36.6 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
36.5 พระสูตรหลักถัดไป คือฆัตวาสูตร [พระสูตรที่ 71]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=24-06-2014&group=4&gblog=40

ความคิดเห็นที่ 67
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 01:17 น.

             รับทราบครับ.

ความคิดเห็นที่ 68
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 11:04 น.

             อ่านจบแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
             สิริชาดก
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=451

             โจรผู้ลักสิริคนหนึ่ง จะไปขโมยสิริของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี
แต่สิริก็ได้ย้ายตำแหน่งไปเรื่อยๆ จนไปอยู่ที่ตัวของภรรยาของท่าน ซึ่งโจรไม่สามารถ
ขอภรรยาของท่านไปได้ โจรจึงล้มเลิกความตั้งใจ ก่อนจากไปได้กล่าวกับ
ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า ของของท่านก็จงเป็นของท่านเท่านั้น
             พระศาสดาตรัสเล่าเรื่องในอดีตเพื่อทรงแสดงว่า
             มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นที่สิริของคนอื่นจะไปในที่อื่น ก็แม้ในกาลก่อน
สิริที่คนผู้มีบุญน้อยให้เกิดขึ้น ก็ไปอยู่แทบบาทมูลของคนผู้มีบุญเท่านั้น
             ตรัสเล่าเรื่องในอดีตว่า
             นายหัตถาจารย์ (ปัจจุบันคือท่านพระอานนท์) ได้อุปัฏฐากพระโพธิสัตว์
ซึ่งเป็นฤๅษีมีอภิญญา (ปัจจุบันคือพระผู้มีพระภาค)
             อยู่มาวันหนึ่งมีภาชนะภัตตาหารลอยตามแม่น้ำมา ในนั้นมีเนื้อไก่ที่มีอานุภาพ
ทำให้ผู้ที่บริโภคแล้วได้เป็นพระราชา ได้เป็นอัครมเหสี ได้เป็นพระประจำราชตระกูล
ตามแต่ส่วนต่างๆ ของไก่ที่บริโภค
             ภาชนะภัตตาหารนี้ คนหาฟืนและภรรยาเป็นคนเตรียมเอาไว้สำหรับบริโภคเอง
แต่ได้ลอยตามน้ำจากไปขณะที่พวกตนกำลังอาบน้ำในแม่น้ำ
             นายหัตถาจารย์ได้เห็นภาชนะนี้ จึงนำไปถวายพระโพธิสัตว์ๆ ทรงทราบอานุภาพ
ของเนื้อไก่นั้นด้วยตาทิพย์ จึงให้แบ่งเนื้อเป็นส่วนๆ สำหรับนายหัตถาจารย์ ภรรยานายหัตถาจารย์
และส่วนของพระโพธิสัตว์ แล้วบริโภค
             เมื่อบริโภคแล้ว ต่อมา นายหัตถาจารย์ก็ได้กลายเป็นพระราชา ภรรยาก็ได้เป็นอัครมเหสี
พระโพธิสัตว์ก็ได้เป็นพระประจำราชตระกูล
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             [๔๕๒]     โภคะเป็นอันมาก ย่อมล่วงเลยสัตว์เหล่าอื่นไปเสีย เกิดขึ้นในที่ทั้งปวง
                          เทียว สำหรับผู้มีบุญอันกระทำไว้ ใช่แต่เท่านั้น รัตนะทั้งหลายก็บังเกิด
                          ขึ้นแม้ในที่มิใช่บ่อเกิด.
             ขุมทรัพย์คือบุญนี้ ให้สมบัติอันน่าใคร่ต่างๆ เช่น ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม
ไปจนถึงได้บรรลุความสำเร็จอันสูงสุดคือ นิพพานสมบัติ
           นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=195&Z=236
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=9

[เพิ่มเติมลิงค์ตาม #69]

ความคิดเห็นที่ 69
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 19:45 น.

GravityOfLove, 18 ชั่วโมงที่แล้ว
...
12:41 AM 6/20/2014

คือมานะ ถือตัวว่า เกิดในตระกูลสูง (พราหมณ์) มัวเมาว่า ตนประเสริฐด้วยฃาติกำเนิด
             แก้ไขเป็น
คือมานะ ถือตัวว่า เกิดในตระกูลสูง (พราหมณ์) มัวเมาว่า ตนประเสริฐด้วยชาติกำเนิด
-----------------
             ขอทำลิงค์นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะไว้ให้เข้าศึกษาได้ง่ายๆ.
             นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=195&Z=236
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=9

ความคิดเห็นที่ 70
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 00:07 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๗๘. กามสูตร ว่าด้วยผู้ใคร่ประโยชน์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1339&Z=1346&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ไม่ควรให้สิ่งอะไร คนไม่ควรสละอะไร
                          อะไรหนอที่เป็นส่วนดีงามควรปล่อย แต่ที่เป็นส่วนลามกไม่ควรปล่อย
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน (ไม่เป็นทาส) ไม่พึงสละซึ่งตน (ไม่ให้ชีวิต)
                          (เพราะจะหมดโอกาสเจริญกุศลธรรมหรือสมณธรรม)
                          วาจาที่ดีควรปล่อย แต่วาจาที่ลามกไม่ควรปล่อย

-------------------

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต ฆัตวาวรรคที่ ๘
             ๗๙. ปาเถยยสูตร ว่าด้วยเสบียง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1347&Z=1357&bgc=honeydew&pagebreak=0

             เทวดาทูลถามด้วยคาถาว่า
                          อะไรหนอย่อมรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง
                          อะไรหนอเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
                          อะไรหนอย่อมเสือnไสนรชนไป
                          อะไรหนอละได้ยากในโลก
                          สัตว์เป็นอันมากติดอยู่ในอะไร เหมือนนกติดบ่วง
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยคาถาว่า
                          ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง
                          (เพราะว่าเมื่อมีศรัทธาแล้ว ย่อมให้ทาน ย่อมรักษาศีล ย่อมทำอุโบสถกรรม)
                          ศิริเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
                          (โภคะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีศิริ (ความเป็นใหญ่))
                          ความอยากย่อมเสือnไสนรชนไป
                          ความอยากละได้ยากในโลก
                          สัตว์เป็นอันมากติดอยู่ในความอยาก เหมือนนกติดบ่วง

//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุโบสถกรรม

ความคิดเห็นที่ 71
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 19:57 น.

GravityOfLove, 19 ชั่วโมงที่แล้ว
...
12:07 AM 6/20/2014

             สรุปความได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 72
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 19:58 น.

              คำถามในพระสูตรทั้งสอง
              ๗๘. กามสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1339&Z=1346
              ๗๙. ปาเถยยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1347&Z=1357

              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 73
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 20:41 น.

              ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
              เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
              ๗๘. กามสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1339&Z=1346

             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน ไม่พึงสละซึ่งตน
               วาจาที่ดีควรปล่อย แต่วาจาที่ลามกไม่ควรปล่อย
             ๒. เว้นพระโพธิสัตว์แล้ว บุคคลผู้ใคร่ประโยชน์ไม่ควรสละตนให้เป็นทาส
ไม่ควรให้ชีวิตตน เพราะเป็นการตัดโอกาสในการเจริญกุศลธรรมหรือสมณธรรม
--------
              ๗๙. ปาเถยยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1347&Z=1357

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
               ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง ศิริเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ทั้งหลาย
               ความอยากย่อมเสือnไสนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก
               สัตว์เป็นอันมากติดอยู่ในความอยาก เหมือนนกติดบ่วง

ความคิดเห็นที่ 74
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 20:54 น.

GravityOfLove, 8 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในพระสูตรทั้งสอง
...
8:41 PM 6/20/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 75
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 20:57 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า กามสูตรและปาเถยยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1339&Z=1357

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ปัชโชตสูตร [พระสูตรที่ 80].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ปัชโชตสูตรที่ ๑๐
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1358&Z=1371
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=217

ความคิดเห็นที่ 76
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 21:02 น.

             ๘๐. ปัชโชตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1358&Z=1371&bgc=honeydew&pagebreak=0

            [๒๑๗] ...อะไรหนอ บุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง ย่อมพะนอเลี้ยง ดุจมารดาเลี้ยงดูบุตร
            เมื่ออ่านคำตอบพระผู้มีพระภาคแล้ว ประโยคคำถามที่สอดคล้องกับคำตอบ น่าจะเป็นอย่างนี้ได้ไหมคะ
            >> อะไรหนอ ย่อมพะนอเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง ดุจมารดาเลี้ยงบุตร

ความคิดเห็นที่ 77
ฐานาฐานะ, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 21:12 น.

GravityOfLove, 5 นาทีที่แล้ว
              ๘๐. ปัชโชตสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1358&Z=1371&bgc=honeydew&pagebreak=0
...
9:01 PM 6/20/2014

              ตอบว่า น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ
              อะไรหนอ ย่อมพะนอเลี้ยงบุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง ดุจมารดาเลี้ยงบุตร

ความคิดเห็นที่ 78
GravityOfLove, 20 มิถุนายน 2557 เวลา 21:18 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที่

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 24 มิถุนายน 2557
Last Update : 24 มิถุนายน 2557 10:38:34 น.
Counter : 496 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2557

1
2
3
4
6
7
8
10
11
12
14
15
17
18
19
20
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog