38.4 พระสูตรหลักถัดไป คือจันทิมสสูตร [พระสูตรที่ 92]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
38.3 พระสูตรหลักถัดไป คือจันทิมสสูตร [พระสูตรที่ 92]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=08-07-2014&group=4&gblog=51

ความคิดเห็นที่ 34
GravityOfLove, 1 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:00 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๙๘. สุพรหมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1683&Z=1694&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. สุพรหมเทวบุตรกล่าวว่าอย่างไรคะ
             ๒. สุพรหมเทวบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ฯลฯ ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง
             ไปยาลใหญ่นี้ย่อมาจากอะไรคะ
             ๓. ภิกษุตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้น ...
----------------
             ๙๙. กกุธสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1695&Z=1730&bgc=honeydew&pagebreak=0

             บุตรอุปัฏฐากของพระมหาโมคคัลลานเถระ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 35
ฐานาฐานะ, 1 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:48 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๙๘. สุพรหมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1683&Z=1694&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. สุพรหมเทวบุตรกล่าวว่าอย่างไรคะ
             ๒. สุพรหมเทวบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ฯลฯ ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง
             ไปยาลใหญ่นี้ย่อมาจากอะไรคะ
.            นัยน่าจะเป็นว่า
             สุพรหมเทวบุตรได้กล่าวดังนี้และพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว
สุพรหมเทวบุตรจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

             ๓. ภิกษุตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้น เป็นนิสสัยมุตตกะ (พ้นจากการถือนิสสัยกับอุปัชฌาย์หรืออาจารย์)
สมาทานตปคุณ กล่าวคือธุดงค์เข้าป่าเจริญกัมมัฏฐาน ย่อมทำโพชฌงค์ให้เกิดมีพร้อมกับวิปัสสนา.
อริยมรรคของภิกษุนั้นทำนิพพานธรรมอันใดเป็นอารมณ์แล้วเกิดขึ้น นิพพานธรรมอันนั้น
ชื่อว่าสัพพนิสสัคคะ
.            อธิบายว่า ภิกษุตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้น เป็นผู้พ้นแล้วจากการถือนิสสัย
โดยนัยก็คือ มีพรรษาตั้งแต่ 5 พรรษาขึ้นไปเป็นต้น อยู่ได้โดยไม่ต้องถือนิสสัยแล้ว
             ปกติ พระภิกษุบวชใหม่ ยังรู้ข้อวัตรปฏิบัติ คำสั่งสอนยังไม่กว้างขวาง
อาจทำผิดได้ จำเป็นจะต้องอยู่โดยอาศัยพระอุปัชฌาย์ ซึ่งจะคอยแนะนำสั่งสอน
ทั้งความรู้ ความประพฤติต่างๆ นานา.
             แต่ว่า พระอุปัชฌาย์บางรูปหลีกไปที่อื่นบ้าง หรือสึกไปบ้าง
จึงต้องอยู่อาศัยพระอาจารย์ อาศัยการศึกษาจากพระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์.
             สมาทานตปคุณ กล่าวคือธุดงค์ คือสมาทานธุดงค์
             เข้าป่าเจริญกัมมัฏฐาน เข้าป่าหาที่สัปปายแก่การบำเพ็ญสมณธรรม
หากยังไม่พ้นนิสัย ก็ต้องอยู่อาศัยอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ ซึ่งถ้าอุปัชฌาย์หรืออาจารย์
เข้าป่าเจริญกัมมัฏฐานด้วย จึงไปได้.
             ย่อมทำโพชฌงค์ให้เกิดมีพร้อมกับวิปัสสนา. ย่อมเจริญโพชฌงค์และ
วิปัสสนาให้เกิดขึ้นได้.
             อริยมรรคของภิกษุนั้นทำนิพพานธรรมอันใดเป็นอารมณ์แล้วเกิดขึ้น
นิพพานธรรมอันนั้น ชื่อว่าสัพพนิสสัคคะ
             อริยมรรคมีพระนิพพานเป็นอารมณ์
             พระนิพพานนี้เอง เป็นความหมายของคำในพระสูตรว่า
             ความสละวางโดยประการทั้งปวง หรือ สพฺพนิสฺสคฺคา

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
             มหาวรรค ภาค ๑
             เรื่องถือนิสสัยและองค์ ๖ แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย เป็นต้น
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่ คือ
                          ๑. เป็นผู้มีศรัทธา
                          ๒. เป็นผู้มีหิริ
                          ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ
                          ๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร
                          ๕. เป็นผู้มีสติตั้งมั่น และ
                          ๖. มีพรรษาได้ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ นี้แล ไม่ต้องถือนิสสัยอยู่.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=3170&Z=3320

             ทรงอนุญาตอาจารย์
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=2022&Z=2091

             ๙๙. กกุธสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1695&Z=1730&bgc=honeydew&pagebreak=0

             บุตรอุปัฏฐากของพระมหาโมคคัลลานเถระ
             น่าจะหมายความว่า
             ลูกชายของอุปัฏฐาก ของท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ.

ความคิดเห็นที่ 36
GravityOfLove, 1 กรกฎาคม 2557 เวลา 23:26 น.

             สุพรหมสูตร
             ๑. ที่สุพรหมเทพบุตรกล่าว แปลว่าอะไรคะ
             ๓. เรื่องนิสสัย ไม่เข้าใจเลยค่ะ ภิกษุตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ไม่ต้องมี ๔ อย่างนี้หรือคะ
.            นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่
             ๑. เที่ยวบิณฑบาต
             ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
             ๓. อยู่โคนไม้
             ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิสสัย

ความคิดเห็นที่ 37
ฐานาฐานะ, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 00:12 น.

GravityOfLove, 19 นาทีที่แล้ว
             ...
11:25 PM 7/1/2014

             ตอบข้อ 3 ก่อน
             นิสสัย คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง ได้แก่
             นิสสัย หากจะแปลว่า อาศัยก็ได้ คือปัจจัยเครื่องอาศัยก็ตาม
หรือบุคคลเครื่องอาศัยของพระภิกษุนวกะ (ผู้ใหม่) ก็ตาม.
             ในพระสูตรนี้ หมายถึง บุคคลที่พระภิกษุผู้บวชใหม่ต้องอาศัย
นั่นคืออุปัชฌาย์หรืออาจารย์.
             การพ้นนิสสัย คือพ้นจากการต้องอาศัยแล้ว อุปมาทางโลก
เช่นเด็กอนุบาล จะไปไหนก็ต้องมีผู้ปกครองดูแล ถ้าไม่มีผู้ปกครองดูแล
ก็อาจจะพลาดพลั้งได้ กล่าวได้ว่า เด็กอนุบาลยังต้องถือนิสสัยจากพ่อแม่
หรือผู้ปกครอง
             ต่อเมื่อโตแล้ว รู้อะไรควรไม่ควรแล้วเพิ่มขึ้น ก็อาจอนุญาต
ให้ไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองไปด้วย.
             อาศัย ในที่นี้ หมายถึง บุคคลอันเป็นที่อาศัย
             พระสูตรนี้ ไม่ได้หมายถึงนัยของปัจจัย 4 เครื่องอาศัยของชีวิตเลย.

             ภิกษุตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล ไม่ต้องมี ๔ อย่างนี้หรือคะ
             ตอบว่า ต้องมีนิสสัย 4 อย่างที่ยกมาครับ
             แต่ว่า คำว่า นิสสัยมุตตกะ ไม่ได้หมายถึง นิสสัย 4 อย่างนั้น
แต่หมายถึง ภิกษุที่มีพรรษา 5 ขึ้นไป ไม่ต้องอาศัยอุปัชฌาย์หรืออาจารย์
ในด้านความเป็นอยู่ อาจาระ สุตตะ เพราะว่า ศึกษามาพอประมาณ
อาศัยตนเองแล้วดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             ๑. ที่สุพรหมเทพบุตรกล่าว แปลว่าอะไรคะ
             สุพรหมสูตรที่ ๗
             [๒๖๔] สุพรหมเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
                          จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ถ้าเมื่อ
                          กิจทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ถ้าความ
                          ไม่สะดุ้งกลัวมีอยู่ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอก
                          ข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ ฯ
             [๒๖๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          นอกจากปัญญาและความเพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์
                          นอกจากความสละวางโดยประการทั้งปวง เรายังไม่เห็นความ
                          สวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯ
             สุพรหมเทวบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ฯลฯ ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ


             สุพรหมเทวบุตรเกิดความหวาดกลัวต่อมรณภัยและภัยจากการอุบัติในทุคติ
จึงกล่าวว่า จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์
             ถ้าเมื่อกิจทั้งหลายยังไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็ตาม
             น่าจะหมายถึง เมื่อนิมิตของความตายหรือความทุกข์ทั้งหลายมาถึงแล้ว
หรือยังไม่มาก็ตาม ถ้าเครื่องต้านทานความทุกข์หรือต้านทานความกลัวมีอยู่
ขอพระองค์จงบอกเครื่องต้านทานนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย กล่าวคือ จงบอกเครื่องต้านทาน
และข้อปฏิบัติในบรรลุถึงเครื่องต้านทานนั้นด้วยเถิด.

ความคิดเห็นที่ 38
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:32 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 39
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:46 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒
.            ๙๘. สุพรหมสูตร ว่าด้วยสุพรหมเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1683&Z=1694&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สุพรหมเทวบุตร กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
                          จิตใจนี้สะดุ้งหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ (เพราะกลัวมรณภัยและกลัวภัยจากการอุบัติในทุคติ)
                          เมื่อนิมิตของความตายหรือความทุกข์ทั้งหลายมาถึงแล้ว หรือยังไม่มาก็ตาม
                          ถ้าเครื่องต้านทานความทุกข์หรือต้านทานความกลัวมีอยู่
                          ขอพระองค์จงบอกเครื่องต้านทานนั้นแก่ข้าพระองค์ด้วย
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถา ใจความว่า
.                         ต้องด้วยปัญญา (โพชฌงค์) และความเพียร (ตบะ) ความสำรวมอินทรีย์
.                         ความสละวางโดยประการทั้งปวง (สัพพนิสสัคคะ คือพระนิพพาน) เท่านั้น
.                         ความสวัสดีจึงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย
             สุพรหมเทวบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ฯลฯ ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ตบะ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=9&A=1612&w=อินทรียสังวร

-----------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒
.            ๙๙. กกุธสูตร ว่าด้วยกกุธเทวบุตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1695&Z=1730&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระอัญชนวัน สถานพระราชทานอภัย
แก่เนื้อ เขตเมืองสาเกต
             กกุธเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถวายบังคมแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             ข้าแต่พระสมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรผู้มีอายุ เราได้อะไรจึงจะยินดี
             กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้นพระองค์ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราเสื่อมอะไรจึงจะเศร้าโศก
             กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้นพระองค์ไม่ทรงยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นเช่นนั้น
             กกุธเทวบุตร กราบทูลว่า
                          พระองค์ไม่มีทุกข์บ้างหรือ ความเพลิดเพลินไม่มีบ้างหรือ
                          ความเบื่อหน่าย (อรติ ความระอา) ไม่ครอบงำพระองค์ผู้ประทับนั่ง
                          แต่พระองค์เดียวบ้างหรือ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
.                         เราไม่มีทุกข์เลย และความเพลิดเพลินก็ไม่มี
.                         ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเราผู้นั่งแต่ผู้เดียว
             กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น            
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
.                         ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน
.                         ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์
.                         ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์
             กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า
                          นานหนอ ข้าพระองค์จึงพบเห็นภิกษุ ผู้เป็นพราหมณ์ ดับรอบแล้ว
                          ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์ ข้ามพ้นเครื่องข้องในโลกแล้ว
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อรติ

ความคิดเห็นที่ 40
ฐานาฐานะ, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 21:38 น.

             สรุปความได้ดีครับ
             ขอเสริมเล็กน้อยว่า
             แม้จะเป็นเทวปุตตสังยุต หรือใช้คำว่า เทวบุตรก็ตาม
ก็กินความรวมถึงเทวดา (ชั้นกามาวจร) และพรหม (ชั้นรูปาวจร).
             คำว่า ภูมิ 31
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_31

ความคิดเห็นที่ 41
ฐานาฐานะ, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 21:43 น.

             คำถามในพระสูตรทั้งสอง
             ๙๘. สุพรหมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1683&Z=1694
             ๙๙. กกุธสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1695&Z=1730

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 42
GravityOfLove, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 21:59 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๙๘. สุพรหมสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1683&Z=1694

             ๑. สุพรหมเทวบุตรเห็นเหล่านางอัปสรของตัวเองไปบังเกิดในนรก ก็เกิดความรันทดใจ
หวาดกลัว (สะดุ้ง) ว่า ตนก็จะไปบังเกิดในนรกเช่นกัน จึงมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ทูลถามถึงปฏิปทาที่จะไม่หวาดกลัวต่อภัยนั้น
             ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
                          นอกจากปัญญาและความเพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์
                          นอกจากความสละวางโดยประการทั้งปวง เรายังไม่เห็นความ
                          สวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย
             ๓. ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาการเจริญโพชฌงค์ก่อน (ปัญญา)
ภายหลังก็ทรงถือเอาอินทรียสังวร (ความสำรวมอินทรีย์) ก็จริงอยู่
ถึงอย่างนั้น โดยใจความอินทรียสังวร ก็พึงทราบว่า ทรงถือเอาก่อน
ด้วยว่า เมื่อภิกษุถือเอาอินทรียสังวรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาจตุปาริสุทธิศีลด้วย
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสุทธิศีล_4
             ๔. เมื่อจบเทศนา เทพบุตรองค์นี้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
.............
            ๙๙. กกุธสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1695&Z=1730

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          เราไม่มีทุกข์เลย และความเพลิดเพลินก็ไม่มี
                          ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเราผู้นั่งแต่ผู้เดียว

                          ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิดเพลิน
                          ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมีทุกข์
                          ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน ไม่มีทุกข์
             ๒. เทพบุตรองค์นี้ ในกาลก่อนเป็นบุตรของอุปัฏฐากของพระมหาโมคคัลลานเถระ
ในโกฬนคร เมื่อวัยรุ่นอยู่ในสำนักของพระเถระ ทำฌานให้เกิดแล้ว ทำกาละ (ตาย)
ไปอุบัติในพรหมโลก

ความคิดเห็นที่ 43
ฐานาฐานะ, 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:40 น.

GravityOfLove, 23 นาทีที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
9:58 PM 7/2/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ
              คำว่า
              เทพบุตรองค์นี้ ในกาลก่อนเป็นบุตรของอุปัฏฐากของพระมหาโมคคัลลานเถระ
ในโกฬนคร เมื่อวัยรุ่นอยู่ในสำนักของพระเถระ ทำฌานให้เกิดแล้ว ทำกาละ (ตาย)
ไปอุบัติในพรหมโลก
              ทำให้นึกถึงเรื่องสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ ทำฌาน 4 ให้เกิดขึ้น
ภายหลังไม่สำรวมอินทรีย์ จึงสึกออกไป ชีวิตตกต่ำเดินทางผิด ทำโจรกรรมเลี้ยงชีพ
              ภายหลังได้สติระลึกถึงกรรมฐานเดิม จากโอวาทตักเตือนของท่านพระมหากัสสปเถระ.
              เรื่องนี้มาในเรื่องวิพภันตกภิกษุ ภิกษุผู้หมุนไปผิด (สึก).
              ๓. เรื่องวิพภันตกภิกษุ [๒๔๒]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34&p=3

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 08 กรกฎาคม 2557
Last Update : 8 กรกฎาคม 2557 11:54:55 น.
Counter : 789 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog