39.7 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
39.6 พระสูตรหลักถัดไป คือสิวสูตร [พระสูตรที่ 102]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=29-07-2014&group=4&gblog=59

ความคิดเห็นที่ 54
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:50 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
...
18.08
7:32 PM 7/18/2014

             จำแหล่งที่มาของข้อมูลไม่ได้หรือ?

ความคิดเห็นที่ 55
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 18:05 น.

             คำถามในสุสิมสูตร.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090

             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 56
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม เวลา 19:38 น.
             ตอบคำถามในสุสิมสูตร.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090

             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองคำกล่าวของท่านพระอานนท์ว่า
             ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส
จะไม่ชอบสารีบุตร เพราะสารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก เป็นเจ้าปัญญา
มีปัญญาชวนให้ร่าเริง มีปัญญาแล่น มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาแทงตลอด
มีความปรารถนาน้อย สันโดษ เป็นผู้สงัดกาย สงัดใจ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
ปรารภความเพียร เป็นผู้เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้โจทก์ท้วงคนผิด
เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว
             ๒. สุสิมเทพบุตรทูลพระผู้มีพระภาคว่า ในที่ประชุมเทพบุตรบริษัทใดๆ
ก็ได้ยินเสียงสรรเสริญท่านพระสารีบุตรอย่างหนาหูเช่นเดียวกับที่ท่านพระอานนท์กราบทูล
และที่พระผู้มีพระภาคตรัส
             ๓. เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตรเมื่อได้ฟังคำกล่าวสรรเสริญท่านพระสารีบุตร
ก็เกิดปีติ โสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวปรากฏขึ้น
             ๔. พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะตรัสคุณของท่านพระสารีบุตร
ก็ธรรมดาว่าคุณนี้ ไม่สมควรกล่าวในสำนักของบุคคลที่ไม่ชอบกัน เพราะว่า
คุณที่กล่าวในสำนักของบุคคลที่ไม่ชอบกันนั้น จะกล่าวไม่ทันจบ.
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสคุณของท่านพระสารีบุตรในสำนักท่านพระอานนท์
เพราะท่านทั้งสองต่างก็เลื่อมใสในคุณทั้งหลายของกันและกัน
             ๕. ท่านพระอานนท์เป็นผู้ชอบพอของพระสารีบุตรเถระ เมื่อได้ปัจจัย
มีจีวรเป็นต้นอันประณีต ก็ถวายแก่ท่านพระสารีบุตร ให้เด็กของอุปัฏฐากของตนบรรพชา
ให้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักท่านพระสารีบุตร แม้ท่านพระสารีบุตรก็กระทำแก่ท่านพระอานนท์
อย่างนั้นเหมือนกัน เพราะเลื่อมใส ในคุณทั้งหลายของกันและกัน
              ท่านพระอานนท์เลื่อมใสในคุณทั้งหลายของท่านพระสารีบุตรอย่างนี้ว่า
พี่ชายของพวกเราบำเพ็ญบารมีมาถึงหนึ่งอสงไขยแสนกัป แทงตลอดปัญญา ๑๖ อย่าง
ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม
             ส่วนท่านพระสารีบุตรก็ดำริว่า พระอานนท์ทำกิจทุกอย่างมีถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์เป็นต้น
ที่เราพึงทำแด่พระสัมมาสัมพุทธะ อาศัยอานนท์ เราจึงได้เข้าสมาบัติตามที่ปรารถนาๆ แล้ว
             ๖. ปัญญา ๖ ประการ
             ๗. การคลุกคลี ๕ อย่างนี้ย่อมเกิดกับบุคคล ๘ จำพวก คือ
             พระราชา อมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ ภิกษุณี
             ๘. ภิกษุผู้ปรารถความเพียร ย่อมไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะเดินติดมาถึงขณะยืน
ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะยืน ติดมาถึงขณะนั่ง ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะนั่ง ติดมาถึงขณะนอน.
กิเลสเกิดในที่นั้นๆ ก็ข่มไว้ได้ในที่นั้นๆ
             ท่านพระสารีบุตรไม่ได้เหยียดหลังบนเตียงมาถึง ๔๔ ปี.
             ๙. เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง สามเณรอายุ ๗ ขวบเรียนท่านพระสารีบุตรว่า
             ท่านสารีบุตรขอรับ ชายผ้านุ่งของท่านห้อยลงมาแน่ะ. พระเถระไม่พูดอะไรเลย ไป ณ ที่เหมาะแห่งหนึ่ง
นุ่งเรียบร้อยแล้วก็มา ยืนประนมมือพูดว่า เท่านี้เหมาะไหม อาจารย์.
             พระเถระกล่าวว่า ผู้บวชในวันนั้น เป็นคนดี อายุ ๗ ขวบโดยกำเนิด ถึงผู้นั้นสั่งสอนเรา
เราก็ยอมรับด้วยกระหม่อม
             ๑๐. ท่านพระสารีบุตรตำหนิบาปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
             (๑) ตำหนิคนชั่วอย่างนี้บ้างว่า
                           มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ        กุสีโต หีนวีริโย
                           อปฺปสฺสุโต อนาทาโน        สมนฺตา กตฺถจิ อหุ
                      ในกาลไหนๆ ขอเพื่อนสพรหมจารีของเรา อย่าเป็นผู้
                      มีความปรารถนาลามก เกียจคร้าน หย่อนความเพียร
                      มีสุตะน้อย ไม่ยึดถือรอบด้านไม่มีในที่ไหนๆ เลย.
             (๒) ตำหนิธรรมฝ่ายชั่วอย่างนี้บ้างว่า
             ธรรมดาว่าสมณะไม่พึงตกอยู่ในอำนาจราคะ ในอำนาจโทสะและโมหะ
             ราคะโทสะโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว พึงละเสีย
             ๑๑. เมื่อพระตถาคตและพระอานนทเถระกำลังกล่าวคุณของพระมหาสาวกอยู่
เหล่าภุมมเทวดา เทวดาผู้อยู่ภาคพื้นดินก็ลุกขึ้นกล่าวคุณด้วยบท ๑๖ บทเหล่านั้นเหมือนกัน.
จากนั้นเหล่าอากาสัฏฐกเทวดา คือเทวดาผู้อยู่ในอากาศ เทวดาฝนเย็น เทวดาฝนร้อน
เทวดาชั้นจาตุมมหาราชตลอดถึงอกนิฏฐพรหมโลก ก็ลุกขึ้นกล่าวคุณด้วยบท ๑๖ บท
เหล่านั้นเหมือนกัน.
             เทวดาในหมื่นจักรวาลตั้งต้นแต่จักรวาลหนึ่ง ก็ลุกขึ้นกล่าวเหมือนกัน.
             ๑๒. เขาว่า รัศมีแห่งวรรณะของเทวบริษัทนั้นปรากฏชัดมี ๔ อย่างคือ
ที่เขียวก็เขียวจัด ที่เหลืองก็เหลืองจัด ที่แดงก็แดงจัด ที่ขาวก็ขาวจัด
             ๑๓. พระขีณาสพย่อมไม่กระหยิ่มยินดีความตาย ไม่มุ่งหมายความเป็น
แต่ปรารถนากาลเป็นที่ปรินิพพาน
             อธิบายว่า ยืนคอยดูกาลเวลา เหมือนบุรุษยืนคอยค่าจ้างไปวันหนึ่งๆ.
             ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
                           นาภินนฺทามิ มรณํ        นาภินนฺทามิ ชีวิตํ
                           กาลํ จ ปาฏิกงฺขามิ        นิพฺพิสํ กติโก ยถา
                      เราไม่ยินดีความตาย เราไม่ยินดีความเป็นอยู่
                      แต่เรารอเวลา [ปรินิพพาน] เหมือนลูกจ้าง
                      รอค่าจ้างฉะนั้น.

[แก้ไขเลขที่ข้อตาม #57]

ความคิดเห็นที่ 57
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 21:16 น.

GravityOfLove, 1 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในสุสิมสูตร.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090
...
7:37 PM 7/18/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             1. ขอเสริมว่า
             เนื้อความว่า ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตรสัทธิวิหาริกของท่านพระสารีบุตร
ดำริว่า เทพบุตรเหล่านี้ละกิฬาในงานนักษัตรของตนๆ เสียแล้วดำรงอยู่ในที่นั้น
กล่าวคุณอุปัชฌาย์ของเราเท่านั้น จำเราจะไปสำนักพระตถาคต
กระทำการกล่าวคุณนั้นนั่นแหละ ซึ่งเป็นคำของเทวดา.
             คำว่า สัทธิวิหาริก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัทธิวิหาริก
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=303

             แสดงว่า สุสิมเทพบุตร เคยเป็นมนุษย์ บวชในพระศาสนา
โดยมีท่านพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ ดังนั้น สุสิมเทพบุตรจึงเป็น
สัทธิวิหาริกของท่านพระสารีบุตร.
             สุสิมเทพบุตร เมื่อได้ยินคำสรรเสริญพระอุปัชฌาย์ของตน
ตามความเป็นจริง ก็มีความขวนขวายที่จะกล่าวคุณของพระอุปัชฌาย์ของตน
แสดงว่า สุสิมเทพบุตรมีความกตัญญู กตเวที เลื่อมใสในท่านพระสารีบุตร
อย่างยิ่ง.

             2. ข้อ 12 มี 2 ครั้ง.
             ๑๒. เขาว่า รัศมีแห่งวรรณะของเทวบริษัทนั้นปรากฏชัดมี ๔ อย่างคือ
ที่เขียวก็เขียวจัด ที่เหลืองก็เหลืองจัด ที่แดงก็แดงจัด ที่ขาวก็ขาวจัด
             ๑๒. พระขีณาสพย่อมไม่กระหยิ่มยินดีความตาย ไม่มุ่งหมายความเป็น
แต่ปรารถนากาลเป็นที่ปรินิพพาน

ความคิดเห็นที่ 58
ฐานาฐานะ, 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 21:33 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สุสิมสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2026&Z=2090

              พระสูตรหลักถัดไป คือ นานาติตถิยสูตร [พระสูตรที่ 111].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              นานาติตถิยสูตรที่ ๑๐
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2091&Z=2152
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=313

ความคิดเห็นที่ 59
GravityOfLove, 18 กรกฎาคม 2557 เวลา 21:38 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑๑๑. นานาติตถิยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2091&Z=2152&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             ๑. เทพบุตรเหล่านี้นับถือกรรม ได้ทำบุญเช่นทาน จึงบังเกิดในสวรรค์
แต่คำสอนของศาสดา คือปูรณกัสสปะเห็นว่า วิบากของบุญและบาปไม่มี
แล้วทำไมสาวกคนนี้ถึงได้นับถือกรรมล่ะคะ แสดงว่าสาวกคนนี้ไม่ได้เชื่อคำสอนของ
ศาสดาทั้งหมดใช่ไหมคะ
             ๒. เพราะอะไรไม่มีเทพบุตรสาวกของอชิตะ เกสกัมพล และสญชัย เวลัฏฐบุตร
มาเข้าเฝ้าคะ
             (เห็นว่า สาวกของมักขลิ โคศาลผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสว่า วาทะของเขาเลวที่สุด
เป็นอันตรายต่อสรรพสัตว์มากที่สุด ก็ยังมา)
             ๓. ข้อ [๓๑๔], [๓๑๕], [๓๑๖]
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 60
ฐานาฐานะ, 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:31 น.

GravityOfLove, 15 ชั่วโมงที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๑๑๑. นานาติตถิยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2091&Z=2152&bgc=mistyrose&pagebreak=0

              ๑. เทพบุตรเหล่านี้นับถือกรรม ได้ทำบุญเช่นทาน จึงบังเกิดในสวรรค์
แต่คำสอนของศาสดา คือปูรณกัสสปะเห็นว่า วิบากของบุญและบาปไม่มี
แล้วทำไมสาวกคนนี้ถึงได้นับถือกรรมล่ะคะ แสดงว่าสาวกคนนี้ไม่ได้เชื่อคำสอนของ
ศาสดาทั้งหมดใช่ไหมคะ

              อธิบายว่า สันนิษฐานว่า
              สาวกคนนี้น่าจะเพียงเลื่อมใส ส่วนคำสอนของศาสดา อาจจะฟังมาบ้าง
ฟังแล้ว ไม่เข้าใจบ้าง หรือแม้ฟังแล้วหมายความจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็แก้ตัวให้ศาสดา
นัยว่า ไม่ได้ความอย่างนั้นๆ เป็นต้น.
              สรุปว่า ไม่ได้เชื่อ ไม่ได้เข้าใจ ไม่ได้ลงทิฏฐิตามศาสดาของตน
แต่เลื่อมใสศาสดาของตนเอง ซึ่งอาจจะมีอาการบางอย่างที่เป็นที่ตั้งของความ
เลื่อมใสนั้นก็เป็นได้.

              ๒. เพราะอะไรไม่มีเทพบุตรสาวกของอชิตะ เกสกัมพล และสญชัย เวลัฏฐบุตร
มาเข้าเฝ้าคะ
              (เห็นว่า สาวกของมักขลิ โคศาลผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสว่า วาทะของเขาเลวที่สุด
เป็นอันตรายต่อสรรพสัตว์มากที่สุด ก็ยังมา)
              ตอบว่า ไม่ทราบครับ อาจจะมาแต่ไม่ปรากฎหลักฐานก็ได้

              ๓. ข้อ [๓๑๔], [๓๑๕], [๓๑๖]
              ข้อ [๓๑๔] น่าจะเป็นคำแก้ตัวแทนศาสดาของตนเอง
              เช่น คนบางคนกล่าวมิจฉาทิฏฐิชัดเจน ลูกศิษย์ก็กล่าวแก้ว่า
ไม่ได้หมายความอย่างนั้น ท่านเพียงไม่ให้ใส่ใจ (ท่านบอกให้วางใจเสีย)
ท่านให้สนใจใส่ใจสิ่งอื่นๆ ท่านฉลาด ฯลฯ.
              ข้อ [๓๑๔] น่าจะเป็นความเลื่อมใสส่วนตัวของเขาเอง จึงกล่าว
สรรเสริญไปอย่างนั้น.
              ข้อ [๓๑๕] น่าจะเลื่อมใสวัตรคือการห้ามน้ำเย็นทั้งปวงว่า
เป็นการรังเกียจบาป และคงเลื่อมใสการพูดอวดรู้ของศาสดาของเขาว่า
เป็นคนเปิดเผย เป็นผู้รู้.
              โดยนัยรวมก็คือ อัธยาศัยน้อมไปทางนั้น น้อมไป
เพื่อเลื่อมใสคนอย่างนั้น.

              จังกมสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=16&A=4087

ความคิดเห็นที่ 61
GravityOfLove, 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 19:51 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 62
GravityOfLove, 19 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:00 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต นานาติตถิยวรรคที่ ๓
.            ๑๑๑. นานาติตถิยสูตร ว่าด้วยเทพบุตรผู้เป็นสาวกของเดียรถีย์ต่างๆ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2091&Z=2152&bgc=mistyrose&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้
เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
             เมื่อปฐมยามล่วงแล้ว พวกเทพบุตรผู้เป็นสาวกเดียรถีย์ต่างๆ เป็นอันมาก คือ
อสมเทพบุตร สหลีเทพบุตร นิกเทพบุตร อาโกฏกเทพบุตร เวฏัมพรีเทพบุตร
มาณวคามิยเทพบุตร มีวรรณงามยิ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายอภิวาท
             (พวกเทพบุตรเหล่านี้นับถือกรรม ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ได้บังเกิดในสวรรค์
แล้วเข้าใจว่าเป็นเพราะศาสดาของตน จึงมากล่าวคุณของศาสดาของตน)
             คำว่า เดียรถีย์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เดียรถีย์

             ๑. อสมเทพบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภถึงท่านปูรณะกัสสปว่า
                          ครูปูรณะกัสสป เพียงแต่มองไม่เห็นบาปหรือบุญของตนจากการฟัน ฆ่า
                          โบย ข่มเหงสัตว์ในโลกนี้เท่านั้น ท่านจึงบอกให้วางใจเสีย
                          ถึงกระนั้นท่านย่อมควรที่จะถูกยกย่องว่าเป็นศาสดา
             (ครูปูรณะกัสสปมีวาทะว่า วิบากของบุญและบาปไม่มี)
             ๒. สหลีเทพบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค  ปรารภถึงท่านมักขลิโคศาลว่า
                          ครูมักขลิโคศาล สำรวมตนดีแล้ว เพราะรังเกียจบาปด้วยตบะ
                          (ทำบาปให้บริสุทธิ์ด้วยการทรมานตน)
                          ละวาจาที่ก่อให้เกิดความทะเลาะกับคนเสีย เป็นผู้สม่ำเสมอ
                          งดเว้นจากสิ่งที่มีโทษ พูดจริง ท่านมักขลิโคศาล จัดว่าเป็นผู้คงที่
                          ไม่กระทำบาปโดยแท้
             (ครูมักขลิโคศาลมีวาทะว่า ความเป็นอยู่หรือเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
             ย่อมเป็นไปเอง)
             ๓. นิกเทพบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภถึงท่านนิครนถ์ นาฏบุตรว่า
                          ครูนิครนถ์ นาฏบุตร เป็นผู้เกลียดบาป มีปัญญารักษาตัวรอด
                          เห็นภัยในสงสาร เป็นผู้ระมัดระวังทั้ง ๔ ยาม (สังวร ๔) เปิดเผยสิ่งที่
                          ตนเห็นแล้วและฟังแล้ว น่าจะไม่ใช่ผู้หยาบช้าโดยแท้
             (ครูนิครนถ์ นาฏบุตรมีวาทะว่า นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ
จึงเป็นผู้ถึงที่สุด สำรวมและตั้งมั่นแล้ว
             สังวร ๔ คือ ห้ามน้ำทั้งปวง ผู้ประกอบในการห้ามบาปทั้งปวง
ผู้กำจัดบาปทั้งปวง ผู้ห้ามบาปทั้งปวงถูกต้อง
             (๑) ห้ามน้ำทั้งปวง (ห้ามน้ำดิบทุกอย่างเพราะถือว่ามีสัตว์อยู่)
             (๒) ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งปวง (ประกอบกิจที่เว้นจากบาปทุกอย่าง)
             (๓) กำจัดบาปด้วยการห้ามบาปทั้งปวง (ล้างบาปทุกอย่าง)
             (๔) ห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว (รับสัมผัสทุกอย่างโดยไม่ให้เกิดบาป))
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิครนถ์

             ๔. อาโกฏกเทพบุตร กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค ปรารภถึงพวกเดียรถีย์ต่างๆ ว่า
             (อาโกฏกเทพบุตรเป็นอุปัฏฐากของเหล่าเดียรถีย์ต่างๆ จึงปรารภเดียรถีย์เหล่านี้)
                          ท่านปกุธะ กัจจายนะ ท่านนิครนถ์ นาฏบุตร ท่านมักกขลิโคศาล ท่านปูรณะกัสสป
                          ท่านเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นศาสดาของหมู่ บรรลุถึงที่สุดในสมณธรรมแล้ว
                          ท่านเหล่านั้นคงเป็นผู้ไม่ไกลไปจากสัตบุรุษแน่นอน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติตถกร

             เวฏัมพรีเทพบุตร ได้กล่าว (โต้) ตอบอาโกฏกเทพบุตรด้วยคาถาว่า
                          สุนัขจิ้งจอกสัตว์เลวๆ ใคร่จะตีตนเสมอราชสีห์
                          ครูเหล่านั้นพูดคำเท็จ มีมรรยาทน่ารังเกียจ จะเทียบกับสัตบุรุษไม่ได้
             มารผู้ลามกเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          สัตว์เหล่าใด เกลียดบาปด้วยตบะ (ชำระบาปด้วยการบำเพ็ญตบะทรมานตน)
                          รักษาความสงบสงัดอยู่ ติดอยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก
                          สัตว์เหล่านั้น ย่อมสั่งสอนชอบ เพื่อปรโลกโดยแท้
             พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัวร้ายกาจ จึงตรัสพระคาถาตอบมารผู้ลามกว่า
.                         รูปใดๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกหน้า และจะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที
.                         รูปทั้งหมดเหล่านั้น มารสรรเสริญ (ให้ยึดติดด้วยอำนาจด้วยตัณหาและทิฐิ)
.                         แล้ววางดักสัตว์ไว้ เหมือนเอาเหยื่อล่อเพื่อฆ่าปลาฉะนั้น
             มาณวคามิยเทพบุตร (เป็นพุทธอุปัฏฐาก) ได้กล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค
ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคว่า
                          ภูเขาวิปุละ เขากล่าวกันว่า เป็นสูงเยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในพระนครราชคฤห์
                          เสตบรรพต (เขาไกรลาส) เป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่าหิมวันต์ (ป่าหิมพานต์)
                          พระอาทิตย์เป็นเลิศกว่าสิ่งที่ (โคจร) ไปในอากาศ
                          มหาสมุทรเป็นเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลาย
                          พระจันทร์เป็นเลิศกว่าดวงดาวทั้งหลาย
                          พระพุทธเจ้าโลกกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าประชุมชนทั้งโลก พร้อมทั้งเทวโลก

             หมายเหตุ
             คำสอนของศาสดา ๖
             ๑. ศาสดาปูรณะ กัสสป : เมื่อบุคคลทำบุญหรือทำบาปเอง หรือใช้ผู้อื่นให้ทำ
บุญหรือทำบาป ก็ไม่มีผลของการทำบุญหรือทำบาปนั้นแก่เขา
             ๒. ศาสดามักขลิ โคศาล : ความเป็นอยู่หรือเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ
ไม่มีปัจจัย ย่อมเป็นไปเอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งได้
แม้การที่จะบรรลุถึงความบริสุทธิ์พ้นทุกข์สิ้นเชิง ในวัฏสงสารนี้ก็เป็นไปเอง
มิใช่ด้วยการกระทำใดๆ เป็นเหตุ
             ๓. ศาสดาอชิตะ เกสกัมพล : ผลกรรมไม่มี โลกนี้โลกหน้าไม่มี การรู้แจ้งไม่มี
บุคคลและสัตว์ไม่มี เป็นเพียงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกัน ตายแล้วขาดสูญ
             ๔. ศาสดาปกุธะ กัจจายนะ : สภาวะ ๗ กอง คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม
สุข ทุกข์ ชีวะ นี้ ไม่มีใครทำหรือเนรมิต มีอยู่ยั่งยืนไม่แปรปรวน ไม่มีผู้กระทำการใดๆ ต่อกัน
แม้การเอามีดตัดศีรษะกันก็ไม่มีผู้ใดฆ่าใคร เป็นแต่เอามีดผ่านช่องระหว่างสภาวะ ๗ กองนี้เท่านั้น
             ๕. ศาสดานิครนถ์ นาฏบุตร : นิครนถ์เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ คือ
เป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง ๑ เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง ๑
เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง ๑ จึงเป็นผู้ถึงที่สุด สำรวมและตั้งมั่นแล้ว
             ๖. ศาสดาสญชัย เวลัฏฐบุตร : ถ้าถามปัญหาว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นหรือ
หากหม่อมฉันเห็นว่าเป็นอย่างนั้น ก็จะตอบว่าเป็นอย่างนั้น
             แต่หม่อมฉันไม่มีความเห็นตายตัวเช่นนั้น หม่อมฉันมีความเห็นว่า
อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ไช่ก็มิใช่
             พระราชาทรงเห็นว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านี้ ครูสญชัย เวลัฏฐบุตร
โง่กว่า เขาทั้งหมด งมงายกว่าเขาทั้งหมด
             สามัญญผลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919&pagebreak=0

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วาทะของมักขลิ โคศาล เลวที่สุด
เป็นอันตรายต่อสรรพสัตว์มากที่สุด
             เกสกัมพลสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7534&Z=7553

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 20:42:32 น.
Counter : 581 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog