34.1 พระสูตรหลักถัดไป คือชราสูตร [พระสูตรที่ 51]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
33.5  พระสูตรหลักถัดไป คืออาทิตตสูตร [พระสูตรที่ 41]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=09-06-2014&group=4&gblog=28

ความคิดเห็นที่ 4
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 23:05 น.

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ชราสูตร [พระสูตรที่ 51].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ชราสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1075&Z=1084
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=158

ความคิดเห็นที่ 5
GravityOfLove, 8 มิถุนายน เวลา 23:10 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๕๑. ชราสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1075&Z=1084&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ เช่น ศรัทธาของหัตถกะอุบาสกชาวอาฬวกะ
และจิตตคหบดี เป็นต้น (ทั้งสองท่านเป็นพระอนาคามี)
             ประโยชน์ในที่นี้คือ
             ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคล หรือว่าไปที่ใดก็เกิดลาภสักการะ เช่น มีบริวารมาก คะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 6
ฐานาฐานะ, 8 มิถุนายน เวลา 23:31 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
...
11:10 PM 6/8/2014

              อธิบายว่า ควรถือประโยชน์หลัก คือการบรรลุมรรคผล เป็นสำคัญ
              ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น บริวารมาก ยศ สักการะใดๆ นั้น
ควรเป็นประโยชน์รอง.
              แต่ที่อรรถกถานำหัตถกะอุบาสกชาวอาฬวกะและจิตตคหบดี
มาแสดงเป็นตัวอย่างของผู้มีศรัทธาตั้งมั่น ก็เพื่อให้บุคคลที่ได้ศึกษา
เกิดความเลื่อมใส เห็นประโยชน์ของศรัทธาตั้งมั่น คือ
              ได้ประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน สัมปรายภพ และประโยชน์สูงสุด
              คำว่า อรรถ 3
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรรถ+3

              อีกประการหนึ่ง อุบาสกทั้งสองได้รับการยกย่องจากพระศาสดา
ว่าเป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวกทั้งหลาย ดังนั้น ควรแล้วที่
อรรถกถานำท่านทั้งสองเป็นอุบาสก/บุคคลอ้างอิงให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้ฟัง
และทำให้เกิดอุตสาหะในอันที่จะเป็นเช่นท่านทั้งสอง.

              พระพุทธดำรัส :-
              [๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ
พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมือง
อาฬวีเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้
เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวกของเราแล ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=20&A=2295&w=ตราชูมาตรฐาน

ความคิดเห็นที่ 7
GravityOfLove, 9 มิถุนายน เวลา 06:29 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 8
GravityOfLove, 9 มิถุนายน เวลา 06:37 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ชราวรรคที่ ๖ (หมวดว่าด้วยชรา)
             ๕๑. ชราสูตร ว่าด้วยชรา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1075&Z=1084&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          อะไรหนอยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา
                          อะไรหนอตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
                          อะไรหนอเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
                          อะไรหนอโจรลักไปได้ยาก
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา
                          ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
                          ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
                          บุญอันโจรลักไปได้ยาก


-------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ชราวรรคที่ ๖
             ๕๒. อชรสาสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ไม่ชำรุดหรือวิบัติ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1085&Z=1094&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          อะไรหนอ เพราะไม่ชำรุดจึงยังประโยชน์ให้สำเร็จ
                          อะไรหนอดำรงมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
                          อะไรหนอเป็นรัตนะของชนทั้งหลาย
                          อะไรหนอบุคคลพึงนำให้พ้นจากพวกโจรได้                          
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          ศีล เพราะไม่ชำรุด (อชรสา ไม่วิบัติ) จึงยังประโยชน์ให้สำเร็จ
                          ศรัทธา ดำรงมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
                          ปัญญา เป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
                          บุญ อันบุคคลพึงนำไปให้พ้นจากพวกโจรได้


[แก้ไขตาม #9]

ความคิดเห็นที่ 9
ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 20:31 น.

GravityOfLove, 13 ชั่วโมงที่แล้ว
...
6:36 AM 6/9/2014

              สรุปความได้ดีครับ.
              สรุปความในพระสูตรที่สอง ไม่มีลิงค์.

ความคิดเห็นที่ 10
ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 20:31 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๕๑. ชราสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1075&Z=1084

              ๕๒. อชรสาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1085&Z=1094

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 11
GravityOfLove, 9 มิถุนายน เวลา 21:45 น.

              ๕๑. ชราสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1075&Z=1084

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่งชรา ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยัง
               ประโยชน์ให้สำเร็จ ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย บุญ
               อันโจรลักไปได้ยาก
             ๒. ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ เช่น ศรัทธาของหัตถกะอุบาสกชาวอาฬวกะ
และจิตตคหบดี เป็นต้น (ทั้งสองท่านเป็นพระอนาคามี)
---------------
              ๕๒. อชรสาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1085&Z=1094

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ศีล เพราะไม่ชำรุดจึงยังประโยชน์ให้สำเร็จ ศรัทธา ดำรงมั่น
               แล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ ปัญญา เป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
               บุญ อันบุคคลพึงนำไปให้พ้นจากพวกโจรได้
             ๒. ชนทั้งหลายแม้จะเป็นอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น ย่อมไม่สงเคราะห์บุคคลผู้มีศีลวิบัติแล้ว

ความคิดเห็นที่ 12
ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 22:32 น.

GravityOfLove, 35 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
9:44 PM 6/9/2014

              ตอบคำถามได้ดีทั้งสองพระสูตร.

ความคิดเห็นที่ 13
ฐานาฐานะ, 9 มิถุนายน เวลา 22:34 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ชราสูตรและอชรสาสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1075&Z=1094

              พระสูตรหลักถัดไป คือ มิตตสูตร [พระสูตรที่ 53].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              มิตตสูตรที่ ๓
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=1095&Z=1103
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=162

ความคิดเห็นที่ 14
GravityOfLove, 9 มิถุนายน เวลา 23:21 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ชราวรรคที่ ๖
             ๕๓. มิตตสูตร ว่าด้วยมิตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1095&Z=1103&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          อะไรหนอเป็นมิตรของคนเดินทาง
                          อะไรหนอเป็นมิตรในเรือนของตน
                          อะไรเป็นมิตรของคนมีธุระเกิดขึ้น
                          อะไรหนอเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          พวกเกวียน พวกโค ต่างเป็นมิตรของคนเดินทาง
                          มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
(เพราะมารดาย่อมไม่รังเกียจแม้ของสกปรกของบุตร)
                          สหายเป็นมิตรของคนผู้มีธุระเกิดขึ้นเนืองๆ
                          บุญที่ตนทำเองเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า


--------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ชราวรรคที่ ๖
             ๕๔. วัตถุสูตร ว่าด้วยที่ตั้ง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1104&Z=1111&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามเป็นคาถาว่า
                          อะไรหนอเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย
                          อะไรหนอเป็นสหายอย่างยิ่งในโลกนี้
                          เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยอะไรหนอเลี้ยงชีพ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า
                          บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย (บุตรคอยดูแลเวลาที่บิดามารดาแก่)
                          ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง (แม้ความลับที่ไม่บอกคนอื่น แต่ต้องบอกภรรยา)
                          เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีพอยู่
[แก้ไขตาม #15]

ย้ายไปที่




Create Date : 13 มิถุนายน 2557
Last Update : 23 มิถุนายน 2557 9:46:24 น.
Counter : 858 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog