นอร์เวย์เลือก F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่แบบใหม่
เมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมนอร์เวย์ได้ประกาศเลือก F-35 ให้เป็นผู้ชนะเหนือ Gripen NG ในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบใหม่จำนวน 48 เครื่องเพื่อทดแทน F-16MLU ของกองทัพอากาศนอร์เวย์ในปี 2015 ครับ
การตัดสินใจนี้ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของหลาย ๆ ฝ่ายนักครับ เนื่องจากสหรัฐและนอร์เวย์มีประวัติในการร่วมมือกันทางทหารมานาน และในอดีตกองทัพอากาศนอร์เวย์ใช้เครื่องบินรบของสหรัฐเป็นส่วนมาก อีกทั้งนอร์เวย์ยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมพัฒนา F-35 ในโครงการ Joint Strike Fighter หรือ JSF ในระดับที่ 3 ซึ่งนอร์เวย์ลงทุนไปจำนวน 125 ล้านเหรีญสหรัฐครับ
ภายใต้ข้อเสนอนี้ กองทัพอากาศนอร์เวย์จะจัดหา F-35 จำนวน 48 ลำในระหว่างปี 2016 - 2020 ด้วยงบประมาณ 18 พันล้านโครนเนอร์หรือราว 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นนอร์เวย์ยังอาจได้รับสัญญาการผลิตชิ้นส่วนหลายชื้นใน F-35 ในอนาคตอีกด้วย
ทั้งนี้ การเลือก F-35 ของนอร์เวย์นี้ทำให้เกิดผลสองอย่างตามมาทันทีครับนั่นคือ
1. สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับโครงการ F-35 ขึ้นมากอย่างมาก - เนื่องจากนอร์เวย์เป็นประเทศที่เข้าร่วมการพัฒนา F-35 การที่นอร์เวย์เลือก F-35 เป็นเครื่องบินแบบใหม่นั้นน่าจะทำให้ชาติสมาชิกของโครงการชาติอื่นที่กำลังตัดสินใจอยู่นั้นมีแนวโน้มสูงมากขึ้นไปอีกที่จะเลือก F-35 เป็นเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของตน ซึ่งจะลดโอกาสในการเกิดความล้มเหลวต่อโครงการ F-35 ให้เหลือน้อยลงมาก โดยชาติที่จะตัดสินใจต่อจากนอร์เวย์ก็คือเดนมาร์คและเนเธอแลนด์
2. เพิ่มความไม่แน่นอนให้กับโครงการ Gripen NG - เนื่องจากโครงการ Gripen NG ซึ่งเพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปในปีนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะสามารถผลิตให้กับชาติลูกค้าได้ในปี 2014 - 2015 แต่กองทัพอากาศสวีเดนอาจจะจัดซื้อ Gripen NG ตั้งแต่ราวปี 2018 เป็นต้นไป ซึ่งยังมีช่วงห่างของเวลาพอสมควร อีกทั้งตอนนี้ Gripen NG อยู่ในสนามแข่งที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งหลายแห่งนั้นยากที่ Gripen จะได้รับเลือก เช่นในอินเดีย, เดนมาร์ค และ เนเธอแลนด์ เป็นต้น ส่วน สนามแข่งขันในบราซิลนั้น แม้มีโอกาสที่ดีแต่ก็ยังเป็นรอง Rafale ของฝรั่งเศสอยู่เพราะบราซิลเลือกฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรทางการทหารอยู่แล้ว ดังนั้น Saab จึงต้องทำงานให้หนักขึ้นในบราซิล รวมถึงเตรียมการเสนอข้อเสนอที่ดีกว่าให้กับชาติลูกค้ารายใหม่ ๆ ที่กำลังจะประกาศโครงการจัดหาเครื่องบินในอนาคต
แต่ว่าเรื่องนี้คนที่ดีใจที่สุดอาจจะไม่ใช้ Lockheed Martin ซึ่งเป็นผู้ผลิต F-35 แต่อาจจะเป็น Eurofighter GmbH ผู้ผลิต Typhoon ซึ่งประกาศถอนตัวไปก่อนหน้านี้และกล่าวหาว่าการแข่งขันที่นอร์เวย์นั้นไม่ยุติธรรมและมีการลำเอียงเข้าข้างระบบของสหรัฐ การถอนตัวในครั้งนั้นคงช่วยประหยัดเงินและความพยายามไปได้จำนวนหนึ่งทีเดียว
ส่วนอีกคนที่เสียใจนอกจาก Saab แล้วก็คือ สหภาพแรงงานและสมาคมวิชาชีพหลายหน่วยงานในนอร์เวย์เช่น สมาคมอุตสาหกรรมการทหารและความั่นคงแห่งนอร์เวย์, สหภาพแรงงานอุตสาหกรรม, และสมาคมวิศวกรและนักเทคโนโลยีแห่งนอร์เวย์ ซึ่งในช่วงหลังได้ออกมาสนับสนุนอย่างเข้มแข็งให้รัฐบาลนอร์เวย์จัดหา Gripen NG แทน F-35 ของสหรัฐ โดยอ้างเหตุผลว่าข้อเสนอด้านการตอบแทนทางอุตสาหกรรมของสวีเดนนั้นคุ้มค่าและให้ประโยชน์ต่อนอร์เวย์มากกว่าข้อเสนอของสหรัฐที่ทางกลุ่มให้ความเห็นว่ายังถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไม่มากพอ โดยกล่าวว่าข้อเสนอของสหรัฐมีมูลค่า 3 หมื่นล้านโครน (158 พันล้านบาท) ในขณะที่ข้อเสนอของสวีเดนมีมูลค่าถึง 5 หมื่นล้านโครน (263 พันล้านบาท) และได้รับเทคโนโลยีเพียงพอที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมทางทหารในประเทศ
ทั้งนี้รัฐบาลนอร์เวย์ได้ให้เหตุผลว่า F-35 มีคุณสมบัติที่ตรงความต้องการทุกอย่างของนอร์เวย์ โดยเฉพาะในด้านคุณสมบัติการตรวจจับได้ยาก ระบบเซ็นเซอร์ และระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ และยังมีราคาถูกกว่า Gripen NG คือราว 52 ล้านเหรียญต่อลำ ซึ่ง Saab โต้ว่าราคาของ F-35 นั้นเป็นราคาตัวเปล่า แต่ข้อเสนอของ Saab เป็นราคาที่รวมค่าเครื่องบินและค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและซ่อมบำรุงแบบเหมาจ่ายตลอด 20 ปีซึ่งทำให้นอร์เวย์จ่ายเพียงค่าน้ำมันอย่างเดียวเท่านั้นใน 20 ปีข้างหน้า
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลนอร์เวย์ก็ได้ทำการเลือกแบบไปแล้ว แม้ว่ายังมีอีกด่านหนึ่งก็คือการขอการอนุมัติของรัฐสภาซึ่งดูแล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหา การตัดสินใจของนอร์เวย์ในครั้งนี้เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่ช่วยให้ F-35 มีอนาคตที่สดใสรออยู่ข้างหน้าครับ
Norway picks US fighters to replace aging fleet By DOUG MELLGRENAssociated Press Writer
OSLO, Norway -- The U.S.-developed F-35 fighter jet has been chosen to replace Norway's aging F-16 aircraft in a purchase that would cost the NATO member about 18 billion kroner ($2.5 billion) for 48 aircraft, officials said Thursday.
Norway chose the aircraft to replace U.S.-made F-16s in preference to JAS Gripen fighters from Sweden. The new fighters would be phased in between 2016 and 2020, the government said in a statement.
Parliament still needs to approve the deal to buy up to 48 of the F-35 Joint Strike Fighters, and one of the three parties in the governing coalition said it needed more time to discuss the deal. Opposition parties also said they want to study the conclusion.
The F-35 - a single-seat, single-engine jet - is being developed by Bethesda, Maryland-based Lockheed Martin, with engines made United Technologies Corp.'s Pratt and Whitney unit and General Electric Co.
A news release said the total cost of the deal over the aircraft's' expected 30- year life span would be about 145 billion kroner ($20.7 billion) for the fighter, weapons, maintenance, infrastructure and operations.
"The Joint Strike Fighter is the best fighter and it is the cheapest," Prime Minister Jens Stoltenberg said at a news conference. He said a majority of the coalition had agreed on the American fighter Thursday, and decided to announce its stand of the market-sensitive nature of the decision.
"We wanted everyone to have the same information," he said after the coalition began to discuss the decision with its parliamentary groups. The prime minister said Norway does not expect to sign contracts for the F-35 jets until 2014.
Defense Minister Anne-Grete Stroem-Erichsen said, "The Joint Strike Fighter is considered to be the better of the two candidates regarding intelligence and surveillance, counter air, air interdict and anti-surface warfare."
She said, "It would be a good thing to start contract negotiations (with Lockheed Martin) as soon as possible," she said. Stroem-Erichsen also said Norwegian companies would win valuable contracts as part of the deal.
Two of the three parties in Norway coalition, Labor and the Center Party said they backed the decision to choose the U.S. fighter.
The third, the anti-NATO Socialist Left party, said it needed more time to discuss the decision since it wanted to spend as little as possible on military equipment.
Socialist Left leader Kristen Halvorsen said the party would make its decision in early December.
Swedish Prime Minister Fredrik Reinfeldt said Norway's decision to drop the Gripen was "a setback" for Sweden, "but that's their decision and we have to respect that."
The European EADS consortium, which makes the Eurofighter Typhoon, broke off talks over the contract in December 2007, saying it was uncomfortable with the bidding process. The consortium declined to comment on the reasons, but Norwegian news media reported then that EADS felt the bidding process favored the Americans.
//www.star-telegram.com/190/story/1049585.html
ผลการประเมินเครื่องบินทั้งสองแบบของนอร์เวย์
อ่านเพิ่มเติม
"อิสราเอลสั่งซื้อ F-35 จำนวน 75 ลำ"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=01-10-2008&group=3&gblog=112
"การเมือง-การทหาร ตอน เรื่องวุ่น ๆ ที่นอร์เวย์"
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=15-01-2008&group=3&gblog=77
"ภาพการบินทดสอบของ F-35 Lightning II "AA-1""
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=16-03-2008&group=1&gblog=76
Create Date : 21 พฤศจิกายน 2551 |
|
20 comments |
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2551 7:59:59 น. |
Counter : 5185 Pageviews. |
|
|
|