37.1 พระสูตรหลักถัดไป คือปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82] การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 36.7 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71] //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=24-06-2014&group=4&gblog=42 ความคิดเห็นที่ 5 ความคิดเห็นที่ 6 GravityOfLove, 21 มิถุนายน 2557 เวลา 07:28 น. กรุณาอธิบายค่ะ ๘๒. ปฐมกัสสปสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1394&Z=1411&bgc=honeydew&pagebreak=0 ๑. พระผู้มีพระภาคทรงประกาศภิกษุไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสอนของภิกษุ ๒. กัมมัฏฐาน ๓๘ ประเภท เพราะอะไรจึงเว้นอาโลกกสิณและอากาสกสิณไว้ ไม่ครบ ๔๐ คะ ๘๓. ทุติยกัสสปสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1412&Z=1420&bgc=honeydew&pagebreak=0 ธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 7 ฐานาฐานะ, 21 มิถุนายน 2557 เวลา 18:10 น. GravityOfLove, 9 ชั่วโมงที่แล้ว กรุณาอธิบายค่ะ ๘๒. ปฐมกัสสปสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1394&Z=1411&bgc=honeydew&pagebreak=0 ๑. พระผู้มีพระภาคทรงประกาศภิกษุไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสอนของภิกษุ ตอบว่า นัยว่า กัสสปเทวบุตรกล่าว (หา) ว่า พระผู้มีพระภาคทรงประกาศภิกษุ (เรียกขานภิกษุ ภิกษุ) แต่ไม่ได้สอนว่า ภิกษุควรประพฤติอย่างไรเป็นต้น. อาจจะเป็นเพราะฟังไม่ครบถ้วน หรือจับความไม่ได้เอง จึงกล่าว (หา) อย่างนั้น. อีกนัยว่า กัสสปเทวบุตรตั้งบทขึ้น เพื่อประสงค์จะกล่าวธรรม ตั้งบทได้ และสามารถกล่าวต่อได้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงให้เทพบุตรนั้น แสดงคำสอนนั้น ด้วยคำว่า ดูกรกัสสปเทวบุตร ถ้าอย่างนั้นคำสอนนั้นจงแจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด ฯ หรือว่า ดูกรกัสสปเทวบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงทำคำสอนนั้นให้แจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด ฯ แต่เทพบุตรองค์นี้ประสงค์จะกล่าวด้วย ทั้งอาจกล่าวได้ด้วย. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำปัญหาให้เป็นภาระของเทพบุตรนั้นผู้เดียว จึงตรัสอย่างนี้. แม้เทพบุตรนั้นก็กล่าวปัญหา. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=221 ๒. กัมมัฏฐาน ๓๘ ประเภท เพราะอะไรจึงเว้นอาโลกกสิณและอากาสกสิณไว้ ไม่ครบ ๔๐ คะ สันนิษฐานว่า อาโลกกสิณ (กสิณคือแสงสว่าง) อาจสามารถใช้หรือสำเร็จได้ ด้วยโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว) อากาสกสิณ (กสิณคือที่ว่างเปล่า) อาจสามารถใช้หรือสำเร็จได้ ด้วยอากาสานัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) สันนิษฐานล้วน. คำว่า กรรมฐาน 40 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรมฐาน_40 คำว่า กสิณ 10 //84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=315 คำว่า อรูป หรือ อารุปป์ 4 //84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=207 ๘๓. ทุติยกัสสปสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1412&Z=1420&bgc=honeydew&pagebreak=0 ธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย ขอบพระคุณค่ะ 7:28 AM 6/21/2014 พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย น่าจะแปลว่า พึงหวัง หรือหวังได้ แห่งหฤทัย หรือในใจ ธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้น ได้แก่พระนิพพาน เพราะนิพพาน ไม่มีการอุบัติ ไม่มีจุติ. ในบางครั้ง ใช้คำว่า อรหัตผล เพื่อแสดงผลของ การบรรลุพระนิพพาน หรือทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. นิพพานสูตรที่ ๑ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=3977&Z=3992 ดังนั้น พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย จึงน่าแปลว่า ใจหวังได้ซึ่งพระนิพพาน หวังได้ในใจซึ่งพระนิพพาน หรือพระอรหัตผล. - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย อนึ่ง ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น พึงรู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งโลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว ฯ ภิกฺขุ สิยา ฌายิ วิมุตฺตจิตฺโต อากงฺเข เว ๑- หทยสฺสานุปตฺตึ โลกสฺส ญตฺวา อุทยพฺยญฺจ สุเจตโส อนิสฺสิโต ๒- ตทานิสํ โสติ ฯ เชิงอรรถ: ๑ สี. ยุ. จ ฯ ม. เจ ฯ ๒ สี. ยุ. อสิโต ฯ ถ้าภิกษุหวังการบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ๑ มีธรรมที่เป็นหัวใจเป็นอานิสงส์ เธอพึงเป็นผู้มีฌาน มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลก๒ มีใจดี ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย๓ เชิงอรรถ : ๑ การบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ ในที่นี้หมายถึงพระอรหัต (สํ.ส.อ. ๑/๘๓/๑๐๐) ๒ โลก ในที่นี้หมายถึงสังขารโลก (สํ.ส.อ. ๑/๘๓/๑๐๑) ๓ ดูเทียบคาถาข้อ ๙๔ หน้า ๑๐๑ ในเล่มนี้ //www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd15-1.htm ความคิดเห็นที่ 8 GravityOfLove, 21 มิถุนายน 2557 เวลา 18:36 น. เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 9 GravityOfLove, 21 มิถุนายน 2557 เวลา 18:37 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต (ประมวลเรื่องเทวบุตรที่ไปทูลถามปัญหาต่อพระพุทธเจ้า) วรรคที่ ๑ ๘๒. ปฐมกัสสปสูตร ว่าด้วยกัสสปเทวบุตร สูตรที่ ๑ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1394&Z=1411&bgc=honeydew&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กัสสปเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า พระผู้มีพระภาคทรงประกาศภิกษุไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสอนของภิกษุ (พระผู้มีพระภาคทรงเรียกขานภิกษุ ภิกษุ แต่ไม่ได้สอนว่า ภิกษุควรประพฤติอย่างไรเป็นต้น) พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นคำสอนนั้นจงแจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด (ถ้าอย่างนั้นท่านจงพูด ณ ที่นี้เถิด) กัสสปเทวบุตร กราบทูลว่า ๑. บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต (คือศึกษาจีสุจริต ๔ อย่างที่อิงอาศัย สัจจะ ๔ กถาวัตถุ ๑๐ โพธิปักขิยธรรม ๓๗) ๒. การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ (เพื่อศึกษาประโยชน์แห่งความรู้ด้วยปัญญา โดยถามปัญหากับสมณะผู้เป็นพหูสูต) ๓. การนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว (คือการเข้าถึงความสงบ อันสมณะทั้งหลายพึงเสพ คือพึงศึกษา พึงเจริญกัมมัฏฐาน ๓๘) ๔. การสงบระงับจิต (เจริญสมาบัติ ๘) พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น กัสสปเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวาย บังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วจีสุจริต&detail=on //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กถาวัตถุ_10 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพธิปักขิยธรรม_37 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมาบัติ_8 [อรรถกถา] วิภังคปกรณ์ ฌานวิภังค์ มาติกาเป็นต้น กัมมัฏฐาน ๓๘ ประเภท มาจากกัมมัฏฐาน ๔๐ เว้นอาโลกกสิณและอากาสกสิณ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กรรมฐาน_40 //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=599&p=2 --------------- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวปุตตสังยุต วรรคที่ ๑ ๘๓. ทุติยกัสสปสูตร ว่าด้วยกัสสปเทวบุตร สูตรที่ ๒ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1412&Z=1420&bgc=honeydew&pagebreak=0 สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ... กัสสปเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วกล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ (ฌาน ๒) มีจิตหลุดพ้นแล้ว (มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยกัมมัฏฐาน) พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย (ใจหวังได้ซึ่งพระนิพพาน) ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น พึงรู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งโลก (ในที่นี้หมายถึงสังขารโลก) พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_2 //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โลก_3#find1 ความคิดเห็นที่ 10 ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 01:25 น. GravityOfLove, 5 ชั่วโมงที่แล้ว ... 6:37 PM 6/21/2014 สรุปความได้ดีครับ. ความคิดเห็นที่ 11 ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 01:27 น. คำถามในพระสูตรทั้งสอง ๘๒. ปฐมกัสสปสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1394&Z=1411 ๘๓. ทุติยกัสสปสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1412&Z=1420 เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง. ความคิดเห็นที่ 12 GravityOfLove, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 06:32 น. ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง. ๘๒. ปฐมกัสสปสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1394&Z=1411 ๑. กัสสปเทวบุตรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคและทูลแสดงสิ่งที่ภิกษุควรปฏิบัติ คือ บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ การนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และการสงบระงับจิต พระผู้มีพระภาคทรงพอพระทัย ๒. เทวปุตฺโต ความว่า บุรุษผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่าเทพบุตร. สตรีผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่าเทพธิดา. เทวดาที่ไม่ปรากฎนาม ท่านเรียกว่าเทวดาองค์หนึ่ง เทพที่ปรากฏนาม ท่านเรียกว่าเทพบุตรมีชื่ออย่างนี้ ๓. เทพบุตรองค์นี้ได้ฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในพรรษาที่ ๗ นับแต่ตรัสรู้ ทรงเข้าจำพรรษา ณ เทวบุรี (ดาวดึงส์) แสดงพระอภิธรรม ตรัสภิกขุนิทเทสไว้ในฌานวิภังค์อย่างนี้ว่า บทว่า ภิกฺขุ ได้แก่ ชื่อว่าภิกษุ เพราะสมัญญา. ชื่อว่าภิกษุ เพราะปฏิญญา. แต่เทพบุตรนั้นไม่ได้ฟังคำโอวาทภิกษุ คำสั่งสอนภิกษุอย่างนี้ว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนี้ จงใส่ใจอย่างนี้ อย่าใส่ใจอย่างนี้ จงละข้อนี้ จงเข้าถึงข้อนี้อยู่. เทพบุตรนั้นหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศภิกษุไว้ ไม่ทรงประกาศคำสั่งสอนของภิกษุ. ยมกปาฏิหาริย์ //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2 ฌานวิภังค์ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=601#601 ๔. ความจริง ผู้ใดประสงค์จะกล่าวปัญหาก็ไม่อาจจะกล่าวเทียบกับพระสัพพัญญุตญาณได้ หรือว่าผู้ใดไม่ประสงค์จะกล่าวก็อาจจะกล่าวปัญหาได้ หรือว่าผู้ใดไม่ประสงค์จะกล่าว ทั้งไม่อาจจะกล่าวด้วย. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ทรงทำปัญหาของคนเหล่านั้นทั้งหมดให้เป็นภาระ แต่เทพบุตรองค์นี้ประสงค์จะกล่าวด้วย ทั้งอาจกล่าวได้ด้วย. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสให้เทพบุตรนั้นกล่าวปัญหาได้ ๕. เทพบุตรนี้กล่าวสิกขา ๓ คือ ๑) ศีล ในข้อศึกษาคำสุภาษิต ๒) สมาธิ ในข้อการนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และข้อการสงบระงับจิต ๓) ปัญญา ในข้อการเข้าไปนั่งใกล้สมณะ -------------------- ๘๓. ทุติยกัสสปสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1412&Z=1420 กัสสปเทวบุตรกล่าวคาถาในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงเป็นผู้เช่นไร ความคิดเห็นที่ 13 ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 14:43 น. GravityOfLove, 8 ชั่วโมงที่แล้ว ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง. ... 6:31 AM 6/22/2014 ตอบคำถามได้ดีครับ. คำว่า ๕. เทพบุตรนี้กล่าวสิกขา ๓ คือ ๑) ศีล ในข้อศึกษาคำสุภาษิต ๒) สมาธิ ในข้อการนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และข้อการสงบระงับจิต ๓) ปัญญา ในข้อการเข้าไปนั่งใกล้สมณะ . ขอเสริมว่า ในข้อการนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว อรรถกถาไม่ได้ขยายความไว้ ข้อการนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว น่าจะหมายถึงทั้งจิตตสิกขา (สมาธิ) ก็ได้ ปัญญาสิกขาก็ได้. ความคิดเห็นที่ 14 ฐานาฐานะ, 22 มิถุนายน 2557 เวลา 14:46 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปฐมกัสสปสูตรและทุติยกัสสปสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1394&Z=1420 พระสูตรหลักถัดไป คือ มาฆสูตร [พระสูตรที่ 84]. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค มาฆสูตรที่ ๓ //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1421&Z=1435 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=224 ย้ายไปที่ สารบัญ ๑ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1 |
แก้วมณีโชติรส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog
All Blog
Link |
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
พระสูตรหลักถัดไป คือ ปฐมกัสสปสูตร [พระสูตรที่ 82].
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1394&Z=1411
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=221