36.2 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
36.1 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=16-06-2014&group=4&gblog=36

ความคิดเห็นที่ 20
ฐานาฐานะ, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 21:22 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ฆัตวาสูตร, รถสูตรและวิตตสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1252&Z=1281

              พระสูตรหลักถัดไป คือ วุฏฐิสูตร [พระสูตรที่ 74].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              วุฏฐิสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1282&Z=1296
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=204

ความคิดเห็นที่ 21
GravityOfLove, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 21:42 น.

             ๗๕. ภีตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1297&Z=1308&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามว่า
                          ประชุมชนเป็นอันมากในโลกนี้ กลัวอะไรอีกเล่า
                          เพราะพระพุทธเจ้าตรัสมรรคาที่ดีแท้ไว้แล้วด้วยเหตุหลากหลาย (อารมณ์ ๓๘)
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบนัยว่า
                          มรรคาที่ดีแท้ดังกล่าวนั้น ยังไม่พอ ยังต้องกลัวปรโลกอยู่
                          บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ ไม่ทำบาปด้วยกาย ฯลฯ จึงจะไม่กลัวปรโลก
             ถูกต้องหรือไม่คะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 22
ฐานาฐานะ, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 22:09 น.

GravityOfLove, 13 นาทีที่แล้ว
              ๗๕. ภีตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1297&Z=1308&bgc=honeydew&pagebreak=0
...
9:42 PM 6/16/2014

              นัยน่าจะเป็นดังนี้ :-
              เทวดาเปรยว่า พระธรรมเทศนาหรือมรรคาที่ดีนั้น
พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้มากแล้ว แต่เทวดานั้นก็คงยังเห็นคนจำนวนมาก
กลัว (ปรโลก) ดังนั้น จึงทูลถามอย่างเน้นๆ ว่า
              บุคคลตั้งอยู่ในอะไรแล้วไม่พึงกลัวปรโลก ฯ
หรือนัยว่า
              บุคคลปฏิบัติอย่างไร จึงไม่กลัวปรโลก ฯ

              พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
               บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ มิได้ทำบาปด้วยกาย
               อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา
               เป็นผู้อ่อนโยน มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ
               ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม
               ไม่ต้องกลัวปรโลก ฯ
              นัยก็คือ
              1. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบตามธรรม
              2. นัยสันนิษฐาน คือ แม้รู้พระพุทธพจน์มาก เพราะเรียนมาก
ฟังมาก ท่องจำได้มาก แต่ไม่ประพฤติธรรม ตั้งจิตไว้โดยไม่ชอบ
ตั้งไว้ผิดเป็นต้น ย่อมยังมีทุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้
(ปรโลกยังน่ากลัวแก่บุคคลเช่นนี้)

ความคิดเห็นที่ 23
GravityOfLove, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 22:37 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 24
GravityOfLove, 16 มิถุนายน 2557 เวลา 22:37 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๗๔. วุฏฐิสูตร ว่าด้วยฝน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1282&Z=1296&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น สิ่งอะไรหนอประเสริฐ
                          บรรดาสิ่งที่ตกไป อะไรหนอประเสริฐ
                          บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า ใครเป็นผู้ประเสริฐ
                          บรรดาชนผู้แถลงคารม ใครเป็นผู้ประเสริฐ
             เทวดาผู้หนึ่งแก้ด้วยคาถาว่า
                          บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ข้าวกล้าเป็นประเสริฐ
                          บรรดาสิ่งที่ตกไป ฝนเป็นประเสริฐ
                          บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า เหล่าโคเป็นประเสริฐ
                          บรรดาชนผู้แถลงคารม บุตรเป็นประเสริฐ
                          (เพราะไม่กล่าวร้ายมารดาบิดา)
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้ (วิชชา ในที่นี้หมายถึงวิชชาในมรรค ๔) เป็นประเสริฐ
                          บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชาเป็นประเสริฐ
                          บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า พระสงฆ์เป็นประเสริฐ
                          บรรดาชนผู้แถลงคารม พระพุทธเจ้าเป็นประเสริฐ


----------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๗๕. ภีตสูตร ว่าด้วยผู้กลัว
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1297&Z=1308&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถา ใจความว่า
                          คนเป็นอันมากในโลกนี้ กลัวอะไรอีกเล่า
                          เพราะพระพุทธเจ้าตรัสมรรคาที่ดีแท้ไว้แล้วด้วยเหตุหลากหลาย (อารมณ์ ๓๘)
                          บุคคลตั้งอยู่ในอะไรจึงจะไม่กลัวปรโลก
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถา ใจความว่า
                           บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ ไม่ทำบาปด้วยกาย (กุศลกรรมบถ ๑๐)
                           อยู่ครอบครองเรือนที่มีโภคะทรัพย์มาก (เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นแล้วให้ทาน)
                           เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้อ่อนโยน ๑ มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ๑ ทราบถ้อยคำ (วทัญญู) ๑
                           ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม ไม่ต้องกลัวปรโลก
                           (แม้รู้มรรคาที่ดีแท้ แต่ไม่ประพฤติธรรม ตั้งจิตไว้โดยไม่ชอบ ตั้งไว้ผิดเป็นต้น
                          ย่อมยังมีทุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้)

                          (อีกปริยายหนึ่งของธรรม ๔ คือ บุคคลตั้งวาจาไว้โดยชอบ ๑
                          บุคคลตั้งใจไว้โดยชอบ ๑ มิได้ทำบาปด้วยกาย ๑
                          อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา
                          เป็นผู้อ่อนโยน มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ ๑)

                          (อีกปริยายหนึ่งของธรรม ๔ คือ บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ ๑
                          ไม่ทำบาปด้วยกาย อยู่ครอบครองเรือนที่มีโภคะทรัพย์มาก ๑
                          เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้อ่อนโยน ๑
                          มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ ๑)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วทัญญู
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10

             [อรรถกถา สํ.ส.อ. ๑/๗๕/๙๕]
             อารมณ์ ๓๘ มาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน ๔๐ เว้นอาโลกกสิณและอากาสกสิณ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรมฐาน_40
             อรรถกถา วิภังคปกรณ์
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=599&p=2

[เพิ่มเติมตาม #29]

ความคิดเห็นที่ 25
ฐานาฐานะ, 17 มิถุนายน 2557 เวลา 22:25 น.

GravityOfLove, 23 ชั่วโมงที่แล้ว
...
10:36 PM 6/16/2014

             สรุปความได้ดีครับ.
             ในพระสูตรชื่อว่า ภีตสูตร
             1. คุณ GravityOfLove สรุปความในส่วนของคำว่า
              ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่างเหล่านี้
             ว่ามี 2 ปริยาย (2 แบบ)
             จึงขอถามเพื่อให้แน่ใจว่า อรรถกถาได้ให้นัยไว้กี่ปริยาย?

             ๗๕. ภีตสูตร ว่าด้วยผู้กลัว
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1297&Z=1308
             อรรถกถาภีตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=207

             2. คุณ GravityOfLove ได้นำเชิงอรรถกถาในพระไตรปิฎก
ฉบับมหาจุฬามาแสดงว่า
             [อรรถกถา สํ.ส.อ. ๑/๗๕/๙๕]
             อารมณ์ ๓๘ มาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน ๔๐ เว้นอาโลกกสิณและอากาสกสิณ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรมฐาน_40

             เชิงอรรถ :
             ๑ ตรัสบอกทางไว้แล้วด้วยเหตุหลากหลาย หมายถึงตรัสบอกทางไว้แล้วด้วยเหตุเป็นอันมาก ได้แก่
อารมณ์ ๓๘ ประการ (อารมณ์ ๓๘ มาจากอารมณ์กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ (เว้นอาโลกกสิณ
และอากาสกสิณ) อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ ธาตุววัตถาน ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
อานาปานสติ ๑ จึงรวมเป็น ๓๘) (สํ.ส.อ. ๑/๗๕/๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า :๘๒ }
//www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd15-1.htm

             ผมจำได้ว่า คุณ GravityOfLove เคยสอบถามนัยว่า
             อารมณ์ 38 คืออะไร หรือตัดข้อไหนจากกัมมัฏฐาน 40 ออกไป?
             ผมก็ได้เคยตอบไว้แล้ว
             ดังนั้น รบกวนคุณ GravityOfLove ช่วยค้นคำตอบของผม
ในคราวก่อนด้วยว่า ที่ตอบไปนั้น ถูกต้องหรือผิดพลาด ประการใด?

ความคิดเห็นที่ 26
GravityOfLove, 17 มิถุนายน 2557 เวลา 23:04 น.

             1. ก็ ๒ ปริยายค่ะ
             2. คุณฐานาฐานะตอบว่า อาจจะหมายถึง อากาสและอาโลกกสิน
             อรรถกถาอธิบายความในพระอภิธรรม [บางส่วน]
             คำว่า ตุณฺ[ถูกกรองคำ]ภาเว ได้แก่ การนิ่ง การไม่พูด. ในข้อนี้ เมื่ออุปาทายรูป   
คือสัททายตนะยังเป็นไปอยู่ ชื่อว่า   ความเป็นผู้นิ่งก็มิได้มี.   ภิกษุไม่กำหนด
ความเป็นไปแห่งสัททายตนะนั้น  ชื่อว่า มีปกติทำสัมปชัญญะในความเป็นผู้นิ่ง
ในบรรดาอารมณ์กรรมฐาน ๓๘ ประการนั้น (เว้นอากาศและอาโลกกสิณ)
ภิกษุถือเอากรรมฐานตามความพอใจ  นั่งอยู่ก็ดี  เข้าทุติยฌานก็ดี  ชื่อว่า  เป็น
ผู้มีปกติทำสัมปชัญญะในความเป็นผู้นิ่ง.
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/02/Y11736976/Y11736976.html#100

ความคิดเห็นที่ 27
ฐานาฐานะ, 17 มิถุนายน 2557 เวลา 23:14 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
...
11:04 PM 6/17/2014

             ข้อ 2 เป็นอันว่า ที่ตอบไปนั้น ถูกต้องแล้ว
             ข้อ 1 ว่า ก็ ๒ ปริยายค่ะ
             ผมเห็นว่า นับดูแล้วได้ 3 ปริยายดังนี้ :-
             ปริยายที่ 1 คือ
             บทว่า ศรัทธา เป็นองค์อันหนึ่ง.
             บทว่า ผู้อ่อนโยน เป็นองค์อันหนึ่ง.
             บทว่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นองค์อันหนึ่ง.
             บทว่า วทญฺญู (ผู้ทราบถ้อยคำ) เป็นองค์อันหนึ่ง.

             ปริยายที่ 2 คือ
             อีกปริยายหนึ่ง บทว่า วาจา เป็นต้นเป็นองค์ ๓.
             อนึ่ง ด้วยบทว่า มีข้าวและน้ำมาก นี้ทรงถือเอาสิ่งที่เขานำมาเป็นเครื่องบูชา. เป็นผู้มีศรัทธาเป็นผู้อ่อนโยน มีปกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ ทั้ง ๔ นี้เป็นองค์อันหนึ่ง.
             นัยว่า บทว่า วาจา เป็นต้นเป็นองค์ ๓. หรือ 3 องค์ + บทว่า มีข้าวและน้ำมาก เป็น 4

             ปริยายที่ 3 คือ
             อีกปริยายหนึ่ง คือบทว่า วาจา หรือว่า ใจ นี้เป็นองค์หนึ่ง.
             บทว่า มิได้ทำบาปด้วยกาย อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก นี้เป็นองค์อันหนึ่ง.
             บทว่า มีศรัทธา มีความอ่อนโยน เป็นองค์อันหนึ่ง.
             บทว่า มีปกติ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ นี้เป็นองค์อันหนึ่ง.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=207

ความคิดเห็นที่ 28
GravityOfLove, 17 มิถุนายน 2557 เวลา 23:24 น.

ปริยายที่ ๒ นับอย่างไรนะคะ

ความคิดเห็นที่ 29
ฐานาฐานะ, 17 มิถุนายน 2557 เวลา 23:29 น.

GravityOfLove, 26 วินาทีที่แล้ว
ปริยายที่ ๒ นับอย่างไรนะคะ
11:23 PM 6/17/2014

             บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ มิได้ทำบาปด้วยกาย
             อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา
             เป็นผู้อ่อนโยน มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ
             ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม
             ไม่ต้องกลัวปรโลก ฯ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1297&Z=1308

             1. บุคคลตั้งวาจาไว้โดยชอบ
             2. บุคคลตั้งใจไว้โดยชอบ
             3. มิได้ทำบาปด้วยกาย
             4. อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา
เป็นผู้อ่อนโยน มีปรกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ

             นัยก็คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็น 3
และไม่หมกหมุ่นในความตระหนี่ มีศรัทธา ให้ทาน อีก 1 เป็น 4.

ความคิดเห็นที่ 30
GravityOfLove, 17 มิถุนายน 2557 เวลา 23:33 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 21 มิถุนายน 2557
Last Update : 23 มิถุนายน 2557 22:22:18 น.
Counter : 669 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog