40.8 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 40.7 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112] //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=06-08-2014&group=4&gblog=68 ความคิดเห็นที่ 89 ความคิดเห็นที่ 90 ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 00:17 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มัลลิกาสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2395&Z=2425 พระสูตรหลักถัดไป คือ ยัญญสูตรที่ ๙ [พระสูตรที่ 120]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ยัญญสูตรที่ ๙ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=349 ความคิดเห็นที่ 91 GravityOfLove, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 00:22 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑ . ๑๒๐. ยัญญสูตร ว่าด้วยการบูชายัญ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485&bgc=snow&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่งท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญด้วยโคผู้ ลูกโคผู้ ลูกโคตัวเมีย แพะ และแกะอย่างละ ๕๐๐ ตัว สัตว์เหล่านี้ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ ในการนี้ชนบางพวกที่ทรงใช้ก็เป็นทาส คนใช้หรือกรรมกร ซึ่งถูกอาชญา ถูกภัยคุกคาม ร้องไห้พลาง กระทำบริกรรมไปพลาง ภิกษุหลายรูปที่กลับจากบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ได้ทูลเล่าเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาว่า มหายัญที่มีการตระเตรียมมาก มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ คือ อัศวเมธ ๑ ปุริสเมธ ๒ สัมมาปาสะ ๓ วาชเปยยะ ๔ นิรัคคฬะ ๕ มหายัญเหล่านั้น เป็นยัญไม่มีผลมาก (เพราะ) พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อมไม่เข้าไปใกล้ยัญนั้น ส่วนยัญใด มีการตระเตรียมน้อย ไม่มีการฆ่า แพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งบุคคลบูชาสืบตระกูลทุกเมื่อ (ยชนฺตานุกุลํ ได้แก่ บูชาตามตระกูล ทานมีนิตยภัตเป็นต้นที่บุรพบุรุษตั้งไว้ แล้วให้ทานสืบๆ ต่อไป) พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อมเข้าไปใกล้ยัญนั้น ผู้มีปัญญาควรบูชายัญนั้น ยัญนั้นเป็นยัญมีผลมาก เมื่อบุคคลบูชายัญนั้นนั่นแหละ ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วช้า ยัญก็เป็นยัญอย่างไพบูลย์ และเทวดาย่อมเลื่อมใส [อรรถกถา] ยัญ ๕ นี้ (คือสังคหวัตถุ ๔ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ + นิรัคคฬะ) เดิมแต่โบราณเป็นหลักสงเคราะห์ที่ดีงาม แต่ต่อมาครั้งพระเจ้าโอกกากราช พวกพราหมณ์เปลี่ยนสังคหวัตถุ ๔ เหล่านี้และสมบัติ ของรัฐเสีย แล้วขนานชื่อยัญ ๕ เพื่อลาภสักการะแก่พวกตน ความหมายของยัญ ๕ ตามแบบพราหมณ์ และตามแบบโบราณ/พุทธศาสนา ตามลำดับคือ . ๑ อัศวเมธ ได้แก่การฆ่าม้าบูชายัญ แต่ชื่อนี้หมายความกว้างกว่านั้น คือหมายถึงยัญที่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง เว้นที่ดินและคน ซึ่งเขาตั้งเสายัญ ๒๑ เสา สำหรับผูกปศุสัตว์ที่จะต้องฆ่าประมาณ ๕๙๗ ชนิด เพื่อบูชายัญ แล้วทำการบูชาอยู่หลายวันกว่าจะเสร็จพิธี แต่ฉบับพม่าเพี้ยนไปเป็น สสฺสเมธํ แปลว่าสัสสเมธ เป็นยัญในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกูฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่านา ตามธัญญาหารที่สำเร็จผลสิบส่วน เก็บไว้เป็นส่วนหลวงส่วนหนึ่ง นี่เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่ง ของพระเจ้าจักรพรรดิ ไม่ตรงกับเรื่องในพระสูตรนี้ . ๒ ปุริสเมธ ได้แก่การฆ่าคนบูชายัญ แต่ความจริงหมายเฉพาะยัญที่บูชาด้วยสมบัติต่างๆ อย่างอัศวเมธนั้น แต่รวมที่ดินเข้าด้วย แต่ในพระพุทธศาสนา หมายถึงการพระราชทานทรัพย์เป็นเบี้ยเลี้ยงและ บำเหน็จบำนาญแก่ทวยหาญทุก ๖ เดือน เป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิประการหนึ่ง . ๓ สัมมาปาสะ ได้แก่การผูกสัตว์บูชายัญ โดยเขาทำพิธีเหวี่ยง ท่อนไม้สำหรับต้อนสัตว์เข้าไปที่หลักบูชาเพลิงทั้งคู่ แล้วร่ายเวทตรงที่ท่อนไม้นั้นตก ทำการบูชาตามพิธี ผู้บูชาต้องเป็นคนได้เดินทางย้อนไปตามแม่น้ำสรัสดีแล้วด้วย จึงจะเข้าพิธีได้ แต่ที่ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการเรียกหนังสือสารกรรมธรรม์กู้แก่ชาวเมืองที่ขัดสน แล้วพระราชทานทรัพย์ให้กู้ โดยไม่เรียกดอกเบี้ยเป็นเวลา ๓ ปี . ๔ วาชเปยยะ ได้แก่การดื่มเพื่อพลังหรือเพื่อชัยชนะ เป็นยัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งเขาผูกปศุสัตว์ ๑๗ ชนิดบูชา แต่ที่เป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการตรัสพระวาจา อันอ่อนหวานเป็นที่ดูดดื่มน้ำใจของประชาชน . ๕ นิรัคคฬะ คือยัญไม่มีลิ่มหรือกลอน คือทั่วไปไม่มีขีดคั่นจำกัด การฆ่าครบทุกอย่างบูชายัญ เป็นยัญที่ไม่ต้องมีหลักยัญสำหรับบูชา หมายถึง พิธีชนิดเดียวกับอัศวเมธแต่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง ไม่มียกเว้นอะไร ฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สรรพเมธ แต่ที่ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงผล ที่พระมหากษัตริย์สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ข้างต้นนั้น ที่เป็นเหตุให้รัฐมั่งคั่งสมบูรณ์ ไม่มีโจรผู้ร้ายและประชาราษฎร์บันเทิงใจเป็นอยู่ อย่างที่กล่าวว่า ประตูเรือนไม่ต้องลงลิ่ม กลอนระวังก็ได้ฉะนั้น คำว่า ราชสังคหวัตถุ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ราชสังคหวัตถุ //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิตยภัต [แก้ไขตาม #92] ความคิดเห็นที่ 92 ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 16:22 น. GravityOfLove, 15 ชั่วโมงที่แล้ว ... 0:30 5/8/2557 สรุปความได้ดีครับ มีข้อติงและเสริมดังนี้ :- 1. ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่านา แก้ไขเป็น ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกูฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่านา //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=กูฏทันตสูตร 2. เพิ่มเติมลิงค์ คำว่า ราชสังคหวัตถุ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ราชสังคหวัตถุ ความคิดเห็นที่ 93 ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 16:34 น. คำถามในยัญญสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485 1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง? 2. คำว่า บุคคลบูชาสืบตระกูลทุกเมื่อ และ บทว่า ยชนฺตานุกุลํ ได้แก่ บูชาตามตระกูล. อธิบายว่า พวกผู้คนไม่เข้าไปตัดทานมีนิตยภัตเป็นต้น ที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้วให้ทานสืบๆ ต่อไป. เมื่อเห็นคำนัยว่า ไม่เข้าไปตัดทานมีนิตยภัตเป็นต้นที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้ว ฯ คุณ GravityOfLove นึกถึงพระสูตรหรือชาดกใดบ้าง? ความคิดเห็นที่ 94 GravityOfLove, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 19:07 น. ตอบคำถามในยัญญสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485 1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง? ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มหายัญที่มีการตระเตรียมมาก มีการฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นยัญไม่มีผลมาก (เพราะ) พระพุทธเจ้าผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อมไม่เข้าไปใกล้ยัญนั้น ส่วนยัญใด มีการตระเตรียมน้อย ไม่มีการฆ่า แพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นยัญมีผลมาก พระพุทธเจ้าย่อมเข้าไปใกล้ยัญนั้น เมื่อบุคคลบูชายัญนั้น ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความชั่วช้า เทวดาย่อมเลื่อมใส ๒. ยัญ ๕ อย่างของพราหมณ์ที่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงแนะนำ ๓. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเริ่มยัญนี้ก็เพราะจะทรงกำจัดฝันร้าย คือเพราะทรงมีพระทัยปฏิพัทธ์ต่อสตรีนางหนึ่งซึ่งมีสามีแล้ว จึงทรงหลอก จะขจัดสามีของนาง วันหนึ่ง เมื่อประทับนั่งแล้วทรงเคลิ้มหลับไป ในฝันทรงได้ยินเสียงสัตว์uรก เมื่อตื่นจากฝันก็ไม่สบายพระทัย รอจนรุ่งเช้าแล้วตรัสเล่าฝันนี้ให้พราหมณ์ปุโรหิตฟัง พราหมณ์ปุโรหิตทราบว่า ฝันนี้ไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่เพราะอยากได้ลาภสักการะ จึงหลอก พระองค์ว่า ต้องบูชายัญอย่างนี้ๆ พระองค์จึงจะพ้นภัยได้ พระนางมัลลิกาเมื่อทรงทราบเรื่องนี้ จึงทรงชักนำพระราชาไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเล่าเรื่องของสัตว์uรกเหล่านั้นให้พระเจ้าปเสนทิโกศลฟังว่า เสียงนั้นไม่ได้เป็นภัยต่อพระองค์ สัตว์uรกเหล่านั้นได้ผิดภรรยาผู้อื่น (ปรทาริกกรรม) จึงได้รับผลกรรมเช่นนั้น แล้วตรัสว่า กรรมคือการเข่นฆ่าปศุสัตว์เห็นปานนี้สิ (การบูชายัญดังกล่าว) หนักนัก พระราชาทรงเลื่อมใสในพระพุทธองค์ จึงทรงปล่อยสัตว์แล้วขับไล่พราหมณ์พวกนั้นไป //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปรทาริกกรรม ๔. ในพระนครสาวัตถีนี้ ในยุคก่อนมีบุตรเศรษฐี ๔ คน ประพฤติผิดในภรรยาคนอื่น เมื่อตายไปได้บังเกิดในนรกโลหกุมภี ชื่อขุมนันโทปนันทา. สัตว์uรกเหล่านั้นถูกเคี่ยวร่างเป็นฟอง ๓๐,๐๐๐ ปี จึงลงไปถึงก้นหม้ออีก ๓๐,๐๐๐ ปี จึงขึ้นถึงปากหม้อ วันหนึ่ง พวกเขาเห็นแสงสว่าง ประสงค์จะกล่าวคาถาตนละคาถา เพราะกลัวกรรมที่ทำชั่ว แต่ก็ไม่อาจจะกล่าวได้ กล่าวได้เพียงตนละอักษรเท่านั้นเอง แล้วก็จมหายไป //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15&p=1#เรื่องของเปรตผู้กล่าวอักษร_ทุ._สะ._นะ._โส. ๕. พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลเล่าว่า ราตรีนั้นช่างยาวนานเหมือน ๒ ราตรี (เพราะพระองค์บรรทมไม่หลับเมื่อตื่นจากฝันร้าย) ส่วนสามีของสตรีนั้น ซึ่งก็พักอยู่ที่วัดพระเชตวันที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ก็ทูลเล่าว่า ๑ โยชน์สำหรับตนก็ราวกับ ๒ โยชน์ (เพราะเขาต้องรีบเดินทางกลับมาให้ทันก่อนประตูเมืองจะปิด มิฉะนั้นจะถูก พระเจ้าปเสนทิโกศลลงอาญา) พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระราชา บุรุษผู้นี้ และเหล่าสัตว์uรก ตรัสว่า . คืนหนึ่งยาวนานสำหรับคนนอนไม่หลับ โยชน์หนึ่งยาวไกลสำหรับคนเมื่อยล้า สังสารวัฏยืดยาวสำหรับเหล่าคนเขลาผู้ไม่รู้พระสัทธรรม ดังนี้. เมื่อจบพระคาถา บุรุษผู้เป็นสามีของสตรีแม้นั้น ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=15&p=1 ............ 2. ... เมื่อเห็นคำนัยว่า ไม่เข้าไปตัดทานมีนิตยภัตเป็นต้นที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้ว ฯ คุณ GravityOfLove นึกถึงพระสูตรหรือชาดกใดบ้าง? ทานสูตร ดูกรสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ ไม่ควรทำให้เสียประเพณี ... //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1340&Z=1436&pagebreak=0 ความคิดเห็นที่ 95 ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 20:35 น. GravityOfLove, 57 นาทีที่แล้ว ตอบคำถามในยัญญสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485 ... 7:07 PM 8/5/2014 ตอบคำถามได้ดีครับ. ขอเสริมดังนี้ว่า เมื่อเห็นคำนัยว่า ไม่เข้าไปตัดทานมีนิตยภัตเป็นต้นที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้ว ฯ มัณฑัพยชาดก [บางส่วน] [๑๓๘๖] มารดาบิดาและปู่ย่าตายายของดิฉัน เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ดิฉันอนุวัตรตามธรรมเนียมของตระกูลนั้น กำหนดใจไว้ว่า อย่าได้เป็นคนตัดธรรมเนียมแห่งตระกูลนี้เสียเลย ดิฉันเกลียดถ้อยคำเช่นนี้ แม้ไม่ประสงค์ก็ให้ทานนี้ได้. //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=27&A=5649#1386 ความคิดเห็นที่ 96 ฐานาฐานะ, 5 สิงหาคม 2557 เวลา 20:38 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ยัญญสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2426&Z=2485 พระสูตรหลักถัดไป คือ พันธนสูตร [พระสูตรที่ 121]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พันธนสูตรที่ ๑๐ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2486&Z=2514 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=352 ย้ายไปที่ สารบัญ ๑ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1 |
แก้วมณีโชติรส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
...
11:28 PM 8/4/2014
เฉลยว่า ถูกต้องครับ เป็นปุถุชนทั้งสองพระองค์.
เคยทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ในคัมภีร์อนาคตวงศ์
กล่าวว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง.
พระนางมัลลิกาที่เป็นพระอริยบุคคลนั้น น่าจะเป็นอีกคนหนึ่ง
หรือไม่ก็ผู้ทำวิกีพีเดียเข้าใจผิด จำสับสนกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา.
๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ๑- [๓๕]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=3#นางมัลลิกาเทวีไม่มีความเสียใจ
อรรถกถามัลลิกาวิมาน
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=36