|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
 |
10 มกราคม 2568
|
|
|
|
งานซ้อมใหญ่พยุหยาตราทางชลมารค 2567 (6)

สมุดภาพขบวนพยุหยาตราเพชรพวงทางชลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ที่คัดลอกขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีเพียงชื่อเรือและตำแหน่ง และมีรูปกล่องสีเหลี่ยมที่เขียนชื่อเรือเพื่อเป็นภาพประกอบ
แต่ภาพที่เห็นเป็นรูปร่างลักษณะเรือพระราชพิธีแบบสีที่นำมาอ้างอิงนั้น เป็นสมุดภาพชำระโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมัยรัชกาลที่ 5 ปัญหาคือโขนเรือพระที่นั่งศรีประภัสสรชัยที่เป็นหลักฐานเดียวที่เรามีในตอนนี้ มีโขนเรือรูปร่างตรงกับรูปที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ วาดเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง แต่ภาพของลาลูแบร์ ให้ภาพเรือพระที่นั่งกิ่งต่างจากเรือเอกชัยอย่างชัดเจน
ในขณะเดียวกันโขนเรือศรีประภัสสรชัยเองก็ไม่ได้เหมือนเรือเอกชัย ในภาพของลาลูแบร์ เพราะโขนเรือมีการแกะสลักลายเพิ่มเติม ต่างจากเรือเอกชัยที่ใช้เป็นเรือคู่ชักอย่างเอกชัยหลาวทอง ที่มีความเหมือนกับภาพประกอบของหนังสือลาลูแบร์
กล่าวแบบภาษาชาวบ้านว่าเรือพระที่นั่งเอกชัยในสมัยรัตนโกสินทร์ มีความผสมผสานระหว่างเรือพระที่นั่งกิ่งกับเรือพระที่นั่งเอกชัยในสมัยอยุธยา แล้วเหตุใดในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงไม่ปรากฏว่าภาพเรือพระที่นั่งกิ่ง แล้วในสมัยรัตนโกสินทร์เคยมีเรือกิ่งหรือไม่ หรือมีแล้วหายไปในตอนไหน
โคลงพยุหยาตราเพชรพวง รัชกาลที่ 1 กล่าวถึงสายเรือพระที่นั่งไว้ว่า มีเรือนำหน้าเรือพระที่นั่ง 5 ลำ คือ พระที่นั่งชลพิมานไชย พระที่นั่งไกรสรมาศ พระที่นั่งไกรสรจักร พระที่นั่งเอกไชยศรีประภัศร พระที่นั่งเอกไชยน้อย ภาพเรือสุวรรณหง @วัดปทุมวนารามเรือพระที่นั่งหลักเป็น เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งรองเป็น เรือพระที่นั่งกิ่งไกรแก้วจักรรัตน์
ต่อมาเป็นเรือเอกชัยที่เป็นเรือพระที่นั่งสำรอง 1 คู่ คือ พระที่นั่งเอกไชยไกรสรมุข พระที่นั่งศรีสุพรรณหงษ ปิดด้วยเรือคู่ชัก เรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกชัยหลาวทองในโคลงนั้นเรียกชื่อเรือพระนั่ง 2 ลำแรกว่า เรือกิ่งอย่างชัดเจน เชื่อได้ว่ารัชกาลที่ 1 ทรงฯ ทันที่จะเห็นเรือกิ่งของอยุธยาแน่นอน รวมถึงการตั้งชื่อเรือพระที่นั่ง ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับอยุธยาตอนปลาย
นอกจากเรือเอกไชยเหินหาวและเรือเอกชัยหลาวทอง ยังเรือพระที่นั่งในโคลงฯ ดังกล่าวอีกลำ ที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน คือเรือพระที่นั่งพิมานชลไชย แต่น่าเสียดายว่าไม่พบโขนเรือลำนี้ แต่หน้าเรือนั้นมีความคล้ายกันเรือพระที่นั่งประภัสสรชัยเป็นอย่างมาก ด้วยการสลักรูปเหราที่หน้าเรือ
ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าเรือพระที่นั่งนำทั้ง 5 ลำดังกล่าว จะมีความเหมือนกับเรือประภัสสรชัย โดยเป็นเรือเอกชัย ปัจจุบันเรือชลพิมานไชย เก็บรักษาอยู่ที่อู่เรือเล็กและน่าเสียดายที่เรือพระที่นั่งกิ่งนั้นไม่ปรากฏหลักฐานให้เราได้ศึกษา
เรือชลพิมานไชย @อู่เรือเล็ก ส่วนเรือสุพรรณหงส์นั้น ยังปรากฏในโคลงสรรเสริญพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่งโดยพระชำนิโวหาร ว่า การวิกว่องหว้างคู่ เคียงอิน ทรีแฮ เรือกิเลนลอยสินธุ์ เสียดคล้อย เรือหงส์พ่างหงส์บิน แบสลาบ เล่นนา เรือกิ่งเรือไชยช้อย เชิดท้ายระทวยงาม และปรากฏในลิลิตพยุหยาตราเพชรพวงของเจ้าพระยาพระคลัง พ.ศ. 2340 ว่าทำหน้าที่เป็นเรือพระที่นั่งรอง ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สุวรรณหงส์เหินเห็จฟ้า ชมสินธุ์ ดุจพ่าห์พรหมมินบิน ฟ่องฟ้อน จัตุรมุขพิมานอินทร์ อรอาสน์ เป็นที่นั่งรองร้อน ทุเรศร้างวังแรม ฯสมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีพระนิพนธ์ลิลิตกระบวนแห่พยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค ตามที่กรมหมื่นไกรสรวิชิตทรงอาราธนา ให้ภาพกระบวนเรือไว้ว่า
พระองค์ไม่โปรดฯ ให้มีเรือพระที่นั่งนำหน้า 5 ลำ ดังเช่นสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้นพระองค์ยังใช้เพียงเรือพระที่นั่งนำ สมัยรัชกาลที 1 คือเรือชลพิมานไชย มาเป็นเรือพระที่นั่งของพระองค์ โดยมีเรือมงคลสุบรรณ และเรือไชยสุพรรณหงส์เป็นเรือพระที่นั่งรอง
เรือสุวรรณเหรา @ พิพิธภัณฑ์ทหารเรือดังที่ทราบกันว่า แม้พระองค์จะดำรงสถานะเป็นพระมหากษัตริย์ แต่พระชาติกำเนิดของพระองค์นั้น ก็เป็นเพียงชั้นพระองค์เจ้า ซึ่งเป็นหนึ่งที่ทำให้เราตะหนักว่า พระองค์ทรงถ่อมพระวรกายอย่างยิ่ง
ในรัชกาลนี้ยังมีการสร้างเรือพระที่นั่งเพิ่มอีกจำนวน 24 ลำ ความว่าแล้วโปรดให้ช่างทำเรือพระที่นั่งกราบ พระที่นั่งเอกไชย พระที่นั่งประกอบ ขึ้นไว้เป็นเกียรติยศสำหรับแผ่นดิน
พระที่นั่งประกอบพื้นครามอ่อนชื่อรัตนดิลก พระที่นั่งประกอบพื้นแดงชื่อศรีสุนทรไชย พระที่นั่งเอกไชยเขียนทองพื้นแดง พระที่นั่งประกอบครุฑชื่อมงคลสุบรรณ พระที่นั่งเหราประกอบชื่อสุวรรณเหรา น่าสังเกตว่าพระองค์เลือกที่จะไม่ต่อเรือพระที่นั่งกิ่งเพิ่มเติมขึ้นเลย และมีชื่อเรือพระที่นั่งประกอบ ที่ไม่เคยปรากฏในรัชกาลอื่นขึ้นอีกด้วย ซึ่งเรือพระที่นั่งประกอบลำหนึ่งคือ เรือมงคลสุบรรณ จะเป็นเรือที่ให้รายละเอียดเราว่า น่าจะเป็นเรือที่มีการเสริมโขนเรือ ให้เป็นรูปร่างสัตว์มงคลต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นต้นแบบให้เรือพระที่นั่งยุคหลัง
ไม่ว่าจะเป็นเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ เรืออนันตนาคราช รวมถึงเรือสุพรรณหงส์ รวมเรือทั้งหมดที่มีในรัชกาลนี้มีทั้งสิ้น 56 ลำ ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนเรือพระราชพิธีในปัจจุบัน
Create Date : 10 มกราคม 2568 |
|
3 comments |
Last Update : 14 มกราคม 2568 11:13:08 น. |
Counter : 223 Pageviews. |
 |
|
|
| |
โดย: ทนายอ้วน 10 มกราคม 2568 20:28:29 น. |
|
|
|
| |
โดย: หอมกร 11 มกราคม 2568 7:53:18 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|