36.5 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 36.4 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71] //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=24-06-2014&group=4&gblog=39 ความคิดเห็นที่ 55 ความคิดเห็นที่ 56 ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน 2557 เวลา 20:52 น. GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว ... 8:44 PM 6/19/2014 ตอบคำถามได้ดีครับ คาถาต่างๆ เหล่านี้ อาจจะได้พบอีกในพระสูตรข้างหน้า เช่น พรหมณ์ทูลถามเป็นต้น หรืออาจจะมาในชาดกต่างๆ. ความคิดเห็นที่ 57 ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน 2557 เวลา 21:00 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า นชีรติสูตรและอิสสรสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1309&Z=1338 พระสูตรหลักถัดไป คือ กามสูตร [พระสูตรที่ 78]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค กามสูตรที่ ๘ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1339&Z=1346 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=213 ความคิดเห็นที่ 58 GravityOfLove, 19 มิถุนายน 2557 เวลา 21:27 น. กรุณาอธิบายค่ะ ๗๘. กามสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1339&Z=1346&bgc=honeydew&pagebreak=0 บทว่า ไม่พึงให้ซึ่งตน นี้ ท่านอธิบายว่า ยกเว้นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว บุคคลไม่พึงให้ซึ่งตนโดยการทำตนให้เป็นทาสของผู้อื่น. บทว่า น ปริจฺจเช อธิบายว่า ยกเว้นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่นแหละ. บุคคลไม่พึงสละซึ่งตนให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีสีหะและพยัคฆ์ร้ายเป็นต้น. ----------- ๗๙. ปาเถยยสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1347&Z=1357&bgc=honeydew&pagebreak=0 จริงอยู่ โภคะทั้งหลายย่อมมาจากทางบกบ้าง ทางน้ำบ้าง มุ่งหน้าเฉพาะผู้เป็นใหญ่เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิริเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ ดังนี้. ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 59 ฐานาฐานะ, 19 มิถุนายน 2557 เวลา 21:58 น. GravityOfLove, 14 นาทีที่แล้ว กรุณาอธิบายค่ะ ๗๘. กามสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1339&Z=1346&bgc=honeydew&pagebreak=0 บทว่า ไม่พึงให้ซึ่งตน นี้ ท่านอธิบายว่า ยกเว้นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว บุคคลไม่พึงให้ซึ่งตนโดยการทำตนให้เป็นทาสของผู้อื่น. บทว่า น ปริจฺจเช อธิบายว่า ยกเว้นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่นแหละ. บุคคลไม่พึงสละซึ่งตนให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีสีหะและพยัคฆ์ร้ายเป็นต้น. . อธิบายว่า นัยว่า บุคคลควรให้ทาน แต่ไม่ควรให้ชีวิตของตนแก่ใครๆ เพราะเมื่อให้ไปแล้ว หรือให้โอกาสให้ฆ่าเราแล้ว ก็หมดโอกาสที่จะเจริญ กุศลธรรมหรือสมณธรรม. หรือแม้ก็ยอมตนเป็นทาส ย่อมหมดโอกาสจะบวช หรือ เจริญกุศลธรรมอื่นๆ เพราะต้องทำตามคำสั่งนายทาส. ให้ทรัพย์ ให้อาหาร ให้ผ้า ให้ยา ให้ที่อยู่ ให้อภัย ควรให้อยู่. ที่ว่า ยกเว้นพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย น่าจะเป็นเพราะเหตุว่า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญบารมีเพื่อการตรัสรู้เองโดยชอบ ดังนั้น การบำเพ็ญกุศลธรรมต่างๆ ย่อมต้องยิ่งยวดกว่า การตรัสรู้ตามของเหล่าพระสาวก. ----------- ๗๙. ปาเถยยสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1347&Z=1357&bgc=honeydew&pagebreak=0 จริงอยู่ โภคะทั้งหลายย่อมมาจากทางบกบ้าง ทางน้ำบ้าง มุ่งหน้าเฉพาะผู้เป็นใหญ่เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิริเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ ดังนี้. . อธิบายว่า นัยว่า สิริ น่าจะสภาพของบุคคลผู้อันกุศลกรรม พร้อมจะให้ผล ดังนั้น โภคะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น เพราะกุศลกรรมพร้อมจะให้ผล ถามคุณ GravityOfLove กลับว่า จำเรื่อง สิริ นี้ได้หรือไม่ว่า สิริ มีข้อเสียอย่างไรตามที่เคยได้ศึกษามาแล้ว? ความคิดเห็นที่ 60 GravityOfLove, 19 มิถุนายน 2557เวลา 23:57 น. ทำให้มัวเมาประมาทได้ค่ะ ความคิดเห็นที่ 61 ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 00:12 น. GravityOfLove, 12 นาทีที่แล้ว ทำให้มัวเมาประมาทได้ค่ะ 11:57 PM 6/19/2014 จากพระสูตรหรือชาดกไหนครับ? ความคิดเห็นที่ 62 GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 00:42 น. ปัญจุโปสถิกชาดก ว่าด้วยนกพิราบ พระโพธิสัตว์บวชเป็นดาบสแล้วก็ยังหมกหมุ่นในอกุศลธรรม คือมานะ ถือตัวว่า เกิดในตระกูลสูง (พราหมณ์) มัวเมาว่า ตนประเสริฐด้วยชาติกำเนิด ทำให้สมณธรรมไม่เจริญ พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงมาตักเตือน พระโพธิสัตว์ก็ถือตัว ไม่รับฟัง พอพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จไปแล้ว จึงสำนึกได้ [๑๙๖๐] พระปัจเจกพุทธะรูปหนึ่ง ผู้ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส นั่งอยู่ในอาศรมของ ฉันครู่หนึ่ง ท่านได้บอกให้ฉันทราบถึงที่ไปที่มา นามโคตรและจรณะทุก อย่าง ถึงอย่างนั้น ฉันก็มิได้กราบไหว้เท้าทั้ง ๒ ของท่าน อนึ่ง ฉันก็มิได้ ถามถึงนามและโคตรของท่านเลย เพราะเหตุนั้น ฉันจึงรักษาอุโบสถ ด้วยคิดว่า มานะอย่าได้มาถึงฉันอีกเลย. //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=7559&Z=7602 -------------------- ทรีมุขชาดก ว่าด้วยโทษของกาม พระโพธิสัตว์เมื่อได้เสวยราชสมบัติแล้ว แต่เพราะเป็นผู้มียศมาก จึงทรงเป็นผู้มัวเมาด้วยยศ ไม่ทรงรำลึกถึงทรีมุขกุมารผู้เป็นพระสหายเป็นเวลาหลายสิบปี ต่อมาภายหลัง แม้เมื่อทรงนึกขึ้นได้ แม้ทรีมุขกุมารซึ่งออกบวชและบรรลุเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว มาเตือนให้ทรงสละกาม ออกบวช ก็ไม่ทรงยินยอมจะบวช [๘๔๔] ดูกรพราหมณ์ ข้าพเจ้ายังกำหนัดยินดีลุ่มหลงในกามทั้งหลายอยู่ ยังมี ความต้องการความเป็นอยู่อย่างนี้ จึงไม่สามารถจะละกามอันน่ากลัวนั้น ได้ แต่ข้าพเจ้าจะกระทำบุญเป็นอันมาก. //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=3870&Z=3894 [แก้ไขตาม #69] ความคิดเห็นที่ 63 ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 00:56 น. เฉลยว่า สุธาโภชนชาดก ครับ. สุธาโภชนชาดก [บางส่วน] [๒๗๔] ลำดับนั้น นางเทพกัญญา ๔ องค์ คือ นางอาสา นางศรัทธา นางสิริ . และนางหิริ ผู้มีผิวพรรณเปรียบดังทองคำ ซึ่งท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่า เทวดาทรงอนุมัติส่งไปแล้ว ได้ไปยังอาศรมอันเป็นที่อยู่ของโกสิยดาบส โกสิยดาบสได้เห็นนางเทพกัญญาทั้งปวงนั้น ผู้บันเทิงอย่างยิ่ง มี ผิวพรรณงามดังเปลวเพลิง จึงได้กล่าวกะนางเทพกัญญาทั้ง ๔ ในทิศ ทั้ง ๔ ต่อหน้ามาตลีเทพสารถีว่า ดูกรเทวดาในบุรพทิศ ท่านผู้ประดับ ประดาแล้ว งดงามดังดวงดาวประกายพฤกษ์ อันประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย ท่านมีชื่อว่าอย่างไร จงบอกไป ดูกรเทวดาผู้มีร่างกายคล้ายกับรูปทองคำ อาตมาขอถามท่าน ท่านจงบอกแก่อาตมา ท่านเป็นเทวดาอะไร. [๒๗๕] ดิฉันชื่อว่า สิริเทวี ได้รับการบูชาในหมู่มนุษย์ เป็นผู้ไม่เสพสัตว์ลามก ทุกเมื่อ มาสู่สำนักของพระคุณเจ้า เพราะความทะเลาะกันด้วยสุธาโภชน์ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้มีปัญญาอันประเสริฐ ขอพระคุณเจ้าจงแบ่งสุธาโภชน์ นั้นให้ดิฉันบ้าง ข้าแต่ท่านมหามุนีผู้สูงสุดกว่าผู้บูชาทั้งหลาย ดิฉัน ปรารถนาความสุขแก่นรชนใด นรชนนั้นย่อมบันเทิงด้วยกามคุณารมณ์ ทั้งปวง ขอพระคุณเจ้าจงรู้จักดิฉันว่า สิริ ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้มีปัญญา อันประเสริฐ ขอได้โปรดแบ่งสุธาโภชน์นั้นให้ดิฉันบ้าง. [๒๗๖] นรชนทั้งหลายผู้ประกอบด้วยศิลปะ วิทยา จรณะ ความรู้ และการงาน . ของตน มีความเพียร เป็นผู้ที่ท่านละทิ้งเสียแล้ว ย่อมไม่ได้ประโยชน์ . อะไร ความขาดแคลนที่ท่านทำแล้วนั้นไม่ดีเลย อาตมาเห็นนรชนผู้เป็น . คนเกียจคร้าน บริโภคมาก ทั้งมีตระกูลต่ำ มีรูปแปลก ดูกรนางสิริ . บุคคลผู้มีโภคทรัพย์ มีความสุข ย่อมใช้สอย นรชนที่ท่านตามรักษาไว้ . แม้จะสมบูรณ์ด้วยชาติ ให้เป็นเหมือนทาส เพราะฉะนั้น อาตมารู้จัก . ท่าน (ว่าเป็น) ผู้ไม่มีสัจจะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร แล้วคบคนผู้ . สมบูรณ์ด้วยศิลปะเป็นต้น เป็นผู้หลง นำผู้รู้ให้ตกไปตาม นางเทพ- . กัญญาเช่นท่าน ย่อมไม่สมควรอาสนะและน้ำ ที่ไหนสุธาโภชน์จะ . สมควรเล่า เชิญไปเสียเถิด อาตมาไม่ชอบใจท่าน. //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=28&A=1598#274 ความคิดเห็นที่ 64 GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 00:59 น. อ๋อ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 65 ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 01:06 น. ระหว่างนี้ มีชาดกเรื่องเกี่ยวกับสิริ 1 ชาดก. สิริชาดก //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=27&A=2395 //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=451 ความคิดเห็นที่ 66 GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 01:09 น. ค่ะ ขออ่านพรุ่งนี้นะคะ ย้ายไปที่ สารบัญ ๑ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1 |
แก้วมณีโชติรส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
๗๖. นชีรติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1309&Z=1326
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม นามและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม
ราคะท่านเรียกว่าทางผิด ความโลภเป็นอันตรายของธรรม
วัยสิ้นไปตามคืนและวัน หญิงเป็นมลทินของพรหมจรรย์
หมู่สัตว์นี้ย่อมข้องอยู่ในหญิงนี้
ตบะและพรหมจรรย์ทั้งสองนั้น มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง
ในโลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือความเกียจคร้าน ๑
ความประมาท ๑ ความไม่หมั่น ๑ ความไม่สำรวม ๑
ความมักหลับ ๑ ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑
พึงเว้นช่องทั้ง ๖ เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด
----------------
๗๗. อิสสรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1327&Z=1338
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก หญิงเป็นสูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก พวกโจรเป็นเสนียดในโลก
โจรนำของไปอยู่ย่อมถูกห้าม แต่สมณะนำไปกลับเป็นที่รัก
สมณะมาหาบ่อยๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ
๒. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า หญิงเป็นสูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย คือเป็นภัณฑะอันประเสริฐ
เพราะเป็นภัณฑะที่ไม่พึงทอดทิ้ง. อีกอย่างหนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและพระเจ้าจักรพรรดิแม้ทั้งหมด
ย่อมเกิดในท้องของมารดาเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
หญิงเป็นสูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย ดังนี้.
๓. สมณะเมื่อนำวัตถุทั้งหลายมีสลากภัตเป็นต้นเหล่านั้นอันมนุษย์ทั้งหลายสละถวายแล้ว
ในเวลาที่ตั้งไว้นั้นแหละไป ชื่อว่าย่อมเป็นที่รักของมนุษย์เหล่านั้น. เมื่อสมณะไม่นำวัตถุไป
พวกมนุษย์ย่อมเป็นผู้วิปปฏิสาร (เดือดร้อน) เพราะอาศัยความเสื่อมจากบุญ (ที่จะได้).