที่ 11.1-11.3







ขอเชิญติดตามตอนต่อไปในลำดับที่ 4 ค่ะ







อ า ณ า จั ก ร ส า ม ก๊ ก

จาก.....วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี









ในการปกครองบ้านเมืองของจีน ราชวงศ์ฮั่นถือเป็นราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ราชวงศ์หนึ่ง ซึ่งได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปไกล ขับไล่ชนเผ่านอกด่านออกไปจากภาคเหนือของประเทศได้ ด้านทิศเหนือครอบครองแมนจูเรียและเกาหลีบางส่วน ทิศใต้ครองมณฑลกวางตุ้งและกว่างซี รวมถึงตอนเหนือของเวียดนาม ครั้นถึงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกหรือตงฮั่น จักรพรรดิทรงอ่อนแอ ขันทีมีอำนาจเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ขุนศึกหัวเมืองต่าง ๆ พากันกระด้างกระเดื่องและตั้งกองกำลังส่วนตัวขึ้น ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านไปทั่วแผ่นดิน ราษฎรได้รับความเดือนร้อนไปทั่วจนทำให้เกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลืองขึ้น กลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ทำสงครามแย่งชิงอำนาจกันโดยไม่สนใจรัฐบาลกลาง ในที่สุดแผ่นดินจีนแตกออกเป็นสามก๊กอย่างชัดเจนภายหลังจากที่โจโฉพ่ายแพ้แก่เล่าปี่และซุนกวนในการศึกที่ผาแดง เมื่อปี พ.ศ. 751













ป ร ะ วั ติ ข อ ง ส า ม แ ค ว้ น


จาก....เว็บsamkokview.com









แคว้นเว่ย หรือเฉาเว่ย (วุยก๊ก) 曹魏 (ค.ศ. 220-265)

เป็นหนึ่งในแคว้นที่เกิดขึ้นใน “ยุคสามก๊ก” มีราชธานีอยู่ที่พระนครลั่วหยาง (ลกเอี๋ยง) สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 220 รัชสมัยของพระเจ้าเว่ยเหวินตี้ (เฉาพี ; โจผี) โดยอาศัยการวางรากฐานจากเฉาเชา (โจโฉ) ผู้บิดา โดยชื่อแคว้นเว่ยมีที่มาจากการวางระบบศักดินาของเฉาเชาในปี ค.ศ. 213 และนักประวัติศาสตร์มักจะเติมคำว่า “เฉา” 曹 ลงไปเป็น “เฉาเว่ย” เพื่อให้แตกต่างจากแคว้นเว่ยในยุคจ้านกว๋อ และแคว้นเว่ยเหนือในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ ใน ค.ศ. 220 นั้นเฉาพีบังคับเอาราชสมบัติจากพระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สถาปนาแคว้นเว่ยและราชวงศ์เว่ยขึ้นแทน กระทั่ง ค.ศ. 249 ตระกูลซือหม่า (สุมา) ได้กุมอำนาจในแคว้นเว่ยอย่างเบ็ดเสร็จ และแคว้นเว่ยสิ้นสุดลงโดยราชวงศ์จิ้นสถาปนาอำนาจแทนเมื่อ ค.ศ 265




หวางตี้รัฐเว่ยมีทั้งสิ้น 5 พระองค์

1. พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ (魏文帝) : เฉาพี (โจผี) Cao Pi 曹丕 (ค.ศ. 187-226) ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 220 – 226

2. พระเจ้าเว่ยหมิงตี้ (魏明帝) : เฉารุ่ย (โจยอย) Cao Rui曹睿 (ค.ศ. 205-239) ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 226 – 239

3. พระเจ้าเว่ยส่าวตี้ (魏少帝) : เฉาฟาง (โจฮอง) Cao Fang曹芳(ค.ศ. 232-274) ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 239 – 254

4. เกากุ้ยเซียงกง (高貴鄉公) : เฉาเหมา (โจมอ) Cao Mao曹髦 (ค.ศ. 241-260) ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 254 – 260

5. พระเจ้าเว่ยเหยวียนตี้ (魏元帝) : เฉาฮ่วน (โจฮวน) Cao Huan曹奂 (ค.ศ. 246-302) ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 260 – 265




ประวัติโดยย่อ

ในช่วงปลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ความเสื่อมโทรมของระบบการเมืองการปกครองทั้งในราชสำนักและการบริหารกิจการบ้านเมือง ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายไปทั่ว เกิดกบฏพกผ้าเหลืองซึ่งแม้จะถูกปราบปรามไปได้ แต่บรรดาขุนศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ ก็ได้ใช้โอกาสนี้สะสมกำลังทหารและสู้รบแย่งชิงดินแดนกัน เฉาเชา (โจโฉ) เป็นหนึ่งในขุนศึกเหล่านั้น เขาสามารถเข้าควบคุมราชสำนัก และองค์จักรพรรดิ พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) โดยเฉาเชาได้รับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี (เฉิงเชี่ยง 丞相) และต่อมาใน ค.ศ. 213 ได้เลื่อนขึ้นเป็นเว่ยกง (วุยก๋ง 魏公) หัวเมืองทั้งสิบที่อยู่ในปกครองของเฉาเชาจึงมีชื่อว่าแคว้นเว่ย ในขณะที่พื้นที่ภาคใต้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ปกครองโดยขุนศึกอีก 2 คนคือ หลิวเป้ย (เล่าปี่ ) และซุนเฉวียน (ซุนกวน) กระทั่ง ค.ศ. 216 เฉาเชาได้รับสถาปนาขึ้นเป็นเว่ยหวาง (วุยอ๋อง 魏王) เมื่อเฉาเชาทิวงคตในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 220 เฉาพี (โจผี) โอรสได้สืบทอดตำแหน่งเว่ยหวาง ต่อมาในวันที่ 11 ธันวาคมปีเดียวกัน เฉาพีก็บังคับให้พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้สละและมอบราชบัลลังก์ให้ตน เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่นซึ่งมีอายุยาวนานกว่าสี่ร้อยปี เฉาพีได้สถาปนาราชวงศ์เว่ยขึ้นแทน ในขณะเดียวกันเมื่อหลิวเป้ยแห่งแคว้นสู่ (จ๊กก๊ก) ก็ได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิบ้างใน ค.ศ. 221




เฉาพีครองราชย์อยู่นาน 6 ปีก็ป่วยสวรรคตในปี ค.ศ. 226 ราชสมบัติตกแก่เฉารุ่ย (โจยอย) พระราชโอรส เฉารุ่ยครองราชย์อยู่ 13 ปีก็สวรรคตในปี ค.ศ. 239 เฉาฟาง (โจฮอง) พระราชโอรสเลี้ยงของพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อ โดยใน ค.ศ. 249 ซือหม่าอี้ (สุมาอี้) ผู้ดำรงตำแหน่งราชครูได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากเฉาส่วง (โจซอง) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉาฟาง เหตุการณ์นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสูญเสียอำนาจของราชวงศ์เฉาเว่ย องค์จักรพรรดิมีสถานะเหมือนหุ่นเชิดของซือหม่าอี้ ในปี ค.ศ. 251 ซือหม่าอี้ถึงแก่อสัญกรรม แต่บุตรชายคนโตของเขาคือซือหม่าซือ (สุมาสู) ก็สืบทอดตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของบิดา ในปี ค.ศ. 254 เฉาฟางถูกซือหม่าซือถอดจากราชสมบัติแล้วยกเฉาเหมา (โจมอ) พระราชนัดดาในเฉาพีขึ้นครองราชย์แทน จนถึงจุดนี้ราชวงศ์เว่ยจึงคงอยู่แต่เพียงในนามเท่านั้น มิต่างอันใดกับราชวงศ์ฮั่นในยุคที่เฉาเชาเป็นเฉิงเชี่ยง หลังจากซือหม่าซือถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 255 ซือหม่าเจา (สุมาเจียว) น้องชายได้สืบทอดอำนาจและตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ใน ค.ศ. 260 เฉาเหมาพยายามโค่นล้มซือหม่าเจาเพื่อดึงพระราชอำนาจกลับมาแต่ล้มเหลว พระองค์ถูกเฉิงจี้ (เซงเจ) ทหารของซือหม่าเจาปลงพระชนม์ ซือหม่าเจาจึงยกเฉาฮ่วนพระราชนัดดาในเฉาเชาขึ้นเสวยราชย์ อย่างไรก็ตาม เฉาฮ่วนก็ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของซือหม่าเจาเช่นเดียวกับจักรพรรดิสององค์ก่อนที่อยู่ภายใต้อำนาจของตระกูลซือหม่า ในปี ค.ศ. 263 ซือหม่าเจาส่งสองแม่ทัพเติ้งไอ้และจงฮุ่ยนำทัพไปบุกแคว้นสู่และกองทัพของเติ้งไอ้สามารถยึดพระนครเฉิงตู (เซงโต๋) ราชธานีแคว้นสู่ได้ พระเจ้าเซี่ยวไหวหวางตี้ (孝懷皇帝) หรือ หลิวซ่าน (เล่าเสี้ยน) ยอมจำนน แคว้นสู่ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นเว่ย นับเป็นอันสิ้นสุดแคว้นสู่เป็นแคว้นแรกในสามแคว้น จากผลงานนี้ซือหม่าเจาจึงได้รับพระราชทานอิสริยยศเป็นจิ้นหวาง ต่อมาใน ค.ศ. 265 ซือหม่าเหยียน (สุมาเอี๋ยน) ผู้บุตรซือหม่าเจาซึ่งขึ้นเป็นจิ้นหวางต่อจากบิดาและบังคับเอาราชสมบัติจากเฉาฮ่วน เช่นเดียวกับที่เฉาพีเคยทำกับฮั่นเซี่ยนตี้ ซือหม่าเหยียนครองราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ (晋武帝) สถาปนาราชวงศ์จิ้นแทนราชวงศ์เว่ย นับเป็นอันสิ้นสุดแคว้นเว่ยเป็นแคว้นที่สองแห่ง “สามก๊ก”












แคว้นสู่หรือสู่ฮั่น (จ๊กก๊ก) 属汉 (ค.ศ. 221-263)

เป็นหนึ่งในแคว้นที่เกิดขึ้นใน “ยุคสามก๊ก” หลังการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น มีอาณาบริเวณอยู่ในมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ในปัจจุบัน มีราชธานีอยู่ที่พระนครเฉิงตู (เซ็งโต๋) สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 221 รัชสมัยของพระเจ้าเจาเลี่ยหวางตี้แห่งสู่ฮั่น (蜀漢昭烈皇帝) หรือหลิวเป้ย (เล่าปี่ 刘备) มีนักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเห็นว่าแท้จริงแล้วแคว้นสู่คือตัวแทนของราชวงศ์ฮั่นเพราะหลิวเป้ยนับเนื่องเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ฮั่น อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันความสับสนกับแคว้นสู่ (1046 ปีก่อนคริสตกาล – 316 ปีก่อนคริสตกาล) ในยุคชุนชิว จึงนิยมเรียกแคว้นสู่ในสมัยสามก๊กว่า “สู่ฮั่น”




รัฐสู่มีหวางตี้ทั้งสิ้น 2 พระองค์


1. พระเจ้าเจาเลี่ยหวางตี้แห่งสู่ฮั่น (蜀漢昭烈皇帝) ; หลิวเป้ย (เล่าปี่ 刘备) (ค.ศ. 161-223) ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 221-223

2. พระเจ้าเซี่ยวไหวหวางตี้ (孝懷皇帝) ; หลิวซ่าน (เล่าเสี้ยน 刘禅) (ค.ศ 207-271) ครองราชย์ ระหว่าง ค.ศ. 223-263




ประวัติโดยย่อ

ในช่วงปลายของราชวงศ์ฮั่น ค.ศ. 208- 209 หลิวเป้ยขุนศึกผู้เป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ฮั่น โดยคำแนะนำและแผนการยุทธศาสตร์หลงจงของจูเก๋อเลี่ยง (จูกัดเหลียง ; ขงเบ้ง) ทำให้หลิวเป้ยสามารถยึดครองมณฑลจิงโจว (เกงจิ๋ว) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของมณฑลหูเป่ยและมณฑลหูหนานในปัจจุบัน ต่อมาในช่วง ค.ศ. 212-215 หลิวเป้ยสามารถยึดครองมณฑลอี้โจว (เอ๊กจิ๋ว) ซึ่งครอบคลุมมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ในปัจจุบัน จากขุนศึกนามหลิวจาง (เล่าเจี้ยง) และสามารถยึดดินแดนฮั่นจง (ฮันต๋ง) จากเฉาเชาได้ใน ค.ศ. 219 อีกด้วย ในช่วงนี้เองเป็นเวลาที่กองกำลังของหลิวเป้ยยึดครองดินแดนได้กว้างขวางที่สุด หลิวเป้ยจึงสถาปนาตนเองเป็นฮั่นจงหวาง (ฮันต๋งอ๋อง 漢中王) แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง ความเป็นพันธมิตรระหว่างหลิวเป้ยและซุนเฉวียน (ซุนกวน) ก็ขาดสะบั้นลงเมื่อซุนเฉวียนส่งขุนพลหลวี่เหมิง (ลิบอง) เข้ายึดครองจิงโจวอย่างง่ายดายและขุนพลกวนอวี่ (กวนอู) ผู้ปกครองจิวโจวถูกจับและถูกซุนเฉวียนสั่งประหาร




ใน ค.ศ. 220 หลังจากการทิวงคตของเว่ยหวางเฉาเชา (วุยอ๋องโจโฉ) เฉาพี (โจผี) ผู้บุตรได้บังคับเอาราชสมบัติจากพระเจ้าฮั่นเชี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น เฉาพีขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าเว่ยเหวินตี้และสถปนาราชวงศ์เว่ยขึ้นแทนราชวงศ์ฮั่น ในปี ค.ศ. 221 เมื่อหลิวเป้ยทราบข่าวพระเจ้าฮั่นเชี่ยนตี้ถูกถอดจากราชบัลลังก์จึงได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิที่พระนครเฉิงตู นับเป็นจุดเริ่มต้นของแคว้นสู่ฮั่นอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม หลิวเป้ยไม่เคยกล่าวอ้างว่าเขาสถาปนาราชวงศ์ใหม่แต่กล่าวว่าเขาเป็นผู้สืบทอดราชวงศ์ฮั่น




ใน ค.ศ. 222 หลิวเป้ยเปิดศึกโจมตีดินแดนจิงโจวซึ่งตกไปเป็นของซุนเฉวียน เพื่อล้างแค้นให้กวนอวี่ ยุทธการครั้งนี้ชื่อว่ายุทธการเซียวถิง (อิเหลง 猇亭之戰) แต่เนื่องจากการใช้ยุทธวิธีและการตั้งค่ายที่ผิดพลาดทำให้หลิวเป้ยต้องพ่ายแพ้ยับเยิน ถูกกองทัพของลู่ซวิ่นแม่ทัพของแคว้นอู๋เผาคายทั้งหมดจนวอดวาย หลิวเป้ยต้องหนีกระเซอะกระเซิงไปพักที่เมืองไป๋ตี้เฉิง (เป๊กเต้เสีย) หลังจากนั้นหลิวเป้ยก็ประชวรหนักและเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 223 โดยไม่ได้เสด็จกลับพระนครเฉิงตูอีกเลย หลิวซ่านโอรสองค์โตของหลิวเป้ยขึ้นสืบราชสมบัติและแต่งตั้งจูเก๋อเลี่ยงเป็นอัครมหาเสนาบดี (เฉิงเชี่ยง 丞相) และแต่งตั้งหลี่เหยียน (ลิอิ๋น 李严) เป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับจูเก๋อเลี่ยงเพื่อช่วยเหลือจักรพรรดิผู้เยาว์ชันษาและขาดประสบการณ์




เมื่อจูเก๋อเลี่ยงดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีดูแลราชการบ้านเมืองทั้งปวง เขาได้ดำเนินนโยบายที่จะมุ่งโจมตีและปราบปรามแคว้นเว่ยเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น เขาจึงรีบฟื้นฟูพันธมิตรกับซุนเฉวียน (ภายหลังซุนเฉวียนได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิใน ค.ศ. 229 และแคว้นสู่ก็ให้การรับรองสถานะของแคว้นอู๋) ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. 228 – 234 จูเก๋อเลี่ยงเพียรพยายามนำทัพบุกแคว้นเว่ยถึง 6 ครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากประสบปัญหาขาดเสบียง ในที่สุดจูเก๋อเลี่ยงก็ป่วยและถึงแก่อสัญกรรมที่ทุ่งอู่จ้างหยวน หลังจากนั้นเจียงเหวย (เกียงอุย) ศิษย์เอกของจูเก๋อเลี่ยงได้สืบทอดปณิธานของอาจารย์นำทัพบุกแคว้นเว่ยถึง 9 ครั้งในระหว่าง ค.ศ. 247-262 แต่ก็ล้มเหลวและไม่สามารถตีดินแดนของแคว้นเว่ยได้เลย ในปี ค.ศ. 263 ซือหม่าจาวผู้กุมอำนาจในแคว้นเว่ยส่งกองทัพ 2 กอง นำโดยเติ้งไอ้ (เตงงาย) และจงฮุ่ย (จงโฮย) หมายจะพิชิตแคว้นสู่ฮั่น ในที่สุดเติ้งไอ้สามารถบุกยึดพระนครเฉิงตูได้ พระเจ้าหลิวซ่านยอมจำนน แคว้นสู่ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นเว่ย นับเป็นอันสิ้นสุดแคว้นสู่เป็นแคว้นแรกในสามแคว้น ในขณะเดียวกันเจียงเหวย ซึ่งตั้งยันทัพจงฮุ่ยไว้ที่เจี้ยงเก๋อ (เกียมโก๊ะ 劍閣) ได้ตัดสินใจเข้าสวามิภักดิ์ต่อจงฮุ่ย เจียงเหวยมีแผนการจะกอบกู้แคว้นสู่โดยออกอุบายให้จงฮุ่ยฟ้องซือหม่าเจา (สุมาเจียว) ว่าเติ้งไอ้เป็นกบฏ ซือหม่าจาวจึงให้จงฮุ่ยยกทัพไปปราบเติ้งไอ้ที่เฉิงตู จากนั้นเจียงเหวยก็ยุให้จงฮุ่ยตั้งตัวเป็นใหญ่ในแคว้นสู่ แต่ถูกขุนนางและนายทหารส่วนใหญ่ต่อต้าน ในที่สุดทั้งเจียงเหวยและจงฮุ่ยก็ถูกรุมฆ่าตายในปี ค.ศ. 264 ส่วนหลิวซ่านถูกคุมตัวมายังลั่วหยางและได้รับบรรดาศักดิ์เป็นอันเล่อกง (อ่านลกก๋ง 安樂公)














แคว้นหวู (ง่อก๊ก) 東吳 ( ค.ศ. 229–280)

เป็นหนึ่งในสามรัฐในช่วงยุคสามก๊ก สถาปนาราชวงศ์อู๋โดยอู๋ต้าตี้ หรือซุนเฉวียน (ซุนกวน) ภายหลังรัฐเว่ยและรัฐสู่ล้วนประกาศสถาปนาราชวงศ์ขึ้น รัฐอู๋ตั้งราชธานีที่เมืองอู่ฉาง ภายหลังค่อยย้ายราชธานีไปตั้งที่เมืองเจี้ยนเยี่ย (เมืองหนานจิงในปัจจุบัน) รัฐอู๋มีวิถีทางทางการเมืองที่ค่อนข้างยืดหยุ่นคล้อยตามสถานการณ์ ต่างกับรัฐสู่และเว่ยที่มีจุดยืนคนละสุดปลายชนิดที่ไม่อาจอยู่ร่วมฟ้าเดียวกัน อย่างไรก็ตามการคงอยู่ของรัฐอู๋ส่งผลต่อดุลยภาพโดยรวมในแผ่นดินอย่างแท้จริง แม้มีบางช่วงเวลาที่รัฐอู๋ร่วมมือกับรัฐเว่ย แต่ก็นับเป็นการชั่วคราว เพราะรัฐเว่ยมีศักยภาพที่เหนือกว่ารัฐสู่และอู๋มากนัก โดยสภาพแล้วทั้งรัฐสู่และอู๋จึงจำต้องเป็นพันธมิตรโดยปริยาย




หวางตี้รัฐหวูมีทั้งสิ้น 4 พระองค์

1.  อู๋ต้าตี้ (吴大帝) ; ซุนเฉวียน (孙权) (ค.ศ. 182 – 252) ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 229 – 252

2. ฮุ่ยจีหวาง (會稽王)
; ซุนเหลียง (孙亮) (ค.ศ. 243 – 260) ครองราชย์ระหว่างค.ศ. 252 – 258

3. อู๋จิ่งตี้(吴景帝) ; ซุนชิว (ซุนฮิว 孙休) (ค.ศ. 235 – 264) ครองราชย์ระหว่างค.ศ. 258-264

4. กุ้ยหมิงโหว ; ซุนเฮ่า (ซุนโฮ 孙皓 ) (ค.ศ. 242 – 284) ครองราชย์ระหว่างค.ศ. 264 – 280




ประวัติโดยย่อ

รากฐานของรัฐอู๋ควรกล่าวแรกเริ่มถึงซุนเจียน (ซุนเกี๋ยน) หนึ่งในขุนศึกช่วงยุคปลายราชวงศ์ฮั่น ในรัชสมัยฮั่นหวนตี้ (ฮวนเต้) การปกครองไร้ระเบียบแบบแผน ขุนนางกังฉินครองราชสำนักนำโดยสิบขันทีจ้าวองครักษ์ มีการซื้อขายตำแหน่งขุนนางอย่างชอบธรรม ขุนนางผู้ใช้เงินทองซื้อตำแหน่งก็ขูดรีดเอากับราษฎร ประชาชนอดอยากคลั่งแค้นจึงเกิดกบฎโพกผ้าเหลืองลุกฮือขึ้นก่อการ ราชสำนักไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์คับขันได้จึงประกาศให้เหล่าขุนศึกเกณฑ์กองทัพร่วมกับทัพนครหลวงออกปราบกบฎ นับแต่นั้นเหล่าขุนศึกต่างถือโอกาสสร้างกองกำลังตีชิงดินแดน ราชวงศ์ฮั่นนับวันยิ่งเสื่อมทรุดลง




ซุนเจียนเป็นหนึ่งในขุนศึกที่ชูธงออกปราบกบฎในครั้งนั้น อาศัยกองกำลังน้อยเอาชนะพวกมากได้หลายครั้ง สร้างชื่อขจรขยายไปทั่วแผ่นดิน ครั้นเหตุการณ์กบฎโพกผ้าเหลืองสงบลง ราชสำนักมีราชโองการให้เขายกไปปราบกบฎที่เมืองฉางซา ซุนเจียนทำการสำเร็จจึงถือขึ้นครองเมืองฉางซา (เตียงสา) ทั้งยังกวาดเมืองกุ้ยหยางและหลิงหลิง (เลงเหลง) เข้ามาในเขตอิทธิพล




ต่อมาต่งจวอ (ตั๋งโต๊ะ) เคลื่อนทัพซีเหลียง (เสเหลียง) เข้าควบคุมนครหลวง ปลดฮั่นเส้าตี้ลงจากราชบัลลังก์ ปลงพระชนม์เส้าตี้และบีบคั้นเหอไท่โฮ่ว (โฮไทเฮา) จนสิ้นพระชนม์ หยวนเส้า (อ้วนเสี้ยว) ป่าวประกาศชักชวนขุนศึกทั้งแผ่นดินร่วมก่อการโค่นล้มอำนาจต่งจวอ หัวเมืองต่างๆล้วนขานรับเป็นจำนวนมาก ก่อเกิดเป็นพันธมิตรกวนตง ซุนเจียนได้รับมอบหมายให้เป็นทัพหน้า นำทัพบุกทะลวงได้รับชัยชนะเรื่อยมาทั้งยังสังหารแม่ทัพหัวสยง (ฮัวหยง – ในวรรณกรรมระบุว่าถูกกวนอวี่สังหาร) ได้อีกด้วย แต่พันธมิตรกวนตงรวมตัวด้วยผลประโยชน์ เกิดความแตกแยกภายในกันเองไม่อาจกระทำการอันใดได้ ซุนเจียนที่นำทัพเข้านครหลวงลั่วหยาง (ลกเอี๋ยง) ซึ่งกลายเป็นทะเลเพลิงค้นพบตราราชลัญจกรณ์หยกเหอซื่อปี้ จึงหาข้ออ้างถอนตัวจากพันธมิตรกวนตง ยกทัพกลับเมืองฉางซา




ซุนเจียนยกทัพฉางซาข้ามลำน้ำหมายพิชิตมณฑลจิงโจว (เกงจิ๋ว) ของหลิวเปี่ยว ทัพหลิวเปี่ยวมิอาจทานได้ ซุนเจียนจึงล้อมเมืองเซียงหยาง (ซงหยง) ไว้ แต่แล้วซุนเจียนพลาดพลั้งนำทัพไล่กวดตามข้าศึกเข้าไปถึงซุ่มสังหาร จึงถูกเกาทัณฑ์จนถึงแก่กรรมในครานั้น





ซุนเช่อ (ซุนเซ็ก) บุตรชายคนโตของซุนเจียนไม่อาจตรึงสถานการณ์ไว้ได้ จำต้องอพยพถิ่นฐานไปอาศัยอยู่ด้วยหยวนซู่ (อ้วนสุด) ซุนเช่อนำทัพสร้างผลงานให้หยวนซู่หลายครั้งครา หยวนซู่ซึ่งตกปากให้บำเหน็จซุนเช่อกลับไม่รักษาสัจจะ ซุนเช่อเก็บงำความไม่พอใจ พอดีหลิวเหยา (เล่าอิ้ว) ถือตราราชสำนักเข้ามาครองมณฑลหยางโจวซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของหยวนซู่ อู๋จิ้ง (งอเก๋ง) ซึ่งเป็นน้าชายของซุนเช่อถูกทัพหลิวเหยาล้อมไว้ ซุนเช่อจึงถือโอกาสนำเอาตราราชลัญจกรณ์หยกเหอซื่อปี้ที่ตกทอดจากบิดาแลกกับการขอหยิบยืมกำลังทหารสามพันนายและแม่ทัพคนสนิทที่เคยขึ้นตรงต่อซุนเจียนเมื่อกาลก่อนจากหยวนซู่ไปก่อการ โดยอ้างว่ายกไปช่วยน้าชาย ระหว่างทางซุนเช่อพบปะโจวอวี๋ (จิวยี่) สหายสนิทคู่ใจ โจวอวี๋เข้าร่วมซุนเช่อในครานั้น ซุนเช่อ โจวอวี๋และบรรดาแม่ทัพนายกองทำศึกประสบชัย ระหว่างเดินทางมีกำลังคนเข้าร่วมก่อการด้วยมากขึ้นทุกขณะจนมีกำลังเพิ่มขึ้นหลายหมื่นนาย ซุนเช่อกำจัดหลิวเหยาแล้วบุกตะลุยยึดอาณาเขตเจียงตง (กังตัง) ทั้งหมดสำเร็จภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ขณะนั้นซุนเช่อมีอายุเพียงยี่สิบเศษเท่านั้น




ต่อมาหยวนซู่ประกาศตั้งตนเป็นจักรพรรดิไม่ขึ้นต่อราชสำนักฮั่นอีกต่อไป เฉาเชา (โจโฉ) ป่าวประกาศให้ทั้งแผ่นดินร่วมกำจัดหยวนซู่ ซุนเช่อถือโอกาสให้คราวนั้นตัดสัมพันธไมตรีกับหยวนซู่อย่างเด็ดขาด ภายหลังหยวนซู่ไม่อาจประคองตนสืบไปแตกดับไปภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซุนเช่อดำเนินกุศโลบายทั้งกวาดต้อนทั้งชักชวนแม่ทัพขุนนางตลอดจนไพร่พลสังกัดหยวนซู่มาแต่เดิมให้เข้าร่วมกันเขาทั้งสิ้น หยวนเหยาทายาทของหยวนซู่ก็ได้รับการอุปการะจากซุนเช่อให้เข้ามาอาศัยในเขตแดนเจียงตง




ทางแดนเหนือเกิดสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างเฉาเชากับหยวนเส้าที่พร้อมระเบิดศึกได้ทุกเมื่อ เฉาเชาจึงเชื่อมสัมพันธไมตรีกับซุนเช่อด้วยการจัดพิธีสมรสระหว่างบุตรีของเฉาเห ริน(โจหยิน)กับซุนควงผู้เป็นน้องชายของซุนเช่อ และให้บุตรีของซุนเปินสมรสกับเฉาจาง(โจเจียง)ผู้เป็นบุตรชายของเฉาเชาเอง โดยหวังจะให้ทางซุนเช่อสงบลงชั่วคราว




ซุนเช่อและโจวอวี๋นำทัพออกบุกตีแดนจิงโจว ประสบชัยชนะพิชิตทัพจิงโจวโดยราบคาบ พอดีแดนเหนือเกิดศึกกวนตู้ (กัวต๋อ) ซุนเช่อหันเหความสนใจไปที่สถานการณ์ภาคกลาง จึงถอนกำลังกลับเจียงตง วางแผนนำทัพเข้าภาคกลางตีหักนครหลวงสวี่ชางชิงองค์ฮั่นเชี่ยนตี้มาประทับที่เจียงตง เพื่อเสริมสร้างความชอบธรรมในการนำทัพรวมแผ่นดิน แผนการดำเนินถึงขั้นมอบหมายหน้าที่ให้แม่ทัพนายกองต่างๆเรียบร้อย แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันพลันอุบัติขึ้น ซุนเช่อกลับถูกลอบสังหารในขณะออกล่าสัตว์ ซุนเฉวียนผู้น้องจึงขึ้นเป็นผู้นำแดนเจียงตงสืบต่อจากพี่ชาย




ซุนเฉวียนอายุยังเยาว์แรกเริ่มยังไม่ได้รับการยอมรับจากขุนนางนายทหารสักเท่าใด โจวอวี๋นำกำลังพลขึ้นมาประกาศจุดยืนสนับสนุนซุนเฉวียน ซุนเฉวียนจึงขึ้นเป็นผู้นำได้อย่างมั่นคง อย่างไรก็ดีการเสียชีวิตของซุนเช่อทำให้แผนการที่วางไว้แต่แรกเริ่มเป็นอันล้มพับไปโดยปริยาย




หลังจากที่ภายในเริ่มสงบเรียบร้อย ซุนเฉวียนบัญชาแม่ทัพนายกองยกไปตีเมืองเจียงเซี่ยซึ่งขึ้นตรงต่อมณฑลจิงโจว สังหารหวงจู่ (หองจอ) ล้างแค้นให้แก่บิดา แต่แล้วเฉาเชาที่เอาชนะศึกกวนตู้ ล้มล้างตระกูลหยวนออกไปจากเวทีแห่งการช่วงชิงแผ่นดินสำเร็จก็เบนเข็มมาทางแดนใต้ เฉาเชานำทัพใหญ่ยกลงใต้ หลิวฉง (เล่าจ๋อง) บุตรชายหลิวเปี่ยวยอมจำนนโดยไม่ต่อสู้ เฉาเชาจึงได้มณฑลจิงโจวมาโดยไม่เสียกำลังทหารเสียอย่างใด หลิวเป้ย (เล่าปี่) ต้องเตลิดหนีมาอาศัยเมืองเจียงเซี่ยซึ่งหลิวฉีบุตรชายคนโตของหลิวเปี่ยวตั้งมั่นอยู่ในขณะนั้น




หลู่ซู่ (โลซก) เสนอให้ซุนเฉวียนจับมือกับหลิวเป้ยต่อต้านเฉาเชาที่กำลังเคลื่อนทัพรุกรานเจียงตงหมายรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น พันธมิตรซุนหลิวจึงถือกำเนิดในช่วงเวลานั้น ซุนเฉวียนบัญชาให้โจวอวี๋เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดนำทัพสามหมื่นร่วมทำการกับฝ่ายหลิวเป้ยสู้รบกับเฉาเชาที่สมรภูมิชื่อปี้ (เซ็กเพ็ก) เฉาเชาแตกพ่ายถอยร่นกลับภาคกลาง หลิวเป้ยนำทัพตีชิงมณฑลจิงโจวตอนล่างและขอยืมจิงโจวตอนบนต่อซุนเฉวียน โจวอวี๋คัดค้านไม่เห็นด้วย แต่หลู่ซู่เห็นว่าควรร่วมมือกับหลิวเป้ยต่อไปเพื่อต่อต้านการรุกรานของเฉาเชาที่อาจยกทัพกลับมาอีก ซุนเฉวียนคล้อยตามหลู่ซู่จึงอนุญาตให้หลิวเป้ยยืมเมือง ทั้งยังยกน้องสาวให้สมรสกับหลิวเป้ยเพื่อผูกพันมิตรภาพให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก




โจวอวี๋นำเสนอแผนการให้ซุนเฉวียนยกทัพชิงมณฑลอี้โจว (เอ๊กจิ๋ว) ซุนเฉวียนเห็นด้วยตามแผน แต่โจวอวี๋ล้มป่วยถึงแก่กรรม แผนจึงเป็นอันล้มเลิกไป หลู่ซู่ขึ้นแทนที่ตำแหน่งโจวอวี๋
ต่อมาหลิวเป้ยนำทัพเข้ามณฑลอี้โจว ตีชิงมณฑลอี้โจวและฮั่นจงได้ ซุนเฉวียนทวงถามเมืองที่หลิวเป้ยยืมไป หลิวเป้ยบ่ายเบี่ยงปฏิเสธ พันธมิตรซุนหลิวจึงเกิดรอยร้าวขึ้น เมื่อกวนอวี่ (กวนอู) นำทัพขึ้นแดนต่อสู้กับเฉาเชา หลวี่เหมิง (ลิบอง) จึงนำทัพอู๋ตลบหลังตีชิงมณฑลจิงโจวกลับคืนมาได้ทั้งหมด กวนอวี่ถูกสังหารในครานั้น




หลิวเป้ยประกาศสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งสู่ฮั่น ยกทัพมาหมายแก้แค้นให้กวนอวี่และตีชิงแดนจิงโจวกลับคืน ซุนเฉวียนเกรงรัฐเว่ย (วุยก๊ก) ฉวยโอกาสยกทัพตีกระหนาบ จึงส่งทูตไปอ่อมน้อมต่อราชสำนักเว่ย เว่ยเหวินตี้ (เฉาพี – โจผี) ยอมรับไมตรี อวยฐานันดรศักดิ์ให้ซุนเฉวียนเป็นที่ ‘อู๋หวาง’




ซุนเฉวียนแต่งตั้งลู่ซวิ่นเป็นผู้บัญชาการทัพออกรับศึกหลิวเป้ยที่สมรภูมิยีหลิง (อิเหลง) ลู่ซวิ่นตั้งรับไม่ออกรับ ล่อให้หลิวเป้ยล่วงลึกเข้ามาในแดนอู๋ เส้นทางเสบียงขนส่งลำบาก อานุภาพแหลมคมของกองทัพลดทอนลง จากนั้นลู่ซวิ่นอาศัยเพลิงกาฬเผาผลาญหลิวเป้ยทั้งกองทัพ หลิวเป้ยถอยไปตั้งที่เมืองไป๋ตี้เฉิง ประชวรถึงแก่สวรรคตในเวลาต่อมา




จูเก๋อเลี่ยง (จูกัดเหลียง – ขงเบ้ง) ขึ้นเป็นเฉิงเซี่ยง (สมุหนายก) ในรัชกาลหลิวซ่าน (เล่าเสี้ยน) ส่งเติ้งจือ (เตงจี๋) มาเจริญไมตรีทางการทูต ซุนเฉวียนเห็นว่ารัฐเว่ยเป็นรัฐใหญ่ มีศักยภาพอันเข้มแข็งที่แท้จริง จึงต้องร่วมมือกับรัฐสู่เพื่อคานอำนาจรัฐเว่ย รัฐอู๋และสู่จึงกลับเป็นพันธมิตรอีกครั้ง




เว่ยเหวินตี้พิโรธจึงยกทัพใหญ่บุกตีรัฐอู๋ แต่ประสบความพ่ายแพ้ย่อยยับ หลังจากยกกลับไปนครหลวงก็ประชวรถึงแก่สวรรคต




จูเก๋อเลี่ยงนำทัพบุกตีรัฐเว่ยและขอให้รัฐอู๋ร่วมบุกตีด้วยกันหลายครั้ง กระนั้นรัฐอู๋ก็ไม่ได้ทำประการใดมากนัก ซุนเฉวียนเห็นว่าถึงเวลาที่จะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิเยี่ยงหวางตี้อีกสองรัฐแล้ว จึงสถาปนาราชวงศ์อู๋ มีพระนามว่าอู๋ต้าตี้




ท้ายรัชกาลอู๋ต้าตี้ เกิดมรสุมเลือดช่วงชิงตำแหน่งรัชทายาท หลังจากที่รัชทายาทซุนเติงทิวงคตด้วยพระโรค ซุนเหอและซุนป้าโอรสองค์ที่สามและสี่ของอู๋ต้าตี้เปิดศึกช่วงชิงตำแหน่งรัชทายาท จบลงด้วยมรสุมโลหิตคละคลุ้ง ซุนเหอถูกถอดออกจากตำแหน่งรัชทายาท ซุนป้าถูกบีบบังคับให้กระทำอัตวินิบาตกรรม ซุนเหลียงโอรสองค์ที่เจ็ดได้รับแต่งตั้งเป็นรัชทายาทสืบแทน




อู๋ต้าตี้สวรรคตด้วยพระโรคชรา สิริพระชนมายุเจ็ดสิบชันษา ซุนเหลียงสืบราชสมบัติขึ้นเป็นหวางตี้แห่งรัฐอู๋ โดยมีจูเก๋อเค่อ (จูกัดเก๊ก) เป็นผู้สำเร็จราชการ จูเก๋อเค่อนำทัพอู๋บุกตีรัฐเว่ยไม่สำเร็จ ประสบความปราชัยกลับมา จากนั้นซุนจวุ้น (ซุนจุ๋น) ก่อการยึดอำนาจประหารชีวิตจูเก๋อเค่อทั้งครอบครัว ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ




ซุนจวิ้นล้มป่วยถึงแก่กรรม ซุนหลิน (ซุนหลิม) ขึ้นสืบทอดอำนาจ กระทำหยาบช้าข่มเหงพระเจ้าซุนเหลียง พระเจ้าซุนเหลียงวางแผนการหมายสังหารซุนหลิน แต่แผนการกลับรั่วไหล ซุนหลินจึงถอดพระเจ้าซุนเหลียงออกจากราชสมบัติ ลดฐานันดรศักดิ์เป็นที่ฮุ่ยจีหวาง ตั้งพระเจ้าซุนชิว (ซุนฮิว) โอรสองค์ที่หกแห่งอู๋ต้าตี้ขึ้นสืบราชสมบัติราชวงศ์อู๋ ทรงพระนามอู๋จิ่งตี้




อู๋จิ่งตี้ร่วมมือกับแม่ทัพติงเฟิง (เตงฮอง) สังหารซุนหลิน ยึดอำนาจกลับคืนมาสำเร็จ ไม่ปรากฎว่าอู๋จิ่งตี้เป็นจักรพรรดิที่ปรีชาสามารถ ในยุคของเขาบ้านเมืองเกิดการทุจริตมากมาย อู๋จิ่งตี้ประชวรถึงแก่สวรรคตด้วยพระชนมายุยี่สิบเก้าชันษา ภายหลังการล่มสลายของรัฐสู่ไม่นาน ด้วยเหตุที่รัชทายาทซุนวานยังเยาว์ชันษา เหล่าขุนนางจึงยกซุนเฮ่าโอรสในอดีตรัชทายาทซุนเหอขึ้นสืบราชสมบัติราชวงศ์อู๋




พระเจ้าซุนเฮ่าเป็นทรราชย์อันกักขฬะเผด็จการ ใช้จ่ายเงินในท้องพระคลังอย่างฟุ่มเฟือย เกิดการก่อกบฎหลายครั้งในรัชสมัยของพระองค์ แม้ทางการจะสามารถปราบปรามลงได้ แต่แม่ทัพขุนนางและประชาชนล้วนเสื่อมศรัทธาในตัวเขาอย่างสิ้นเชิง พระเจ้าซุนเฮ่านำทัพอู๋บุกตีรัฐจิ้น (ซือหม่าเหยียน – สุมาเอี๋ยน ล้มล้างราชวงศ์เว่ย สถาปนาราชวงศ์จิ้น) หลายครั้ง ล้วนประสบความล้มเหลว ขณะที่การบริหารภายในเป็นไปอย่างฟอนเฟะ ขุนนางผู้ใดทัดทานล้วนถูกประหารชีวิตอย่างโหดร้ายทารุณ สุดท้ายราชสำนักอู๋มีแต่ขุนนางกังฉินประจบสอพลอทั้งสิ้น ประชาชนรัฐอู๋ล้วนถูกขูดรีดจนยากจนข้นแค้น ตกอยู่ในสภาพตกต่ำลงอย่างสิ้นเชิง จิ้นอู่ตี้ (ซือหม่าเหยียน) จึงบัญชาแม่ทัพตู้อวี้นำทัพบุกทะลวงเข้ารัฐอู๋ กองกำลังรัฐอู๋มิอาจต้านทานได้ พระเจ้าซุนเฮ่าจึงยอมจำนน ราชวงศ์อู๋จึงถึงกาลอวสาน ใต้หล้าถูกรวมเป็นหนึ่งอีกครั้งภายใต้ราชวงศ์จิ้น พระเจ้าซุนเฮ่าถูกลดฐานันดรศักดิ์เป็นกุ้ยหมิงโหว และถึงแก่อนิจกรรมในอีกสี่ปีต่อมา
























ขอขอบคุณ วรรณไว พัธโนทัย ผู้แปลและเรียบเรียงสามก๊ก ฉบับแปลใหม่

ขอขอบคุณ สำนักพิมพ์ธรรมชาติ ผู้จัดพิมพ์วรรณกรรมเรื่องนี้

ขอขอบคุณ ห้องสมุดคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้จัดทำเป็นหนังสือเสียง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี และ เว็บ samkokview.com

ขอขอบคุณภาพจากทุกเว็บที่เกี่ยวเนื่องกับสามก๊ก

ขอขอบคุณเครื่องแต่งบล็อก จากบล็อกชมพร / บล็อกญามี่

และขอขอบคุณ คุณ treetree6969 ผู้จัดทำวิดีโอนี้



  สาขา Book Blog


ร่มไม้เย็น ค่ะ





 

Create Date : 28 มีนาคม 2557
26 comments
Last Update : 30 มีนาคม 2558 21:23:34 น.
Counter : 2814 Pageviews.

 

สวัสดีวันศุกร์สดใสค่ะป้ากุ๊ก
โหวตให้หนังสือทรงคุณค่าและกิจกรรมเพื่อสาธารณกุศลด้วยค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เริงฤดีนะ Sports Blog ดู Blog
ป้าคาล่า Travel Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: ที่เห็นและเป็นมา 28 มีนาคม 2557 11:56:47 น.  

 


อภัยให้แก่กันในวันนี้... ดีกว่าอโหสิให้แก่กันในวันตาย

เป็นข้อคิดที่ดีมากจะพยายามทำค่ะป้ากุ๊ก รีบมาโหวตให้ค่ะ

ไปเช็งเม้งกลับวันที่ 30 มาเลือก สวค่ะ

ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: พรไม้หอม 28 มีนาคม 2557 14:18:07 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
...........
หล่อจัง ค่ะ
555

 

โดย: รู้นะว่าคิดถึง 28 มีนาคม 2557 14:22:18 น.  

 

สวัสดีครับคุณป้ากุ๊ก

มาเยี่ยมเพื่อบอกว่าเปลี่ยนบล็อกแล้วครับ

สงสัยว่าผมคงต้องติดสามก๊กอีกแน่เลยละทีนี้ หากเริ่มอ่านละก็ตกงานแน่เลยครับ อ่านแล้ววางไม่ลงจริง ๆนา

 

โดย: find me pr 28 มีนาคม 2557 14:29:18 น.  

 

เสียงอ่านชัดเจนมากครับป้าดวง
ร.เรือชัดเจนมากเลยครับ

สามก๊กผมเองก็ชอบมากครับ
อ่านแล้วหลายรอบ
ที่สำคัญหมิงหมิงก็ชอบเหมือนผมเลยครับ 555

จำตัวละครได้เยอะกว่าผมอีกครับ



 

โดย: กะว่าก๋า 28 มีนาคม 2557 14:38:04 น.  

 

สวัสดียามเย็นค่ะคุณป้ากุ๊ก
แวะมาเยี่ยมพร้อมโหวตให้คุณป้ากุ๊กนะคะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: jamaica 28 มีนาคม 2557 15:34:33 น.  

 


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

สามก๊กส่วนมากคนจะชอบดูและ
อ่านกันหลายรอบ ที่บ้านก็ดูกันหลายรอบ
ค่ะป้ากุ๊ก

 

โดย: AppleWi 28 มีนาคม 2557 15:45:01 น.  

 

หนูก็ปล่ำกับบ้านตัวเองอยู่พักใหญ่ค่ะป้ากุ๊ก บ้านพี่นาถก็ไม่ได้...ตอนนี้โอเคแล้วค่ะ ไม่รู้จะโทษใคร หนูโทษบล็อกแก๊งค์ดีกว่า เพราะปกติไม่ค่อยมีปัญหากับบ้านตัวเองค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ที่เห็นและเป็นมา Art Blog ดู Blog
toor36 Cartoon Blog ดู Blog
sirivinit Hobby Blog ดู Blog
sirivinit Hobby Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 28 มีนาคม 2557 16:03:15 น.  

 

คุณป้ากุ๊กแข็งแรงว่องไวจังครับ

คิดถึงปุ๊บก็ได้เห็นปั๊บเลย

 

โดย: find me pr 28 มีนาคม 2557 17:59:07 น.  

 


สวัสดีค่ะป้ากุ๋ก

ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

newyorknurse

 

โดย: newyorknurse 29 มีนาคม 2557 3:40:05 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับป้าดวง


 

โดย: กะว่าก๋า 29 มีนาคม 2557 6:35:18 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
toor36 Cartoon Blog ดู Blog
foreverlovemom Diarist ดู Blog
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: อุ้มสี 29 มีนาคม 2557 21:04:56 น.  

 

การบ้านรองสุดท้าย พรุ่งนี้มาใหม่ค้าบ
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เริงฤดีนะ Sports Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

 

โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) 30 มีนาคม 2557 16:20:20 น.  

 




More Just Cartoons Comments

---------------------------
แวะมาทักทาย สบายดีนะคะ ช่วงนี้อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ แต่ใจร่มๆกันนะคะ อิอิอิ หวังว่าป้ากุ๊ก คงสบายดี

 

โดย: เกศสุริยง 30 มีนาคม 2557 22:38:41 น.  

 

สวัสดียามค่ำคืนครับ

โหวตส่งกำลังใจไปให้ป้ากุ๊กด้วยครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

 

โดย: **mp5** 30 มีนาคม 2557 22:54:57 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
กิ่งฟ้า Literature Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Travel Blog ดู Blog
Insignia_Museum Diarist ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
----------------
แวะมาโหวตให้อีกรอบค่ะป้ากุ๊ก

 

โดย: เกศสุริยง 30 มีนาคม 2557 23:10:21 น.  

 

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับป้าดวง

วันนี้ผมแวะมาดึกเลยครับ
นั่งดูบอลครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 30 มีนาคม 2557 23:21:59 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับป้าดวง

 

โดย: กะว่าก๋า 31 มีนาคม 2557 6:32:07 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog


ฟังมาหลายตอนแล้วสนุกขึ้นเรื่อยๆค่ะ ป้ากุ๊ก ตอนนี้ยังไม่ได้ฟัง จเก็บไว้ฟังตอนว่างๆ ขอบคุณนะคะ

 

โดย: ดอยสะเก็ด 31 มีนาคม 2557 6:59:33 น.  

 

ตามมา.. ฟังด้วยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: แม่ออมบุญ 31 มีนาคม 2557 13:21:31 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อดิดดีๆค่ะ


Sweet_pills Travel Blog ดู Blog
คนบ้า(น)ป่า Home & Garden Blog ดู Blog
**mp5** Dharma Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog


 

โดย: เริงฤดีนะ 31 มีนาคม 2557 17:00:30 น.  

 

บิลลี่มาแล้วนะคะ ป้ากุ๊ก อย่าลืมไปเจิมด้วย (ถ้าว่าง)

 

โดย: ดอยสะเก็ด 31 มีนาคม 2557 19:26:36 น.  

 

ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

ยาวมากป้ากุ๊กไก่ อ่านไม่ไหวค่ะ

อยากให้เขียนเป็นตอนๆจะดีกว่า
กลัวเพื่อนแค่มาแล้วก็ผ่านไป
เสียดายเนื้อหาในบล๊อกมาก
แม่ซองฯว่าตัดเป็นตอนๆ ทำให้เพื่อนๆสะดวกอ่านยิ่งขึ้นค่ะ

เห็นความพยายามของป้ากุ๊กไก่ แล้วขอชมอย่างสุดซึ้งเลย
แม่ซองฯอ่านซักสองหน้าคงไปเฝ้าพระอินทร์แล้วค่ะ

 

โดย: ซองขาวเบอร์ 9 31 มีนาคม 2557 21:43:27 น.  

 

หวัดดีค่าป้ากุ๊กไก่

เห็นอณาจักรสามก๊กแล้วเกือบแบ่งโซนเท่าๆ กันนะคะ
ไม่มีอะไรที่มากหรือน้อยเกินไปด้วย

รู้เลยว่า บล็อกนี้ป้ากุ๊กไก่ทุ่มเทเป็นอย่างมาก
เป็นบล็อกที่ทำยากบล็อกหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะ

อย่าลืมพักผ่อนมากๆ ด้วยนะคะ เห็นว่าไม่ค่อยสบาย

น้องรินมาส่งกำลังใจให้ป้ากุ๊กไก่จ้า




บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
คนบ้า(น)ป่า Home & Garden Blog ดู Blog
AppleWi Travel Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog


 

โดย: Rinsa Yoyolive 1 เมษายน 2557 0:08:59 น.  

 

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ยิ่งช่วงนี้อากาศร้อน อยากทำใจให้ผ่อนคลาย ให้อภัยนี่ก็ช่วยได้ใช่ไหมคะ

 

โดย: Love At First Click 1 เมษายน 2557 13:46:25 น.  

 

ป้ากุ๊กค่ะ สามก๊ก นี่เป็นเรื่องที่อยากอ่านละเอียดมากเลย แต่เนื้อเรื่องยาวมาก แถมตัวละครเยอะชื่อจำยาก
หนูอ่านจบไปฉบับการ์ตูน
ชอบนะว่าจะหามาอ่านอีกที่เต็มๆ
แต่ตอนนี้ไม่มีเวลา มัวแต่จมอยู่กะเพชรพระอุมาภาค 2 อิอิ
ทำเอาหนูอิน ไปอีกนาน อิอิ
ว่างๆจะกลับมาอ่านอีกค่ะ..
แล้วในรูป ใครหนอหล่อจัง..

 

โดย: tifun 1 เมษายน 2557 14:31:20 น.  


ร่มไม้เย็น
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 127 คน [?]







เริ่มเขียน Blog เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2551


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยม เมื่อเวลา 18.15 น.



Group Blog
 
 
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
28 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ร่มไม้เย็น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.