40.6 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
40.5 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=06-08-2014&group=4&gblog=66

ความคิดเห็นที่ 66
GravityOfLove, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 08:28 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑
.            ๑๑๘. อรรถกรณสูตร ว่าด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2373&Z=2394&bgc=snow&pagebreak=0

             พระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             วันนี้หม่อมฉันได้นั่ง ณ ที่พิจารณาคดี เห็นกษัตริย์มหาศาลบ้าง
พราหมณ์มหาศาลบ้าง คฤหบดีมหาศาลบ้าง ยังกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่
เพราะเหตุแห่งกาม
             หม่อมฉันเกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า
             เป็นการไม่สมควรเลยด้วยการที่เราจะพิจารณาคดีในบัดนี้
(เพราะ) บัดนี้ ราชโอรสนามว่าวิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักปรากฏโดยการพิจารณาคดี
             (พระราชาทรงรังเกียจที่จะนั่งร่วมกับพวกรับสินบนเหล่านั้น
แต่ยังกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่
             ดังนั้น จึงทรงมอบหมายให้ราชโอรสเป็นผู้พิจารณาคดีเอง
เพราะอย่างไรเสีย ราชโอรสก็จะได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์อยู่แล้ว)
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ชอบแล้วๆ มหาบพิตร  (เอวเมตํ  มหาราช)
             กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล แม้บางพวกเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก ฯลฯ มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังจักกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่
เพราะเหตุแห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล การมุสาของชนเหล่านั้น
จะเป็นไปเพื่อความเสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาต่อไปอีกว่า
                          สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ ย่อมไม่รู้สึกการล่วงเกิน
                          (ประพฤติผิดในสัตว์พวกอื่น) ผลอันเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง
                          เพราะว่ากรรมเช่นนั้นมีวิบากเลวทราม

[แก้ไขตาม #67]

ความคิดเห็นที่ 67
ฐานาฐานะ, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 00:55 น.

GravityOfLove, 15 ชั่วโมงที่แล้ว
...
8:28 AM 8/2/2014

              สรุปความได้ดีครับ แต่มีข้อติงอยู่ กล่าวคือ
              ในพระสูตรนี้ ใช้คำว่า
              ชอบแล้วๆ มหาบพิตร  (เอวเมตํ  มหาราช) การมุสาของชนเหล่านั้น
จะป็นไปเพื่อความเสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน
<<<<
              ไม่ควรย่อความ โดยใช้คำว่า (เอวเมตํ  มหาราช)
              แล้วตามด้วย คำว่า การมุสาของชนเหล่านั้นจะเป็นไป
เพื่อความเสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน
              เพราะจะทำให้น่าสงสัยว่า พระผู้มีพระภาคตรัสถึงเนื้อความใด?
หรือตรัสเนื้อความอย่างไร?
              กล่าวคือ
              ... เพราะมีกามเป็นเค้ามูล การมุสาของชนเหล่านั้น
จะเป็นไปเพื่อความเสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน
              หรือว่า
              ... บัดนี้ ราชโอรสนามว่าวิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักปรากฏโดย
การพิจารณาคดี ฯ การมุสาของชนเหล่านั้น จะเป็นไปเพื่อความเสื่อมประโยชน์
เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน
              ดังนั้น ควรทำให้ชัดเจนว่า พระผู้มีพระภาคตรัสถึงเนื้อความใด
              กล่าวคือ ควรเป็นว่า
              ชอบแล้วๆ มหาบพิตร  (เอวเมตํ  มหาราช)
              กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล แม้บางพวกเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก ฯลฯ มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังจักกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่
เพราะเหตุแห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล การมุสาของชนเหล่านั้น
จะเป็นไปเพื่อความเสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน

ความคิดเห็นที่ 68
ฐานาฐานะ, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 00:59 น.

              คำถามในอรรถกรณสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2373&Z=2394

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง?
             2. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว นึกถึงพระสูตรอะไรที่กล่าวถึงโทษของกาม?

ความคิดเห็นที่ 69
GravityOfLove, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 09:51 น.

ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอรรถกรณสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2373&Z=2394

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง?
            ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              ---
                          สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ ย่อมไม่รู้สึกการล่วงเกิน
                          (ประพฤติผิดในสัตว์พวกอื่น) ผลอันเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง
                          เพราะว่ากรรมเช่นนั้นมีวิบากเลวทราม
             ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำสูตรนี้ให้เป็นคำตรัสของพระสัพพัญญู
จึงตรัสในสูตรนี้ว่า เอวเมตํ มหาราช
             ๓. บทว่า กามเหตุ ได้แก่ มีกามเป็นมูล.
             บทว่า กามนิทานํ ได้แก่ มีกามเป็นปัจจัย.
             บทว่า กามาธิกรณํ ได้แก่ มีกามเป็นเหตุ.
             ทั้งหมดทุกบทนั้นเป็นคำไวพจน์ของกันและกัน.
             ๔. พวกอำมาตย์รับสินบนก่อนนั่งพิจารณาคดี ต่อหน้าพระเจ้าปเสนทิโกศล
..........
             2. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว นึกถึงพระสูตรอะไรที่กล่าวถึงโทษของกาม?
             ทรีมุขชาดก ว่าด้วยโทษของกาม
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=843

             จูฬทุกขักขันธสูตร ว่าด้วยกองทุกข์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3014&Z=3184&pagebreak=0

             โปตลิยสูตร เรื่องโปตลิยคฤหบดี
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#47top

[แก้ไขลิงค์ตาม #70]

ความคิดเห็นที่ 70
ฐานาฐานะ, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 12:13 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
ขอบพระคุณค่ะ
             ตอบคำถามในอรรถกรณสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2373&Z=2394
...
9:50 AM 8/3/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             แก้ไขลิงค์ดังนี้ :-
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#อุปมากาม ๗ ข้อ
             แก้ไขเป็น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#47top
             เนื่องจาก zoom หรือ anchor ในพระไตรปิฎกใช้หมายเลขข้อ และ/หรือตามด้วยคำว่า top
             ทดลอง 2 ลิงค์นี้จะเห็นความแตกต่าง.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#47top
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#47

ความคิดเห็นที่ 71
GravityOfLove, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 22:19 น.

             ทดลอง 2 ลิงค์นี้จะเห็นความแตกต่าง.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#47top
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#47
             ทั้ง ๒ ลิงค์นี้คลิกแล้วไม่แตกต่างกันเลยค่ะ

ความคิดเห็นที่ 72
ฐานาฐานะ, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 22:26 น.

             ผลน่าจะแตกต่างกันบ้าง คือ
             บรรทัดแรกของ 47top จะเป็น
                                                    อุปมากาม ๗ ข้อ
             บรรทัดแรกของ 47 จะเป็น
             [๔๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรคฤหบดี เปรียบเหมือนสุนัข
-------------------------
22:27 3/8/2557




ความคิดเห็นที่ 73
GravityOfLove, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 22:43 น.

//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#อุปมากาม ๗ ข้อ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#47top
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=660&Z=949&pagebreak=0#47

ทั้ง ๓ ลิงค์ให้ผลเหมือนกันเลยค่ะ



ลองเปิดด้วย IE ก็เหมือนเดิม
เครื่องของกราวิตี้คงปัญหาในการเปิดค่ะ พักนี้ขึ้น Error บ่อย

ต่อไปจะใช้ลิงค์ที่ ๒ ค่ะ แม้โพสต์ไม่เห็นก็ตาม

ความคิดเห็นที่ 74
ฐานาฐานะ, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 22:49 น.

             รับทราบครับ
             ลองที่ ipad ด้วยหรือไม่?

ความคิดเห็นที่ 75
GravityOfLove, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 22:54 น.

เมื่อกี๊ลองที่ Ipad ก็ให้ผลเหมือนกันค่ะ

ความคิดเห็นที่ 76
ฐานาฐานะ, 3 สิงหาคม 2557 เวลา 22:55 น.

             อาจจะเป็นเพราะในกระทู้นั้น เมื่อคลิกโดยตรงจากกระทู้
หรือหลังไมค์ของพันทิป โปรแกรมจะตัด #47 และ #47top ออกไป
ทำให้เหมือนไม่มีคำสั่งนี้.
             แต่ใน blog หรือเวบอื่นๆ เขามักไม่ตัดทิ้ง จึงเห็นความแตกต่าง
             ดังนั้น หากต้องการเห็นความแตกต่างกัน ให้ใช้วิธี copy URL
แล้วในไป paste ที่ช่อง URL ADDRESS ครับ.

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 06 สิงหาคม 2557
Last Update : 6 สิงหาคม 2557 12:08:29 น.
Counter : 454 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog