32.5 พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
32.4  พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-06-2014&group=4&gblog=21
ความคิดเห็นที่ 132
ฐานาฐานะ, 2 มิถุนายน เวลา 14:57 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๓๗. สมยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=752&Z=788
              ๓๘. สกลิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=789&Z=854

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. ในสมยสูตร การที่เหล่าเทวดาและพรหมเป็นอันมาก
ประชุมกัน เพื่อจะเห็นพระผู้มีพระภาคและพระภิกษุสงฆ์ ฯ
หากจะพิจารณาธรรมในหมวดพรหมวิหาร 4 แล้ว ควรสันนิษฐานว่า
มาประชุมกันด้วยจิตในพรหมวิหารข้อใดเป็นสำคัญ.
              คำว่า พรหมวิหาร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร

ความคิดเห็นที่ 133
GravityOfLove, 2 มิถุนายน เวลา 15:21 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๓๗. สมยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=752&Z=788

             ๑. พรหมชั้นสุทธาวาส (เป็นพระอนาคามี) ๔ องค์ กล่าวคาถาแสดงพระเกียรติคุณ
ของพระผู้มีพระภาคและสรรเสริญพระอรหันตสาวก
             ๒. เรื่องราวของพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์นี้
             พระราชาของทั้งสองพระนครวิวาทกันเรื่องน้ำ พระผู้มีพระภาคจึงเสด็จมา
เพื่อระงับการวิวาท พระผู้มีพระภาคตรัสชาดกและพระสูตร (๕ ชาดก และ ๑ พระสูตร)
             พระราชาทั้งสองพระนครเมื่อได้สดับก็เลื่อมใส จึงให้โอรสฝ่ายละ ๒๕๐ องค์ผนวช
             โอรส ๕๐๐ องค์นั้น เมื่อผนวชแล้วก็ไม่ยินดีในเพศบรรพชิต เพราะผนวชตามคำสั่ง
พระราชา พระผู้มีพระภาคจึงทรงพาภิกษุเหล่านั้นเหาะไปยังสระดุเหว่า แล้วตรัสกุณาลชาดก
(ว่าด้วยนางนกดุเหว่า)
             เมื่อได้สดับชาดกนี้แล้ว ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
และฤทธิ์ (เหาะ) มาพร้อมกับมรรคนั่นเอง
             พระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งภิกษุ ๕๐๐ รูป เหาะไปยังป่ามหาวัน
             พระผู้มีพระภาคตรัสบอกกรรมฐานแล้ว ภิกษุเหล่านั้นแยกย้ายกันไปปฏิบัติกรรมฐาน
จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมดพร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
             รูปที่บรรลุก่อนก็ทยอยมาเฝ้าพระองค์ เมื่อครบแล้ว เหล่าเทวดาจาก ๑๐ โลกธาตุ
ก็จะมาทัศนาพระผู้มีพระภาคและพระอรหันต์เหล่านี้ด้วย มหาสมัยคือการประชุมใหญ่จึงมีขึ้น
             กุณาลชาดก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=28&A=1897&Z=2257
             คำว่า ปฏิสัมภิทา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิสัมภิทา
             อรรถกถาสมยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=115&bgc=honeydew#เจ้าศากยะและโกลิยะวิวาทกันเรื่องไขน้ำเข้านา
             อรรถกถามหาสมัยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=235

             ชาดก ๕ ชาดกและพระสูตร ๑ พระสูตร ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเพื่อระงับการทะเลาะกัน
ของทั้งสองนคร คือ
             ๑. ระงับการทะเลาะ
             ๑.๑ ชาดกเรื่องต้นสะคร้อ (ผันทนชาดก) หรือการผูกเวรของหมีและไม้ตะคร้อ
//84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=271738

             ในการทะเลาะกัน ไม่มีความชื่นใจ ด้วยอำนาจการทะเลาะกัน
ความเจ็บใจที่รุกขเทวดาตนหนึ่งผู้ทำเวรในที่ที่ไม่น่าเป็นไปได้แล้วผูกไว้กับหมี
ได้ติดตามไปตลอดกัปทั้งสิ้น

             ๑.๒ ชาดกเรื่องแผ่นดินถล่ม (ปฐวีอุทริยนชาดก) หรือพวกกระต่ายตื่นตูม
//84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270586

             เพราะฝูงสัตว์สี่เท้าในป่าหิมพานต์ซึ่งกว้างตั้งสามพันโยชน์ แตกตื่นเพราะคำพูด
ของกระต่ายตัวหนึ่ง ได้แล่นไปจนถึงทะเลหลวง เพราะฉะนั้น ไม่พึงเป็นผู้แตกตื่น

             ๑.๓ ชาดกเรื่องนกมูลไถ (ลฏกิกชาดก) หรือคติของคนมีเวร
//84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270732

             บางทีแม้แต่ผู้ที่อ่อนกำลัง ก็ยังเห็นช่องผิดของผู้มีกำลังมากได้
บางทีผู้มีกำลังมาก ก็เห็นช่องพิรุธของผู้อ่อนกำลังได้ จริงอย่างนั้น
แม้แต่นางนกมูลไถ (คล้ายนกกระจาบฝนแต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย) ก็ยังฆ่าช้างได้

             ๒. เพื่อความสามัคคี
             ๒.๑ รุกขธัมมชาดก หรือต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม
//84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270074

             ใครๆ ไม่อาจเห็นช่องผิดของเหล่าผู้พร้อมเพรียงกันได้
แต่เมื่อพวกเขาได้ทำการวิวาทกันและกัน เมื่อนั้นลูกพรานก็ฆ่าพวกนั้นถือเอาไป
ขึ้นชื่อว่าความชื่นใจ ย่อมไม่มีในการวิวาทกัน

             ๒.๒ ชาดกเรื่องนกคุ่ม (วัฏฏกชาดก) หรือพินาศเพราะทะเลาะกัน
//84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=270033

             ๓. อัตตทัณฑสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=10675&Z=10734

             ๓. คำว่า นาค ในที่นี้ คือ พระอรหันต์
             ในพระสูตรอื่นอีก เช่น ฆฏสูตร
             ท่านมหานาคทั้งสองนั้น (พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ) เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของกันและ
กัน ด้วยประการดังนี้แล
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=7246&w=มหานาค#695

             ความหมายอื่นๆ ของคำว่า นาค ได้แก่
             ฉนฺทาทีหิ น คจฺฉนฺตีติ นาคา ชนเหล่าใดย่อมไม่ลำเอียงด้วยอคติทั้งหลาย
มีฉันทะเป็นต้น เหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า นาคา.
             เตน เตน มคฺเคน ปหิเน กิเลเส น อาคจฺฉนฺตีติ นาคา ชนเหล่าใด
ย่อมไม่มาสู่กิเลสทั้งหลายอันมรรคนั้นๆ ละแล้ว เหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า นาคา.
             นานปฺปการํ อาคุ ํ น กโรนฺตีติ นาคา ชนเหล่าใดย่อมไม่กระทำความผิด
มีประการต่างๆ เหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า นาคา.
             ๔. ๑๐ โลกธาตุ เท่ากับ ๑๐,๐๐๐ จักรวาล
             ๕. พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้ง ๑๐ ประชุมกันมาก (เยภุยฺเยน)
             คำว่า เยภุยฺเยน แปลว่า โดยมาก คือได้แก่ พวกเทวดาทั้งหลายที่ประชุมกันมีมาก
พวกที่ไม่ได้ประชุมกันมีน้อย คือพวกที่เป็นอสัญญสัตว์และเกิดในอรูปาวจรเท่านั้น
             ๖. พึงทราบความสูงของพรหมโลก อย่างนี้ว่า
              ได้ยินว่า ในโลหปราสาทมีก้อนหินเท่าเรือนยอดแห่งบรรพต ตั้งอยู่ในพรหมโลก
ทิ้งก้อนหินนั้นลงมายังโลกมนุษย์นี้ ๔ เดือนจึงตกถึงแผ่นดิน
             ๗. ได้ยินว่า พวกเทพทั้งหลาย ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง เนรมิตอัตภาพให้เล็ก
แล้วอยู่ในที่สักว่าเจาะเข้าไปเท่าปลายขน ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี
-------------------
              ๓๘. สกลิกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=789&Z=854

             ๑. พระบาทของพระผู้มีพระภาคถูกสะเก็ดหินกระทบจนห้อเลือด
แม้ทุกขเวทนาทางกายเป็นอันมากเกิดแก่พระองค์ แต่ก็ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ
อดกลั้นเวทนาทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อน
             ๒. ที่มาของชื่อสวนมัททกุจฉิ
             ๓. อันตรายแห่งชีวิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะพึงมีได้ด้วยความพยายามของบุคคลอื่น
ข้อนั้นแลเป็นอฐานะ คือเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
             ๔. การนอน ๔ อย่าง คือ
             ๔.๑ กามโภคีเสยฺยา คือการนอนของผู้มีปกติเสพกาม
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้บริโภคกามโดยมากย่อมนอนโดยข้างเบื้องซ้าย
(ตะแคงซ้าย) นี้ชื่อว่ากามโภคีไสยา.
             จริงอยู่ในบรรดาสัตว์ผู้บริโภคกามเหล่านั้น ชื่อว่าการนอนโดยข้างเบื้องขวา
(ตะแคงขวา) มีไม่มาก.
             ๔.๒ เปตเสยฺยา คือการนอนของเปรต (ผู้ตายแล้ว)
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรตทั้งหลายโดยมากย่อมนอนหงาย นี้ชื่อว่าเปตเสยยา.
             จริงอยู่ เปรตทั้งหลายย่อมไม่อาจเพื่อนอนโดยข้างหนึ่งได้ เพราะความที่ตนมีเนื้อ
และเลือดน้อย เพราะความที่โครงกระดูกยุ่งเหยิง จึงนอนหงายเท่านั้น.
             ๔.๓ สีหเสยฺยา คือการนอนของสีหะ
             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมิคราชโดยมากให้หางของตนเข้าไปในระหว่างขาอ่อน
แล้วนอนตะแคงขวา นี้ชื่อว่าสีหไสยา.
             ๔.๔ ตถาคตเสยฺยา คือการนอนของพระตถาคต ซึ่งพระองค์นอนในฌานที่ ๔
             ๕. บทว่า นาโค วต โภ แปลว่า พระสมณโคดมผู้เจริญเป็นนาคหนอ
นี้เป็นคำร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรม. อธิบายว่า ชื่อว่านาคะ เพราะอรรถว่ามีกำลัง.
             ๖. โคอุสภะเป็นสัตว์ประเสริฐเป็นหัวหน้าในฝูงแห่งโคร้อยตัว
             โคอาสภะเป็นสัตว์ประเสริฐสุดเป็นหัวหน้าในฝูงแห่งโคพันตัว
             โคนิสภะ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นสัตว์ประเสริฐสุดกว่าฝูงแห่งโคร้อยตัวและพันตัว
--------------------------------------
              2. ในสมยสูตร ... หากจะพิจารณาธรรมในหมวดพรหมวิหาร 4 แล้ว
ควรสันนิษฐานว่า มาประชุมกันด้วยจิตในพรหมวิหารข้อใดเป็นสำคัญ
             มุทิตา ค่ะ
             เทวดาเหล่านั้นมาแสดงพระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคและสรรเสริญพระอรหันตสาวก
เป็นการอนุโทนา พลอยยินดีกับท่านผู้ที่ดับกิเลสทั้งปวง ไม่มีทุกข์อีกแล้ว

ความคิดเห็นที่ 134
ฐานาฐานะ, 2 มิถุนายน เวลา 16:02 น.

GravityOfLove, 39 นาทีที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
3:20 PM 6/2/2014

              ตอบคำถามได้ดีทั้ง 2 ข้อครับ.

ความคิดเห็นที่ 135
ฐานาฐานะ, 2 มิถุนายน เวลา 20:24 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สมยสูตรและสกลิกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=752&Z=854

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร [พระสูตรที่ 39].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=855&Z=874
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=131

ความคิดเห็นที่ 136
GravityOfLove, 2 มิถุนายน เวลา 21:05 น.

ขอบพระคุณค่ะ อ่านลิงค์แนะนำจบแล้วค่ะ

ความคิดเห็นที่ 137
GravityOfLove, 2 มิถุนายน เวลา 21:12 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๓๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=855&Z=874&bgc=honeydew&pagebreak=0

             บทว่า สกฺขิ ชานามิ แปลว่า ย่อมรู้ประจักษ์ คือว่า ย่อมรู้ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.
             คำว่า แทงตลอด หมายถึง เป็นอริยบุคคลใช่ไหมคะ หรือเป็นพระอรหันต์เลยคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 138
ฐานาฐานะ, 2 มิถุนายน เวลา 21:23 น.

GravityOfLove, 7 นาทีที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
...
9:12 PM 6/2/2014
              ตอบว่า เป็นพระอริยบุคคลครับ
              ธิดาของท้าวปัชชุนนะ น่าจะพยากรณ์มรรคผลที่ตนได้บรรลุ (ในภูมิของเสขบุคคล).

ความคิดเห็นที่ 139
GravityOfLove, 2 มิถุนายน เวลา 21:29 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 140
GravityOfLove, 2 มิถุนายน เวลา 21:36 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๓๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร ว่าด้วยธิดาของท้าวปัชชุนนะ สูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=855&Z=874&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลี
             เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะชื่อโกกนทา มีวรรณงาม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายอภิวาท แล้วกล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค
ใจความว่า
             หม่อมฉันชื่อว่าโกกนทา เป็นธิดาของท้าวปัชชุนนะ ย่อมไหว้เฉพาะพระสัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์
             ธรรมอันพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาจักษุ ตามตรัสรู้แล้ว หม่อมฉันได้ยินแล้วในกาลก่อน
             ในกาลนี้ หม่อมฉันรู้ประจักษ์ชัดแล้ว (แทงตลอดเป็นพระอริยบุคคล ธิดาองค์นี้เป็นพระเสขะ)
             ชนใดที่มีปัญญาทราม ติเตียนธรรมอันประเสริฐ ชนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงโรรุวนรก
             ส่วนชนเหล่าใดมีความอดทนและความสงบในธรรมอันประเสริฐ (สงบจากกิเลส)
             ชนเหล่านั้นเมื่อละร่างกายมนุษย์แล้ว จะเข้าถึงโลกสวรรค์
             (ท้าวปัชชุนนะเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นราชาของเทวดาหมู่วัสสวลาหก)
             คำว่า ปัญญาจักษุ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=จักขุ_5

----------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๔๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร ว่าด้วยธิดาของท้าวปัชชุนนะ สูตรที่ ๒
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=875&Z=898&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลี
             เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะชื่อจุลลโกกนทา มีวรรณงาม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วถวายอภิวาท แล้วกล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค
ใจความว่า
             ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา มาแล้วในที่นี้ ไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
             ได้กล่าวคาถาที่มีประโยชน์
             หม่อมฉันพึงจำแนกธรรมนั้นโดยปริยาย (บางแง่) ซึ่งมีอยู่มาก
             ธรรมที่หม่อมฉันศึกษาแล้ว หม่อมฉันจักกล่าวอรรถแห่งธรรมนั้นโดยย่อ ดังนี้
             ใครๆ ไม่ควรทำกรรมอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ หรือด้วยกาย
             ใครๆ ละกามทั้งหลายแล้ว มีสติสัมปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์อันไม่ประกอบด้วยประโยชน์
             (ท้าวปัชชุนนะเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นราชาของเทวดาหมู่วัสสวลาหก)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริยาย

ความคิดเห็นที่ 141
ฐานาฐานะ, 4 มิถุนายน เวลา 20:53 น.

GravityOfLove, วันจันทร์ เวลา 21:36 น.
...
9:35 PM 6/2/2014

             สรุปความได้ดีทั้งสองพระสูตร
             ปฐมปัชชุนนธีตุสูตรและทุติยปัชชุนนธีตุสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=855&Z=898

             มีข้อแก้ไขดังนี้ :-
             ได้กล่าวคาคาที่มีประโยชน์
แก้ไขเป็น
             ได้กล่าวคาถาที่มีประโยชน์

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 มิถุนายน 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 22:21:44 น.
Counter : 651 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog