30.3 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
30.2 พระสูตรหลักถัดไป คือนันทนสูตร [พระสูตรที่ 11]

ความคิดเห็นที่ 30
ฐานาฐานะ, 15 พฤษภาคม เวลา 04:42 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสาม
              ๑๔. ขัตติยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=180&Z=191
              ๑๕. สกมานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=192&Z=199
              ๑๖. นิททาตันทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=200&Z=208

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 31
GravityOfLove, 15 พฤษภาคม เวลา 07:08 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๑๔. ขัตติยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=180&Z=191

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า
             สัตว์อาชาไนยประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้า
             ภรรยาที่ปรนนิบัติดี ประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย
             บุตรใดเป็นผู้เชื่อฟัง บุตรนั้นประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย
             ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์ทั้งหมดทั้งสัตว์มีเท้าและไม่มีเท้า
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระองค์เมื่อจะทรงอุบัติย่อมทรงอุบัติในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น.
เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทิปทํ เสฏฺโฐ แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประเสริฐกว่าสัตว์ ๒ เท้า
------------------
              ๑๕. สกมานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=192&Z=199

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลาตะวันเที่ยง
             ป่าใหญ่ ประหนึ่งว่าครวญคราง
             นั้นเป็นความยินดีปรากฏแก่เรา
             ๒. เทวดานั้นมีปัญญาอ่อน เมื่อไม่ได้ความสุข ๒ อย่าง คือ
ความผาสุกในการนั่ง ความผาสุกในการพูดของตนในขณะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้
------------------
              ๑๖. นิททาตันทิสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=200&Z=208

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน ความบิดกาย
             ความไม่ยินดี และความมึนเมาเพราะภัต ด้วยความเพียร
             อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ได้
             ๒. อรรถกถาอธิบายว่า อริยมรรคที่เทวดากล่าวถึง หมายถึงโลกุตตรมรรค
อริยมรรคที่พระผู้มีพระภาคตรัส หมายถึงทั้งโลกียมรรคและโลกุตตรมรรค คือเมื่อมี
ความเพียร ก็ทำให้มรรคทั้ง ๒ บริสุทธิ์ได้

ความคิดเห็นที่ 32
ฐานาฐานะ, 16 พฤษภาคม เวลา 16:20 น.

GravityOfLove, 10 ชั่วโมงที่แล้ว
              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสาม
...
7:08 AM 5/15/2014

              ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 33
ฐานาฐานะ, 16 พฤษภาคม เวลา 16:20 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ขัตติยสูตร, สกมานสูตรและนิททาตันทิสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=180&Z=208

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ทุกกรสูตร [พระสูตรที่ 17].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ทุกกรสูตรที่ ๗
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=209&Z=220
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=36

ความคิดเห็นที่ 34
GravityOfLove, 16 พฤษภาคม เวลา 19:46 น.

            ๑๗. ทุกกรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=209&Z=220&bgc=honeydew&pagebreak=0

             ๑. ชื่อพระสูตรแปลว่าอะไรคะ
             ๒. ไม่เข้าใจทั้งพระสูตรเลยค่ะ กรุณาอธิบายค่ะ
--------------
             ๑๘. หิริสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=221&Z=229&bgc=honeydew&pagebreak=0

             สัตตนิกาย แปลว่าอะไรคะ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 35
ฐานาฐานะ, 16 พฤษภาคม เวลา 20:35 น.

GravityOfLove, 10 นาทีที่แล้ว
...
7:46 PM 5/16/2014

              ๑. ชื่อพระสูตรแปลว่าอะไรคะ
              ตอบว่า ทุกกร น่าจะมาจาก ทุ + กร
              ทุ ไม่ดี ยากลำบาก
              กร ทำ ผู้ทำ
              ทุกกร น่าจะแปลว่า ทำได้ยาก ผู้ทำได้ยาก

              ๒. ไม่เข้าใจทั้งพระสูตรเลยค่ะ กรุณาอธิบายค่ะ
              อธิบาย
              เทวดากล่าว นัยว่า
              ธรรมของสมณะ คนไม่ฉลาด ทำได้ยาก ทนได้ยาก
              คือ คนโง่หรือคนไม่ฉลาด ประพฤติธรรมของสมณะผู้สงบ ได้ยาก
ทั้งคนพวกนี้ทนต่อธรรมของผู้สงบ ได้ยาก เพราะว่าธรรมของสมณะ มีความลำบาก
กล่าวคือ ธรรมของสมณะ ได้แก่การฝึกฝนทางกายวาจาใจให้อยู่ในสุจริต ข่มกิเลส ฯลฯ
              ดังนั้น พวกคนพาล ไม่ฝึกฝน จึงเห็นเป็นเรื่องติดขัด คือขัดข้องไปหมด
เช่นเห็นอาหารอร่อย ก็อยากจะกินมากๆ เก็บไว้กินบ่อยๆ
              แต่การพิจารณาอาหารด้วยนัยว่า
              1. พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงบริโภคอาหาร ไม่ใช่บริโภคเพื่อเล่น
เพื่อมัวเมา เพื่อประดับ เพื่อตบแต่ง บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อเยียวยา
อัตตภาพ เพื่อขจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า
เราจักขจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความคล่องแคล่ว
ความหาโทษมิได้ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เราได้
              2. อาหาเรปฏิกูลสัญญา
              3. วิกาลโภชนา
              ก็เป็นความขัดข้องของคนเหล่านั้น จึงกล่าวนัยว่า การฝึกฝนนี้
เป็นเรื่องติดขัดของพวกคนพาลที่ไม่ฝึกฝน หรือแม้การสำรวมตาหูจมูก ฯลฯ
ก็เช่นกัน.

              พระผู้มีพระภาคตรัส นัยว่า
              พวกคนพาล ประพฤติธรรมของสมณะนานเท่าใดก็ตาม
หากห้ามจิตตนเอง ไม่ให้ตรึกไปด้วยอกุศลวิตกไม่ได้ตราบใด
เขาก็ติดขัดอยู่ในทุกอารมณ์ หาความสงบใจ สงบนิวรณ์ไม่ได้เลย
ตราบนั้น เช่น เห็นอารมณ์อันเป็นวิสภาคเช่นผู้หญิง ก็กำหนัดไป
ดำริฟุ้งไป เห็นอารมณ์หรือคนไม่ถูกกัน ความโกรธก็กำเริบขึ้น
ติดขัดไปด้วยอกุศลวิตกในอารมณ์ต่างๆ ที่เห็นได้ยินรับรู้เป็นต้น.
              ส่วนภิกษุใดระงับยับยั้งอกุศลวิตก โดยอุบายต่างๆ ได้
สำรวมไว้ได้ ไม่ฟุ้งซ่านไปด้วยอกุศลวิตกในอารมณ์ที่ชวนให้ฟุ้งซ่านไป
เหมือนเต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง (ก็ปลอดภัยจากอันตราย)
อันเป็นไปเพื่อให้ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้แล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ปรินิพพานแล้ว คือดับกิเลสได้แล้ว ไม่พึงติเตียนใครๆ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

              ๑๘. หิริสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=221&Z=229&bgc=honeydew&pagebreak=0

              สัตตนิกาย แปลว่าอะไรคะ
              สัตตนิกาย น่าจะมาจาก สัตต (สัตว์) + นิกาย (หมู่)
              สัตตนิกาย จึงน่าจะแปลว่า หมู่สัตว์.

ความคิดเห็นที่ 36
GravityOfLove, 16 พฤษภาคม เวลา 21:51 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 37
GravityOfLove, 16 พฤษภาคม เวลา 21:57 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๑๗. ทุกกรสูตร ว่าด้วยสมณธรรมที่ทำได้ยาก
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=209&Z=220&bgc=honeydew&pagebreak=0

             (เทวดากล่าวเป็นคาถาว่า)
                          ธรรมของสมณะ คนไม่ฉลาด ทำได้ยาก ทนได้ยาก
                          เพราะธรรมของสมณะนั้นมีความลำบากมาก เป็นที่ติดขัดของคนพาล

             (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาว่า)
                          คนพาล ประพฤติธรรมของสมณะสิ้นวันเท่าใด (ไม่ว่านานเท่าใดก็ตาม)
                          หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่ในอำนาจของความดำริทั้งหลาย
                          พึงติดขัดอยู่ทุกๆ อารมณ์
                          ภิกษุยั้งวิตกในใจไว้ได้ เหมือนเต่าหดอวัยวะทั้งหลายไว้ในกระดองของตน
                          อันตัณหานิสัยและทิฐินิสัยไม่พัวพันแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
                          ปรินิพพานแล้ว ไม่พึงติเตียนใคร


------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๑๘. หิริสูตร ว่าด้วยหิริ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=221&Z=229&bgc=honeydew&pagebreak=0

             (เทวดากล่าวเป็นคาถาว่า)
                          บุรุษที่เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริได้ มีอยู่น้อยคนในโลก
                          ภิกษุใดบรรเทาความหลับเหมือนม้าดีหลบแส้ ภิกษุนั้นมีอยู่น้อยรูปในโลก

             (พระผู้มีพระภาคตรัสเป็นคาถาว่า)
                          ขีณาสวภิกษุพวกใด เป็นผู้เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริ
                          มีสติประพฤติอยู่ในกาลทั้งปวง ขีณาสวภิกษุพวกนั้นมีน้อย
                          ขีณาสวภิกษุทั้งหลาย บรรลุนิพพานเป็นส่วนสุดแห่งทุกข์แล้ว
                          เมื่อสัตตนิกาย
(หมู่สัตว์) ประพฤติไม่เรียบร้อย ย่อมประพฤติเรียบร้อย
                          (ย่อมประพฤติถูกต้อง แม้อยู่ท่ามกลางหมู่สัตว์ที่ประพฤติไม่ถูกต้อง)
//www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=หิริ

------------------
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒
             ๑๙. กุฏิกาสูตร ว่าด้วยกระท่อม
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=230&Z=247&bgc=honeydew&pagebreak=0

             (เทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาคเป็นคาถาว่า)
             กระท่อมของท่านไม่มีหรือ รังของท่านไม่มีหรือ เครื่องสืบต่อของท่านไม่มีหรือ
             ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกหรือ

             (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเป็นคาถาว่า)
                       แน่ละ กระท่อมของเราไม่มี (ไม่มีการอยู่ในท้องของมารดาในวัฏฏะอีก)
                       รังของเราไม่มี (ไม่มีการเลี้ยงดูภรรยาเพราะเป็นบรรพชิต)
                       เครื่องสืบต่อของเราไม่มี (ไม่มีบุตรอีกเพราะเป็นบรรพชิต)
                       เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก

             (เทวดาทูลถามต่อไปว่า)
             กระท่อม รัง เครื่องสืบต่อ เครื่องผูก ที่ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านคืออะไร

             (ตรัสตอบว่า)
                       กระท่อมที่ท่านกล่าวคือมารดา (เพราะทารกอยู่ในท้องมารดาเหมือนอยู่ในกระท่อม)
                       รังคือภรรยา (เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อมกลับมาหาภรรยาเหมือนนกคืนรัง)
                       เครื่องสืบต่อคือบุตร (เพราะบุตรคือผู้สืบสกุล)
                       เครื่องผูกคือตัณหา

             (เทวดาทูลอนุโมทนาว่า)
             ดีจริง กระท่อมของท่านไม่มี รังของท่านไม่มี เครื่องสืบต่อของท่านไม่มี
             ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก

ความคิดเห็นที่ 38
ฐานาฐานะ, 17 พฤษภาคม เวลา 07:58 น.

              สรุปความได้ดีทั้ง 3 พระสูตร.
              ทุกกรสูตร, หิริสูตรและกุฏิกาสูตรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=209&Z=247

ความคิดเห็นที่ 39
ฐานาฐานะ, 17 พฤษภาคม เวลา 08:03 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสาม
              ๑๗. ทุกกรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=209&Z=220
              ๑๘. หิริสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=221&Z=229
              ๑๙. กุฏิกาสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=230&Z=247

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ย้ายไปที่
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 18 พฤษภาคม 2557
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 21:14:45 น.
Counter : 673 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog