32.1 พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
31.4 พระสูตรหลักถัดไป คือสัตติสูตร [พระสูตรที่ 21]

ความคิดเห็นที่ 98
GravityOfLove, 22 พฤษภาคม เวลา 21:48 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต
             สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ (หมวดว่าด้วยพวกเทวดาสตุลลปกายิกา)
             ๓๑. สัพภิสูตร ว่าด้วยสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=480&Z=524&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             เทวดาสตุลลปกายิกา (ผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ) จำนวนมาก มีวรรณงาม
มาเฝ้าพระผู้มีพระภาค
             เมื่อถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว เทวดา ๖ องค์ แต่ละองค์ได้กล่าวคาถา
ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ
             ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ (ด้วยไมตรีไม่ใช่ด้วยตัณหา)
             บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว (ธรรมของสัตบุรุษ ในที่นี้หมายถึงศีล ๕) :-
             ๑. มีแต่คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษอันลามกเลย
             ๒. ย่อมได้ปัญญา หาได้ปัญญาแต่คนอันธพาลอื่นไม่
             ๓. ย่อมไม่เศร้าโศก ในท่ามกลางแห่งเรื่องเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก
             ๔. ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ
             ๕. ย่อมไปสู่สุคติ
             ๖. ย่อมดำรงอยู่สบายเนืองๆ
             (เทวดาเหล่านี้กล่าวคาถาสรรเสริญคุณอาจารย์ของพวกตน)
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=78&bgc=honeydew#เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัตบุรุษ

             หลังจากนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
             ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย (ในแง่หนึ่งๆ ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด)
พวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง
             แล้วตรัสพระคาถาว่า
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริยาย

                          บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ
                          ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ
                          บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
                          ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง


---------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๓๒. มัจฉริสูตร ว่าด้วยคนตระหนี่
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=525&Z=582&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิตเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             เทวดาสตุลลปกายิกา (ผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ) จำนวนมาก มีวรรณงาม
มาเฝ้าพระผู้มีพระภาค
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=78&bgc=honeydew#เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ

             เมื่อถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว เทวดา ๔ องค์ แต่ละองค์กล่าวคาถา
ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
             ๑. เพราะความตระหนี่ และความประมาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้
             บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ (รู้ว่าทานมีผล) พึงให้ทานได้

             ๒. คนตระหนี่ไม่ให้ทานเพราะกลัวภัย ภัยนั้นนั่นเองจะมีแก่
             คนตระหนี่ผู้ไม่ให้ทานผู้เป็นพาลทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
             บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็นสนิมในใจ ให้ทาน
             เพราะบุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า

             ๓. ชนเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกล
             ก็แบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน (เดินทางในสังสารวัฏ)
             ชนเหล่านั้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
             ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน
             ชนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมากก็ไม่ให้
             ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย (เมื่อของมีน้อย) นับเสมอด้วยพัน

             ๔. ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ทำได้ยาก
             พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามธรรมของสัตบุรุษอันพวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้แสนยาก
             เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษและของพวกอสัตบุรุษจึงต่างกัน
             พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์

             เทวดาอีกองค์หนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า คำของใครเป็นสุภาษิต
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย (ในแง่หนึ่งๆ ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด)
พวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง
             แล้วตรัสพระคาถาว่า
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริยาย

                          บุคคลใดประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา เมื่อของมีน้อยก็ให้ได้
                          บุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของ
                          บุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น

                          (บุคคลผู้ประพฤติธรรม คือกุศลกรรมบถ ๑๐)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กุศลกรรมบถ_10

             เทวดาอีกองค์หนึ่งทูลถามด้วยคาถาใจความว่า เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
             พระผู้มีพระภาคตรัสกับเทวดานั้นด้วยพระคาถาว่า

                          บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ (ปราศ-
                          *จากธรรม) โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน
                          ทานนั้นจัดว่าทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับ
                          ด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ
                          (ประพฤติธรรม) เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือ
                          บริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่
                          ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้

ความคิดเห็นที่ 99
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม เวลา 21:34 น.

GravityOfLove, 22 ชั่วโมงที่แล้ว
...
9:48 PM 5/22/2014

              สรุปความได้ดีทั้ง 2 พระสูตร.
              สัพภิสูตรและมัจฉริสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=480&Z=582

              ขอให้อธิบายความหมายข้อ 89 ในคำว่า
               ชนเหล่านั้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
              ด้วยความเข้าใจของคุณ GravityOfLove เอง.
              และคำว่า บุคคลเหล่านั้น ในข้อ 91 ว่า
              บุคคลเหล่านั้น, บุคคลอย่างนั้น หมายถึงบุคคลใด?

              บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา
              และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง
              หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น
              ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น

ความคิดเห็นที่ 100
GravityOfLove, 24 พฤษภาคม เวลา 09:36 น.

            - ขอให้อธิบายความหมายข้อ 89 ในคำว่า
                      ชนเหล่านั้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
ตอบว่า ผู้ให้ทานเหล่านี้ย่อมสามารถเข้าถึงพระนิพพาน คือไม่ต้องเกิดใหม่แล้วตายอีก
            คำว่า ไม่ตาย ตรงกันข้ามกับคำว่ามัจจุ ดังเช่นในมานกามสูตรเป็นต้น
            คำว่า อมตะ แปลว่า  ไม่ตาย ก็เป็นไวพจน์หนึ่งของคำว่า นิพพาน

            มานกามสูตร [บางส่วน]
            บุคคลนั้นพึงข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฏเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุได้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=111&Z=120&pagebreak=0
             สักกปัญหสูตร [บางส่วน]
             พระองค์ ทรงมีพระสติ เป็นมุนี ทรงแสวงหาอมตะ พระผู้จอมปราชญ์ ...
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=5727&Z=6256
---------------
             - และคำว่า บุคคลเหล่านั้น ในข้อ 91 ว่า บุคคลเหล่านั้น, บุคคลอย่างนั้น หมายถึงบุคคลใด
ตอบว่า "การบูชาของบุคคลเหล่านั้น" หมายถึงบุคคลที่ถวายทานแก่ภิกษุจำนวนมากรูป
หรือของถวายทานจำนวนมาก
              "ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น" บุคคลอย่างนั้นคือบุคคลผู้ประพฤติธรรม
ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้

ความคิดเห็นที่ 101
ฐานาฐานะ, 24 พฤษภาคม เวลา 09:54 น.

GravityOfLove, 3 นาทีที่แล้ว
...
09.36
>>>>
             ขอให้อธิบายความหมายข้อ 89 ในคำว่า
                  ชนเหล่านั้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
             ตอบว่า ผู้ให้ทานเหล่านี้ย่อมสามารถเข้าถึงพระนิพพาน คือไม่ต้องเกิดใหม่แล้วตายอีก
             คำว่า ไม่ตาย ตรงกันข้ามกับคำว่ามัจจุ ดังเช่นในมานกามสูตรเป็นต้น
             คำว่า อมตะ แปลว่า  ไม่ตาย ก็เป็นไวพจน์หนึ่งของคำว่า นิพพาน
<<<<
เฉลยว่า
             เนื้อความนี้ เป็นเนื้อความที่เทวดาเหล่ากล่าวไว้
             เทวดาเหล่านั้น ยังไม่น่าจะถือเอาอรรถที่ลึกซึ้งถึงพระนิพพานได้.

             เนื้อความอรรถกถา [บางส่วน]
             บทว่า เต มเตสุ น มิยฺยนฺติ ความว่า บุคคลเหล่านั้น เมื่อบุคคลอื่นตายแล้ว
ชื่อว่าย่อมไม่ตาย เพราะความตายคือความเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทาน
             เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้ตายแล้ว เมื่อบุคคลอื่นนำสิ่งของทั้งหลายมีข้าว
และน้ำเป็นต้นแม้มาก มาวางแวดล้อมแล้วบอกว่า สิ่งนี้จงเป็นของผู้นี้
สิ่งนี้จงเป็นของผู้นี้ ดังนี้
             บุคคลผู้ตายแล้วเหล่านั้นก็ไม่สามารถลุกขึ้นมารับการแจกจ่ายได้ฉันใด
แม้บุคคลผู้ไม่ให้ทานก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น โภคะทั้งหลายของผู้ตายแล้ว
และของผู้มีปกติไม่ให้ทานจึงชื่อว่าเสมอๆ กัน
             ด้วยเหตุนั้นแหละ บุคคลผู้มีปกติให้ทาน เมื่อชนทั้งหลายเห็นปานนี้
ตายแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=86

             สันนิษฐานว่า
             นัยว่า คนตาย รับไม่ได้ ให้ไม่ได้ ฉันใด
             คนที่ไม่ให้ (เพราะตระหนี่หรือเพราะประมาทไปเสีย)
ก็เป็นเช่นคนตายแล้ว
             ชนเหล่านั้น เมื่อบุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
             ชนผู้ให้ เมื่อบุคคลเหล่านั้นตายแล้ว เพราะตายจากกุศลธรรม
เพราะตระหนี่ เพราะประมาทเสีย ชนผู้ให้ ชื่อว่าไม่ตาย (จากกุศลธรรม)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

             และคำว่า บุคคลเหล่านั้น ในข้อ 91 ว่า
             บุคคลเหล่านั้น, บุคคลอย่างนั้น หมายถึงบุคคลใด

             การบูชาของบุคคลเหล่านั้น หมายถึงบุคคลที่ถวายทานแก่ภิกษุจำนวนมากภิกษุ
หรือของถวายทานคำนวนมาก

             ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น บุคคลอย่างนั้นคือบุคคลผู้ประพฤติธรรม
ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้

อธิบายได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 102
ฐานาฐานะ, 24 พฤษภาคม เวลา 09:58 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๓๑. สัพภิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=480&Z=524
              ๓๒. มัจฉริสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=525&Z=582

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. คำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต ฯ
              เคยได้เห็นคำนี้ จากพระสูตรใดมาก่อน?

ความคิดเห็นที่ 103
GravityOfLove, 24 พฤษภาคม เวลา 11:10 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๓๑. สัพภิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=480&Z=524

             ๑. อานิสงส์ต่างๆ จากการคบสัตบุรุษแล้วประพฤติธรรมของสัตบุรุษ
             ๒. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ควรทำความสนิทกับพวก
                          สัตบุรุษ บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้น-
                          *จากทุกข์ทั้งปวง ฯ
             ๓. เรื่องราวของเทวดาสตุลลปกายิกา
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=78&bgc=honeydew#เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ

             ๔. ความสนิท ได้แก่ความสนิทด้วยไมตรี
แต่ความสนิทด้วยตัณหาอันใครๆ ไม่ควรกระทำ
             ๕. บุคคลพึงทำความสนิทไมตรีกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกทั้งหลาย
             ๖. บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ในท่ามกลางแห่งเรื่องเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศกเหมือนอุบาสิกา (มัลลิกา) ของพันธุลเสนาบดี
และเหมือนสังกิจจสามเณรผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18&p=9

             ๗. บุคคลทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ
เหมือนสามเณร ชื่อว่าอธิมุตตกะ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระสังกิจจเถระ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=78&bgc=honeydew#เรื่องอธิมุตตกะสามเณร
-------------------------
              ๓๒. มัจฉริสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=525&Z=582

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด เป็นผู้
                          เลี้ยงภริยา และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง
                          บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของ
                          บุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น ฯ
                          บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบ (ปราศ-
                          *จากธรรม) โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน
                          ทานนั้นจัดว่าทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับ
                          ด้วยอาชญา จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ
                          (ประพฤติธรรม) เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือ
                          บริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่
                          ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้ ฯ
             ๒. ความตระหนี่ มีการปกปิดซึ่งสมบัติของตนไว้เป็นลักษณะ
             ความประมาท มีการอยู่ปราศจากสติเป็นลักษณะ
-------------------------------------------
              2. คำว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต ฯ
              เคยได้เห็นคำนี้ จากพระสูตรใดมาก่อน?
             ในมหาโคสิงคสาลสูตร
            [๓๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า คำของใครหนอเป็นสุภาษิต?
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6877&Z=7105

ความคิดเห็นที่ 104
ฐานาฐานะ, 24 พฤษภาคม เวลา 20:52 น.

GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
11:10 AM 5/24/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             ขอเสริมเล็กน้อยดังนี้ :-
             1.
             คำว่า บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม ประพฤติสะอาด
เป็นผู้เลี้ยงภริยา และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้
             นัยว่า บุคคลนั้น เป็นผู้ประพฤติธรรม กล่าวคือ กุศลกรรมบถ 10
จัดเป็นอย่างต่ำก็ระดับศีล (หรือสูงกว่า) บุคคลเช่นนั้น มีของน้อยก็ให้ได้
จัดว่าไม่ตระหนี่ หรือข่มความตระหนี่ได้
             ดังนั้น วัตถุทานของเขา ย่อมบริสุทธิ์ด้วยดี ไม่ใช่ปล้นขโมย
จากผู้อื่นมา ทั้งตัวเขาเองก็บริสุทธิ์ด้วยการประพฤติธรรม ดังนั้นจึงมีผลมาก
ด้วยความประพฤติธรรมและความไม่ตระหนี่ของเขา หากได้ปฏิคาหก
หรือผู้รับทาน ที่บริสุทธิ์ด้วยแล้ว ยิ่งมีผลมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก.
             ด้วยนัยแห่งข้อ 91 และ 93 เป็นนัยที่ให้ความสำคัญแก่ธรรม
อันมีอยู่ในตนเอง (กุศลกรรมบถ 10) มากกว่าความสำคัญในปัจจัยภายนอก
คือปฏิคาหกหรือผู้รับทาน.
             2. คำว่า ผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ จัดเป็นคำชมเชยสรรเสริญ
ที่น่ายินดี น่าภูมิใจ และพึงเพียรพยายามรักษาไว้.

             คำว่า กรรมบถและสัมมัปปธาน 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรมบถ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมมัปปธาน

ความคิดเห็นที่ 105
ฐานาฐานะ, 24 พฤษภาคม เวลา 21:04 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สัพภิสูตรและมัจฉริสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=480&Z=582

              พระสูตรหลักถัดไป คือ สาธุสูตร [พระสูตรที่ 33].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              สาธุสูตรที่ ๓
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=583&Z=647
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=94

ความคิดเห็นที่ 106
GravityOfLove, 24 พฤษภาคม เวลา 21:17 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๓๓. สาธุสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=583&Z=647&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
ได้แก่ทานที่บุคคลแม้เชื่อซึ่งกรรมและผลของกรรมแล้วให้
เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ คือเป็นกรรมอันเจริญที่ตนได้.
             ๒. บุคคลผู้นอกรีตนอกรอย ๙๖ ประเภท
             ๓. ศีลาทิคุณ แปลว่าอะไรคะ
----------------------
             ๓๔. นสันติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=648&Z=686&bgc=honeydew&pagebreak=0
             ๑.          อารมณ์อันงามทั้งหลายในโลกไม่เป็นกาม ความกำหนัดที่พร้อมไป
                          ด้วยความดำริเป็นกามของบุรุษ อารมณ์อันงามทั้งหลายย่อม
                          ตั้งอยู่ในโลกอย่างนั้นนั่นแหละ
             ๒. พระเถระชื่อว่าโมฆราชผู้ฉลาดในอนุสนธิ ฟังคาถาว่า
ขีณาสวภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว ดังนี้ มีสติกำหนดคาถาแม้เหล่านั้นแล้วจึงคิดว่า
เนื้อความแห่งคาถานี้ไม่ไปตามอนุสนธิ ดังนี้ เมื่อจะสืบต่อแห่งอนุสนธิตามที่
เป็นไปอย่างไร จึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า
             ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 23 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 22:00:54 น.
Counter : 911 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog