33.4 พระสูตรหลักถัดไป คืออาทิตตสูตร [พระสูตรที่ 41]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
33.3  พระสูตรหลักถัดไป คืออาทิตตสูตร [พระสูตรที่ 41]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=09-06-2014&group=4&gblog=26

ความคิดเห็นที่ 38
GravityOfLove, 7 มิถุนายน เวลา 22:04 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
             ๔๗. วนโรปสูตร ว่าด้วยการปลูกป่า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=966&Z=976&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาใจความว่า
                          ชนพวกไหนมีบุญ เจริญทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน
                          ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          ชนเหล่าใดสร้างอาราม (สวนไม้ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ไม้
                          (ใช้ร่มเงา) สร้างสะพาน ให้โรงน้ำเป็นทาน และบ่อน้ำ บ้านที่พักอาศัย
                          ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ เจริญทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน

                          (ระลึกถึงกุศลธรรมเมื่อไหร่ บุญก็เจริญเมื่อนั้น)
                          ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์

------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
             ๔๘. เชตวนสูตร ว่าด้วยพระเชตวันวิหาร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=977&Z=989&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดากราบทูลว่า
             (เทวดาองค์นี้คืออนาถบิณฑิกเทวบุตร มากล่าวชมเชยพระเชตวัน
พระภิกษุสงฆ์ พระตถาคตเจ้า อริยมรรค และท่านพระสารีบุตร)
                          พระเชตวันมหาวิหารนี้ อันหมู่แห่งท่านผู้แสวงคุณอยู่อาศัยแล้ว (พระสงฆ์)
                          อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาประทับอยู่แล้ว
                          เป็นแหล่งที่เกิดปีติของข้าพระองค์
                          สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยคุณธรรม ๕ ประการนี้ คือ (อริยมรรคมีองค์ ๘)
                          การงาน ๑ วิชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอย่างสูง ๑
                          หาบริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่
                          เพราะเหตุนั้นแหละ คนผู้ฉลาด เมื่อเห็นประโยชน์ของตน
                          ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายอันแยบคาย
                          เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น
                          พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น (เป็นผู้ประเสริฐ) ด้วยปัญญา
                          ศีล และความสงบ (สงบจากกิเลส)
                          ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง (นิพพาน) ภิกษุนั้นก็มีท่านพระสารีบุตรนั้นเป็นเยี่ยม

             [อรรถกถา]
             การงาน/กรรม หมายถึงมรรคเจตนา
             วิชชา/ความรู้ หมายถึงมรรคปัญญา อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
             ธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิ อีกนัยหนึ่งหมายถึงสัมมาวายามะ
(ความพยายามชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)
             ศีล หมายถึงสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
และสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
             ชีวิตอย่างสูง หมายถึงชีวิตของผู้ที่ตั้งอยู่ในศีล
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=720
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=147&bgc=honeydew
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8

[แก้ไขตาม #39]

ความคิดเห็นที่ 39
ฐานาฐานะ, 7 มิถุนายน เวลา 23:52 น.

              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต อาทิตตวรรคที่ ๕
              ๔๗. วนโรปสูตร ว่าด้วยการปลูกป่า
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=966&Z=976&bgc=honeydew&pagebreak=0
...
10:03 PM 6/7/2014

             สรุปความได้ดีครับ
             ขอเสริมดังนี้ :-
             อรรถกถาเชตวนสูตร กล่าวถึงมรรคมีองค์แปด ดังนี้ว่า
             อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิชฺชา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ. 1, 2
             บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ. 3, 4, 5
             บทว่า สีลํ ได้แก่ สัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ. 6, 7
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=147

             ขาดข้อสัมมาอาชีวะ 1 ข้อ เมื่อตรวจดูอรรถกถาบาลีและอรรถกถา
อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ซึ่งมีเนื้อความคล้ายกัน จึงได้เห็นว่า
             อรรถกถาเชตวนสูตร ฉบับบาลี มีหมายเหตุหรือเชิงอรรถว่า
             สีลนฺติ วาจากมฺมนฺตา. ๑-
เชิงอรรถ:   ฉ.ม.,อิ....กมฺมนฺตาชีวา
             นัยก็คือ
             บทว่า สีลํ ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ.
เป็นอันครบแปด. 6, 7, 8
             ส่วนอรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร ฉบับบาลี ใช้คำว่า
                  สีลนฺติ  วาจากมฺมนฺตาชีวา ฯ
             แปลความตามอรรถกถาภาษาไทยว่า
                  การพูด การงานและการเลี้ยงชีพ ชื่อว่าศีล.
             ความก็คือ
             บทว่า สีลํ ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=720
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=10&item=381&Roman=0&PageMode=1

             อรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร
             อรรถกถาบาลี จากฉบับเรียนธรรม เล่ม 9 หน้า 871
             อถ  วา  วิชฺชาติ  ทิฏฺฐิสงฺกปฺโป ฯ  ธมฺโมติ  วายามสติสมาธโย ฯ
สีลนฺติ  วาจากมฺมนฺตาชีวา ฯ  ชีวิตมุตฺตมนฺติ  เอตสฺมึ
สีเล  ปติฏฺฐิตสฺส  ชีวิตํ  นาม  อุตฺตมํ ฯ
             อรรถกถาบาลี จาก budsir.mahidol.ac.th
             อถ วา  วิชฺชาติ ทิฏฺฐิสงฺกปฺโป. ธมฺโมติ วายามสติสมาธโย.
สีลนฺติ วาจากมฺมนฺตาชีวา. ชีวิตมุตฺตมนฺติ เอตสฺมึ
สีเล  ปติฏฺฐิตสฺส ชีวิตํ นาม อุตฺตมํ.
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=10&item=381&Roman=0&PageMode=1

             อรรถกถาเชตวนสูตร ภาษาบาลี จาก budsir.mahidol.ac.th
             อถวา วิชฺชาติ ทิฏฐิสงฺกปฺปา. ธมฺโมติ วายามสติสมาธโย.
สีลนฺติ วาจากมฺมนฺตา. ๑- ชีวิตมุตฺตมนฺติ เอตสฺมึ สีเลฐิตสฺส ชีวิตํ นาม อุตฺตม.
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=11&item=48&Roman=0&PageMode=1
เชิงอรรถ:   ฉ.ม.,อิ....กมฺมนฺตาชีวา
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=11&item=49&Roman=0&PageMode=1

ความคิดเห็นที่ 40
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 00:20 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๔๗. วนโรปสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=966&Z=976
              ๔๘. เชตวนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=977&Z=989

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 41
GravityOfLove, 8 มิถุนายน เวลา 06:35 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๔๗. วนโรปสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=966&Z=976

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ชนเหล่าใดสร้างอาราม (สวนไม้ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ไม้
               (ใช้ร่มเงา) สร้างสะพาน และชนเหล่าใดให้โรงน้ำเป็นทาน
               และบ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ เจริญ
               ในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ใน
               ธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์

-----------------

              ๔๘. เชตวนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=977&Z=989

             อนาถบิณฑิกเทวบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาค ความตอนหนึ่งว่า
             สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์
             ซึ่งพระศาสดาทรงพอพระทัย เรื่องนี้เคยศึกษาแล้วใน อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
             (อนาถปิณฑิกคฤหบดีถึงแก่กรรมไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต แล้วกลับมา
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลคาถานี้)
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9311&Z=9524
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=26-03-2014&group=3&gblog=44

ความคิดเห็นที่ 42
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 14:18 น.

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
...
6:35 AM 6/8/2014

              ตอบคำถามได้ดีทั้งสองพระสูตร.
              ขอเสริมดังนี้ :-
              ในพระสูตรชื่อว่า วนโรปสูตร ก็พอเห็นตัวอย่างของความประพฤติ
ของท้าวสักกะในอดีต.
              ๗. เรื่องท้าวสักกะ [๒๑]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=7

ความคิดเห็นที่ 43
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 14:22 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า วนโรปสูตรและเชตวนสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=966&Z=989

              พระสูตรหลักถัดไป คือ มัจฉริสูตร [พระสูตรที่ 49].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              มัจฉริสูตรที่ ๙
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=990&Z=1023
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=148

ความคิดเห็นที่ 44
GravityOfLove, 8 มิถุนายน เวลา 06:52 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๔๙. มัจฉริสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=990&Z=1023&bgc=honeydew&pagebreak=0

             บุคคลแม้มิใช่ทายก ย่อมทำราวกะว่าเป็นทายก คือเป็นผู้ประกอบด้วยเหตุอันใดนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาบุคคลผู้มีความตระหนี่จัด (ถัทธมัจฉริยะ) คือว่า อุบาสกนั้นประกอบด้วยมัจฉริยะอันใด เมื่อมีผู้กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พระเถระทั้งหลายยืนอยู่แล้ว ดังนี้ ก็จะพูดว่า เท้าของเราเจ็บมิใช่หรือ จะเป็นผู้กระด้างยืนอยู่ ดุจเสาหินหรือดุจตอไม้ ย่อมไม่กระทำแม้สามีจิกรรม.

             ๕๐. ฆฏิกรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1024&Z=1074&bgc=honeydew&pagebreak=0
             ในฆฎิการสูตร ช่างหม้อฆฏิการะได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
ในพระสูตรที่กำลังเรียนนี้ ฆฏิการะช่างหม้อซึ่งได้อุบัติเป็นฆฏิการพรหมแล้ว
มาทูลพระผู้มีพระภาคถึงภิกษุ ๗ รูปที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว
             ตัวฆฏิการพรหมเอง ก็เป็นพระอรหันต์แล้วเหมือนกันใช่ไหมคะ
             ฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6596&Z=6824

             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 45
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 14:50 น.  

GravityOfLove, 7 ชั่วโมงที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๔๙. มัจฉริสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=990&Z=1023&bgc=honeydew&pagebreak=0

             บุคคลแม้มิใช่ทายก ย่อมทำราวกะว่าเป็นทายก คือเป็นผู้ประกอบด้วยเหตุอันใดนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาบุคคลผู้มีความตระหนี่จัด (ถัทธมัจฉริยะ) คือว่า อุบาสกนั้นประกอบ ด้วยมัจฉริยะอันใด เมื่อมีผู้กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พระเถระทั้งหลาย ยืนอยู่แล้ว ดังนี้ ก็จะพูดว่า เท้าของเราเจ็บมิใช่หรือ จะเป็นผู้กระด้างยืนอยู่ ดุจเสาหิน หรือดุจตอไม้ ย่อมไม่กระทำแม้สามีจิกรรม.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=148

             อธิบายว่า
             บุคคลแม้มิใช่ทายก ย่อมทำราวกะว่าเป็นทายก
             น่าจะหมายความว่า ไม่ได้ถวายอะไรๆ แต่ทำอาการดุจเป็นผู้ถวาย
เช่น เวลามีการอนุโมทนา ก็ทำประหนึ่งว่า การอนุโมทนานั้นมีขึ้น
เพราะการถวายทานของตนเอง
             กรณีว่า ซองกฐินผ้าป่าที่คนถวายแต่ไม่ได้ลงชื่อ ก็ใส่ตนเองเป็นผู้ถวาย
น่าจะเข้าข้อนี้ว่า บุคคลแม้มิใช่ทายก ย่อมทำราวกะว่าเป็นทายก.
             บุคคลนี้เป็นผู้กระด้าง คือไม่ทำความเคารพนบนอบเลย
โดยทำอาการว่า เจ็บเท้า นั่งลำบาก จึงไม่นั่งลงกราบไหว้เป็นต้น
หากคนถามว่า ทำไมท่านไม่นั่งลง ทำไมไม่กราบ ก็อ้างว่า
เราเจ็บเท้า นั่งลงลำบาก.

             ๕๐. ฆฏิกรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1024&Z=1074&bgc=honeydew&pagebreak=0
             ในฆฎิการสูตร ช่างหม้อฆฏิการะได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
ในพระสูตรที่กำลังเรียนนี้ ฆฏิการะช่างหม้อซึ่งได้อุบัติเป็นฆฏิการพรหมแล้ว
มาทูลพระผู้มีพระภาคถึงภิกษุ ๗ รูปที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว
             ตัวฆฏิการพรหมเอง ก็เป็นพระอรหันต์แล้วเหมือนกันใช่ไหมคะ
             ฆฏิการสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=6596&Z=6824

             ตอบว่า น่าจะบรรลุพระอรหันต์แล้ว เพราะ
             1. กำหนดรู้จิตของบุคคลที่อุบัติในอวิหา พรหมโลก
ว่า ท่านผู้นี้ๆ บรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาค.
             2. พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ชัดเจนว่า
                   สหายเก่าทั้งสอง ผู้มีตนอันอบรมแล้ว
ทรงไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด ได้มาพบกันด้วยอาการอย่างนี้ ฯ
             คือ ทั้งพระผู้มีพระภาคและท่านฆฏิกรพรหม อบรมแล้ว หรืออบรมจบแล้ว
ฝึกฝนจบแล้ว ศึกษาจบแล้ว คือ เป็นพระอเสขบุคคล.
             ทรงไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด คือ กายนี้เป็นกายสุดท้ายแล้ว ไม่มีปฏิสนธิ
เพื่อกายในภพใหม่อีกแล้ว.

ความคิดเห็นที่ 46
GravityOfLove, 8 มิถุนายน เวลา 21:15 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่




Create Date : 09 มิถุนายน 2557
Last Update : 23 มิถุนายน 2557 9:42:00 น.
Counter : 725 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog