32.2 พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
32.1  พระสูตรหลักถัดไป คือสัพภิสูตร [พระสูตรที่ 31]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=23-05-2014&group=4&gblog=18

ความคิดเห็นที่ 107
ฐานาฐานะ, 25 พฤษภาคม เวลา 00:57 น.

GravityOfLove, 15 นาทีที่แล้ว
              กรุณาอธิบายค่ะ
              ๓๓. สาธุสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=583&Z=647&bgc=honeydew&pagebreak=0

              ๑. ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
ได้แก่ทานที่บุคคลแม้เชื่อซึ่งกรรมและผลของกรรมแล้วให้
เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ คือเป็นกรรมอันเจริญที่ตนได้.

              บทว่า สทฺธายปิ สาหุ ทานํ แปลว่า ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
ได้แก่ทานที่บุคคลแม้เชื่อซึ่งกรรมและผลของกรรมแล้วให้ เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
คือเป็นกรรมอันเจริญที่ตนได้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=94

              สันนิษฐานนัยว่า
              ศรัทธา ได้แก่ศรัทธา 4 แต่ในที่นี้หมายถึง 2 ข้อแรก
เป็นสิ่งที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ กล่าวคือ ทรัพย์แม้มีน้อย
ก็สละให้ทานได้ เมื่อให้ทานแล้ว ย่อมได้วิบากอันเป็นสุข.
              มีศรัทธาและของเพียงเล็กน้อย ก็ทำประโยชน์ให้สำเร็จได้
ถ้าไม่มีศรัทธา ถึงมีของมาก ก็อาจจะสละให้ทานไม่ได้.
              คำว่า ศรัทธา 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ศรัทธา

              ๒. บุคคลผู้นอกรีตนอกรอย ๙๖ ประเภท
              คำนี้ ค้นดูจากอรรถกถาบาลีทั้งในฉบับเรียนธรรม
และใน budsir ไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า ได้แก่ประเภทใดบ้าง.

              บุคคลผู้นอกรีตนอกรอย ๙๖ ประเภท
              ฉบับเรียนธรรม :-
               พหิทฺธา ฉนฺนวุติ (๑) ปาสณฺฑเภเท
              ฉบับ budsir :-
               พหิทฺธา ฉนวุติ ๓- ปาสณฺฑเภเท
ฉ.ม., อิ. ปญฺจนวุติ.
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=11&item=33&Roman=0&PageMode=1
//budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=2&valume=11&item=34&Roman=0&PageMode=1

              คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) : ปาสณฺฑิโก
คำอ่าน (ภาษาบาลี) : ปา-สัน-ทิ-โก
คำแปลที่พบ : ผู้ถือมิจฉาทิฐิ
//www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

              น่าจะแปลว่า พวกนอกศาสนาที่ถือมิจฉาทิฐิ 96 ประเภท
แต่ไม่ทราบว่า ได้แก่ประเภทใดบ้าง.

              ๓. ศีลาทิคุณ แปลว่าอะไรคะ
              ศีลาทิคุณ มาจากคำว่า สีล (ศีล) + อาทิ (ต้นหรือเป็นต้น) + คุณ
              แปลว่า คุณหรือธรรมมีศีลเป็นต้น.
----------------------

              ๓๔. นสันติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=648&Z=686&bgc=honeydew&pagebreak=0
              ๑. อารมณ์อันงามทั้งหลายในโลกไม่เป็นกาม ความกำหนัดที่พร้อมไป
              ด้วยความดำริเป็นกามของบุรุษ อารมณ์อันงามทั้งหลายย่อม
              ตั้งอยู่ในโลกอย่างนั้นนั่นแหละ

อธิบายว่า รูปารมณ์ที่น่าใคร่ เสียงที่น่าใคร่ ก็เกิดขึ้นมาตามปัจจัย
อย่างนั้นนั่นแหละ แต่ว่า หากไม่มีการเสพอารมณ์นั้นเลย ก็ไม่ใคร่ไม่ปรารถนา
แต่เพราะการตรึกนึกด้วยความกำหนัดในอารมณ์เหล่านั้น
ความกำหนัดในอารมณ์เหล่านั้น นั่นแหละเป็นกิเลสกาม.
              ประโยคนี้ เป็นการอธิบายความหมายของกาม 2 อย่างคือ
              1. วัตถุกาม เช่น รูป เสียงที่น่าใคร่น่าปรารถนา
              2. กิเลสกาม คือ กามฉันทะ กามราคะ
              สันนิษฐานนัยก็คือ ให้ความสำคัญต่อกิเลสกามมากกว่า
กล่าวคือ เมื่อจะละกาม ก็จงละที่กิเลสกาม โดยการสำรวมอินทรีย์
การพิจารณาอสุภะ การพิจารณาในความไม่เที่ยงเป็นต้น
              ไม่ใช่ว่า ให้ไปทำลายวัตถุกามเหล่านั้น
              เช่นว่า บุรุษเห็นสตรีที่น่าใคร่ น่าปรารถนาแล้ว
เกิดความกำหนัด จากนั้นก็เกิดความทุกข์โดยประการต่างๆ
จึงเห็นว่า กามมีโทษ เช่นต้องแสวงหาเป็นต้น
              เมื่อจะละกามเหล่านั้น ก็ควรละที่กิเลสกาม ไม่ใช่ว่า
ไปทำลายวัตถุกามนั้น หรือไปโทษว่า เพราะรูปสวยๆ เสียงไพเราะ
จึงกำหนัด อันที่จริงแต่เพราะไม่สำรวมอินทรีย์เป็นต้น จึงกำหนัด.

              คำว่า กาม 2
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม_2

              ๒. พระเถระชื่อว่าโมฆราชผู้ฉลาดในอนุสนธิ ฟังคาถาว่า
ขีณาสวภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว ดังนี้ มีสติกำหนดคาถาแม้เหล่านั้นแล้วจึงคิดว่า
เนื้อความแห่งคาถานี้ไม่ไปตามอนุสนธิ ดังนี้ เมื่อจะสืบต่อแห่งอนุสนธิตามที่
เป็นไปอย่างไร จึงกล่าวคำอย่างนี้ว่า

ตอบว่า
              ตอบได้ยากครับ เพราะคาถาที่เทวดากล่าวอยู่นั้น ก็เห็นว่า
บางคาถาก็เป็นพระพุทธพจน์ บางคาถาก็ยังไม่แน่ใจว่า ใช่หรือไม่?
              ดังนั้น จะตอบว่า ไม่ไปตามอนุสนธิอย่างไร? จึงตอบยาก
              คือ เทวดาก็มีความรู้ ทั้งคาถาที่กล่าวก็เป็นพระพุทธพจน์
              พระเถระชื่อว่าโมฆราชผู้ฉลาดในอนุสนธิ ก็เป็นพระอรหันต์
ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า อนุสนธิที่ควรเป็นก็คือ
              เทวดาเหล่านั้นควรไหว้พระอรหันต์มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กล่าวคือ ไม่ใช่เพียงสรรเสริญเท่านั้น ควรไหว้ด้วย และควรเรียนธรรม
ประพฤติตามธรรมนั้น เพื่อให้รู้ธรรม เพื่อบรรลุธรรม เมื่อรู้ธรรมแล้ว
ก็พ้นจากเครื่องข้อง เช่นวิจิกิจฉา.
              สันนิษฐานล้วนๆ โดยถือนัยว่า สิ่งที่เทวดาควรทำให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
เพื่อประโยชน์ของเทวดาเหล่านั้นเอง.

              เอตทัคคบาลี ข้อ 149 บางส่วน
              พระโมฆราชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?20/149

ความคิดเห็นที่ 108
GravityOfLove, 25 พฤษภาคม เวลา 09:46 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 109
GravityOfLove, 25 พฤษภาคม เวลา 10:17 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๓๓. สาธุสูตร ว่าด้วยผลสำเร็จแห่งทาน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=583&Z=647&bgc=honeydew&pagebreak=0

             พวกเทวดาสตุลลปกายิกาจำนวนมาก มีวรรณงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แล้วถวายอภิวาท เทวดา ๖ องค์ แต่ละองค์ได้เปล่งอุทาน (วาจาที่เปล่งขึ้นเพราะปีติ)
ในสำนักพระผู้มีพระภาค มีใจความว่า
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=78&bgc=honeydew#เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุทาน

             ๑. ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ (สาธุ)
             บุคคลไม่ให้ทานเพราะความตระหนี่และความประมาท
             บุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ (รู้ว่าทานมีผล) พึงให้ทานได้
             (ประโยชน์ให้สำเร็จ คือมีวิบากเป็นสุข)

             ๒. ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
             ทักษิณา (ของทำบุญ) ที่ให้แต่ของน้อย ก็นับเสมอด้วยพัน

             ๓. ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ แม้ของมีน้อย
             ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
             นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าทานและการรบเสมอกัน
             ทายก (ผู้ให้ทาน) นั้นย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า
             (ทานและการรบเสมอกัน เพราะว่าคนขลาดย่อมไม่อาจรบ
บุคคลผู้กลัวความสิ้นเปลือง ก็ย่อมไม่อาจเพื่อจะให้ทาน)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ศรัทธา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัทธา

             ๔. ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ แม้ของมีน้อย แม้ด้วยศรัทธา
             ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว (พระอริยะ) ยิ่งเป็นการดี
             บุคคลผู้ให้ทานนั้นล่วงพ้นนรกแห่งยมราช ย่อมเข้าถึงสถานอันเป็นทิพย์

             ๕. ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ฯลฯ ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี
             ทานที่บุคคลเลือกให้ ยิ่งเป็นการดี พระสุคตทรงสรรเสริญ
             ทานนั้นย่อมมีผลมาก เหมือนพืชทั้งหลายที่หว่านในนาดี

             [อรรถกถา] ทานที่บุคคลเลือกให้ มี ๒ อย่าง คือ
             (๑) เลือกทักขิณา (ของสำหรับทำบุญ) คือเลือกของประณีต
             (๒) เลือกพระทักขิไณยบุคคล (บุคคลผู้ควรรับของทำบุญ) คือละเว้นบุคคลนอกศาสนานี้
ละเว้นผู้มีศีลวิบัติ ละเว้นบุคคลผู้นอกรีตนอกรอย ๙๖ ประเภท (มีมิจฉาทิฏฐิ) แล้วถวายทานแก่
บรรพชิตในพระศาสนาผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาทิคุณ (คุณหรือธรรมมีศีลเป็นต้น)

             ๖. ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ฯลฯ ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็นการดี
             ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายยิ่งเป็นการดี (ศีล)
             ผู้ที่ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำบาปเพราะกลัวถูกติเตียน บัณฑิตย่อมสรรเสริญ
             แต่ไม่สรรเสริญบุคคลที่กล้าในการทำบาปนั้น
             สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำบาป เพราะความกลัวบาปแท้จริง

             เทวดาอีกองค์หนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า คำของใครเป็นสุภาษิต
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย (ในแง่หนึ่งๆ ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด)
พวกท่านจงฟังซึ่งคำของเราบ้าง
             แล้วตรัสว่า
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปริยาย

                          ก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วโดยส่วนมากโดยแท้ ก็แต่
                          ธรรมบท (นิพพาน) แหละประเสริฐว่าทาน เพราะว่า
                          สัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญา ในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่า
                          ก็ดี บรรลุซึ่งนิพพานแล้วแท้จริง

                          (พระนิพพานประเสริฐกว่าทาน)

-----------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔
             ๓๔. นสันติสูตร ว่าด้วยความไม่มี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=648&Z=686&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พวกเทวดาสตุลลปกายิกาจำนวนมาก มีวรรณงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
แล้วถวายอภิวาท
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=78&bgc=honeydew#เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ

             เทวดาองค์หนึ่งกล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาค ใจความว่า
             กามทั้งหลายในหมู่มนุษย์ไม่เที่ยง
             ผู้ที่ประมาทในอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ (ในวัตถุกาม เช่น รูปเป็นต้น)
ย่อมนิพพานไม่ได้ (นสันติ)
             เบญจขันธ์และทุกข์เกิดจากฉันทะ
             เมื่อกำจัดฉันทะได้ ก็กำจัดเบญจขันธ์และทุกข์ได้
             อารมณ์อันงามทั้งหลายในโลก (วัตถุกาม) ไม่ได้เป็นกาม (กิเลสกาม)
             ความกำหนัดที่มีความดำริ เป็นกาม (กิเลสกาม)
             (สงฺกปฺปราโค ตรึกนึกด้วยความกำหนัดในอารมณ์เหล่านั้น)
             บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมกำจัดฉันทะในอารมณ์ทั้งหลายนั้น
             บุคคลที่ละความโกรธ มานะ สังโยชน์แล้ว ทุกข์ย่อมไม่ล่วงบุคคลนี้
ซึ่งเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องในนามรูป และเป็นผู้ไม่มีกิเลส
             พระอรหันต์เป็นผู้ละบัญญัติ มานะ และตัณหาในนามรูปได้แล้ว
เป็นผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มีตัณหา ย่อมไม่มีใครหาพบไม่ว่าในที่ไหนๆ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กาม_2
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อารมณ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เบญจขันธ์
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ดำริ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มานะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังโยชน์

             (ท่านพระโมฆราชทูลถามเป็นคาถา ใจความว่า)
             บัณฑิตพึงสรรเสริญผู้ที่ได้ไหว้ (ด้วยกายหรือวาจาหรือด้วยการปฏิบัติตาม)
พระอรหันต์ผู้อุดมกว่านรชน ผู้ประพฤติประโยชน์เพื่อพวกนรชน ผู้พ้นแล้ว หรือไม่
(พระอรหันต์ ในที่นี้หมายถึงพระผู้มีพระภาค)

             (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถา ใจความว่า)
             ดูกรภิกษุ (ท่านพระโมฆราช) บัณฑิตพึงสรรเสริญผู้ที่ได้ไหว้พระอรหันต์นั้น
             และหากเขาเหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว
(รู้อริยสัจ ๔) ละวิจิกิจฉาแล้ว ก็ย่อมเป็นผู้ล่วงแล้ว
ซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้องด้วย

//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิจิกิจฉา

ความคิดเห็นที่ 110
ฐานาฐานะ, 25 พฤษภาคม เวลา 21:57 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
...
10:13 AM 5/25/2014
1:29 PM 5/25/2014

             สรุปความได้ดีทั้ง 2 พระสูตร
             สาธุสูตรและนสันติสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=583&Z=686

             เวบ 84000 นี้ สามารถเลือกใช้โดยมี //www.ขึ้นต้นก็ได้
หรือไม่มี //www.ขึ้นต้นก็ได้ ดังนั้นจึงควรใช้อย่างเดียว
และควรใช้โดยไม่มี //www.เพื่อประหยัดพื้นที่ในกระทู้และ BLOG.
             url address 2 อย่างนี้ ให้ผลเหมือนกัน.
//www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิจิกิจฉา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิจิกิจฉา

ความคิดเห็นที่ 111
ฐานาฐานะ, 25 พฤษภาคม เวลา 22:05 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๓๓. สาธุสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=583&Z=647
              ๓๔. นสันติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=648&Z=686

              1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              2. คาถาเนื้อความว่า
               ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
               เพราะความตระหนี่และความประมาทอย่างนี้
               บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ อันบุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้ ฯ
              เมื่อคุณ GravityOfLove ได้ศึกษาแล้ว นึกถึงพระสูตรอะไร (บ้าง)?

ความคิดเห็นที่ 112
GravityOfLove, 25 พฤษภาคม เวลา 23:26 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๓๓. สาธุสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=583&Z=647

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          ก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วโดยส่วนมากโดยแท้ ก็แต่
                          ธรรมบท (นิพพาน) แหละประเสริฐว่าทาน เพราะว่า
                          สัตบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญา ในกาลก่อนก็ดี ในกาลก่อนกว่า
                          ก็ดี บรรลุซึ่งนิพพานแล้วแท้จริง
             ๒. เรื่องพราหมณ์เอกสาฎก แสดงให้เห็นว่า ทายกย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=1
             ๓. เทวดาองค์ที่ ๑-๕ กล่าวถึงอานิสงส์ของทาน
             เทวดาองค์ที่ ๖ กล่าวถึงอานิสงส์ของศีล
---------------------
             ๓๔. นสันติสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=648&Z=686

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
                          แม้พวกเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อัน
                          บัณฑิตพึงสรรเสริญ พวกเทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้
                          ขีณาสวภิกษุนั้น ผู้พ้นแล้วอย่างนั้น ดูกรภิกษุ แม้พวก
                          เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจฉาแล้ว ก็ย่อม
                          เป็นผู้ล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้อง ฯ
             ๒. อารมณ์อันงามทั้งหลายในโลกไม่เป็นกาม
             ความกำหนัดที่พร้อมไปด้วยความดำริเป็นกามของบุรุษ
             ยังมีพระสูตรที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้แก่
             ปสูรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=10174&Z=10221
             นิพเพธิกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=22&item=334

             ๓. พระโมฆราชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?20/149
------------------------------------------
             2. คาถาเนื้อความว่า ... อันบุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้ ฯ
             เมื่อคุณ GravityOfLove ได้ศึกษาแล้ว นึกถึงพระสูตรอะไร (บ้าง)?
             มีหลายพระสูตรมากค่ะ เช่น
             ภิกขุสูตร
             [๖๘๗] พ. ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์
ก่อน เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=3900&Z=3940

             สามัญญผลสูตร
             ... เมื่อหม่อมฉันกล่าวอย่างนี้ ครูอชิตะ เกสกัมพล ได้กล่าวคำนี้กะหม่อมฉันว่า
ดูกรมหาบพิตร ทานไม่มีผล
การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดี
ทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์
ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่น
ให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=1072&Z=1919

             สังคีติสูตร
             ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมา-
*สัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดงก็เป็นไปเพื่อความ
สงบระงับ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศ
ไว้ และบุคคลนี้ก็เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เขาเป็นคนมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า
ทานที่บุคคลให้ไม่มีผลการบูชาไม่มีผล
... ไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปดี
ปฏิบัติชอบแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
แล้วยังผู้อื่นให้รู้
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015

             สาเลยยกสูตร
เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ผลแห่งทานที่ให้แล้วไม่มี
... สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัด
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก ดังนี้ ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8867&Z=9055

[แก้ไขขีดเส้นใต้ตาม #113]

ความคิดเห็นที่ 113
ฐานาฐานะ, 27 พฤษภาคม เวลา 13:00 น.

GravityOfLove, วันอาทิตย์ เวลา 23:26 น.
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
11:25 PM 5/25/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ.
              ควรขีดเส้นใต้เพิ่มเติมดังนี้
               สามัญญผลสูตร : ครูอชิตะ เกสกัมพล ได้กล่าวคำนี้
               สังคีติสูตร : คนมิจฉาทิฐิ
               สาเลยยกสูตร : ความเห็นผิด

              คำถามข้อ 2 ว่า
              2. คาถาเนื้อความว่า
               ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยังประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
               เพราะความตระหนี่และความประมาทอย่างนี้
               บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ อันบุคคลผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้ ฯ

              สำหรับผมแล้ว ผมนึกถึงพระสูตรชื่อว่า ทานสูตร
              ทานสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=25&A=4843&w=ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างเรา

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 มิถุนายน 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 22:07:44 น.
Counter : 678 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog