40.5 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
40.4 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=06-08-2014&group=4&gblog=65

ความคิดเห็นที่ 56
GravityOfLove, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 00:35 น.

             ตอบคำถามในอัปปกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2346&Z=2372

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             สัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว ไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ในกามคุณ
และไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก
             ส่วนว่าสัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่งๆ แล้ว มัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามคุณ
และประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนมากมายในโลก

                          สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าในโภคทรัพย์ ย่อมไม่รู้สึกการก้าวล่วง
                          (ประพฤติผิดในสัตว์พวกอื่น) เหมือนพวกเนื้อไม่รู้สึกแร้วซึ่งโก่งดักไว้
                          ผลเผ็ดร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง เพราะว่ากรรมเช่นนั้นมีวิบากเลวทราม

             ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำสูตรนี้ให้เป็นคำตรัสของพระสัพพัญญู
จึงตรัสในสูตรนี้ว่า เอวเมตํ มหาราช
-------------
             2. ขอให้ยกตัวอย่างตามที่ได้ศึกษามา ...
             นึกไม่ออกค่ะว่าเรื่องใดมีทั้ง ๒ นัยรวมกัน คือมีโภคทรัพย์มากแล้วมัวเมา + จำนวนมากมาย
             - นัยที่ว่ามีโภคทรัพย์มากแล้วมัวเมา ก็เช่น เรื่องพระโพธิสัตว์ที่มัวเมาในชาติกำเนิดอันสูงของตน
             ปัญจุโปสถิกชาดก ว่าด้วยนกพิราบ
             พระโพธิสัตว์บวชเป็นดาบสแล้วก็ยังหมกหมุ่นในอกุศลธรรม
คือมานะ ถือตัวว่า เกิดในตระกูลสูง (พราหมณ์) มัวเมาว่า ตนประเสริฐด้วยชาติกำเนิด
ทำให้สมณธรรมไม่เจริญ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=7559&Z=7602

             ทรีมุขชาดก ว่าด้วยโทษของกาม
             พระโพธิสัตว์เมื่อได้เสวยราชสมบัติแล้ว แต่เพราะเป็นผู้มียศมาก
จึงทรงเป็นผู้มัวเมาด้วยยศ ไม่ทรงรำลึกถึงทรีมุขกุมารผู้เป็นพระสหายเป็นเวลาหลายสิบปี
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=3870&Z=3894

             - นัยที่ว่าผู้หลุดพ้นมีน้อย ผู้ยังไม่หลุดพ้นมีมาก ก็เช่น
             ปารสูตร
             [๙๘]     ในพวกมนุษย์ ชนที่ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย
             แต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมวิ่งไปตามฝั่งนั่นเอง
//www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=528&Z=546&pagebreak=0

ความคิดเห็นที่ 57
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 00:46 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในอัปปกสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2346&Z=2372
...
12:34 AM 8/2/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             สำหรับปารสูตรนั้น นัยสูงกว่าพระสูตรนี้
พระสูตรนี้ อยู่ในระดับกุศลและอกุศลอันเป็นโลกียะ
และปารสูตรนั้น ชนที่ถึงฝั่ง เป็นนัยของโลกุตตระ.
             ขอเสริมดังนี้ :-
             1. เพราะนัยแห่งพระสูตร ทำให้เมื่อกระทำบุญกุศล
มักจะน้อมนึกว่า เมื่อกุศลกรรมนี้อำนวยผล ขอให้อย่าเมาในผล
เหล่านั้น เพราะเมื่อเมา มัวเมา มีมานะแล้วจะทำอกุศลกรรมต่างๆ
อันมีวิบากเป็นทุกข์ได้อย่างมาก เพราะมีโภคทรัพย์และบริวารต่างๆ
อันมาจากกุศลกรรมเดิม.
             2. ขอเพิ่มลิงค์คำว่า กามโภคี 10 ไว้ด้วย.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กามโภคี_10

ความคิดเห็นที่ 58
GravityOfLove, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 00:53 น.

ขอบพระคุณค่ะ
คำตอบข้อ ๒ ถูกต้องหรือไม่คะ หรือว่าเข้าใจคำถามผิด

ความคิดเห็นที่ 59
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 00:58 น.

GravityOfLove, 1 นาทีที่แล้ว
...
12:53 AM 8/2/2014

              คำตอบข้อ 2
              ปัญจุโปสถิกชาดกและทรีมุขชาดก ถูกต้องครับ
เข้ากับนัยคือย่อมมัวเมา ประมาท ถึงความติดอยู่ในกามคุณ
และประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย
              แต่ปารสูตร นัยสูงเกินกว่าพระสูตรนี้ เพราะ
ปารสูตร เป็นนัยของโลกุตตระ.

ความคิดเห็นที่ 60
GravityOfLove, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 01:00 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 61
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 01:07 น.

              เพิ่มเติมในอัปปกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2346&Z=2372

              บุคคลที่เสวยวิบากอันเป็นสุข แล้วประมาท มัวเมา
ถึงความติดอยู่ในกามคุณ ประพฤติผิดในผู้อื่นนั้น
ผมมักจะนึกถึง 2 กรณีนี้ คือ
              อรรถกถาธัมมัทธชชาดก [บางส่วน]
              วันหนึ่ง พระกุมารแต่งพระองค์เสด็จประพาสอุทยานแต่เช้าตรู่
พบพระปัจเจกพุทธเจ้าในระหว่างทาง. มหาชนเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
แล้วต่างก็กราบไหว้ สรรเสริญ และประคองอัญชลีแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น.
พระกุมารนั้นคิดว่า พวกที่ไปกับคนเช่นเรา พากันกราบไหว้สรรเสริญ
ประคองอัญชลีแด่สมณะโล้นนี้ ทรงพิโรธ ลงจากช้างเข้าไปหา
พระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสถามว่า สมณะ ท่านได้ภัตตาหารแล้วหรือ
              พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า ได้แล้วพระกุมาร.
              พระกุมารจึงแย่งบาตรจากมือพระปัจเจกพุทธเจ้า ทุ่มลงบนพื้นดิน
เหยียบย่ำยีภัตตาหารให้แหลกไป. พระปัจเจกพุทธเจ้าแลดูหน้าพระกุมารนั้น
คิดว่า สัตว์ผู้นี้ทีจะวอดวายเสียแล้วหนอ. พระกุมารตรัสว่า สมณะ เราเป็นโอรส
ของพระเจ้ากิตวาส มีนามว่า ทุฏฐกุมาร ท่านโกรธเรา มองดูตาเรา จะทำอะไรเรา.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=289&p=1

              อรรถกถาคังคมาลชาดก [บางส่วน]
              พระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อจะทำปฏิสันถารกับพระราชา ได้เรียกพระราชา
ตามนามสกุลว่า
              ดูก่อนพรหมทัต พระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท ครองราชสมบัติโดยธรรม
บำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้นอยู่หรือ ดังนี้แล้วทำปฏิสันถาร.
              พระราชชนนีได้สดับดังนั้น ทรงพระพิโรธว่า คังคมาลนี้มีชาติเป็นคนเลว
ลามก เป็นลูกช่างกัลบก ไม่รู้จักประมาณตน เรียกโอรสของเราซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
เป็นกษัตริย์โดยชาติ โดยชื่อว่า พรหมทัต ดังนี้
              จึงตรัสคาถาที่ ๗ ความว่า :-
              สัตว์ทั้งหลายย่อมละกรรมชั่วด้วยตบะ แต่สัตว์เหล่านั้นจะละความเป็นคนผู้ใช้
หม้อตักน้ำให้เขาอาบได้หรือ แน่ะคังคมาละ การที่ท่านข่มขี่ด้วยตบะ แล้วร้องเรียกโอรส
ของเราโดยชื่อว่าพรหมทัตในวันนี้นั้น ไม่เป็นการสมควรเลย.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1155&p=1

ความคิดเห็นที่ 62
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 00:53 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อัปปกสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2346&Z=2372

              พระสูตรหลักถัดไป คือ อรรถกรณสูตร [พระสูตรที่ 118].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              อรรถกรณสูตรที่ ๗
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2373&Z=2394
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=343&bgc=snow

ความคิดเห็นที่ 63
GravityOfLove, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 01:00 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ๑๑๘. อรรถกรณสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2373&Z=2394&bgc=snow&pagebreak=0

             หม่อมฉันได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า เป็นการไม่สมควรเลย
ด้วยการที่เราจะพิจารณาคดีในบัดนี้ (เพราะ) บัดนี้ ราชโอรสนามว่า
วิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักปรากฏโดยการพิจารณาคดี ฯ
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 64
ฐานาฐานะ, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 01:19 น.

GravityOfLove, 10 นาทีที่แล้ว
             กรุณาอธิบายค่ะ
...
1:00 AM 8/2/2014

              นัยว่า พระราชาทรงรังเกียจที่จะนั่งร่วมกับคนเหล่านั้น
คนเหล่านั้นคือพวกอมาตย์รับสินบน หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือ
ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก แต่ยังกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่
              ดังนั้น จึงทรงมอบหมายให้ราชโอรสเป็นผู้พิจารณาคดีเอง
เพราะอย่างไรเสีย ราชโอรสก็จะได้ครองราชย์สืบสันตติวงศ์อยู่แล้ว.

ความคิดเห็นที่ 65
GravityOfLove, 2 สิงหาคม 2557 เวลา 08:24 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 06 สิงหาคม 2557
Last Update : 6 สิงหาคม 2557 11:45:22 น.
Counter : 437 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog