36.7 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
36.6 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=24-06-2014&group=4&gblog=41

ความคิดเห็นที่ 79
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 21:20 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๘๐. ปัชโชตสูตร ว่าด้วยแสงสว่าง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1358&Z=1371&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          อะไรเป็นแสงสว่างในโลก
                          อะไรหนอเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
                          อะไรหนอเป็นสหายในการงานของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน
                          อะไรหนอเป็นเครื่องสืบต่อชีวิตของเขา
                          อะไรหนอย่อมพะนอเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง
                          ดุจมารดาเลี้ยงบุตร
                          เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดินอาศัย อะไรหนอเลี้ยงชีวิต
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
                          สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
                          ฝูงโคเป็นสหายในการงานของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน
                          ไถเป็นเครื่องต่อชีวิตของเขา
                          ฝนย่อมเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง
                          เหมือนมารดาเลี้ยงบุตร
                          เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีวิต

ความคิดเห็นที่ 80
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 21:29 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๘๑. อรณสูตร ว่าด้วยข้าศึก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1372&Z=1393&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          คนพวกไหนหนอไม่เป็นข้าศึกในโลกนี้
                          พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของชนพวกไหน ย่อมไม่เสื่อม
                          คนพวกไหนกำหนดรู้ความอยากได้ในโลกนี้
                          ความเป็นไทยมีแก่คนพวกไหนทุกเมื่อ
                          มารดาบิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่นในศีลคือ ใครหนอ
                          พวกกษัตริย์ย่อมอภิวาทใครหนอ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ (พระอรหันต์) ไม่เป็นข้าศึกในโลก (ไม่มีกิเลส)
                          พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของสมณะทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม (การอยู่ด้วยอริยมรรค ย่อมไม่เสื่อม)
                          สมณะทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ความอยากได้ (กำหนดรู้ด้วยปริญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ)
                          ความเป็นไทย (ไม่เป็นทาส) ย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ (แก่พระอรหันต์)
                          มารดาบิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ
                          ถึงพวกกษัตริย์ก็อภิวาทสมณะในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปริญญา_3

ความคิดเห็นที่ 81
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 22:05 น.

GravityOfLove, 10 นาทีที่แล้ว
...
9:20 PM 6/20/2014
9:28 PM 6/20/2014

             สรุปความได้ดีครับ.
             ขอโพสต์พระพุทธดำรัสตรัสตอบ ภาษาไทยเทียบภาษาบาลี (2 คาถา)
             [๒๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
              สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก
              พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของสมณะทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม
              สมณะทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ความอยากได้
              ความเป็นไทยย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ

              มารดาบิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ
              ถึงพวกกษัตริย์ก็อภิวาทสมณะในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ ฯ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1372&Z=1393

             [๒๒๐] สมณีธ อรณา โลเก       สมณานํ วุสิตํ น นสฺสติ
             สมณา อิจฺฉํ ปริชานนฺติ        สมณานํ โภชิสิยํ สทา
             สมณํ มาตา ปิตา ภาตา        วนฺทนฺติ นํ ปติฏฺฐิตํ
             สมณีธ ชาติหีนํ                          อภิวาเทนฺติ ขตฺติยาติ ฯ
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=15&item=220&Roman=0

ความคิดเห็นที่ 82
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 22:09 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๘๐. ปัชโชตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1358&Z=1371
              ๘๑. อรณสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1372&Z=1393

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 83
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 22:11 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๘๐. ปัชโชตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1358&Z=1371

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก
               ฝูงโคเป็นสหายในการงานของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน
               ไถเป็นเครื่องต่อชีวิตของเขา ฝนย่อมเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง
               ไม่เกียจคร้านบ้าง เหมือนมารดาเลี้ยงบุตร เหล่าสัตว์มีชีวิต
               ที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีวิต
-------------------
             ๘๑. อรณสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1372&Z=1393

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก พรหม-
               จรรย์ที่อยู่จบแล้วของสมณะทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม สมณะ
               ทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ความอยากได้ ความเป็นไทยย่อมมีแก่
               สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ มารดาบิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคล
               นั้น ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ ถึงพวกกษัตริย์ก็อภิวาท
               สมณะในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ
             ๒. แม้พวกเทพก็ย่อมอภิวาทสมณะผู้สมบูรณ์แล้วด้วยศีลเหมือนกัน

ความคิดเห็นที่ 84
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 22:12 น.

ทำไมถึงเทียบภาษาบาลีให้ดูคะ

ความคิดเห็นที่ 85
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 22:39 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
ทำไมถึงเทียบภาษาบาลีให้ดูคะ
10:11 PM 6/20/2014

              ตอบว่า ตอนแรกสงสัยบทว่า ปริชานนฺติ มาจากเนิ้อความส่วนใด
ของพระสูตร ซึ่งปรากฎว่า มาจากเนื้อความว่า
               สมณะทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ความอยากได้
               สมณา อิจฺฉํ ปริชานนฺติ
              บทว่า ปริชานนฺติ อธิบายว่า พระเสกขะทั้งหลาย จำเดิมแต่เป็นกัลยาณปุถุชน ชื่อว่าย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=219

              จากนั้น เห็นว่า คาถาทั้งสองในภาษาบาลีมีความยาวใกล้เคียงกัน
แต่พอแปลเป็นภาษาไทย จะเห็นว่า ความยาวแตกต่างกันมาก ดังนั้น
จึงโพสต์ให้เห็นการแยกแต่ละคาถาไว้ ด้วยการเว้นบรรทัดในภาษาไทย
              อีกประการหนึ่ง เนื่องจากการแปลภาษาทำให้เนื้อความ
มีความยาวแตกต่างกัน ดังนั้น การอ้างอิงโดยกำหนดเลขหน้าซึ่งได้รับ
ผลกระทบจากแต่ละภาษา ทำให้คลาดเคลื่อนเมื่อเป็นภาษาอื่น
การกำหนดอ้างอิงโดยเลขข้อ จึงเหมาะสมกว่า เพราะขจัดผลกระทบ
ของความยาวที่แตกต่างกันของการแปลได้.

ความคิดเห็นที่ 86
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 23:08 น.

GravityOfLove, 50 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
10:11 PM 6/20/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ถ้าหากตัดบรรทัด ตัดประโยคด้วย ก็จะดีครับ.
เช่น
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
              สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก
              พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของสมณะทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม
              สมณะทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ความอยากได้
              ความเป็นไทยย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ
              มารดาบิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ
              ถึงพวกกษัตริย์ก็อภิวาทสมณะในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ

ความคิดเห็นที่ 87
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 23:14 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปัชโชตสูตรและอรณสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1358&Z=1393

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1394&Z=1411
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=221

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 24 มิถุนายน 2557
Last Update : 1 กรกฎาคม 2557 9:40:49 น.
Counter : 874 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog