38.2 พระสูตรหลักถัดไป คือจันทิมสสูตร [พระสูตรที่ 92]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
38.1 พระสูตรหลักถัดไป คือจันทิมสสูตร [พระสูตรที่ 92]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=01-07-2014&group=4&gblog=49

ความคิดเห็นที่ 14
GravityOfLove, 27 มิถุนายน 2557 เวลา 22:25 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒
             ๙๔. ทีฆลัฏฐิสูตร ว่าด้วยทีฆลัฏฐิเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1635&Z=1647&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่
ให้เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
             ทีฆลัฏฐิเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงาม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วกล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติเพ่งพินิจ (ฌาน ๒)
                          มีจิตหลุดพ้นแล้ว (มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยกัมมัฏฐาน)
                          พึงหวังความไม่เกิดขึ้นแห่งหทัย (ใจหวังได้ซึ่งพระนิพพาน)
                          รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลกแล้ว (ในที่นี้หมายถึงสังขารโลก)
                          มีใจดี อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว มีคุณข้อนั้นเป็นอานิสงส์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โลก_3#find1

             อรรถกถาทุติยกัสสปสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=223&bgc=honeydew

------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒
             ๙๕. นันทนสูตร ว่าด้วยนันทนเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1648&Z=1662&bgc=honeydew&pagebreak=0

             นันทนเทวบุตร กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
                          ขอทูลถามพระองค์ถึงญาณทัสสนะ อันไม่เวียนกลับแห่งพระองค์
                          บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลชนิดไรว่า เป็นผู้มีศีล
                          เรียกบุคคลชนิดไรว่า เป็นผู้มีปัญญา
                          บุคคลชนิดไรล่วงทุกข์อยู่ได้
                          เทวดาทั้งหลาย บูชาบุคคลชนิดไร
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          บุคคลใด มีศีล มีปัญญา มีตนอบรมแล้ว มีจิตตั้งมั่น
                          ยินดีในฌาน มีสติ เขาปราศจากความโศกทั้งหมด ละได้ขาด
                          มีอาสวะสิ้นแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด
(อัตภาพสุดท้าย ไม่เกิดอีก)
                          บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีศีล
                          เรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีปัญญา
                          บุคคลชนิดนั้นล่วงทุกข์อยู่ได้
                          เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลชนิดนั้น

[แก้ไขตาม #16]

ความคิดเห็นที่ 15
ฐานาฐานะ, 28 มิถุนายน 2557 เวลา 07:23 น.

GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว
...
10:24 PM 6/27/2014

              สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 16
ฐานาฐานะ, 28 มิถุนายน 2557 เวลา 07:30 น.

             คำถามในพระสูตรทั้งสอง
             ๙๔. ทีฆลัฏฐิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1635&Z=1647
             ๙๕. นันทนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1648&Z=1662

              สรุปความนันทนสูตร ไม่มีลิงค์.
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. คำถามในนันทนสูตรบางส่วน คล้ายกับคำถาม
ในชาดกใดที่ได้เคยศึกษามาแล้ว.

ความคิดเห็นที่ 17
GravityOfLove, 28 มิถุนายน 2557 เวลา 11:01 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
             สรุปความนันทนสูตร ไม่มีลิงค์.
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๙๔. ทีฆลัฏฐิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1635&Z=1647

             ๑. ทีฆลัฏฐิเทวบุตรกล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
                          ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติเพ่งพินิจ ฯลฯ
             ๒. เหล่าเทพในเทวโลกมีพฤตินัยว่า มีขนาดเท่ากันหมด.
ส่วนทีฆลัฏฺฐิเทพบุตรนั้นมีชื่ออย่างนี้ ก็เพราะเมื่ออยู่ในมนุษย์โลกมีตัวสูง
...........
             ๙๕. นันทนสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1648&Z=1662

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          บุคคลใด มีศีล มีปัญญา มีตนอบรมแล้ว มีจิตตั้งมั่น
                          ยินดีในฌาน มีสติ เขาปราศจากความโศกทั้งหมด ละได้ขาด
                          มีอาสวะสิ้นแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด
                          บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีศีล
                          เรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้มีปัญญา
                          บุคคลชนิดนั้นล่วงทุกข์อยู่ได้
                          เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลชนิดนั้น
-----------------
              2. คำถามในนันทนสูตรบางส่วน คล้ายกับคำถาม
ในชาดกใดที่ได้เคยศึกษามาแล้ว.
             สรภังคชาดก
             [๒๔๖๕]     กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ
                          เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่ามีศีล เรียกคนเช่นไร
.                         ว่ามีปัญญา เรียกคนเช่นไรว่าสัตบุรุษ ศิริย่อมไม่ละคนเช่นไรหนอ?
             [๒๔๖๖]     ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ
                          ไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล. ผู้ใด
                          คิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้
                          ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามี
                          ปัญญา. ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา มีกัลยาณมิตร และมี
                          ความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ บัณฑิตเรียก
                          คนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ. ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมทั้งปวงเหล่านี้ คือ
                          เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความประสงค์ ศิริย่อมไม่
                          ละคนเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=10186&Z=10323

ความคิดเห็นที่ 18
ฐานาฐานะ, 28 มิถุนายน 2557 เวลา 23:27 น.

GravityOfLove, 12 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
11:01 AM 6/28/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำถามเบาๆ ว่า
             คำว่า
              ๒. เหล่าเทพในเทวโลกมีพฤตินัยว่า มีขนาดเท่ากันหมด.
             แปลว่าอะไร? และขนาดเท่าไร?

ความคิดเห็นที่ 19
GravityOfLove, 29 มิถุนายน 2557 เวลา 22:14 น.

             มีพฤตินัยว่า มีขนาดเท่ากันหมด
             สันนิษฐานว่า เทพโดยทั่วไปในเวลาปกติ ไม่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ จะมีขนาดเท่ากัน
โดยเทพธิดาปรากฏเหมือนมีอายุ ๑๖ เทพบุตรปรากฎเหมือนมีอายุ ๒๐ ขนาดคงเท่าๆ มนุษย์โลก
             อรรถกถามหาปทานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=1&p=2

ความคิดเห็นที่ 20
ฐานาฐานะ, 30 มิถุนายน 2557 เวลา 02:56 น.

GravityOfLove, 4 ชั่วโมงที่แล้ว
...
10:14 PM 6/29/2014

             เฉลยว่า จะมีขนาดเท่าๆ กัน และขนาดน่าจะประมาณ 3 คาวุต.
             อรรถกถาอัจฉราสูตร
             แม้ภิกษุนี้ก็ทำกาละแล้วในที่เป็นที่จงกรม เพราะความที่ตนเป็นผู้มีอุปนิสัยน้อย
จึงยังมิได้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ได้ถือปฏิสนธิในภพดาวดึงส์ที่ประตูวิมานใหญ่
ราวกะว่าหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น. อัตภาพของเทวบุตรนั้นมีสามคาวุตเกิดขึ้น
เหมือนเสาระเนียดปิดทองในขณะนั้นนั่นแหละ. ภายในวิมานนางอัปสร
ประมาณหนึ่งพันเห็นเทวบุตรนั้น แล้วกล่าวว่า เทวบุตรผู้เป็นเจ้าของวิมาน
มาแล้ว พวกเราจักให้เทวบุตรนั้นพอใจดังนี้ จึงถือเอาเครื่องดนตรีมาแวดล้อมแล้ว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=143

             อรรถกถานันทนสูตร
             จริงอยู่ อัตภาพของเทวดาที่อุบัติขึ้นนั้นมีประมาณ ๓ คาวุต รุ่งโรจน์อยู่ราวกะแท่งทองสีแดง
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=23&p=1

             อรรถกถาจุนทสูตร
             ขณะที่เกิดนั่นเทียว นางได้มีอัตภาพ ๓ คาวุตโดยประมาณ เหมือนท่อนแก้ว
นางประดับด้วยเครื่องประดับประมาณเต็มหกสิบเล่มเกวียน มีนางฟ้าพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=733&p=1

             อรรถกถามหาโควินทสูตร
             ครั้นเขาตายแล้ว ก็ไปเกิดในเทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกา มีอายุ ๙ ล้านปี.
ร่างของเขาคล้ายกับกองทองมีขนาดเท่าสามคาวุต. เกลียวละอองดอกไม้ฟุ้งไปจรด
ฝักเบื้องบนแล้วตกมาทำให้อัตภาพประมาณสามคาวุตของเทวดาทั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=209&p=1

             อรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร
             เล่ากันมาว่า พอคฤหบดีนั้นเกิดในชั้นดุสิตเท่านั้น ก็เห็นอัตภาพขนาดสามคาวุต
โชติช่วงเหมือนกองทอง และสมบัติมีอุทยานและวิมานเป็นต้น
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=720&p=1

             คำว่า คาวุต
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=คาวุต&detail=on

ความคิดเห็นที่ 21
ฐานาฐานะ, 30 มิถุนายน 2557 เวลา 08:29 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ทีฆลัฏฐิสูตรและนันทนสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1635&Z=1662

              พระสูตรหลักถัดไป คือ จันทนสูตร [พระสูตรที่ 96].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              จันทนสูตรที่ ๕
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1663&Z=1674
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=260

ความคิดเห็นที่ 22
GravityOfLove, 30 มิถุนายน 2557 เวลา 10:01 น.

ขนาด 240 วา ตัวใหญ่นะคะ แล้วคำว่า มีพฤตินัยว่า แปลว่าอะไรคะ

ความคิดเห็นที่ 23
ฐานาฐานะ, 30 มิถุนายน 2557 เวลา 12:24 น.

พฤตินัย (กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto),
ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure).
//rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

             คุณ GravityOfLove คำนวนว่า 3 คาวุต = 240 วาหรือ 480 เมตร?
             ผมคำนวนได้ 12 กิโลเมตร
๒๕ วา เป็น ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ เป็น ๑ คาวุต
             1 คาวุต = 25 x 80 = 2000 วา
             3 คาวุต = 6000 วา หรือ 12000 เมตร = 12 กิโลเมตร.
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=คาวุต&detail=on

ความคิดเห็นที่ 24
GravityOfLove, 30 มิถุนายน 2557 เวลา 18:10 น.

             เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
             เรื่องขนาดเทวดา คงจะคำนวณผิดบรรทัดไปค่ะ ขนาด ๑๒ กิโล ยิ่งตัวใหญ่เข้าไปอีก

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 08 กรกฎาคม 2557
Last Update : 8 กรกฎาคม 2557 11:09:54 น.
Counter : 616 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog