“ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่ปาฏิหาริย์คือการเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว”

ติช นัท ฮันท์
432 .. เสียงอ่านสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ # 1 (1-5)









เสียงอ่านสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ # 1


ลำดับที่ 1-5










ข อ คุ ย กั น ก่ อ น




เรื่องสามก๊ก ฉบับแปลใหม่ เป็นหนึ่งในประมาณเจ็ดสิบเรื่องที่ป้าอ่านให้กับห้องสมุดคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด ของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น....ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด) วันที่เริ่มอ่านคือ 22 กุมภาพันธ์ 2544 และอ่านจบเมื่อ 7 มิถุนายน 2544 เรื่องนี้ป้าอ่านก่อน เรื่องเพชรพระอุมา คือช่วงที่กำลังอ่านเรื่องสามก๊ก ทางศูนย์ ฯ แจ้งว่า จบจากเรื่องสามก๊กแล้วอยากจะให้อ่านเรื่องเพชรพระอุมาต่อ เรื่องเพชรพระอุมาภาคแรกนั้น มีอาสาสมัครท่านหนึ่งได้อ่านไปบ้างแล้ว แต่มีความจำเป็นบางอย่างไม่อาจจะมาอ่านต่อได้ ก็ขอให้ป้ารับหน้าที่อ่านต่อให้จบ ป้าก็เลยได้อ่านเรื่องเพชรพระอุมาต่อจากเรื่องสามก๊กด้วยเหตุนี้ (เรื่องเพชรพระอุมาทั้งภาคแรก และภาคสมบูรณ์ ป้าได้ลงในบล็อกจบไปแล้ว)




เนื่องจากในช่วงเวลาที่ป้าอ่านเรื่องสามก๊ก เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกเสียงของหน่วยงานยังมีไม่มากนัก บุคลากรก็มีน้อย การบันทึกเสียงเป็นการบันทึกลงเทปคาสเซ็ท ความยาวประมาณ 30 นาที ผู้อ่านต้องจัดแบ่งเนื้อหาที่จะอ่านแต่ละช่วงให้เหมาะกับเวลา ไม่ให้เหลือเนื้อเทปมากเกินไป ขณะเดียวกันก็ต้องไม่เกินช่วงเวลาของเนื้อเทปด้วย การอ่านเป็นการอ่านแล้วอ่านเลย ถ้าผิดก็จะผิดไปเลย ไม่มีการนำมาปรับแก้ใหม่ และผู้อ่านส่วนใหญ่อ่านแล้วก็แล้วไป ไม่ค่อยได้ติดตามหรือนำเสียงที่ตนอ่านมาฟัง ดังนั้นโอกาสที่จะแก้ไขความผิดพลาดจึงแทบจะไม่มี




ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือในช่วงนั้นห้องบันทึกเสียงไม่ได้สมบูรณ์เต็มร้อย เครื่องเสียงของหน่วยงานยังอยู่ในระดับปานกลาง บางครั้งเสียงจึงอาจจะดังไป ค่อยไป หรือบางครั้งก็มีเสียงอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านแทรกเข้ามา เช่นเสียงฝนตก ฟ้าร้อง หากเสียงภายนอกดังมากก็อาจผ่านเข้ามาในห้องบันทึกเสียงได้ ผลงานจึงอาจไม่ดีอย่างที่คาดหวัง คือได้แค่ไหนก็ต้องยอมรับกับสภาพตามองค์ประกอบที่มีอยู่ สำหรับเรื่องสามก๊ก เนื่องจากบุคลากรมีไม่พอ ทั้งอ่าน และให้เสียงประกอบป้าจึงต้องปั่นคนเดียว โดยจะมีเครื่องเปิดเสียงเล็กๆวางไว้ใกล้มือ ใช้เปิดเสียงตอนต้นเทป ปลายเทป และระหว่างตอน ซึ่งบางทีถ้ามีกรณีฉุกเฉิน เช่น เกิดจะไอกระทันหัน ก็พอจะอาศัยเปิดเสียงช่วยได้เหมือนกัน




ด้วยเหตุผลดังกล่าวผลงานเสียงจึงน่าจะอยู่ในระดับแค่พอฟังได้ หรือฟังแบบแก้ขัดเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้อ่าน และผู้บันทึกเสียงก็ขอยืนยันว่า ได้ทำงานชิ้นนี้อย่างเต็มที่ เต็มศักยภาพแล้ว และระดับงานประมาณนี้ ก็ถือว่าเพียงพอ สำหรับผู้ขาดโอกาสที่ไม่สามารถอ่านเรื่องนี้ได้ด้วยตัวเองแล้วเช่นกัน เรื่องที่ขอคุยกันก่อนก็คงจะมีแค่นี้ค่ะ






ขอเชิญฟังเสียงอ่าน สามก๊ก ฉบับแปลใหม่

ลำดับที่ 1-5 ค่ะ





ลำดับที่ 1.1-1.3






ลำดับที่ 2.1-2.3






ลำดับที่ 3.1-3.3






ลำดับที่ 4.1-4.3






ลำดับที่ 5.1-5.3







ขอเชิญติดตามตอนต่อไปในลำดับที่ 2 ค่ะ



















สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างยิ่ง แต่งขึ้นประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศ์หยวน เป็นบทประพันธ์ของหลอกว้านจง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษา และมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก มีผู้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยอยู่หลายสำนวน ฉบับที่เป็นเสียงอ่านนี้เป็นฉบับแปลใหม่ โดยวรรณไว พัธโนทัย





รู้จักกับผู้เขียนสามก๊กต้นฉบับภาษาจีน
หลอกว้านจง


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






หลัว กวั้นจง ตามสำเนียงกลาง หรือ ล่อกวนตง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีนตัวเต็ม: 羅貫中; จีนตัวย่อ: 罗贯中; พินอิน: Luó Guànzhōng) เป็นปราชญ์และนักประพันธ์ชาวจีน มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14 (ค.ศ. 1330-ค.ศ. 1400) หรือยุคปลายของราชวงศ์หยวน ต่อถึงต้นราชวงศ์หมิง




ล่อกวนตงเป็นผู้แต่งนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก และได้ชื่อว่าเป็นผู้ปรับปรุงเรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งนับเป็น 2 ใน 4 สุดยอดวรรณกรรมจีน (อีกสองเรื่องคือ ไซอิ๋ว และความฝันในหอแดง)




ชีวประวัติของล่อกวนตงไม่ใคร่แน่ชัด แต่มีการยืนยันว่าเขามีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์หยวนถึงต้นราชวงศ์หมิงจริง นักปราชญ์ผู้หนึ่งชื่อ เจียจงหมิง (賈仲明) บันทึกไว้ว่าเคยพบกับล่อกวนตงในราวปี ค.ศ. 1364 และว่าเขาเป็นชาวไท่หยวน แต่นักประวัติศาสตร์ยุคเดียวกันหลายคนต่างระบุบ้านเกิดของล่อกวนตงแตกต่างกันไป เช่นมาจากหางโจวบ้าง หรือเจียงหนานบ้าง แต่ไท่หยวน น่าจะเป็นบ้านเกิดของเขามากที่สุดเพราะเป็นที่ตั้งของบ้านตระกูลหลอ ซึ่งมีชื่อของล่อกวนตงอยู่ในสาแหรกตระกูลด้วย




นักประวัติศาสตร์วรรณกรรมจำนวนหนึ่งสงสัยว่า ล่อกวนตง กับ ซือไน่อัน เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ชื่อ ซือไน่อัน อาจเป็นเพียงนามแฝงในการประพันธ์เรื่อง 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน ก็ได้ เพราะเนื้อหาของเรื่องค่อนข้างต่อต้านรัฐบาลกลาง







รู้จักกับผู้แปลและเรียบเรียงสามก๊กฉบับแปลใหม่
วรรณไว พัธโนทัย


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี













วรรณไว พัธโนทัย (25 สิงหาคม พ.ศ. 2485 -) อดีตสมาชิกวุฒิสภา ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้บุกเบิกสัมพันธไมตรีไทย-สาธารณรัฐประชาชนจีน และผู้แปลวรรณกรรม "สามก๊ก" จากต้นฉบับเดิมของหลอกว้านจงเป็นภาษาไทย




สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดยวรรณไว พัธโนทัย เป็นอีกหนึ่งสำนวนการแปลจากต้นฉบับภาษาจีนของหลอกว้านจง ซึ่งเป็นฉบับเก่าแก่ดั้งเดิม และเป็นที่นิยมในหมู่ชาวจีนอย่างยิ่งนี้ เป็นผลงานการแปลและตรวจทานร่วมกันโดยครอบครัวพัธโนทัย ซึ่งเป็นที่ร่ำลือในหมู่นักอ่านสามก๊ก จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่า สามก๊ก ฉบับแปลใหม่ โดยวรณไว พัธโนทัย ชุดนี้ จะเป็นสามก๊กฉบับภาษาไทย 2 เล่มที่ถือได้ว่าสมบูรณ์ที่สุด





ประวัติ

วรรณไว พัธโนทัย เป็นบุตรของนายสังข์ พัธโนทัย (ที่ปรึกษาคนสนิทของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) กับนาง วิไล พัธโนทัย เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2485 เป็นบุตรคนที่ 2 ของพี่น้องทั้งหมด 5 คน ได้แก่ นายมั่น พัธโนทัย นายวรรณไว พัธโนทัย นางสิรินทร์ ฮอร์น นางผ่องศรี วอร์น วัลเด็กก์ และนางวิริยะวรรณ สาทิสสะรัต




นายวรรณไว พัธโนทัย เข้าศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยจนกระทั่งถึงชั้นมัธยม 3 จำเป็นต้องย้ายที่เรียนไปศึกษาต่อยังสาธารณรัฐประชาชนจีน (ขณะนั้นวรรณไว มีอายุได้ 12 ปี) เนื่องจากผู้เป็นบิดาคือ นายสังข์ พัธโนทัย ต้องการส่งไปอยู่ในความอุปการะของนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล เพื่อแสดงความจริงใจในการผูกมิตรระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และได้ศึกษาอยู่ที่กรุงปักกิ่งจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง





เป็นตัวประกันสานไมตรีกับจีน

สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตรงกับช่วงสมัยที่จีนเพิ่งตั้งประเทศใหม่ (จีนคอมมิวนิสต์) ได้เพียง 7 ปี ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ ที่มีประธานเหมา เจ๋อตง เป็นประธานพรรคโดยและโจว เอินไหล เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงนั้นโลกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ ค่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ และค่ายโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯร่วมกันต่อต้านจีน และสหรัฐฯเองพยายามทุกวิถีทางในการสกัดจีนไม่ให้เติบโต เมื่อสหรัฐฯแพ้คอมมิวนิสต์ในสงครามเกาหลี ทำให้ประเทศเล็กไม่แน่ใจความแข็งแกร่งของสหรัฐฯ นายสังข์ พัธโนทัย ที่ปรึกษาคนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอความคิดว่า ประเทศไทยควรปรับท่าทีใหม่ ไม่ควรเป็นศัตรูกับจีน เพราะด้วยจีนกับไทย มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันมากกว่าชาติใดๆในโลก อีกทั้งจีนยังเป็นประเทศที่กำลังฟื้นไข้และจะต้องเป็นชาติมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตอย่างแน่นอน ซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็เห็นชอบด้วย จึงได้มอบหมายงานสานสัมพันธ์ไทยกับจีนคอมมิวนิสต์ให้แก่นายสังข์ เป็นผู้ดำเนินการ




เนื่องจากนายสังข์ พัธโนทัย เป็นบุคคลที่ชอบศึกษาประวัติศาสตร์จีน และเห็นว่าจีนในอดีตมักเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยกันระหว่างก๊กต่อก๊ก ด้วยการใช้วิธีส่งลูกหรือญาติสนิทเพื่อเป็นตัวประกันในการสานสัมพันธ์ต่อกัน นายสังข์ พัธโนทัย จึงตัดสินใจส่ง เด็กชายวรรณไว พัธโนทัย กับเด็กหญิงนวลนภา (สิรินทร์) พัธโนทัย ลูกแท้ๆของตนถึงสองคน ไปอยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจในการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์อย่างลับๆก่อน ซึ่งนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล ได้ให้การอุปการะแก่ทูตน้อยทั้ง 2 เป็นอย่างดี





ถูกขับช่วงปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมในจีน

ในปี ค.ศ. 1966 (พ.ศ. 2509) ประเทศจีนเกิดการปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรมโดยการสนับสนุนของ ประธานเหมา เจ๋อตง แก๊งอ๊อฟโฟร์ (เจียงชิงภรรยาเหมา, หวังหงเหวิน, จางชุนเฉียว, เหยาเหวินหยวน) และพวกซ้ายจัดที่กุมอำนาจในจีน พยายามเข้าริดรอนอำนาจและทำร้ายเหล่านักปฏิวัติที่เคยร่วมต่อสู้มากับประธานเหมา เจ๋อตง อาทิ ประธานาธิบดี หลิวเส้าฉี, นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล, เติ้งเสี่ยวผิง ,จอมพลจูเต๋อ ฯลฯ รวมทั้งใช้นโยบายต่อต้านสหรัฐฯและสหภาพโซเวียตอย่างรุนแรง




ขณะนั้นสหรัฐกำลังปราชัยเสียฐานที่มั่นต่างๆหลายแห่งให้แก่พวกเวียดกงในสงครามเวียดนาม ซึ่งสหรัฐฯให้การสนับสนุนอยู่อย่างเต็มที่ จนสหรัฐฯเริ่มเหนื่อยหน่ายจากการสู้รบแบบยืดเยื้อ ของพวกเวียดกงซึ่งได้รับการหนุนหลังจากจีน สหรัฐฯจึงอยากยุติสงครามเวียดนามเต็มทน พอดีห้วงเวลาดังกล่าว ตรงกับช่วงที่ศาลยุติธรรมพิพากษาปล่อยตัวนายสังข์ พัธโนทัย พ้นข้อหาคดีมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ที่จอมพลสฤษดิ์ จับขังไว้เป็นเวลานานถึง 7 ปี สหรัฐรู้ว่านายสังข์ พัธโนทัย มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับจีน โดยมีการแอบส่งลูกไปอยู่กับจีนตั้งแต่เด็ก นายนอร์แมน บี ฮันน่า ที่ปรึกษาสถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย ซึ่งเคยเป็นเพื่อนกับนายสังข์มาก่อน(สมัยนายสังข์เป็นนายกสมาคมกรรมกรไทย) ได้เชิญนายสังข์ไปเลี้ยงแสดงความยินดีที่ได้รับการปล่อยตัวที่สถานทูตสหรัฐฯ และได้ปรารภกับนายสังข์ถึงเรื่องนี้ โดยขอร้องให้นายสังข์ ช่วยนำความไปเรียนนายกรัฐมนตรี โจว เอินไหลด้วยว่า สหรัฐฯยินดีจะพบปะเจรจา เพื่อขอยุติสงครามเวียดนามกับรัฐบาลจีน โดยสหรัฐฯพร้อมเจรจากับผู้แทนจีนในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีสถานทูตสหรัฐฯตั้งอยู่ก็ได้ โดยนายฮันน่าฯ ได้นำเรื่องยุติปัญหาสงครามนี้ มาเป็นข้อแลกเปลี่ยนกับการออกหนังสือเดินทางไทยให้กับนายสังข์ ซึ่งกำลังต้องการจะไปเยี่ยมลูกที่ปักกิ่งที่ไม่ได้พบหน้ากันนานเป็นเวลา 10 ปีแล้ว




เมื่อนายสังข์ ได้รับหนังสือเดินทางไทยให้เดินทางออกนอกประเทศได้แล้ว นายสังข์จึงออกเดินทางโดยใช้เส้นทางฮ่องกงมาเก๊า และดำดินเข้าประเทศจีนไปพร้อมกับนายสุวิทย์ เผดิมชิต อดีตประธานนักศึกษาธรรมศาสตร์ และเปิดการเจรจาเพื่อยุติสงครามเวียดนามขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งขณะนั้นนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ถูกแก๊งอ๊อฟโฟร์พยายามริดรอนอำนาจ ปิดบังข้อราชการบ้านเมืองต่างๆไว้แก่พวกตนดำเนินการเอง ทำให้นายกฯโจว ไม่ทราบการเดินทางมาเยือนเมืองจีนของนายสังข์ พวกเรดการ์ดในกระทรวงต่างประเทศจึงเปิดเจรจากับนายสังข์เสียเอง โดยอ้างว่า นายกฯโจวติดภาระกิจยังไม่ว่างที่จะพบ ทำให้การเจรจาครั้งนั้นล้มเหลวและพวกผู้นำเรดการ์ดได้แสดงท่าที่แข็งกร้าวกับสหรัฐฯอย่างรุนแรงโดยไม่ยอมประณีประนอมใดๆทั้งสิ้นและหลังจากพยายามเกลี้ยกล่อมนายสังข์ให้อยู่ร่วมขบวนการปฏิวัติไทยของพรรคคอมมิวนิสต์ไทยในเมืองจีนไม่สำเร็จ นายสังข์จึงถูกพวกผู้นำเรดการ์ดในกระทรวงการต่างปรเะเทศจีนส่งตัวออกจากประเทศจีนไป




ไม่ช้าไม่นาน นายวรรณไว พัธโนทัย ซึ่งแสดงท่าทีไม่ยอมอ่อนข้อต่อพวกเรดการ์ดที่พยายามเกลี้ยกล่อมให้ตัดขาดความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกกับนายสังข์และให้อยู่ร่วมขบวนการปฏิวัติไทยในเมืองจีนกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยด้วย นายวรรณไว จึงถูกตำรวจจีน 12 คน พร้อมคำประกาศของหน่วยงานความมั่นคงของจีน(กระทรวงสันติบาล) ขับออกจากประเทศจีนภายในเวลา 48 ชั่วโมง ในฐานะเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนาและถูกจับตัวส่งออกไปทางมาเก๊า




เมื่อถูกผลักออกจากแดนจีนเข้ามาเก๊าแล้ว นายวรรณไวก็ถูกตำรวจมาเก๊าจับฐานหนังสือเดินทางไทยหมดอายุไปนานแล้ว นายวรรณไวจึงประกาศขอลี้ภัยทางการเมืองกับทางการมาเก๊าและได้ส่งโทรเลขด่วนถึงนายสังข์ผู้พ่อ นายสังข์จึงนำความไปบอกนายฮันน่าฯว่า นายวรรณไว ลูกชายของตนถูกขับออกจากประเทศจีน เพราะเรื่องที่นายฮันน่าฯฝากนายสังข์ไปกระทำนั้นแหละ นายฮันน่าฯ จึงสั่งหน่วยสืบราชการลับ(CIA)ให้มารับตัวนายวรรณไวกลับมาประเทศไทย เพราะรู้ดีว่านายวรรณไว เป็นบุคคลที่รู้เรื่องราวของประเทศจีนได้ลึกซึ้งที่สุดในยุคนั้น

















ขอขอบคุณ วรรณไว พัธโนทัย ผู้แปลและเรียบเรียงสามก๊ก ฉบับแปลใหม่

ขอขอบคุณ สำนักพิมพ์ธรรมชาติ ผู้จัดพิมพ์วรรณกรรมเรื่องนี้

ขอขอบคุณ ห้องสมุดคอลฟิลด์เพื่อคนตาบอด
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้จัดทำเป็นหนังสือเสียง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขอขอบคุณภาพจากทุกเว็บที่เกี่ยวเนื่องกับสามก๊ก

ขอขอบคุณเครื่องแต่งบล็อก จากบล็อกชมพร / บล็อกญามี่

และขอขอบคุณ คุณ treetree6969 ผู้จัดทำวิดีโอนี้



สาขา Book Blog


ร่มไม้เย็น ค่ะ





Create Date : 12 มีนาคม 2557
Last Update : 30 มีนาคม 2558 21:22:43 น. 35 comments
Counter : 6505 Pageviews.

 
น่าประทับใจ และชื่นชมคนทำมากๆ ค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:15:50:33 น.  

 
ชื่นชมป้ากุ๊กและทีมงานค่ะ
และเรื่องสามก๊กนี้ก็ยอดเยี่ยมอีกด้วย

ส่งกำลังใจค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
haiku Art Blog ดู Blog
anigia Parenting Blog ดู Blog
ฝากเธอ2 Music Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ที่เห็นและเป็นมา วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:16:43:25 น.  

 
แม่หมูแวะมาเยี่ยมค่ะคุณป้ากุ๊ก

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ดรสา Blog about TV ดู Blog
พันคม Literature Blog ดู Blog
ญามี่ Education Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: jamaica วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:20:52:45 น.  

 

เพิ่งกลับมาจากเชียงใหม่แวะมาโหวตให้ป้ากุ๊กก่อนค่ะ

ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: พรไม้หอม วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:21:28:03 น.  

 
รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้มีหลายฉบับออกมานะครับ แต่ถึงยังไงผมก็ชินกับฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มากกว่า เคยได้ยินว่าฉบับบใหม่ๆ ชื่อตัวละครเปลี่ยนไปตามเสียจีนกลาง ถามว่าน่าสนใจมั้ย น่าสนใจ แต่ไม่คุ้นครับ

+


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:23:57:11 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: นธีทอง วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:0:17:24 น.  

 
หนูไม่เคยเห็นฉบับแปลโดย คุณ วรรณไว นี่เลยค่ะ น่าไปหามาเก็บไว้ (อีกแล้ว)


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ชีริว Cartoon Blog ดู Blog
schnuggy Food Blog ดู Blog
anigia Parenting Blog ดู Blog
haiku Art Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น




โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:5:39:34 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับป้ากุ๊กไก่

หมิงหมิงชอบสามก๊กมากเลยนะครับ
แล้วเค้าความจำดีมาก
จำชื่อตัวละครได้เยอะมากจริงๆครับ 555




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:6:42:17 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
ชัชชษา Literature Blog ดู Blog
ฝากเธอ Craft Blog ดู Blog
chon CH Food Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

เป็นหนังสือที่อุ้มอยากอ่านมากค่ะ
แต่ยังไม่สามารถนั่งอ่านได้นานๆ น่ะค่ะ
ไม่โหวตไม่ได้แล้วค่ะป้ากุ๊กไก่


โดย: อุ้มสี วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:9:42:07 น.  

 
หวัดดีค่าป้ากุ๊กไก่

หนังสือสามก๊กเป็นเรื่องราวที่เคยอ่านมานมนานมาก
อ่านจากตัวหนังสือแล้วก็จินตนาการด้วยความคิด ความรู้สึกบองตัวเองด้วย

พอมาได้เห็นเสียงตามมาแบบนี้
ให้ความรู้สึกเพิ่มเติมไปด้วยนะคะ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เราจินตนาการไว้ว่าเป็นแบบไหน
พอมาได้ยินเสียงเพิ่มก็ ถือว่าแปลกใหม่ให้จิินตนาการยิ่งขึ้นไปอีกค่า





โหวตและส่งกำลังใจให้ป้ากุ๊กไก่ค่า



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
AppleWi Beauty Blog ดู Blog
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog
anigia Parenting Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog




โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:10:11:37 น.  

 
โอ้โหหหห

ป้ากุ๊กไก่สุดยอดเลยอ่ะครับ อ่านเพชรพระอุมาแล้วยังอ่านสามก๊กอีก เอ่อ ถึงจะอ่านสามก๊กก่อนก็เถอะ ต้องใช้ความเพียรสุดๆทั้งนั้นเลย นับถือป้ากุ๊กไก่มากเลยครับ ขนาดผมอ่านในใจสองปีแล้วยังอ่านเพชรพระอุมายังไม่จบเลยครับ 5555 ติดอยู่ที่ภาคสอง ป้าเรียกว่าภาคสมบูรณ์ใช่มั้ยครับ นั่นล่ะๆ ส่วนสามก๊กผมเคยอ่านฉบับของยาขอบครับ หนังสือเก่าจนเปื่อยแล้ว

สืบเนื่องจากคำตอบวันก่อนโน้น เรื่องใบอนุญาตตาย คำคุณป้ากุ๊กไก่สละเวลาไปตอบให้ครับ ยินดีมากที่เมืองไทยมีกฏหมายรองรับเรื่องนี้แล้ว หวังใจว่าจะพัฒนาไปเรื่อยกระทั่งการตายไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไปครับ พอจะเจ็บทรมานก็เซ็นสั่งตายไปเลย แหม่ จริงๆแล้วรมยาสลบปุ๊บนับหนึ่งไม่ถึงห้าก็เหมือนตายไปแล้วเหมือนกันนะครับป้า


โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:15:59:48 น.  

 
สวัสดีค่ะป้ากุ๊ก
ชื่นชมที่รวบรวมได้อย่างละเอียดดีจริงๆ
งานนี้แฟนสามก๊กคงชื่นใจ แม้ว่าจะออกมาหลายเวอร์ชั่นนะคะ
เรื่องราวคลาสสิคเก่าแก่มากๆจริงๆ
เรื่องเพชรพระอุมาที่แนะนำด้วยค่ะ
ได้ยินชื่อมาตั้งแต่เด็กๆ ยังไม่มีโอกาสได้อ่านเลย

ปล..เห็นหน้าพ่อโทนี่เหลียง แล้ว อร๊ายคิดถึงๆ


ให้กำลังใจจ้า

ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog


โดย: anigia วันที่: 13 มีนาคม 2557 เวลา:21:13:15 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
กิ่งฟ้า Literature Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


สวัสดีค่าาาาป้ากุ๊กไก่
สามก๊กเป็นเรื่องที่บุ๊งนับถือผู้แต่งมากถึงมากที่สุดค่ะ
เป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ซ่อนเงื่อน และสอนคนอ่าน (และคนดู) ได้ดีมากๆๆๆๆๆ ค่ะ
บุ๊งเคยได้ดูเวอร์ชั่นหนังจีนสมัยเก่า ดาราแสดงได้ถึงบทบาทมากๆ
แต่ไม่ได้ดูเวอร์ชั่นเหลียงเฉาเหว่ยแสดงเลยค่ะ แหะๆๆๆ


โดย: Close To Heaven วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:0:32:05 น.  

 
แวะมาฟังเรื่องสามก๊กค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
find me pr Music Blog ดู Blog
ที่เห็นและเป็นมา Art Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

newyorknurse


โดย: newyorknurse วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:3:05:28 น.  

 
สวัสดีครับคุณ ร่มไม้เย็น วันนี้ ขออนุญาต add Blog ไว้เป็นเพื่อนบ้านนะครับ


โดย: นธีทอง วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:13:39:31 น.  

 
จัดไปเลยค่ะ
1 like 1 vote for book blog


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:15:53:45 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

ป้ากุ๊กเก่งมากเลยค่ะ การออกเสียงได้ชัดเจน
แบบนี้น่าจะให้เด็ก ๆ ได้ฟังนะคะ ที่บ้านชอบเรื่องนี้
กันมากค่ะ มีแผ่นเก็บไว้หนึ่งชุดเมื่อก่อนเคยนำมาดูซ้ำกัน
หลายรอบแล้ว เขาเคยนำมาเขียนเป็นการ์ตูนด้วยนะคะ
เด็ก ๆ ที่บ้านอ่านกันหลายรอบเลยค่ะ


โดย: AppleWi วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:16:31:12 น.  

 
สวัสดีครับคุณป้ากุ๊ก

เห็นเรื่องสามก๊กแล้วนึกว่าเข้าผิดบล็อกอีกน่ะ

สมัยเรียนมัธยมก็ชอบนะครับสามก๊ก แต่พอลองอ่านช่วงทำงานแล้วมันสับสนครับเพราะตัวละครเยอะมากทำให้เราไม่มีเวลาและสมาธิพอที่จะจดจำเรื่องราวได้

มาบล็อกนี้ก็ได้รู้ทั้งที่มาของเรื่องและประวัติศาสตร์คนสำคัญของเราที่ไปเกี่ยวข้องกับสงครามอีกต่างหาก ยอดจริง ๆครับ

คุณป้ากุ๊กสบายดีนะครับ ขอให้คุณแม่แข็งแรงสุขภาพดีตลอดไปนะครับ


โดย: find me pr วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:17:51:27 น.  

 
สวัสดีค่ำๆวันศุกร์ค่ะป้ากุ๊ก
แอ๋นมาขอบคุณป้ากุ๊กที่แวะไปส่งกำลังใจ
และเดินชมบรรยากาศในทะเลสาบช่วงนี้กันค่ะ
อากาศทางนี้เริ่มอุ่น ข่าวเค้าว่าเริ่มลุ้นวัน iceout
ว่าเมื่อไหร่กันสนุกๆแล้วค่ะ
โชคดีที่ได้ไปเดินก่อน ก่อนสีขาวๆที่เห็นจะกลายเป็นน้ำ
เหมือนเดิม

ทางบ้านเราเข้าหน้าร้อนเต็มตัว ป้ากุ๊กรักษาสุขภาพนะคะ


โดย: anigia วันที่: 14 มีนาคม 2557 เวลา:20:55:19 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ญามี่ Literature Blog ดู Blog
หอมกร Movie Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
คนบ้า(น)ป่า Home & Garden Blog ดู Blog
Tristy Food Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
----------------------
ราตรีสวัสดิ์ค่ะป้ากุ๊ก


โดย: เกศสุริยง วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:0:08:38 น.  

 
เข้ามาเงียบๆ และโหวตให้ป้ากุ๊กไก่
เพิ่งเคยได้ฟังเต็มๆวันนี้เอง ,ulkitc]t8;k,i^h,kd8jt
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบ้านนะคะ
เป็นเกียรติกับบล็อกมั่วๆมากค่ะ 555


โดย: โจนบ้ากับป้าแก่ๆ วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:3:39:23 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ

โหวต และไลค์ส่งกำลังใจไปให้ป้ากุ๊กด้วยครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog


โดย: **mp5** วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:6:18:49 น.  

 
สวัสดีค่ะป้ากุ๊กไก่
หนูมาทักทายวันเสาร์ และมาชวนป้ากุ๊กไก่ไปทานเค้กค่ะ


โดย: Close To Heaven วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:9:47:54 น.  

 
บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
วันนี้ป้ากุ๊กเปิดหน้าบ้านแล้ว ดีใจจัง
ขอบคุณสำหรับโหวตที่บล็อกนะคะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog




โดย: หอมกร วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:10:29:46 น.  

 
...ได้แล้วนะคะป้ากุ๊ก ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณโหวตด้วยค่ะป้ากุ๊ก


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:16:11:17 น.  

 
สวัสดีวันหยุดค่ะป้ากุ๊ก




โดย: ญามี่ วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:19:26:22 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณป้ากุ๊กไก่..

เคยไปอ่านหนังสือให้การบินไทยมา 2-3ครั้งได้ค่ะ

หลายปีมาแล้ว อัดเสียงในห้องอัด

แล้วให้คนตาบอดเปิดฟัง

ป้ากุ๊กไก่คงจะชำนาญ

ยังไงก็ขอให้มีความสุขมากๆนะค่ะ



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:21:48:24 น.  

 
โมทนาบุญกับคุณป้ากุ๊กด้วยนะครับ
ไม่ใช่เรื่องธรรมดานะครับที่คนเราจะทำงานยากๆแบบนี้ได้ สุดยอดจริงๆนะครับ

งานพบปะเพื่อนบล็อกเป็นกันเองมากๆครับ
แต่ก็ไม่ถึงกับสนิทคุยได้เยอะ
เพราะต่างคนต่างก็เพิ่งเจอตัวจริงของกันและกันครับผม อิอิ ^^





โดย: วนารักษ์ วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:22:50:47 น.  

 
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog


ดีจังเลยค่ะ ป้ากุ๊ก กำลังอยากจะอ่านเรื่องสามก๊กอยู่พอดี คิดจะไปซื้อมาอ่าน แต่ยังไม่ว่าง ทีนี้ก็ไม่ต้องเสียเงินซื้อแล้ว ตามฟังจากป้ากุ๊กดีกว่า 555


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 15 มีนาคม 2557 เวลา:23:30:05 น.  

 
อยู่บ้านป่าครับ ฟังมิได้ แต่โหวตได้ อิอิ
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
tui/Laksi Sports Blog ดู Blog
anigia Food Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog

ไว้กลับมาฟังเสียงครับ



โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 16 มีนาคม 2557 เวลา:1:29:15 น.  

 
สวัสดีครับคุณป้าครับ

คุณป้าสบายดีน่ะครับ


โดย: อัสติสะ วันที่: 16 มีนาคม 2557 เวลา:23:28:46 น.  

 
ขอบคุณ ครับ ... ผม มีเครื่อง และโปรแกรม ที่ สามารถ ตัดต่อ ทั้งภาพ และเสียง ได้ ครับ ... อยากช่วย ตัดต่อ เสียง ให้ตรับ ( ไม่ถนัด อ่าน ครับ )


โดย: ช่างภาพ อิสระ (บัวงามดี ) วันที่: 17 มีนาคม 2557 เวลา:23:14:58 น.  

 
ผมคุยกับคุณป้ากุ๊กมานานเป็นปี เพิ่งเข้ามาในบล็อกวันนี้ด้วยความที่เพิ่งสบายคลายความป่วยไข้

โดยปกติแล้วเขียนเรื่องวางในกระทู้ คลับไร้สังกัด ถนนนักเขียน และห้องสมุด กับห้องกล้องเสร็จ ก็ลงนอนครับ

ตื่นมากินอาหารกลางวันแล้วก็นอน ตอนบ่ายนี้จึงเข้ามาคุยกับเพื่อนในกระทู้ และรวมทั้งคุณนาถศรีด้วยครับ

เดี๋ยวก็จะไปเปิดบล็อกคุณนาถครับ.



โดย: เจียวต้าย วันที่: 22 พฤศจิกายน 2557 เวลา:16:42:16 น.  

 
ขอแสดงความชื่นชมท่านเจ้าของบล็อคเป็นอย่างยิ่ง ในวิริยะ อุตสาหะที่ได้กระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผมสนใจเรื่องราวของคุณวรรณไว พัธโนทัย มากขออนุญาต copy ไปเผยแพร่ต่อ เพราะมีเนื้อหาสาระที่ทรงคุณค่าเป็นประวัติศาสตร์ที่น้อยคนนักที่จะรู้เรื่องราว แม้เรื่องจะเคยได้อ่านมาบ้างแล้ว จากหนังสือของผู้เขียนที่ชื่อ รุ่งมณี เมฆโสภณ แต่เนื้อหาดูจะไม่ละเอียดเท่านี้ หวังใจว่าคงได้รับความกรุณาจากท่านครับ.


โดย: ธนวัฒน์ วงศ์พร้อมเดช IP: 223.207.104.127 วันที่: 5 มกราคม 2558 เวลา:12:13:55 น.  

 
ตอบ คุณ ธนวัฒน์ วงศ์พร้อมเดช


ขอบพระคุณที่ให้ความสำคัญกับบล็อกเล็กๆนี้ หากสิ่งที่รวบรวมไว้ในบล็อกจะเป็นประโยชน์ก็ยินดี ด้วยถือว่า เป็นการเผยแพร่ผลงานของคุณวรรณไว พัธโนทัยอีกทางหนึ่งค่ะ


โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 5 มกราคม 2558 เวลา:18:05:57 น.  

ร่มไม้เย็น
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 127 คน [?]







เริ่มเขียน Blog เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2551


เริ่มนับจำนวนผู้เข้าเยี่ยม เมื่อเวลา 18.15 น.



Group Blog
 
 
มีนาคม 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 มีนาคม 2557
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ร่มไม้เย็น's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.